Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคทางระบบทางเดินหายใจในทารกแรกเกิด - Coggle Diagram
โรคทางระบบทางเดินหายใจในทารกแรกเกิด
Transient Tachypnea of the Newborn (TTNB)
พยาธิสภาพ
การที่มีสารน้ำสะสมอยู่ในถุงลมปอดและเนื้อเยื่อนอกถุงลมปอด(extra-alveolar interstitium)ทำให้หลอดลมตีบแค้นอย่างรุนแรง
(compress)เกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจมีผลทำให้อากาศถูกกับและปอดมีการขยายตัวมากขึ้นด้วยขาดออกซิเจนจากการที่ถุงลมมีการกำซาบ (perfusion) แต่มีการระบายก๊าซ (ventilation) ออกไม่เพียงพอทำให้คาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดสูง
ความหมาย
ภาวะกลุ่มอาการหายใจลำบากชั่วขณะในทารกแรกเกิด หมายถึงภาวะที่มีการหายใจเร็วในระยะแรกเกิดที่ปรากฎอาการภายหลังคลอดทันทีหรือภายใน 6 ชั่วโมงหลังคลอดเกิดจากมีน้ำ เหลืออยู่ในปอดมากกว่าปกติทำให้ใช้เวลาดูดซึมออกจากปอดนานขึ้นจึงทำให้ทารกมีอาการหายใจลำบาก
สาเหตุ
ภาวะหายใจเร็วชั่วคราวในทารกแรกเกิด มีสาเหตุมาจากการที่ทารกไม่สามารถขับน้ำที่อยู่ภายในปอดออกมา ได้หมด เข้าสู่ระยะคลอดทารกจะมีการเตรียมเพื่อการหายใจครั้งแรกผ่านกระบวนการดูดซึมน้ำในปอดกลับเข้าสู่ระบบน้ำเหลืองและระบบไหลเวียนเลือด โดยในระยะ 2-3 สัปดาห์ก่อนถึงกำหนดคลอด จะมีการหลั่งสารcatecholamines เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะ epinephrine และ isoproterenol เมื่อเข้าสู่ระยะคลอดทารกเคลื่อนเข้าสู่ช่องทางคลอดของมารดา ทรวงอกของทารกจะถูกบีบ(vaginal squeeze) ทำให้มีการคายน้ำออกจากปอด เป็นการเตรียมพร้อมสำหรับการหายใจครั้งแรก แต่หากกระบวนการขจัดน้ำออกจากปอดของทารกถูกรบกวน ทำให้น้ำคงเหลืออยู่ในปอดทารกส่งผลทารกหายใจไม่มีประสิทธิภาพเกิดภาวะหายใจเร็วชั่วคราวในระยะแรกเกิดได้
RD,RDS
พยาธิสภาพ
เกิดจากปอดของทารกคลอดก่อนกำหนดขาดสารลดแรงตึงผิวในถุงลม ซึ่งทำหน้าที่ให้ถุงลมคงรูปและไม่แฟบขณะหายใจออก สารลดแรงตึงผิวสร้างจากเซลล์ Pneumocyte type 1 ได้ตั้งแต่อายุครรภ์ประมาณ 20 สัปดาห์ และสร้างมากขึ้นจนอายุครรภ์ 35 สัปดาห์ ซึ่งการขาดสารลดแรงตึงผิวทำให้ความยืดหยุ่นของปอดลดลง ทารกต้องใช้แรงในการหายใจในแต่ละครั้งมากขึ้นทำให้ร่างกายต้องใช้ออกซิเจนมากกว่าที่ได้รับจากการหายใจต่อมาทารกจะเหนื่อยล้าพร้อมกับการระบายอากาศในถุงลมลดลง ออกซิเจนจึงไม่สามารถผ่านเข้าสู่กระแสโลหิต ขณะเดียวกันคาร์บอนไดออกไซด์ไม่สามารถผ่านออกมาได้ทำให้ทารกมีภาวะเลือดขาดออกซิเจนร่วมกับมีการคั่งของคาร์บอนไดออกไซด์และเกิดภาวะกรดตามมาจากการที่หลอดเลือดที่ปอดหดตัวดังนั้นการกำซาบของอากาศที่ปอดลดลง จึงมีการหายใจแรงมากขึ้น
สาเหตุ
การขาดสารลดแรงตึงผิว ( Surfactant) หรือเกิดจากการสร้างสารลดแรงตึงผิวในปอดได้ช้าหรือไม่สมบูรณ์
ปัจจัยอื่นๆ ที่มีส่วนชักนำให้เกิดโรคนี้เพิ่มขึ้น เช่น มารดาตกเลือดก่อนคลอด มารดาเป็นเบาหวาน หรือมีภาวะขาดออกซิเจนปริกำเนิด (Perinatal Asphyxia) เป็นต้น
Congenital Pneumonia
พยาธิสภาพ
ระยะบวมคั่ง (stage of congenital or edema) เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ปอดจะแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว หลอดเลือดมีการขยายตัวเกิดPhagocytosis ระยะนี้ใช้เวลา 24-46 ชม.
ระยะปอดฟื้นตัว (stage of resolution) เมื่อเม็ดเลือดขาวทำลายเชื้อโรค จะหลั่งสารเอนไซม์มาละลาย RBC, fibrinogen ,หนอง จะเห็นเสมหะออกมาเป็นสีสนิมเหล็ก
ระยะเนื้อปอดแข็ง (stage of consolidation) ระยะแรกจะพบว่ามีRBC, fibrinogen อยู่ในถุงลมปอดเป็นส่วนใหญ่ หลอดเลือดที่ผนังถุงลมปอดขยายตัวมากขึ้นทำให้เนื้อปอดสีแดง (Red Hehatitis)
อาการและอาการแสดง
หายใจเร็ว (tachypnea) มีอัตราการหายใจ>60 ครั้ง/นาที
ภาพรังสีปอดอาจพบฝ้าขาวในระยะแรกแต่จะหายไปอย่างรวดเร็วอาการและอาการแสดง
ㆍ ตรวจร่างกายพบ cyanosis หายใจมีการดึงรั้งของผนังทรวงอก(retraction)
ตรวจค่าก๊าซในเลือดจะพบว่ามีกรดเกินจากการ หายใจrespiratory acidosis ภาวะคาร์บอนไดออกไซด์เกิดเล็กน้อย
ทารกหายใจลำบาก ปีกจมูกบาน(Nasal Flaring) หน้าอกบุ๋มมี retraction ฟังปอดได้ยินเสียง Rhonchi และCrepitation
Expiratory Grunting (เสียงครางขณะหายใจออก)
อุณหภูมิร่างกายสูง
การพยาบาล
1) ก่อนการคลอดลำตัวทารกทำการดูดเสมหะในทางเดินหายใจด้วยลูกสูบยางให้ทางเดินหายใจโล่ง เพื่อช่วยส่งเสริมการหายใจครั้งแรกของทารกแรกเกิด
2)ให้การดูแลเพื่อส่งเสริมการหายใจของทารกแรกเกิด โดยใช้ลูกสูบยางดูดเสมหะในปากและจมูก ในระยะแรกคลอดก่อนการกระตุ้นให้ทารกร้องไห้ และให้การพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะอุณหภูมิกายต่ำ โดยให้การพยาบาลใต้ radiant warmerรีบเช็ดตัวให้แห้งและห่อตัวทารกให้อบอุ่น ซึ่งช่วยป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนของระบบหายใจได้
3) ในระยะหลังคลอด 2 ชั่วโมงให้สังเกตอาการอย่างใกล้ชิดในรายที่มีปัจจัยเสี่ยงหรือมีอาการหายใจ เร็วชั่วคราวในระยะแรกเกิด โดยเฉพาะลักษณะการหายใจและระดับความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด (02 saturations) ควรติดตามอย่างต่อเนื่อง
4)ในรายที่พบว่ามีอาการหายใจเร็วชั่วคราวเกิดขึ้นควรมีการให้ออกซิเจนที่มีระดับความเข้มข้นตั้งแต่ 40% ขึ้นไปตามแผนการรักษาและเป็นออกซิเจนที่ผ่านความชื้นนิยมให้ 02 canular หรือ 02 box เพื่อช่วยส่งเสริมการดูดกลับของสารน้ำในปอด ส่งเสริมการปรับตัวของระบบหายใจและระบบไหลเวียน
5) ในรายที่มีอาการรุนแรง (อัตราการหายใจมากกว่า 80 ครั้ง/นาที) ควรให้งดดูดนมและให้สารละลายทางหลอดเลือดดำชนิด 10% DW ในขนาด 60-80 มล./กก./วันตามแผนการรักษา
6) เมื่อทำการสังเกตอาการครบ 2 ชั่วโมงร่วมกับให้การดูแลแบบประคับประคองแล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรรายงานแพทย์เพื่อพิจารณาส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษเพื่อประกอบการวินิจฉัย ภาวะหายใจเร็วชั่วคราวในระยะแรกเกิด และให้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ ตามแผนการรักษา
7)ทำการส่งต่อทารกแรกเกิดที่มีภาวะหายใจเร็วชั่วคราวไปยังหออภิบาลทารกแรกเกิด (NICU) เพื่อ ให้การดูแลป้องกันและเฝ้าระวังภาวะหายใจลำบาก และภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ จนกว่าอาการจะคงที่
Mas : Meconium Aspiration Syndrome
ความหมาย
กลุ่มอาการหายใจลำบากที่เกิดเนื่องจากการที่ทารกสูดสำลักหายใจเอาขี้เทาซึ่งปนอยู่ในน้ำคร่ำเข้าไปในทางเดินหายใจ อาจเกิดขณะในครรภ์ ขณะคลอดหรือทันทีหลังคลอดภาวะสูดสำลักน้ำคร่ำที่มีขี้เทาในทารกแรกเกิดเป็นสาเหตุพบบ่อยที่ทำให้เกิดภาวะหายใจลำบาก และภาวะ
ปอดบวมจากการสูดสำลัก
พยาธิสภาพ
เมื่อทารกขาดออกซิเจนในครรภ์ขี้เทาจะถูกขับออกมาปนในน้ำคร่ำ ถ้าขี้เทามีขนาดใหญ่และทารกสูดสำลักเข้าปอด จะทำให้มีการอุดกั้นเชิงกล(mechanical obstruction) ในหลอดลมขนาดใหญ่ ทำให้เกิดการขาดออกซิเจนรุนแรง แต่ถ้าขี้เทามีขนาดเล็กและกระจายอยู่ในน้ำคร่ำทั่วถึงกัน การอุดกั้นจะเกิดในถุงลมฝอย ซึ่งอาจเป็นการอุดกั้นอย่างสมบูรณ์ ทำให้ถุงลมแฟบหรือปนกับสารลดแรงตึงผิวที่เคลือบผิวด้านในถุงลมทำให้สารลดแรงตึงผิวเสียคุณสมบัติการอุดกั้นอาจไม่สมบูรณ์ บริเวณที่มีการอุดกั้นไม่สมบูรณ์ ถุงลมจะโป่งพองทำให้ลมรั่วในปอด ได้แก่ ภาวะมีลมในช่องเยื่อหุ้มปอด นอกจากนี้ ขี้เทายังระคายเยื่อบุปอดทำให้เกิดการอักเสบ ภาวะขาดออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซค์สูง และภาวะเลือดเป็นกรด
สาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยง
Fetal distress
ตั้งครรภ์เกินกำหนด
น้ำหนักตัวน้อยกว่าอายุครรภ์
Cord Compression