Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การประเมินการเจริญเติบโต ภาวะโภชนาการและพัฒนาการเด็ก - Coggle Diagram
การประเมินการเจริญเติบโต
ภาวะโภชนาการและพัฒนาการเด็ก
พัฒนาการเด็ก
หมายถึง การเพิ่มหรือเปลี่ยนแปลงความสามารถหรือหน้าที่ของระบบต่าง ๆ และตัวบุคคล ทำให้เพิ่มความสามารถของระบบหรือบุคคลให้ทำหน้าที่ต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สูงขึ้น และทำสิ่งที่ยากซับซ้อนยิ่งขึ้นได้ ตลอดจนการเพิ่มทักษะใหม่ และความสามารถในการปรับตัว ในภาวะใหม่ของบุคคลนั้น
ทิศทางของพัฒนาการ
ทิศทางของพัฒนาการเป็นไปในรูปแบบเดียวกับการเจริญเติบโต คือ มีพัฒนาการจากศีรษะลงสู่เท้า (cephalocaudal development) โดยเด็กทารกจะสามารถผงกศีรษะได้ก่อน ต่อมาเริ่มคว่ำ ใช้มือและแขนยันตัว จนสามารถนั่งและเดินได้ตามลำดับ ในขณะเดียวกันพัฒนาการจะเริ่มจากส่วนกลางลําตัวไปยัง ส่วนปลาย ซึ่งเรียกว่า proximodistal development โดยมีพัฒนาการที่ส่วนกลางของลําตัว คือการคว่ำก่อนที่จะใช้แขน มือ และนิ้วหยิบจับสิ่งของ เป็นต้น
พัฒนาการเด็ก 5 ด้าน ได้แก่
ด้านการเคลื่อนไหว (Gross Motor : GM)
ด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา (Fine Motor : FM)
ด้านการเข้าใจภาษา (Receptive Language : RL)
ด้านการใช้ภาษา (Expressive Language : EL)
ด้านการช่วยเหลือตนเอง และสังคม (Personal and Social : PS)
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการ
ผลกระทบที่เกิดกับระยะในครรภ์ เช่น ภาวะโภชนาการของมารดา สุขภาพ การสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาบางชนิดที่มีผลต่อทารกในครรภ์ การติดเชื้อบางอย่างของมารดา
โครงสร้างของครอบครัว ทำให้เด็กได้รับการส่งเสริมพัฒนาการในรูปแบบต่าง ๆ กัน เช่น บิดามารดาทำงานฝ่ายเดียว หรือทำงานทั้งคู่ จำนวนพี่น้อง การมีบิดาหรือมารดาดูแลเพียงคนเดียว
พันธุกรรม (genetics) เป็นตัวกำหนดลักษณะทางร่างกาย ศักยภาพทางสติปัญญา รูปแบบของบุคลิกภาพ รวมทั้งความบกพร่องต่าง ๆ
วัฒนธรรม เช่น การบริโภคอาหารพื้นบ้านหรืออาหารประจำถิ่น
สิ่งแวดล้อม โทรทัศน์ และวีดีโอเกม ทำให้เด็กก้าวร้าว
พัฒนาการเด็ก 3 กลุ่ม
พัฒนาการทางด้นร่างกาย (physical development)
การเจริญเติบโต การทรงตัวและการเคลื่อนไหว การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก
พัฒนาการทางด้านภาษาและสติปัญญา (language and cognitive development)
พัฒนาการทางด้านภาษาเกี่ยวข้องกับความเข้าใจทางภาษาและการสื่อสารโดยพัฒนาสอดคล้องไปกับพัฒนาการต้านสติปัญญา
พัฒนาการทางด้านอารมณ์และสังคม (social-emotional development)
พัฒนาการทางต้านอารมณ์และสังคมเป็นการเรียนรู้ที่ทำให้เด็กเข้าใจอารมณ์ความรู้สึกทั้งของตนเองและผู้อื่น เพื่อให้สามารถสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิดและปรับตัว