Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
3.2. การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตในระบบหัวใจและการไหลเวียนโลหิต - Coggle Diagram
3.2. การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตในระบบหัวใจและการไหลเวียนโลหิต
ภาวะความดันโลหิตสูงวิกฤต (Hypertensive crisis)
สาเหตุ
การหยุดยาลดความดันโลหิตทันที (Sudden withdrawal of antihypertensive medications)
ภาวะไตวายเฉียบพลัน หรือ ภาวะไตวายเรื้อรัง (Acute or chronic renal disease)
อาการกำเริบ ของภาวะความดันโลหิตสูงก่อนตั้งครรภ์ (Exacerbation of chronic hypertension) หรืออีกชื่อ (Pregnancy-induced hypertension)
การใช้ยาบางชนิดที่มีผลทําให้ความดันโลหิตสูง เช่น ยาคุมกําเนิด ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์
อาการและอาการแสดง
อาการทางสมอง (hypertensive encephalopathy)
กล้ามเนื้อหัวใจตาย (Myocardial infarction)
เจ็บแน่นหน้าอกแบบเฉียบพลัน/แบบไม่คงที่ (Unstable angina)
น้ำท่วมปอด (Pulmonary edema)
ภาวะเลือดฉีกเซาะในผนังหลอดเลือดเอออร์ต้า (Aortic dissection)
เทคนิการซักประวัติ
ซักประวัติการเป็นโรคประจําตัว ที่มักพบคือ โรคความดันโลหิตสูง
ความสม่ำเสมอในการรับประทานยาผลข้างเคียงของยาที่ใช้
การสูบบุหรี่
ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
โรคอื่นๆ ที่เป็นสาเหตุของความดันโลหิตสูง
โรคของต่อมหมวกไต
และโรคไทรอยด์เป็นพิษ
coarctation (การตีบตัน) ของ aorta, renal artery stenosis
สอบถามอาการของอวัยวะที่ถูกผลกระทบจากโรค
ความดันโลหิตสูง (target organ damage : TOD)
โรคหลอดเลือดสมอง จะมีอาการปวดศรีษะ มองเห็นไม่ชัดหรือตามัวชั่วขณะ ระดับความรู้สึกตัวผิดปกติ หมดสติ
โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด มักมีอาการเจ็บหน้าอก เหนื่อยง่าย แน่นอกเวลาออกแรง ไตวายเฉียบพลัน (ซึ่งในไตวายจะพบว่าปริมาณปัสสาวะลดลง หรืออาจไม่มีการขับถ่ายปัสสาวะ)
เทคนิคการตรวจร่างกาย
เจ็บหน้าอก (Chest pain)
แสดงถึง acute coronary syndrome or aortic dissection
ปัสสาวะน้อย (oliguria), ปริมาณของเสียไนโตรเจนที่สูงผิดปกติในกระแสเลือด (azotemia) ผล Lab ที่มักพบ : BUN และ Cr สูง
แสดงถึงภาวะไตถูกทําลาย
หากคลําชีพจรที่แขนและขาทั้ง 2 ข้าง และวัดความดันโลหิตที่แขนทั้ง 2 ข้าง ซึ่งจะแตกต่างกันอย่างชัดเจน (จะเรียกอาการนี้ว่า Pseudohypotension
ในแขนข้างที่มี intimal flap ไปอุดหลอดเลือดแดงที่มาเลี้ยงแขนข้างนั้น)
แสดงถึง มีภาวะเลือดเซาะในผนังหลอดเลือดเอออร์ต้า (Aortic dissection)
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
และการตรวจพิเศษ
ตรวจ CBC เพื่อประเมินภาวะ microangiopathic hemolytic anemia (MAHA)
ตรวจการทํางานของไตจากค่า Creatinine และ Glomerular filtration rate (eGFR) และค่าอัลบูมินในปัสสาวะ
ประเมินหาความผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือดจากการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (12-lead ECG) และ chest X-ray
กรณีที่สงสัยความผิดปกติของสมอง จะมีส่งตรวจเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสมอง
การพยาบาล
กรณีอยู่ในระยะเฉียบพลัน
เฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิดเกี่ยวกับอาการและอาการแสดงของระบบต่างๆ
Neurologic symptoms อาการที่มักพบคือ สับสน confusion, stupor, seizures, coma, stroke.
Cardiac symptoms อาการที่มักพบคือ aortic dissection, myocardial ischemia, dysrhythmias.
Acute kidney failure หากค่า BUN Cr มีค่าขึ้นสูง จะบ่งบอกถึงไตได้รับผลกระทบจากความดันโลหิตสูง
ในระหว่างที่ได้รับยา
ประเมินการไหลเวียนโลหิตมาเลี้ยงไต ได้แก่ ปริมาณปัสสาวะสมดุลกับสารน้ำที่รับเข้าร่างกาย ค่า BUN Cr ที่ควรปกติ
ประเมินและบันทึกการตอบสนองต่อยา โดยติดตามความดันโลหิตอย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันการลดลงของความดันโลหิตอย่างรวดเร็ว
ประเมินการไหลเวียนโลหิตมาเลี้ยงเนื้อเยื่อส่วนปลาย ได้แก่ capillary refill และอุณหภูมิของผิวหนัง
การรักษาด้วย short-acting intravenous antihypertensive agents
ติดตามอาการไม่พึงประสงค์ ได้แก่ ความดันโลหิตต่ำอย่างรวดเร็ว (excessive hypotension), หัวใจเต้นช้า, ภาวะกรด (acidosis), หลอดเลือดดําอักเสบ (phlebitis),cyanide toxicity ซึ่งจะมีอาการ หัวใจเต้นเร็ว ความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลง หายใจตื้นเร็ว มีภาวะกรด ชัก และหมดสติ
ช่วยเหลือผู้ป่วยในการทํากิจกรรม เช่นการจัดท่านอนให้สุขสบาย การปฏิบัติกิจวัตรประจําวันต่างๆ และจัดสิ่งแวดล้อมให้สงบ เช่น ปิดไฟหัวเตียง เพื่อส่งเสริมการพักผ่อนนอนหลับ
ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (cardiac arrhythmias sustained AF, VT, VF)
Atrial fibrillation (AF)
ภาวะหัวใจห้องบนเต้นสั่นพริ้ว เกิดจากจุดปล่อยกระแสไฟฟ้าใน atrium ส่งกระแสไฟฟ้าออกมาถี่และไม่สม่ำเสมอและไม่ประสานกัน ทําให้ atrium บีบตัวแบบสั่นพริ้ว และคลื่นไฟฟ้าไม่สามารถผ่านไปยัง ventricle ได้ทั้งหมด
มี 5 ประเภท
Paroxysmal AF
หมายถึง AF ที่หายได้เองภายใน 7 วันโดยไม่ต้องใช้ยา หรือการช็อคไฟฟ้า
Persistent AF
หมายถึง AF ที่ไม่หายได้เองภายใน 7 วัน หรือหายได้ด้วยการรักษาด้วยยา หรือการช็อคไฟฟ้า
Permanent AF
หมายถึง AF ที่เป็นนานติดต่อกันกว่า 1 ปีโดยไม่เคยรักษาหรือเคยรักษาแต่ไม่หาย
Recurrent AF
หมายถึง AF ที่เกิดซ้ำมากกว่า 1 ครั้ง
Lone AF
หมายถึง AF ที่เป็นในผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 60 ปี ที่ไม่มีความผิดปกติของหัวใจ หรือโรคความดันโลหิตสูง
สาเหตุ
ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจรูห์มาติก ภาวะหัวใจล้มเหลว ความดันโลหิตสูง เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจ, hyperthyroidism
อาการและอาการแสดง
ใจสั่น อ่อนเพลีย เหนื่อยเวลาออกแรง คลําพบชีพจรที่ข้อมือเบา
ภาวะแทรกซ้อนที่สําคัญ
คือ การเกิดลิ่มเลือด AF ทําให้เกิดเลือดแข็งตัวในหัวใจห้องบนซ้ายซึ่งมีโอกาสหลุดไปในกระแสเลือด ทําให้เกิด stroke เป็นอัมพาตหรืออัมพฤกษ์ และทําให้เกิด pulmonary embolus
การพยาบาล
ประเมินการเปลี่ยนแปลงของสัญญาณชีพและคลื่นไฟฟ้าหัวใจอย่างต่อเนื่อง
สังเกตอาการและอาการแสดงของการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน สมอง ปอด แขนและขา
ดูแลให้ได้รับยาควบคุมการเต้นของหัวใจ
(digoxin, beta-blocker, amiodarone, calcium channel blockers)
ดูแลให้ได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือดตามแผนการรักษาในผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้ว่ามีลิ่มเลือดเกิดขึ้น
เตรียมผู้ป่วยและอุปกรณ์ในการทํา Cardioversion เพื่อให้หัวใจกลับมาเต้นในจังหวะปกติ
เตรียมผู้ป่วยในการจี้ด้วยคลื่นไฟฟ้าความถี่สูง (Radiofrequency Ablation) ในผู้ป่วยที่เป็น AF และไม่สามารถควบคุมด้วยยาได้
Ventricular tachycardia (VT)
ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ชนิดที่ ventricle เป็นจุดกําเนิดการเต้นของหัวใจ ในอัตราที่เร็วมากแต่สม่ําเสมอ 150-250 ครั้ง/นาที ซึ่งจุดกําเนิดอาจมีตําแหน่งเดียวหรือหลายตําแหน่ง
ลักษณะ ECG
ไม่พบ P wave ลักษณะ QRS complex มีรูปร่างผิดปกติกว่างมากกว่า 0.12วินาที VT ซึ่งอาจเปลี่ยนเป็น VF ได้ในทันทีและทําให้เสียชีวิต
มี 4 ประเภท
Nonsustained VT คือ VT ที่เกิดต่อเนื่องกันเป็นเวลาน้อยกว่า 30 วินาที
Sustained VT คือ VT ที่เกิดต่อเนื่องกันเป็นเวลานานกว่า 30 วินาที ซึ่งมีผลทําให้ระบบไหลเวียนโลหิตในร่างกายลดลง
Monomorphic VT คือ VT ที่ลักษณะของ QRS complex เป็นรูปแบบเดียว
Polymorphic VT (Torsade) คือ VT ที่ลักษณะของ QRS complex เป็นรูปแบบต่างกัน
สาเหตุ
พบบ่อยในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายบริเวณกว้าง (Myocardial infarction) โรคหัวใจรูห์มาติก ถูกไฟฟ้าดูด ภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ํา พิษจากยาดิจิทัลลิส และกล้ามเนื้อหัวใจถูกกระตุ้นจากการตรวจสวนหัวใจ
อาการและอาการแสดง
เป็นอาการที่เกิดทันที ผู้ป่วยจะรู้สึกใจสั่น ความดันโลหิตต่ำ หน้ามืด เจ็บหน้าอก หายใจลําบาก หัวใจหยุดเต้น
การพยาบาล
ประเมินสัญญาณชีพ ระดับความรู้สึกตัว เจ็บหน้าอก ภาวะเขียว ปริมาณปัสสาวะ เพื่อประเมินภาวะเลือดไปเลี้ยงสมอง และอวัยวะสําคัญลดลง
กรณีผู้ป่วยที่เกิด VT และคลําชีพจรไม่ได้ (Pulseless VT) ให้เตรียมเครื่อง Defibrillator เพื่อให้แพทย์ทําการช็อกไฟฟ้าหัวใจ ในระหว่างเตรียมเครื่องให้ทําการกดหน้าอกจนกว่าเครื่องจะพร้อมปล่อยกระแสไฟฟ้า
ในผู้ป่วยที่เกิด VT และคลําชีพจรได้ร่วมกับมีอาการของการไหลเวียนโลหิตในร่างกายลดลง ให้เตรียมผู้ป่วยในการทํา synchronized cardioversion
นําเครื่อง Defibrillator มาที่เตียงผู้ป่วยและรายงานแพทย์ทันที และเป็ดหลอดเลือดดําเพื่อให้ยาและสารน้ํา
ทํา CPR ถ้าหัวใจผู้ป่วยหยุดเต้น
Ventricular fibrillation (VF)
ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดที่ ventricle เป็นจุดกําเนิดการเต้นของหัวใจตําแหน่งเดียวหรือหลายตําแหน่ง เต้นรัวไม่เป็นจังหวะไม่สม่ำเสมอ
ลักษณะ ECG
จะไม่มี P wave ไม่เห็นรูปร่างของ QRS complex ระบุไม่ได้ว่าส่วนไหนเป็น QRS complex ซึ่งถ้าไม่ได้รับการแก้ไขผู้ป่วยจะหัวใจหยุดเต้นทันที
สาเหตุ
Hypovolemia
Hypoxia
Hydrogen ion (acidosis)
Hypokalemia
Hyperkalemia
Hypothermia
Tension pneumothorax
Cardiac tamponade
Toxins
Pulmonary thrombosis
Coronary thrombosis
อาการและอาการแสดง
เป็นอาการที่เกิดทันที คือ หมดสติ ไม่มีชีพจร รูม่านตาขยาย เนื่องจากหัวใจไม่สามารถสูบฉีดโลหิตออกมาได้ และเสียชีวิต
การพยาบาล
ป้องกันภาวะ tissue hypoxia โดยให้ออกซิเจนตามแผนการรักษา
ในกรณีที่ค่า O2 saturation (SpO2) น้อยกว่า 93%
ในผู้ป่วยที่เป็น Stroke หรือ Acute MI
ในผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการมี
คาร์บอนไดออกไชด์คั่ง อยู่ระหว่าง 88-92%
ติดตามค่าเกลือแร่ในเลือด เพื่อหาสาเหตุของการเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
ติดตามผลข้างเคียงของยาที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วยว่ามียาชนิดใดที่มีผลต่ออัตราและจังหวะการเต้นของหัวใจหรือไม่ ถ้าพบรายงานแพทย์ทันที
ติดตามและบันทึกอาการแสดงของภาวะอวัยวะและเนื้อเยื่อได้รับเลือดไปเลี้ยง (Tissue perfusion) ลดลง โดยดูจาก ระดับความรู้สึกตัวลดลง ความดันโลหิตลดลง สีของผิวหนังเขียว อุณหภูมิของผิวหนังเย็นลง จํานวนปัสสาวะลดลง และ capillary refill time นานกว่าปกติ
ติดตามและบันทึกการเปลี่ยนแปลงของสัญญาณชีพ คลื่นไฟฟ้าหัวใจ โดยเฉพาะ ST segment เพื่อประเมินภาวะ Myocardial tissue perfusion และป้องกันการเกิด Myocardial ischemia
ให้ยา Anti dysrhythmia ตามแผนการรักษาและเตรียมอุปกรณ์สําหรับทํา synchronized cardioversion ในผู้ป่วยที่เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดไม่รุนแรง (Nonlethal dysrhythmias) ถ้าอัตราการเต้นของหัวใจช้ากว่า 60 ครั้งต่อนาที ให้เตรียมอุปกรณ์สําหรับใส่ temporary pacing
ทํา CPR ร่วมกับทีมรักษาผู้ป่วย ในกรณีเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดรุนแรง (lethal dysrhythmias)
ภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน (Acute Heart failure : AHF)
การเกิดอาการและอาการแสดงของภาวะหัวใจล้มเหลวอย่างรวดเร็วจากการทํางานผิดปกติของหัวใจทั้งการบีบตัวหรือการคลายตัวของหัวใจ การเต้นของหัวใจผิดจังหวะหรือการเสียสมดุลของ preload และ afterload โดยอาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่มีโรคหัวใจเดิมหรือ แสดงอาการครั้งแรกในผู้ที่ไม่เคยเป็นโรคหัวใจก็ได้ซึ่งอาจเกิดความผิดปกติได้หลายระบบไม่จํากัดเฉพาะระบบหัวใจและหลอดเลือด
สาเหตุ
โรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลัน ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ ภาวะหัวใจวาย กลไกการไหลเวียนของเลือดผิดปกติเฉียบพลัน ภาวะความดันโลหิตสูงวิกฤต หลอดเลือดปอดอุดตันเฉียบพลัน กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงจากความผิดปกติอื่นๆ ของระบบ
ปัจจัยกระตุ้น
ความผิดปกติทางหัวใจและหลอดเลือด เช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่พอ
ความผิดปกตินอกระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น การใช้ยาไม่สม่ำเสมอ การควบคุมปริมาณเกลือในอาหารไม่เพียงพอ ภาวะน้ำเกิน หลอดเลือดปอดอุดตัน โรคติดเชื้อ ภาวะโลหิตจาง โรคปอดเรื้อรัง ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs, ยาที่ออกฤทธิ์ต่อหัวใจ, ภาวะทุพโภชนาการ, สารออกฤทธิ์เป็นพิษต่อหัวใจ
อาการและอาการแสดง
Acute decompensated heart failure หมายถึง กลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการภาวะหัวใจล้มเหลวที่เกิดขึ้น
เฉียบพลันแต่ไม่มีอาการรุนแรงมาก
Hypertensive acute heart failure หมายถึง กลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการภาวะหัวใจล้มเหลวที่มีปอดบวมน้ำ โดยมีความดันโลหิตสูงรุนแรงร่วมด้วย แต่การทํางานของหัวใจห้องล่างซ้ายยังอยู่ในเกณฑ์ดี
Pulmonary edema หมายถึง ภาวะที่มีอาการและอาการแสดงของปอดบวมน้ำร่วมด้วย สามารถเห็นได้ชัดเจนจากภาพถ่ายรังสีทรวงอก และมีค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนต่ำกว่าร้อยละ 90 ที่บรรยากาศห้องก่อนการรักษา
Cardiogenic shock หมายถึง ภาวะที่ร่างกายมี poor tissue perfusion ถึงแม้จะมีการแก้ไขภาวะขาดน้ำแล้วก็ตาม
High output failure หมายถึง ภาวะหัวใจล้มเหลวโดยมีปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจต่อนาทีสูงกว่าปกติ มักมีหัวใจเต้นเร็ว ปลายมือเท้าอุ่น ร่วมกับการมีภาวะน้ำท่วมปอด
Right heart failure หมายถึง ภาวะที่หัวใจด้านขวาทํางานล้มเหลว มี ปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจต่อนาทีลดลง ร่วมกับมีการเพิ่มขึ้นของความดันหลอดเลือดดําที่คอ มีการบวมของตับ ร่วมกับมีภาวะความดัน
โลหิตต่ำ
อาการและอาการแสดงที่พบบ่อย
หายใจเหนื่อยหอบ นอนราบไม่ได้ อ่อนเพลีย บวมตามแขนขา ท้องอืดโตแน่นท้อง ปัสสาวะออกน้อยหรือมาก หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว เส้นเลือดดําที่คอโป่งพอง ฟังได้ยินเสียง crepitation จากการที่มีเลือดคั่งในปอด ในผู้ป่วยบางรายอาจมีเสียง Wheezing เนื่องจากมีการหดตัวของหลอดลม ตรวจพบหัวใจโต ตับโต
การพยาบาล
ลดการทํางานของหัวใจ
ดูแลให้ได้รับยาขับปัสสาวะตามแผนการรักษา
ดูแลให้ได้รับยาขยายหลอดเลือดตามแผนการรักษา
ดูแลให้ได้รับสารน้ำ และอาหารอย่างเพียงพอตามแผนการรักษา รวมถึงจํากัดสารน้ำและเกลือโซเดียม
จัดท่านอนศรีษะสูง
Absolute bed rest
การลดความต้องการใช้ออกซิเจนของร่างกาย
ดูแลให้ได้รับยาลดหรือควบคุม จังหวะหรืออัตราการเต้นของหัวใจ
ดูแลควบคุมอาการปวดโดยให้ยาตามแผนการรักษา
ดูแลช่วยให้ได้รับการใส่เครื่องพยุงหัวใจ
ดูแลติดตามและบันทึกค่า CVP, PCWP
สังเกตและบันทึกปริมาณปัสสาวะทุก 1 ชั่วโมง
ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเผชิญกับความเจ็บป่วย โดยประเมินความรู้สึกและปัญหาต่างๆของผู้ป่วยพร้อมทั้งซักถามความต้องการของผู้ป่วยโดยพยาบาลควรให้เวลาและตั้งใจรับฟังปัญหาอย่างต่อเนื่องเพื่อทําให้ทราบและเข้าใจปัญหาที่แท้จริงของผู้ป่วย
สอนและแนะนําเทคนิคการผ่อนคลายที่สอดคล้องกับความสนใจของผู้ป่วย
ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาและการเปลี่ยนแปลงของอาการที่เกิดขึ้นไปในทางที่ดีเพื่อให้ผู้ป่วยมีกําลังใจและลดความวิตกกังวลได้ (ต้องระมัดระวังการให้ข้อมูลมากเกินไป)
กระตุ้นและส่งเสริมให้ครอบครัวญาติ หรือบุคคลใกล้ชิดมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วย
เพิ่มประสิทธิภาพการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ
ดูแลให้ได้รับยาช่วยเพิ่มแรงบีบตัวของหัวใจ โดยประเมินอัตราการเต้นของหัวใจก่อน (หากอัตราการเต้นของหัวใจ ต่ำกว่า 60 ครั้ง/นาที งดให้ยาและรายงานแพทย์)
ภาวะช๊อก (Shock)
ภาวะช็อกเป็นภาวะที่ร่างกายเกิดความผิดปกติจากกลุ่มอาการต่างๆ หรือความผิดปกติจากทางสรีรวิทยาเป็นผลให้เกิดการไหลเวียนโลหิตไปยังอวัยวะต่างๆไม่เพียงพอ ทําให้ปริมาณออกซิเจนที่ส่งไปเลี้ยงเนื้อเยื่อไม่เพียงพอ เสียสมดุลของการเผาผลาญระดับเซลล์ อวัยวะต่างๆ ขาดออกซิเจน และสูญเสียหน้าที่
มี 5 ประเภท
ภาวะช็อกจากความผิดปกติของระบบประสาท (Neurogenic shock)
ภาวะช็อกจากการอุดกั้นการไหลเวียนของเลือดเข้าสู่หัวใจ (Obstructive shock)
ภาวะช็อกจากภาวะหัวใจล้มเหลว (Cardiogenic shock)
ภาวะช็อกจากหลอดเลือดมีการขยายตัว (Distributive shock, vasogenic / vasodilatory shock, Inflammatory shock)
ภาวะช็อกจากการติดเชื้อ (Septic shock)
ภาวะช็อกจากการแพ้ (Anaphylactic shock)
ภาวะช็อกจากการทํางานผิดปกติของต่อมหมวกไต (Hypoadrenal / adrenocortical shock)
ภาวะช็อกจากการขาดสารน้ำ (Hypovolemic shock)
อาการและอาการแสดง
ประสาทส่วนกลาง : กระสับกระส่าย ซึม หมดสติ เซลล์สมองตาย
หัวใจและหลอดเลือด : ชีพจรเบาเร็ว หัวใจเต้นผิดจังหวะ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หลอดเลือดส่วนปลายหดตัว ผิวหนังเย็นซีด
หายใจ : หายใจเร็วลึก ระดับออกซิเจนในเลือดต่ำ ระบบหายใจล้มเหลว
ไตและการขับปัสสาวะ : ปัสสาวะออกน้อย
ทางเดินอาหาร : กระเพาะอาหารและลําไส้ขาดเลือด ตับอ่อนอักเสบ ดีซ่าน การย่อยและดูดซึมอาหารผิดปกติ ตับวาย
เลือดและภูมิคุ้มกัน การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ ภาวะลิ่มเลือดกระจายทั่วร่างกาย เม็ดเลือดขาวทํางานบกพร่อง
ต่อมไร้ท่อ น้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำ ภาวะร่างกายเป็นกรด
การพยาบาล
การป้องกันเนื้อเยื่อขาดออกซิเจน
ประเมินภาวะขาดออกซิเจน โดยการติดตามสัญญาณชีพทุก 1 ชั่วโมง ประเมินระดับความรู้สึกตัว อาการเขียวจากริมฝีปาก เล็บมือ เล็บเท้า ค่าความอิ่มตัวของออกซิเจน ABG
ดูแลทางเดินหายใจให้โล่ง มีการระบายอากาศที่ดี โดยการดูดเสมหะ จัดท่านอนศีรษะสูง กระตุ้นให้หายใจลึกๆ
ดูแลให้ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ โดยให้ออกซิเจนตามความเหมาะสมและแผนการรักษา
การส่งเสริมการไหลเวียนโลหิตอย่างเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
ดูแลให้สารน้ำและอิเล็กโตรไลท์ทดแทนตามแผนการรักษา
ดูแลให้ยา (Dopamine, Dobutamine, Epinephrine Norepinephrine) เพื่อส่งเสริมการไหลเวียนโลหิตตามแผนการรักษา
ดูแลจัดท่านอนหงายราบ ยกปลายเท้าสูง 20-30 องศา เพื่อให้เลือดไหลกลับเข้าสู่หัวใจได้ง่ายขึ้น
ประเมินสัญญาณชีพ รวมถึงค่า MAP ทุก 1 ชั่วโมงเพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วย หากพบความผิดปกติ รายงานแพทย์ทันที
ติดตามค่า CVP (ปกติ 8-12 cmH2O) เพื่อประเมินความเพียงพอของสารน้ำภายหลังการได้รับการรักษา
บันทึกปริมาณสารน้ำเข้าออกจากร่างกาย และติดตามปริมาณปัสสาวะทุก 1-2 ชั่วโมง
ติดตามการเปลี่ยนแปลงระดับความรู้สึกตัว ลักษณะผิวหนังเย็นชื้น ซีด หรือเขียวคล้ำ
ดูแลให้ได้รับการช่วยเหลือโดยใช้อุปกรณ์พิเศษต่างๆ เพื่อเพิ่มให้เลือดไปเลี้ยงเซลล์ได้อย่าง เพียงพอ ได้แก่ เครื่องช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบีบตัวของหัวใจ (Intra-Aortic balloon pump, IABP) เครื่องช่วยพยุงการทํางานของหัวใจและปอด (Extracorporeal membrane oxygen, ECMO)
ส่งเสริมการปรับตัวของผู้ป่วยและครอบครัวต่อภาวะวิกฤตที่เกิดขึ้น
เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยและครอบครัวได้ระบายความรู้สึก วิตกกังวล และซักถามข้อข้องใจเกี่ยวกับการเจ็บป่วย
ให้ข้อมูล อธิบายเหตุผลก่อนทํากิจกรรมการพยาบาล
ให้ผู้ป่วยและครอบครัวมีส่วนร่วมในการวางแผนการพยาบาล
ประเมินระดับความวิตกกังวลของผู้ป่วยและครอบครัวอย่างต่อเนื่อง
ให้กําลังใจและสนับสนุนทางด้านจิตใจ ดูแลเอาใจใส่สม่ำเสมอทั้งผู้ป่วยและครอบครัว