Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Anxiety Related Disorder, ภัทรวดี ใจผัดคำ 6126221 - Coggle Diagram
Anxiety Related Disorder
กลุ่มโรควิตกกังวล
(Anxiety Disorder)
Generalized anxiety
disorder (GAD)
การวินิจฉัย
E:อาการไม่ได้เป็นมาจากผลของยา สารเสพติด หรือโรคทางกาย
Hyperthyroid
D:อาการเหล่านี้ก่อให้เกิดความทุกข์ทรมาน
อย่างมีนัยสำคัญทางการแพทย์ หรือการ
ทำหน้าที่ทางสังคม หรือด้านอื่นที่บกพร่อง
C:พบความวิตกกังวลร่วมกับอาการนี้ 3อย่างขึ้นไป(เด็กต้องอย่างน้อย1อย่าง)
กระสับกระส่าย
กระวนกระวายใจ
เหนื่อยล้าง่าย
ขาดสมาธิ
หงุดหงิดง่าย
ปวดเมื่อย
มีปัญหาการนอน
เช่น นอนไม่หลับ
B:รู้สึกว่าควบคุมความกังวลเกินเหตุลำบาก
A:มีอาการวิตกกังวลเกินเหตุในหลายด้านของชีวิต เช่นการเรียน การทำงาน การเข้าสังคม เกือบทุกวัน ติดต่อกันนาน 6 เดือนขึ้นไป
ความหมาย
เป็นภาวะทางจิตใจที่ส่งผลกระทบเป็นเวลานาน ทำให้ผู้ป่วยมีความวิตกกังวล
เครียด ส่งผลให้ นอนไม่หลับ ไม่มีสมาธิ
และอาจกระทบต่อการใช้ชีวิต
การบำบัดรักษา
การรักษาด้วยยา
Benzodiazepines
Antidepressants
จิตสังคม
Cognitive behavior therapy
ปัจจัย
มีหลายปัจจัย เช่น เผชิญความตึงเครียด
เป็นประจำความไม่สมดุลของ
สารเคมีในสมอง พันธุกรรม สภาพแวดล้อม
Panic
การวินิจฉัย
A:มีอาการ panic attack (การเกิดความกลังหรือไม่สบายใจอย่างรุนแรง)เกิดขึ้นโดยไม่ได้คาดหมายซ้ำบ่อยๆ โดยมีอาการตั้งแต่ 4 อาการขึ้นไปโดยเกิดขึ้นเร็ว และถึงระดับสูงสุดใน10นาที
เหงื่อแตก
มือสั่น ตัวสั่น
หอบ หายใจไม่อิ่ม หายใจขัด
รู้สึกอึดอัด
เจ็บแน่นหน้าอก
คลื่นไส้
มึนงง ปวดหัว เป็นลม
กลัวคุมตัวเองไม่ได้ กลัวบ้า
กลัวตนเองกำลังจะตาย
ชาตามตัว
หนาวสั่น ร้อนๆหนาวๆ
บุคลิกวิปลาส
(derealization oe dispersonalization)
ใจสั่น ใจเต้นแรง ใจเต้นเร็ว
B:หลังจากเกิดpanic attack แล้วจะต้องมีอาการดังนี้ 1อาการขึ้นไป อย่างน้อย1ครั้ง ภายในระยะเวลา 1เดือน
1)กลัวว่าจะมีอาการ panic attack เกิดขึ้นอีก
หรือกลัวผลของมัน เช่น กลัวจะเป็นโรคหัวใจ กลัวควบคุมตนเองไม่ได้
2)มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมอย่างมีนัยสำคัญ
หลังเกิดอาการ Panic attack เช่น ตั้งใจเลี่ยง
สถานการณ์ที่อาจก่อให้เกิดpanic attack ได้
เช่น ออกกำลังกาย
C:อาการ panic attack ไม่ได้เกิดจากโรคจิตเวชอื่นๆ เช่น
Social phobia
Specific phobia
OCD
PTSD
ความหมาย
ภาวะตื่นตระหนกต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดนไม่มีเหตุผล จนเกิดอาการหวาดกลัว
อย่างรุนแรง ทั้งที่ตนไม่ได้เผชิญหน้าหรือตกอยู่ในสถานการณ์นั้นๆ
ปัจจัย
การใช้ชีวิตตามการผันเปลี่ยนของสังคม ที่ทำให้ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต
การรักษา
การบำบัด cognitive behavior therapy
Phobia
Agoraphobia
การวินิจฉัย
A:มีความกลัวหรือกังวลอย่างมากเกี่ยวกับสถานการณ์ต่อไปนี้ 2สถานการณ์ขึ้นไป
การใช้บริการขนส่งสาธารณะ
การอยู่ในสถานที่ที่เปิดโล่ง
การอยู่ในสถานที่ปิดล้อม
การยืนต่อแถวหรืออยู่
ในสถานที่ที่คนพลุกพล่าน
การอยู่นอกบ้านตามลำพัง
B:รู้สึกกลัวหรือพยายามหลีกเลี่ยงสถานการณ์ดังกล่าว เนื่องจากคิดว่าหากมีอาการคล้าย Panic attack หรืออาการที่น่าอับอาย ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้
C:สถานการณ์ดังกล่าวสามารถกระตุ้น
ให้เกิดความกลัวหรือวิตกกังวลได้เสมอ
D:ตั้งใจหลีกเลี่ยงสถานการณ์ดังกล่าว หรือต้องการให้
มีคนอยู่ด้วย หรือถ้าหลีกเลี่ยงสถานการณ์นั้นได้
ก็จะเกิดความกลัวหรือความกังวลใจอย่างมาก
E:ความกลัวหรือความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์
ดังกล่าวมากกว่าที่ควรจะเป็นตามบริบทในสังคม
F:ความกลัว วิตกกังวล หรือหลีกเลี่ยงสถานการณ์นั้นเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ 6เดือนขึ้นไป
G:ความกลัว วิตกกังวล หรือหลีกเลี่ยงสถานการณ์นั้น ก่อให้เกิดความทุกข์ใจอย่างมาก หรือส่งผลต่อการทำหน้าที่ในด้านต่างๆ
H:หากมีโรคทางกายอื่นๆ เช่น Parkinson’s disease โรคลำไส้อักเสบ
ความวิตกกังวลนั้นต้องไม่สัมพันธ์กับโรคร่วม หรือหากมีความสัมพันธ์
กับโรคร่วม ก็ควรเป็นความกลัวหรือความกังวลที่ไกลเกินกว่าที่ควรจะเป็น
I:ความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นหรือความพยายามเลี่ยงสถานการณ์ดังกล่าว ไม่ได้เกิดจากโรคจิตเวชอื่นๆ โดยเฉพาะโรควิตกกังวลอื่นๆ
Specific phobias
การวินิจฉัย
A:มีความรู้สึกกลัวหรือวิตกกังวลเกี่ยวกับวัตถุ สถานที่หรือ
สถานการณ์หนึ่ง อาการกลัวในเด็ก อาจแสดงออกเป็นร้องไห้ ตัวเกร็ง ติดแม่
B:การเผชิญกับสถานการณ์หรือวัตถุนั้นหรืออดทนเผชิญด้วยความกลัว หรือวิตกกังวลอย่างมากในทันทีและสม่ำเสมอ
C:ผู้ป่วยพยายามหลีกเลี่ยงสถานการณ์หรือวัตถุนั้น
หรืออดทนเผชิญด้วยความกลัวหรือวิตกกังวลอย่างมาก
D:ความกลัวหรือกังวลนั้นเป็นความกลัวที่ไม่สมเหตุสมผล
อย่างมากกับสถานการณ์หรือวัตถุนั้นตามบริบทของสังคม
E:ความกลัว วิตกกังวลหรือพยายามหลีกเลี่ยง เกิดขึ้นตั้งแต่ 6เดือนขึ้นไป
F:ความกลัว ความกังวลหรือการหลีกเลี่ยงการเผชิญ ก่อให้เกิดความทุกข์อย่างมาก หรือส่งผลต่อการทำหน้าที่ในด้านต่างๆ
H:อาการดังกล่าวไม่ได้เกิดจากโรคจิตเวชอื่นๆ
ความหมาย
ภาวะที่ผู้ป่วยกลัวสถานการณ์หรือบางสิ่งบางอย่างมากจนทำให้เกิดปัญหา
เมื่อเผชิญความกลัวทำให้มีอาการต่างๆแสดงออกมา
สาเหตุปัจจัย
พันธุกรรม
สิ่งแวดล้อม
การพบเจอหรือรับฟังสถานการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจ
การทำงานของสมองที่ผิดปกติ
การรักษา
จิตบำบัด
การรักษาด้วยยา
การบำบัดพฤติกรรม
Social anxiety disorder
การวินิจฉัย
A:มีความรู้สึกกังวลหรือกลัวการเข้าสังคมในสถานการณ์ที่ผู้ป่วยอาจถูกสังเกต พินิจพิจารณาจากผู้อื่นอย่างละเอียด เช่นในการสนทนา ตั้งแต่1สถานการณ์ขึ้นไป(ในเด็กต้องพบว่าเด็กมีความกังวลเมื่ออยู่ในกลุ่มเพื่อนวัยเดียวกันด้วย)
B:ผู้ป่วยกลัวว่าตนจะแสดงความกังวลออกไปจนถูกประเมินในแง่ลบ
C:สถานการณ์ดังกล่าวมักจะกระตุ้นให้เกิดความกลัวหรือกังวลได้เสมอ
(ในเด็กอาการวิตกกังวลอาจแสดงออกโดยการร้องไห้ ตัวเกร็ง ติดแม่)
D:ผู้ป่วยพยายามหลีกเลี่ยงการเข้าสังคม หรืออดทนทำด้วยความกลัวหรือกังวลอย่างมาก
E:ความกลัวหรือวิตกกังวลนั้นมากเกินกว่าที่ควรจะเป็น ตามบริบทของสัมคม
F:ความกลัว วิตกกังวล หรือหลีกเลี่ยงสถานการณ์เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องมักนานตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป
G:ความกลัว. วิตกกังวล หลีกเลี่ยงสถานการณ์นั้น ก่อให้เกิดความทุกข์ใจอย่างมาก
หรือส่งผลต่อการทำหน้าที่ในด้านต่างๆ เช่น การเรียน การทำงาน การเข้าสังคม
H:อาการไม่ได้เป็นจากผลของยา สารเสพติด หรือโรคทางกาย
I:อาการดังกล่าวไม่ได้เกิดจากโรคจิตเวชอื่นๆ
J:หากมีโรคทางกายอื่นๆ เช่น Parkinson’s disease โรคลำไส้อักเสบความวิตกกังวลนั้นต้องไม่สัมพันธ์กับโรคร่วม
หรือหากมีความสัมพันธ์กับโรคร่วม ก็ควรเป็นความกลัวหรือความกังวลที่ไกลเกินกว่าที่ควรจะเป็น
ความหมาย
การที่ผู้ป่วยมีอาการประหม่า
อึดอัด กังวลใจ เมื่ออยู่ในสถานการณ์
ที่ผู้อื่นสังเกตจ้องมองตนเอง
การบำบัดรักษา
Cognitive behavior therapy
การปรับเปลี่ยนความคิดของตัวเอง ประเมินตนเองให้น้อยลง
ยาระงับโรคซึมเศร้าและยาระงับความวิตกกังวล
ความผิดปกติทางจิตใจภายหลัง
เผชิญเหตุการณ์สะเทือนขวัญ
(Trauma and Stress Related Disorder)
Post traumatic
stress disorder
(PTSD)
ความหมาย
เป็นโรควิตกกังวลที่เกิดขึ้นภายกลังจากที่ผู้ป่วยเผชิญกับ
เหตุการณ์ที่รุนแรง เช่น สงคราม อุทกภัย ถูกทำร้าย ถูกข่มขืน
การบำบัดรักษา
การรักษาด้วยยา
ยาต้านอาการวิตกกังวลใช้รักษา
ผู้ที่ผิดปกติด้านวิตกกังวลทุกรูปแบบ
การรักษาทางจิตสังคม
เป็นการรักษาที่ต้นเหตุ
จิตบำบัดโดยทฤษฎีมนุษยนิยม
การบำบัดโดยปรับความคิด
(cognitive therapy)
การเผชิญกับสิ่งที่เกิดขึ้น
(exposure therapy)
การทำจิตวิเคราะห์(Psychoanalysis)
ครอบครัวบำบัด
(Family therapy)
การบำบัดทางเลือก
(Alternative therapy)
เพื่อลดความวิตกกังวล
Visual imagery การสร้างจินตภาพ
Change of pace or scenery การเปลี่ยนสถานที่อยู่
Exercise or massage การออกกำลังกาย การนวด
Hypnosis การสะกดจิต
Relaxation exercise ฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
Biofeedback
ใช้เครื่องไบโอฟีดแบคตรวจสอบ
การวินิจฉัย
A:บุคคลเผชิญกับเหตุการณ์ที่อันตรายถึงชีวิต คุกคามชีวิตหรือได้รับบาดเจ็บรุนแรง หรือถูกล่วงละเมิดทางเพศ อย่างน้อย1ข้อ ในลักษณะประสบเหตุโดยตรง เป็นพยานรู้เห็นรับรู้เหตุการณ์จากคนใกล้ชิด และประสบกับรายละเอียดเหตุการณ์ซ้ำๆ
B:มีการรับรู้เหตุการณ์ผุดขึ้นมา
หลังประสบเหตุ อย่างน้อย 1ลักษณะ
มีความทรงจำผุดขึ้นมาซ้ำๆ
มีฝันร้ายซ้ำๆ
มีdissociative reaction เช่น
flashback รู้สึกว่ากำลังเกิดขึ้นซ้ำๆ
มีความทุกข์ทรมานใจอย่างรุนแรงและ
ยาวนานเมื่อเจอสิ่งที่กระตุ้นให้นึกถึงเหตุการณ์
มีอาการทางกายอย่างชัดเจนเมื่อเจอสิ่งกระตุ้น
C:หลีกเลี่ยงสิ่งเร้าที่สัมพันธ์กับเหตุการณ์ มีอย่างน้อย 1ลักษณะ
หลีกเลี่ยงความทรงจำ ความคิด
ความรู้สึกที่สัมพันธ์กับเหตุการณ์นั้น
หลีกเลี่ยงสิ่งเร้าภายนอกนอกที่ทำให้ระลึกถึง
หรือรู้สึก เช่น บุคคล สถานที่ กิจกรรมและวัตถุ
D:มีการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์และความคิดการรับรู้ต่อเหตุการณ์ในทางลบ โดยมีอย่างน้อย 2ลักษณะ ดังนี้
จำส่วนสำคัญของเหตุการณ์ไม่ได้
คาดหวังหรือมีความเชื่อต่อตนเอง ผู้อื่น
และโลกภายนอกในทางลบมากเกินไป
มีความคิดบิดเบือนอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับ
สาเหตุหรือผลที่ตามมาจากเหตุการณ์
จนทำให้โทษตนเองหรือบุคคลอื่น
มีอารมณ์ด้านลบที่ยาวนาน
มีความสนใจในกิจกรรมที่สำคัญลดลงอย่างชัดเจน
รู้สึกแปลกแยกจากบุคคลอื่น
ไม่สามารถมีอารมณ์ด้านบวก
E:มีการตื่นตัวที่สัมพันธ์กับเหตุการณ์ อย่างน้อย 2ลักษณะ
หงุดหงิด ระเบิดอารมณ์โกรธ
มีพฤติกรรมก้าวร้าว
กระสับกระส่าย ทำลายตนเอง
ระแวดระวัง
สะดุ้งตกใจง่ายเกินเหตุ
มีปัญหาสมาธิ
มีปัญหาการนอน
F:มีอาการดังกล่าวนาน 1เดือน และไม่ได้เป็นผล
มาจากยา สารเสพติด หรือโรคทางกาย
G:ก่อให้เกิดความทุกข์หรือทำหน้าที่
ด้านสังคม การงาน อื่นๆบกพร่อง
กลุ่มโรคย้ำคิดย้ำทำ
(Obsessive Compulsive Disorder
ความหมาย
อาการย้ำคิด
คือความคิด มโนภาพที่เกิดขึ้นซ้ำๆในช่วงเวลาหนึ่งที่ผุดขึ้นมาเอง (intrusive)
อาการย้ำทำ
คือ พฤติกรรมซ้ำๆ เพื่อป้องกันหรือลดความไม่สบายใจ
ล้างมือบ่อยๆ
ตรวจเช็คของซ้ำๆ
การวินิจฉัย
A:ต้องมีอาการย้ำคิด(obsession)หรือ
ย้ำทำ(Compulsive)หรือทั้งสองอย่าง
C:อาการย้ำตืกย้ำทำไม่ได้เป็นผลของยา สารเสพติด หรือโรคทางกาย
B:อาการย้ำคิดย้ำทำทำให้ผู้ป่วยเสียเวลา หรือส่งผลต่อการทำหน้าที่ในชีวิตประจำวัน เช่น ด้านอาชีพ
D:หากมีการวินิจฉัยโรคจิตเวชอื่นอยู่แล้ว อาการย้ำคิดย้ำทำที่เกิดขึ้น ไม่ได้เป็นอาการของโรคจิตเวชนั้น
การบำบัดรักษา
การรักษาด้วยยา
จิตบำบัด
cognitive behavior therapy
ปัจจัย
พันธุกรรม
สภาพแวดล้อม
ความผิดปกติ
ของสมอง
ภัทรวดี ใจผัดคำ 6126221