Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลทารกที่มีภาวะตัวเหลือง - Coggle Diagram
การพยาบาลทารกที่มีภาวะตัวเหลือง
การรักษาภาวะตัวเหลือง
การใช้แสงบําบัดหรือการส่องไฟ
(phototherapy)
แสงที่มีความถี่ในช่วง 450-480 nm จะช่วยลดระดับของ unconjugated bilirubin ลงได้ โดยทำให้เกิดการเปลี่ยนโครงสร้างของโมเลกุลเป็นชนิดที่สามารถละลายน้ำได้ที่บริเวณเส้นเลือดฝอยที่ผิวหนังหรือชั้นไขมันใต้ผิวหนัง และจะถูกขับออกทางปัสสาวะและอุจจาระ
การรักษาวิธีนี้ทำโดยใช้หลอดฟลูออเรสเซน จำนวน 4-8 หลอด วางห่างจากทารกประมาณ 35-50 cm. หลอดไฟควรห่างกันพอสมควรเพื่อระบายความร้อน ควรใช้ผ้ากันไว้รอบแผงไฟทั้ง 3 ด้าน ให้ห้อยต่ำลงมา 10-12 นิ้ว เพื่อกันการกระจายของแสงไฟ
ในรายที่ทารกมีระดับ bilirubin สูงมากอาจเพิ่มจำนวนไฟในการส่องให้ครอบคลุมผิวทารกมากที่สุด ทำได้โดยการส่องไฟจากด้านล่างและด้านบนพร้อมกัน (double phototherapy)
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้จาก
การรักษาโดยการส่องไฟ
มีดังนี้
การเสียน้ำมากจากการระเหยของน้ำ เพราะอุณหภูมิรอบตัวสูงขึ้น ทำให้มีไข้ได้
มีผื่นแดงขึ้นตามตัวชั่วคราว ให้ใช้แผ่นพลาสติกครอบที่ตัวทารก เพื่อป้องกันการระคายเคืองจากแสงอัลตราไวโอเลต ไม่จำเป็นต้องหยุดการส่องไฟ
ถ่ายเหลว จากการที่แสงทำให้เกิดการบาดเจ็บของเยื่อบุลำไส้
จึงเกิดการขาดเอนไซม์แล็กเทสชั่วคราว อาการจะดีขึ้นเมื่อหยุดการรักษา
ตาบอด เนื่องจากแสงจะทำให้เกิดการระคายเคืองและมีอันตรายต่อจอตา จึงต้องปิดตาให้มิดชิดขณะส่องไฟ
มีสีผิวคล้ำออกเขียวแกมน้ำตาล จากการได้รับแสงอัลตราไวโลเลตเป็นเวลานาน
เพศชาย อาจมีการแข็งตัวและเจ็บปวดขององคชาติได้
การติดตามทารกที่มีภาวะตัวเหลืองหลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล
ทารกที่จำหน่ายออกจากโรงพยาบาลก่อนอายุ 48 ชั่วโมง ควรนัดมาตรวจซ้ำภายใน 48 ชั่วโมง เพื่อประเมินภาวะตัวเหลือง
ทารกที่มีภาวะตัวเหลืองจาก HDN หรือมีภาวะซีด ควรนัดมาตรวจซ้ำเมื่ออายุ 1-2 เดือน เนื่องจากเม็ดเลือดแดงของทารกจะยังมีการแตกทำลายต่อไปจนเกิดอาการซีดได้
ทารกที่มีภาวะตัวเหลืองมากที่ได้รับการรักษาด้วยการเปลี่ยนถ่ายเลือด ควรนัดมาตรวจการได้ยินเมื่ออายุประมาณ 6 เดือน เนื่องจากระดับบิลิรูบินที่สูงมาก อาจทำให้เกิดการได้ยินที่ผิดปกติได้
การดูแลทารกขณะได้รับการรักษาโดยการส่องไฟ
ถอดเสื้อผ้าทารกออกเหลือเพียงผ้าอ้อมอย่างเดียว และจัดให้ทารกนอนใน crib ภายใต้แสงไฟส่องตลอดเวลาที่ได้รับการรักษาโดยการส่องไฟ
หากทารกมีการขับถ่ายควรเปลี่ยนผ้าอ้อมใหม่ทุกครั้ง
ไม่ควรทาแป้ง น้ำมัน หรือโลชั่น เพราะอาจมีส่วนผสมของสารที่ทำให้เกิดการสะท้อนของแสง
ปิดตาทารกด้วยผ้าปิดตาที่ปราศจากเชื้อ ปิดตาให้สนิทเพื่อป้องกันการระคายเคืองและการเกิด เยื่อบุตาอักเสบ
จัดท่านอนให้กับทารกในท่านอนหงาย ตะแคง หรือคว่ำ
ดูแลให้ทารกให้ดูดนมมารดาทุก 2-3 ชั่วโมง หรือตามความต้องการของทารก เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ
ประเมินสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง และดูแลให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายทารก
ดูแลเจาะเลือด เพื่อประเมินระดับบิลิรูบินเป็นระยะทุก 12-24 ชั่วโมง
สังเกตภาวะแทรกซ้อน จากการได้รับการรักษาโดยการส่องไฟ เช่น ผิวแห้ง ผื่นแดงตามผิวหนัง
สังเกตอาการผิดปกติของทารก เช่น ดูดนมไม่ดี ซึมลง ร้องเสียงแหลม เคลื่อนไหวร่างกายน้อย อาเจียนหลังดูดนม ตัวเขียว ชักเกร็ง