Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สรุปประเด็นสำคัญ, image - Coggle Diagram
สรุปประเด็นสำคัญ
ภาวะถุงน้ำแตกก่อนกำหนด(premature rupture of membrane)
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
เกิดการติดเชื้อในโพรงมดลูก(metritis)โดยเฉพาะการติดเชื้อที่โพรงมดลูกหรือถุงน้ำคร่ำ(chorioamnionitis)
การคลอดก่อนกําหนด(preterm labor)
ผลกระทบต่อทารกในครรภ์
ทารกในครรภ์เกิดภาวะขาดออกซิเจน
ทารกในครรภ์พิการหรือเกิดภาวะเจริญเติบโตช้า
ทารกคลอดก่อนกําหนดทําให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ
ภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น สายสะดือย้อย(prolapse cord)สายสะดือถูกกดทับ(cord compression)ทําให้ทารกมีการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ
ติดเชื้อเข้าไปทางจมูกปากเข้าสู่ปอดเกิดภาวะปอดบวมมีการติดเชื้อเข้าสู่กระแสเลือด(septicemia) ทําให้เกิดการติดเชื้อที่สายสะดือ(omphalitis)
มี 2 ชนิด
1.ถุงน้ำคร่ำแตกหรือรั่วก่อนกําหนดอายุครรภ์37 สัปดาห์เรียกว่าPreterm Premature Rupture of Membranes (PPROM)
2.ถุงน้ำคร่ำแตกหรือรั่วเมื่ออายุครรภ์37 สัปดาห์ขึ้นไปเรียกว่าTerm Premature Rupture of Membranes (Term PROM)
กิจกรรมการพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
ดูแลให้ได้รับยายับยั้งการหดรัดตัวของมดลูก
ให้การประคับประคองทางด้านจิตใจโดยการกระตุ้นให้ระบายความรู้สึกเครียดวิตกกังวล
ดูแลให้ได้รับยาในกลุ่มcorticosteroids ตามแผนการรักษา
แนะนําให้สตรีตั้งครรภ์รักษาความสะอาดของอวัยวะสืบพันธุ์ภายหลังการขับถ่ายเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
ใส่ผ้าอนามัยเพื่อสังเกตจํานวนสีและกลิ่นของน้ําคร่ํา
หลีกเลี่ยงการตรวจภายในช่องคลอดหรือทวารหนักเพราะจะทําให้เกิดความเสี่ยงในการติดเชื้อเพิ่มขึ้น
จัดให้นอนพักอยู่บนเตียง(bed rest) แนะนําให้นอนตะแคงซ้ายซึ่งอาจจะช่วยเพิ่มการสะสมของปริมาณน้ําคร่ําและหลีกเลี่ยงการติดเชื้อเพิ่มได้
ประเมินและบันทึกการหดรัดตัวของมดลูก
ในกรณีที่น้ําคร่ําหยุดไหลและแพทย์อนุญาตให้กลับบ้านแนะนําให้พักผ่อนให้มากที่สุดหลีกเลี่ยงการทํางานหนักงดการมีเพศสัมพันธ์การสวนล้างช่องคลอดสังเกตอาการผิดปกติอื่นๆที่อาจเกิดขึ้น
ประเมินสุขภาพของทารกในครรภ์โดยการฟังเสียงเต้นของหัวใจทารกทุก1 ชั่วโมง
ประเมินสัญญาณชีพทุก4 ชั่วโมงเพื่อประเมินอาการและอาการแสดงของการติดเชื้อ
ระยะคลอด
ประเมินและบันทึกการหดรัดตัวของมดลูก
ดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะแผนการรักษา
ประเมินสุขภาพของทารกในครรภ์โดยการฟังเสียงเต้นของหัวใจทารกทุก1 ชั่วโมง
ดูแลให้ได้รับสารน้ําตามแผนการรักษา
ประเมินสัญญาณชีพทุก4 ชั่วโมงเพื่อประเมินอาการและอาการแสดงของการติดเชื้อ
ในรายที่ไม่มีข้อห้ามควรตรวจความก้าวหน้าของการคลอดทางช่องคลอดโดยใช้วิธีปราศจากเชื้อให้มากที่สุดเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
อธิบายและแนะนําภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นรวมถึงแผนการรักษาที่จะได้รับ
ระยะหลังคลอด
ประเมินสัญญาณชีพทุก4 ชั่วโมงติดต่อกันอย่างน้อย3 วันเพื่อประเมินการติดเชื้อ
วัดระดับยอดมดลูกทุกวันโดยปกติมดลูกจะลดระดับลงวันละประมาณ½ -1 นิ้วถ้ามดลูกไม่ลดขนาดลงแสดงว่ามีการติดเชื้อที่มดลูก
สังเกตลักษณะสีและกลิ่นของน้ำคาวปลา
สรุปประเด็นสำคัญของหัวข้อ
ภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกําหนด มีความเสี่ยงอย่างมากเมื่อเกิดกับครรภ์ที่ไม่ครบกําหนดคลอด โดยภาวะแทรกซ้อนที่มักพบคือ จะนํามาสู่การเจ็บครรภ์คลอดก่อนกําหนด ติดเชื้อ และทารกขาอออกซิเจน ดังนั้นการดูแลและประเมินภาวะถุงน้ําคร่ําแตกก่อนกําหนดได้อย่างถูกต้องและแม่นยํา โดยการซักประวัติ ตรวจร่างกาย ตรวจทางห้องปฏิบัติ และตรวจพิเศษต่าง ๆ จะช่วยยืนยันการวินิจฉัยได้ถูกต้อง เพื่อแนวทางการดูแลรักษาและการพยาบาลที่เหมาะสม ซึ่งจะช่วยลดภาวะทุพพลภาพของมารดาและทารก
ความหมาย
การที่ถุงน้ำคร่ำมีการแตกหรือรั่วที่เกิดขึ้นเองก่อนการเจ็บครรภ์ไม่ว่าจะเกิดขึ้นที่อายุครรภ์เท่าใดก็ตาม
สาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยง
ทารกอยู่ในท่าหรือส่วนนําที่ผิดปกติ เช่น ท่าก้น ท่าขวาง
การตั้งครรภ์แฝดและการตั้งครรภ์แฝดน้ำทําให้เกิดแรงดันในโพรงมดลูกเพิ่มสูงขึ้นเกิดถุงน้ำคร่ำรั่วหรือแตกได้
ภาวะปากมดลูกปิดไม่สนิท(incompetent cervix)เช่นเคยทําการผ่าตัดconization ของปากมดลูก
การทําสูติศาสตร์หัตถการต่างๆเพื่อวินิจฉันโรคทารกก่อนคลอดเช่นการเจาะถุงน้ําคร่ําการชิ้นเนื้อรก การเจาะเลือดจากสายสะดือทารก
ภาวะการอักเสบเรื้อรังของระบบทางเดินปัสสาวะทําให้มดลูกมีการหดรัดตัวเพิ่มมากขึ้น
เคยมีประวัติการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกําหนดหรือการเกิดถุงน้ําคร่ําแตกก่อนกําหนดในครรภ์ก่อน
ปัจจัยส่วนบุคคลอื่นๆเช่นเศรษฐานะต่ำการสูบบุหรี่การทํางานการขาดสารอาหาร
การอักเสบของช่องคลอดหรือปีกมดลูก(vaginal or cervical infection)
การติดเชื้อที่ถุงน้ำคร่ำ(chorioamnionitis) เช่นการติดเชื้อหนองใน, group B Streptococci chlamydia, trichomonas และgardnerella vaginalis
พยาธิสภาพ
กลไกเกี่ยวกับสารคอลลาเจน เยื่อหุ้มเด็กระหว่างด้าน Amnion และ Chorion จะมีเนื้อเยื่อเกี่ยวพันบรรจุอยู่ซึ่งในไตรมาส 3 ของการตั้งครรภ์ ด้าน Amnion มีเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่เป็นคอลลาเจนชนิดที่ 3น้อยลงคือหนาประมาณ 0.05 – 0.11 มิลลิเมตร ดังนั้นแรงต้านการยืดตัวของเยื่อหุ้มเด็กจะลดลงเมื่ออายุครรภ์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ คอลลาเจนที่ 3 ของด่าน Chorion จะลดลงเรื่อยๆ เช่นกัน
กลไกของระบบ Antimicrobial เมื่อมีการติดเชื้อเกิดขึ้นเม็ดเลือดขาวชนิด Macrophage ของเยื่อAmnion Chorion จะออกมาจบกั ินเชื้อแบคทีเรียมากจะทาใหํ เกิดการไฮโดรไลต์ของโปรตีนในเนื้อเยื่อหุ้มเด็กถูกไฮโดรไลต์โปรตีนออกไปมากขึ้น ทําให้ผนังเยื่อหุ้มเด็กอ่อนแอลงเกิดการแตกรั่วในที่สุด
กลไกเกี่ยวกับการสร้าง Prostaglandin การคลอดครบกําหนดเชื่อว่าอาศัย ปฏิกิริยาของน้ำคร่ำและ Chorionic Phospholipase A2 ซึ่งจะ Hydrolyzes Phospoholipid ในเนื้อเยื่อรก ทําให้เกิด Free Arachidonic â มากขึ้นและมีการสังเคราะห์ Prostaglandin ทําให้มดลูกหดรัดตัวการสร้าง Prostaglandin ที่ชักนําให้เกิดถุงน้ำคร่ำแตกก่อนการเจ็บครรภ์
ภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำเนิด(preterm labor)
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับยายับยั้งการหดรัดตัวของมดลูก
เกิดภาวะเครียดและความวิตกกังวลเกี่ยวกับสุขภาพของทารกในครรภ์และค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา
เสี่ยงต่อการได้รับผลกระทบจากการนอนบนเตียงและถูกจํากัดกิจกรรมเป็นเวลานาน
ผลกระทบต่อทารกในครรภ์
ภาวะแทรกซ้อนในระยะหลังการคลอดของทารกแรกเกิด
สมองพิการ (cerebral palsy)
สมองฝ่อ (cerebral atrophy)
ภาวะปอดเรื้อรัง (bronchopulmonary dysplasia: BPD)
พัฒนาการทางระบบประสาทล่าช้า (neurodevelopment delay)
ทารกคลอดก่อนกําหนดมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตถึง15 เท่าเมื่อเทียบกับทารกครบกําหนด
ภาวะแทรกซ้อนในระยะแรกของทารกที่มักพบในทารกแรกเกิด
ภาวะเลือดออกในสมอง(intraventricular hemorrhage [IVH])
ภาวะติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร(necrotizing enterocolitis [NEC])
ภาวะหายใจล้มเหลว(Respiratory distress syndrome [RDS])
การติดเชื้อในกระแสเลือด(septicemia)
พยาธิสภาพ
การเจ็บครรภ์คลอดก่อนกําหนดจะเหมือนกับการเจ็บครรภ์จริงคือมีการหดรัดตัวของมดลูกสม่ำเสมอร่วมกับมีการเปลี่ยนแปลงของปากมดลูก ส่งผลให้เกิดการบางตัว หรือมีการขายตัวของปากมดลุกก่อน 37 สัปดาห์
กิจกรรมการพยาบาล
ตรวจร่างกาย
ตรวจดูการหดรัดตัวของมดลูกความแรงระยะเวลาและความถี่
ตรวจทางช่องคลอดเพื่อประเมินสภาวะของปากมดลูกเมื่อแรกรับ
ตรวจดูส่วนนําของทารกในครรภ์โดยการคลําทางหน้าท้องพร้อมทั้งตรวจดูขนาดของทารกพร้อมกันไปด้วย
ดูแลให้ได้รับยายับยั้งการหดรัดตัวของมดลูกยากระตุ้นให้ปอดสร้างสารsurfactantและยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา
ให้นอนพักในท่านอนตะแคงซ้ายเพื่อลดแรงดันต่อปากมดลูกไม่ให้ขยายออกไป
ดูแลและติดตามผลการตรวจNST และExternal fetal monitoring (EFM)
อธิบายให้เข้าใจเกี่ยวกับภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกําหนดแผนการดูแลรักษาและคําแนะนําในการปฏิบัติตัว
กรณีที่ไม่สามารถยับยั้งการคลอดได้
หลีกเลี่ยงการให้ยาระงับความเจ็บปวด
เตรียมอุปกรณ์การช่วยฟื้นคืนชีพและเตรียมทีมกุมารแพทย์และพยาบาลในการให้การช่วยฟื้นคืนชีพทารกแรกเกิด
ดูแลให้ทารกในครรภ์ได้รับออกซิเจน
การดูแลหลังคลอดให้ข้อมูลต่างๆกับมารดาหลังคลอด และครอบครัว
ให้ยาปฏิชีวนะเมื่อเข้าสู่ระยะคลอด
ส่งเสริมสัมพันธภาพระหว่างมารดากับทารก
การคลอดทางช่องคลอดหลีกเลี่ยงการทําหัตถการต่างๆโดยไม่จําเป็น
ประเมินการเต้นของหัวใจทารกและการหดรัดตัวของมดลูก
ให้การช่วยเหลือทารกเมื่อแรกเกิดทันที
สรุปประเด็นสำคัญของหัวข้อ
ภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด เป็นการคลอดก่อน 37 สัปดาห์ ซึ่งมาจากการที่มารดามีการติดเชื้อ หรือมีประวัติคลอดก่อนกำเนิด ดังนั้นจึงต้องให้การพยาบาลเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนหรือความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น จึงต้องให้การพยาบาล โดยการตรวจร่างกาย ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษา ติดตามผลทางห้องปฏิบัติการ ซึ่งจะช่วยในการลดภาวะแทรกว้อนที่จะเกิดการคลอดก่อนกำเนิด
มี 2 ชนิด
ภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกําหนดคุกคาม(threatened preterm labor)หมายถึงภาวะที่เจ็บครรภ์คลอดที่เกิดขึ้นก่อนอายุครรภ์37 สัปดาห์ โดยมีการหดรัดตัวของมดลูกอย่างสม่ําเสมออย่างน้อย1 ครั้งทุก10 นาทีโดยใช้เวลาประเมินอย่างน้อย30 นาทีแต่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงของปากมดลูก
การคลอดก่อนกําหนด(preterm labor) หมายถึงการคลอดที่มีอายุครรภ์ตั้งแต่28 สัปดาห์และก่อนอายุครรภ์37 สัปดาห์หากทารกที่คลอดมีน้ำหนักน้อยกว่า2,500 กรัมเรียกว่าทารกน้ําหนักแรกคลอดน้อย(low birth weight)
สาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยง
ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ เช่น มีประวัติครรภ์เป็นพิษทารกอยู่ในภาวะขาดออกซิเจนIUGRตั้งครรภ์แฝดครรภ์แฝดน้ํารกเกาะต่ํารกลอกตัวก่อนกําหนดเคยผ่าตัดมดลูกถุงน้ำคร่ำแตกก่อนอายุครรภ์ครบกําหนด
ปัจจัยส่วนบุคคลและพฤติกรรมสุขภาพ เช่น อายุ< 18 ปีหรือ> 35 ปีปากมดลูกได้รับบาดเจ็บหรือผิดปกติปากมดลูกปิดไม่สนิทมีประวัติผ่าตัดปากมดลูกมีความผิดปกติหรือมีเนื้องอกในมดลูกขาดการฝากครรภ์การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์การสูบบุหรี่การใช้สารเสพติด
มีประวัติการคลอดก่อนกําหนดหรือประวัติแท้งในระยะหลังของการตั้งครรภ์
การติดเชื้อ ได้แก่ การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะการติดเชื้อที่ระบบสืบพันธุ์การติดเชื้อที่รกและถุงน้ำคร่ำ(chorioamnionitis) ซึ่งการติดเชื้อจะทําให้ร่างกายหลั่งสารprostaglandin มีผลทําให้เกิดการเจ็บครรภ์ก่อนตั้งครรภ์ครบกําหนดได้
ความหมาย
การเจ็บครรภ์คลอดที่เกิดขึ้นก่อนอายุครรภ์37 สัปดาห์(259 วัน)ของการตั้งครรภ์ที่อายุครรภ์สามารถเลี้ยงรอดได้
การตั้งครรภ์ยาวนาน(post-term prenancy)
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
การคลอดยาก
เกิดความวิตกกังวลเครียดเกรงว่าทารกในครรภ์จะเสียชีวิตหรืออยู่ในภาวะอันตราย
ผลกระทบต่อทารกในครรภ์
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะขาดออกซิเจน
กลุ่มอาการสําลักขี้เทา(meconium aspiration syndrome: MAS)
เสียชีวิตในครรภ์และการเจ็บป่วยปริกําเนิดเพิ่มมากขึ้น
พยาธิสภาพ
อาจเกิดจากความผิดปกติของทารกในครรภ์ เช่น Anencephaly ต่อมใต้สมองผิดปกติ ต่อมหมวกไตฝ่อ และการขาดฮอร์โมน Placental sulfatase deficiency ทำให้สร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนน้อยลง จึงไม่มีอาการเจ็บครรภ์รวมถึงปากมดลูกไม่พร้อมที่จะนำไปสู่กระบวนการคลอด
กิจกรรมการพยาบาล มากไปน้อย
อธิบายให้สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวทราบเกี่ยวกับการตั้งครรภ์เกินกําหนด
อธิบายให้สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวทราบเกี่ยวกับแนวทางการดูแลรักษากรณีที่ต้องรับไว้ในโรงพยาบาลเพื่อยุติการตั้งครรภ์ รวมถึงภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
ประเมินความพร้อมของปากมดลูก
เมื่อเข้าสู่ระยะคลอดติดตามความก้าวหน้าของการคลอดโดยการตรวจทางช่องคลอดและประเมินการหดรัดตัวของมดลูก
ดูแลและให้คําอธิบายเกี่ยวกับการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง
ส่งเสริมสัมพันธภาพระหว่างมารดากับทารก โดยให้มารดาได้ดู สัมผัส และโอบกอดทารกตามความเหมาะสมกับภาวะสุขภาพของทารกแรกเกิด
ประเมินสุขภาพทารกในครรภ์เพื่อยืนยันสุขภาพทารกในครรภ์และเฝ้าระวังขณะรอการเจ็บครรภ์
การดูแลหลังคลอด ให้ข้อมูลต่าง ๆ กับมารดาหลังคลอด และครอบครัว
ยืนยันอายุครรภ์ควรได้รับการตรวจสอบอายุครรภ์ที่แม่นยําเพื่อช่วยยืนยันว่าเป็นการตั้งครรภ์เกินกําหนดอย่างแท้จริง
การดูแลทารกแรกคลอดควรมีกุมารแพทย์อยู่ด้วยในระยะคลอด
สรุปประเด็นสำคัญของหัวข้อ
การตั้งครรภ์ยาวนาน เป็นอายุครรภ์ที่มากกว่า 42 สัปดาห์ เกิดจากปากมดลูกไม่ตอบสนองต่อสารprostaglandin ทําให้ไม่มีอาการเจ็บครรภ์คลอด ซึ่งได้ส่งผลกระทบต่อทั้งมารดาและทารกในครรภ์ ทารกมีความเสี่ยงต่อการขาดออกซิเจนหรือเสียชีวิตได้ ดังนั้นจึงต้องให้การพยาบาล โดยการประเมิน ให้ความรู้ ส่งเสริมพัฒนาการของมารดาและทารก และดูแลอย่างใกล้ชิด ซึ่งจะช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ยาวนาน และภาวะแทรกซ้อน
สาเหตุ/ปัจจัย
ทารกในครรภ์มีภาวะพิการเช่นต่อมหมวกไตฝ่อสมองเล็ก
การไหลเวียนเลือดของมดลูกและรกผิดปกติ
มีประวัติเคยตั้งครรภ์เกินกําหนดมาในครรภ์ครั้งก่อน
สตรีตั้งครรภ์ที่ได้รับยายับยั้งการคลอด
อายุสตรีตั้งครรภ์ที่อายุน้อยกว่า25 ปีหรือมากกว่า35 ปี
มารดาของสตรีตั้งครรภ์เคยคลอดบุตรเกินกําหนดมาก่อน
ปากมดลูกไม่ตอบสนองต่อสารprostaglandin ทําให้ไม่มีอาการเจ็บครรภ์คลอด
ความหมาย
การตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์42 สัปดาห์เต็ม(294 วัน) หรือมากกว่าโดยนับจากวันแรกของประจําเดือนครั้งสุดท้าย(LMP)