Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Hypertension ความดันโลหิตสูง - Coggle Diagram
Hypertension ความดันโลหิตสูง
พยาธิสภาพ
พยาธิสภาพ
ความดันโลหิตสูงจะทำให้เกิดหลอดเลือดแข็งและตีบ เมื่อหัวใจบีบตัวหัวใจจะบีบเลือดไปยังหลอดเลือดแดงทำให้เกิดความดันโลหิตซึ่งเกิดจากการบีบตัวของหัวใจและแรงต้านทานของหลอดเลือด หัวใจคนเราเต้น 60-80 ครั้ง ความดันก็จะเพิ่มขณะที่หัวใจบีบตัวและลดลงขณะที่หัวใจคลายตัว ความดันโลหิตขอวคนเราไม่เท่ากันตลอดเวลาขึ้นกับท่าความเครียด การออกกำลังกาย การนอนหลับ ปกติของคนเราคือ 120/80 มิลิเมตรปรอท แต่ไม่ควรเกิน 140/90 หากสูงกว่านี้แสดงว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงโรคความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคหัวใจ โรคไต โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคอัมพาต โรคหัวใจเป็นโรคที่มีอัตราตายสูง
ผู้ป่วยมาด้วย Dx.Hypertension c Old CVA มาด้วยอาการปวดศีระมาก ตาพร่ามัว เดิมเป็นอัมพาตท่อนล่าง 1 ปี และโรคเบาหวาน 20 ปี รับยาไม่สม่ำเสมอ
โรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ (Primary Hypertension or Essentialon ) โดยมีปัจจัยหลายอย่างที่เกี่ยวข้องเช่น กรรมพันธุ์ การรับประทานเกลือมาก โรคอ้วน การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา และขาดการออกกำลังกาย โรคความต้นโลหิตสูงชนิดนี้ มักถึงวัยสูงอายุ และมักมีประวัติทางครอบครัว หรือกรรมพันธุ์ เช่น มีพ่อแม่พี่น้อง หรือสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคนี้อยู่มักเป็นกับคนอ้วน
สาเหตุ
การไม่ออกกำลังกาย
ผู้ป่วยเป็นอัมพาตท่อนล่าง เป็นเวลา 1 ปี จากโรคหลอดเลือดในสมอง CVA เลยทำให้ออกกำลังกายไม่สม่ำเสมอไม่ค่อยเคลื่อนไหวร่างกาย
โรคเบาหวาน เพราะก่อให้เกิดการอักเสบตีบแคบของหลอดเลือดต่างๆ รวมทั้งหลอดเลือดของไต
ผู้ป่วยมีดรคประจำตัวโรคเบาหวานเป็นเวลา 20 ปี รับยาไม่สม่ำเสมอ
พฤติกรรมการรับประทานอาหารไม่เหมาะสม
ผู้ป่วยชอบรับประทานอาหารเค็ม
ตีบตันของหลอดเลือดต่างๆ
อายุมากขึ้น
ผู้ป่วยอายุ 54 ปี
การที่มีพยาธิสภาพโรคร่วมด้วย
มีโรคหลอดเลือดสมอง CVA ร่วมด้วย
การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอลล์
.โรคความดันโลหิตสูงชนิดทราบสาเหตุ (Secondary Hypertension) ความดันโลหิตสูงชนิดนี้ พบจำนวนน้อยและสามารถรักษาให้หายขาดได้ มักเกิดจากสาเหตุการได้รับยา หรือฮอร์โมนบางชนิด และโรคต่างๆ ที่พบได้บ่อย คือ โรคไต โรคของต่อมไร้ท่อ และความผิดปกติของหลอดเลือดแดงใหญ่
อาการและการแสดง
ปวดศีรษะ อาการปวดศีรษะจากโรคความดันโลหิตสูงพบได้ไม่บ่อยนัก
ปวดศีรษะแบบไมเกรน (migraine) หรือปวดศีรษะข้างเดียว อาการปวดศีรษะแบบไมเกรนกับโรคความดันโลหิตสูง
เลือดกาเดาไหล เป็นอาการที่พบไม่บ่อย ในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปี ขึ้นไป
อาการอื่นๆ ที่อาจพบ ได้แก่ อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย นอนไม่หลับ ใจสั่น อาจชัก หมดสติ เป็นอัมพาต และอาจเสียชีวิตได้
ตาพร่ามัว
ผู้ป่วยมาด้วยอาการปวดศีรษะมาก ตาพร่ามัว 30 นาทีก่อนมาโรงพยาบาล
ภาวะแทรกซ้อน
หัวใจวายหรือโรคหลอดเลือดสมอง
หัวใจล้มเหลว
ไตเสื่อม
หัวใจขาดเลือด
stroke
CVA
ผู้ป่วยมีโรคหลอดเลือดสมอง CVA เป็นอัมพาตท่อนล่าง 1 ปี
โรคเมตาบอลิก หรือภาวะที่เกี่ยวข้องกับการเผาผลาญพลังงาน
การรักษา
การรักษาโดยไม่ใช้ยา คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการดำรงชีวิต เช่น
การควบคุมน้ำหนัก
การออกกำลังกายสม่ำเสมอ
การลดอาหารเค็ม
Low salt diet
เลิกสูบบุหรี่ แอลกอฮอลล์
การรักษาโดยใช้ยา
ยาขับปัสสาวะ Diuretics เป็นยาที่ส่งผลต่อการท่างานของไต โดยจะช่วยขับโซเดียมส่วนเกินและนำออกจากร่างกาย รวมไปถึงลดความดันโลหิตลง
ยาในกลุ่มเบต้า บล็อกเกอร์ (Beta Blockers) เป็นยาปิดกั้นการทำงานของเบต้า รีเซ็ปตอร์ที่ทำให้หัวใจเต้นช้าและมีแรงต้านน้อยลง ส่งผลให้หัวใจบีบตัวในการส่งเลือดน้อยลง จึงช่วยในการลดความดันโลหิตลงได้
ยาในกลุ่มเอซีอี อินฮิบิเตอร์ (Angiotensin-ConvertingEnzyme Inhibitors: ACE Inhibitors) เป็นยาที่ช่วยยับยั้งการทำงานของแองจิโอเทนซิน 2 (Angiotensin II) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำให้หลอดเลือดเกิดการตีบต้นและเพิ่มความดันโลหิตให้สูงขึ้น
ยาในกลุ่มแอลฟา-บล็อกเกอร์ (Alpha-blockers) ช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัวและขยายหลอดเลือดเพื่อให้เลือดไหลเวียนได้อย่างสะดวก เช่น ด็อกซาโซซิน (Doxazosin)และยาพราโซซิน(Prazosin)
ยาในกลุ่มแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ (Calcium Channel Blockers) เป็นยาที่ช่วยหลอดเลือดคลายตัวเช่น ยาแฮมโลดิปืน (Amlodipine) และยาติลไทอะเซม(Diltiazem)
ผู้ป่วยได้รับยา ให้ยาลดความดันโลหิต amlodipine 1 tab stat then bid pc
ยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง (Centrally Acting Agents) เพื่อช่วยระงับสารสื่อประสาทที่ทำให้หลอดเลือดตีบตัน ซึ่งจะลดความดันโลหิตลง เช่น ยาโคลนิดีน (Clonidineclonidine ) และเมทิลโดปา(Methyldopa)