Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
4.1)ภาวะอาเจียนรุนแรงในระยะตั้งครรภ์ (Hyperemesis gravidarum) - Coggle…
4.1)ภาวะอาเจียนรุนแรงในระยะตั้งครรภ์ (Hyperemesis gravidarum)
(4) ผลกระทบต่อทารกในครรภ์
1.ถ้าหากสตรีตั้งครรภ์มีน้ําหนักลดลงมาก จะทําให้ทารกในครรภ์เติบโตช้า
และน้ําหนักแรกคลอดน้อยกว่าปกติ
2.ถ้าอาการอาเจียนรุนแรงมาก มักทำให้เกิดภาวะเป็นกรดในร่างกาย อาจทําให้ทารกมีอาการทางสมอง เกิดภาวะ Wernicke’s encephalopathy
3.อาจทําให้แท้ง คลอดก่อนกําหนด ทารกอาจตายคลอด และทารกพิการ (Fetal anomalies) จากการขาดสารอาหาร
(1) สาเหตุ
{1.1}ปัจจัยด้านมารดา
1.การตั้งครรภ์มีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนสูง หรือมีระดับ hCG เพิ่มมากกว่าปกติ
2.เคยมีประวัติการแพ้ท้องอย่างรุนแรงในครรภ์ก่อน หรือเป็นการตั้งครรภ์ครั้งแรก
3.มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารไม่เหมาะสมตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์
4.มีความผิดปกติเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร
5.กระเพาะอาหารมีการเคลื่อนไหวลดลง
จากการเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนโปรเจสเตอร์โรนขณะตั้งครรภ์
6.มีสภาพจิตใจ ความเครียด ความวิตกกังวลเกิดขึ้น
{1.2} ปัจจัยด้านทารก
ทารกมีความผิดปกติเกี่ยวกับโครโมโซม
ทารกบวมน้ํา (hydrops fetalis)
(3) ผลกระทบต่อมารดา
1.ทําให้ร่างกายเกิดการขาดน้ํา ทําให้อุณหภูมิสูงขึ้น ชีพจรเบาเร็วและความดันโลหิตต่ำลง และส่งผลกระทบต่อการทํางานของไต ปัสสาวะออกน้อย
2.เกิดภาวะความเป็นกรดในร่างกาย เนื่องจากการสูญเสียด่างในน้ําย่อยไปกับการอาเจียน
3.ถ้ามีอาการรุนแรงมาก ร่างกายเสียสมดุลของอิเลคโตรไลท์ ทำให้เกิดภาวะ hypokalemia, alkalosis กล้ามเนื้ออ่อนแรง
4.เกิดภาวะขาดสารอาหารมีผลกระทบต่อตับ มีค่า SGOT เพิ่มขึ้น
(2) อาการและอาการแสดง
1.หากอาการอาเจียนไม่รุนแรงมาก สามารถทํากิจวัตรประจําวันได้ตามปกติ น้ําหนักจะลดลงเล็กน้อย ไม่มีอาการขาดน้ําและสารอาหาร
2.หากอาการอาเจียนรุนแรงมากกว่า 5-10 ครั้งต่อวัน อาจทำให้เกิดผลเสีย ดังนี้
2.1)ทำให้ขาดสารอาหาร และน้ําหนักลดลงมาก
2.2)มีอาการแสดงถึงภาวะขาดสารน้ํา
2.3)เกิดภาวะ acidosis และ alkalosis และความไม่สมดุลของเกลือแร่
2.4)ลมหายใจมีกลิ่นอะซิโตน และตรวจพบคีโนในปัสสาวะ
2.5)มีอาการแสดงของกลุ่มอาการ Wenicke’s encephalopathy
จากการขาดวิตามินบี 1
2.6)มีอาการแสดงทางด้านจิตใจ เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล
ภาวะซึมเศร้า เป็นต้น
(5) การวินิจฉัย
1.การซักประวัติ ตรวจร่างกาย ประเมินจากอาการและอาการแสดงของการอาเจียนรุนแรง การ ขาดสารน้ําขาดสารอาหาร น้ําหนักตัว และสภาพจิตใจของสตรีตั้งครรภ์
2.การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
{2.1}การตรวจเลือด พบฮีมาโตคริตสูง BUN สูง โซเดียมต่ำ โปแตสเซียมต่ำ คลอไรด์ต่ำ SGOT สูง LFT สูง และโปรตีนในเลือดต่ำ
{2.2}การตรวจปัสสาะ พบว่ามีความถ่วงจําเพาะสูง ไข่ขาวในปัสสาวะเพิ่มขึ้น พบคีโตนในปัสสาวะ
ถ้ามีอาการรุนแรงมาก อาจพบน้ําดีในปัสสาวะ
3.การตรวจพิเศษ เพื่อค้นหาสาเหตุของความผิดปกติ โดยการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง
และการเจาะตรวจน้ําคร่ำ
(6) แนวทางการรักษา
1.ควรวินิจฉัยแยกโรคภาวะอาเจียนอย่างรุนแรงจากอาการของโรคอื่นๆ
2.หากอาการไม่รุนแรงสามารถรับประทานอาหารได้ โดยแนะนําให้รับประทานอาหารที่ช่วยทดแทน เกลือแร่ที่สูญเสียไปกับการอาเจียน
3.หากอาการรุนแรงมาก ควรงดอาหารและน้ําทางปาก และรีบแก้ไขภาวะขาดน้ํา ความไม่สมดุล ของเกลือแร่ และความเป็นกรด-ด่างของเลือด
4.การรักษาด้วยยา
4.1)ยาแก้คลื่นไส้อาเจียน ได้แก่ Metoclopramide 5-10 mg.
4.2)วิตามิน ได้แก่ วิตามินบี 6 (Pyridoxine) 10-25 mg.
4.3)ยาคลายกังวล และยานอนหลับ ได้แก่ Diazepam 2 mg.
5.การรับประทานอาหาร
(1)อาหารอ่อนครั้งละน้อย แต่บ่อยครั้ง ทุก2-3ชั่วโมง ควรรับประทานอาหาร
ที่มีโปรตีนสูงขนมปังกรอบ และควรหลีกเลี่ยงอาหารรสเผ็ด อาหารมัน
(2)รับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของขิงสามารถช่วยลดอาการคลื่นไส้ได้ เช่น น้ําขิง ลูกอมรสขิง เป็นต้น
6.หลีกเลี่ยงสิ่งแวดล้อม หรือสิ่งกระตุ้นที่ทําให้คลื่นไส้อาเจียน
เช่น กลิ่น ความร้อน ความชื้น เสียงดัง แสงไฟกะพริบ
7.หากรักษาด้วยวิธีต่างๆ แล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรเข้ารับการวินิจฉัยเพื่อค้นหาสาเหตุของโรคที่แท้จริง เพื่อจะได้แก้ไขได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
(7) การพยาบาล
{7.1}การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่ได้รับการรักษาแบบผู้ป่วยนอก
1)อธิบายให้สตรีตั้งครรภ์เข้าใจถึงสาเหตุของการเกิดภาวะอาเจียนรุนแรง และภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
2)แนะนําวิธีการป้องกันอาการคลื่นไส้อาเจียน
1))การรับประทานอาหารครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง
2))งดอาหารไขมัน เพราะย่อยยาก ทําให้คลื่นไส้
ควรรับประทานอาหารแข็ง ย่อยง่าย
3))รับประทานอาหารเหลว อาหารน้ํา หรือดื่มน้ําระหว่างมื้ออาหารแทนการดื่มพร้อม
รับประทานอาหาร
4))หลีกเลี่ยงอาหารรสจัดและอาหารที่มีกลิ่นแรง
5))หลังรับประทานอาหารไม่ควรนอนทันที เพื่อป้องกันการไหลกลับของน้ําย่อย
6))ดูแลความสะอาดของปากและฟัน บ้วนปากบ่อยๆ ไม่ควรให้ปากแห้งแตกและ สกปรก
7))แนะนําการพักผ่อนอย่างน้อยวันละ 6-8 ชั่วโมง
3)แนะนําให้จิบเครื่องดื่มอุ่นๆ เช่น น้ําขิง เป็นต้น
4)แนะนําให้รับประทานผลไม้ เช่น ลูกพรุน มะละกอสุก ส้ม กล้วย แคนตาลูป เป็นต้น
5)แนะนําวิธีการรับประทานยาแก้อาเจียนก่อนอาหาร 30 นาที
6)ให้คําปรึกษาในการปรับแบบแผนการรับประทานอาหาร เพื่อให้ได้พลังงานและ
สารอาหารที่เพียงพอ 2,000 กิโลแคลอรี่ต่อวัน
7)แนะนําให้มาพบแพทย์เมื่อมีอาการคลื่นไส้อาเจียนมากขึ้น
{7.2}การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
1)ดูแลให้งดอาหารและน้ําทางปาก (NPO) อย่างน้อย 24-48 ชั่วโมง
2)หลีกเลี่ยงสิ่งที่จะกระตุ้นให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน เช่น กลิ่น อาหารมัน อาหารรสจัด เสียงดัง
3)ดูแลความสะอาดของช่องปากและฟัน
4)ดูแลให้ได้รับสารน้ําทางหลอดเลือดดํา เพื่อแก้ไขภาวะขาดน้ํา
5)ดูแลให้ยาลดอาการคลื่นไส้อาเจียน ตามแผนการรักษา
6)บันทึกปริมาณสารน้ําเข้าออกจากร่างกาย
7)จัดสิ่งแวดล้อมให้สะอาด เงียบสงบ เหมาะแก่การพักผ่อน
9)แนะนําให้คู่สมรสหรือบุคคลในครอบครัวมีส่วนร่วมในการดูแลช่วยเหลือสตรีตั้งครรภ์
8)ดูแลด้านจิตใจโดยการอยู่เป็นเพื่อน ให้กําลังใจเปิดโอกาสให้ซักถามข้อสงสัย รับฟังด้วยความสนใจ
{7.3}การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์เมื่อกลับไปอยู่บ้าน
1))แนะนําการรับประทานอาหาร โดยให้การรับประทานอาหารครั้งละน้อยแต่บ่อยครั้ง
2))แนะนําให้ดื่มน้ําอุ่นทันที หลังตื่นนอนประมาณครึ่งแก้ว แล้วนอนต่ออีกประมาณ 15 นาที ก่อนที่จะลุกขึ้น
3))แนะนําให้พักผ่อนอย่างเพียงพอ เพื่อให้ร่างกายผ่อนคลาย
อย่างน้อย 8 ชั่วโมงในเวลากลางคืน และกลางวันอย่างน้อย 1 ชั่วโมง
4))แนะนําการออกกําลังกายหรือกายบริหารเบาๆ อย่างสม่ำเสมอ
5))แนะนําให้หลีกเลี่ยงความเครียด ทําจิตใจให้สบาย และใช้เทคนิคการผ่อนคลาย เช่น ดูหนัง ฟังเพลง ฝึกการหายใจอย่างถูกวิธี
6))อธิบายให้คู่สมรสและครอบครัวเข้าใจถึงภาวะที่เกิดขึ้น และคอยให้การช่วยเหลือสตรีตั้งครรภ์อย่างใกล้ชิด
7))แนะนําให้มาตรวจตามนัดอย่างสม่ำเสมอ และหากมีอาการผิดปกติควรมาพบแพทย์ก่อนวันนัด