Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การประเมินการเจริญเติบโต ภาวะโภชนาการและพัฒนาการเด็ก - Coggle Diagram
การประเมินการเจริญเติบโต
ภาวะโภชนาการและพัฒนาการเด็ก
การเจริญเติบโต(Growth)
หมายถึง การเปลี่ยนแปลงขนาดด้านกายภาพ (physical) มีการเปลี่ยนแปลงของอวัยวะของร่างกาย (morphologic) ชีวเคมี (biochemical) และสรีรภาพ (physiologic) อย่างซับซ้อน ปรากฎชัดเจนในช่วงวัยเด็ก
สำนักโภชนาการกรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุขพ.ศ. 2558 ใช้เกณฑ์การประเมิน 3 ประเภทดังนี้
2.1 น้ำหนักตามเกณฑ์อายุ (Weight for Age)
2.2 ส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ (Height for Age)
2.3 น้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง (Weight for Height)
การใช้กราฟมาตรฐานและแปลผลการเจริญเติบโต
น้ำหนัก ส่วนสูง หรือขนาดรอบศีรษะที่วัดได้ ควรนําไปบันทึกเปรียบเทียบกับกราฟมาตรฐาน แสดงการเจริญเติบโตของสิ่งที่วัดนั้น ๆ การใช้กราฟมีประโยชน์มากในการนำมาใช้ติดตามการเจริญเติบโตของเด็กในประเทศไทย
การประเมินการเจริญเติบโต
การประเมินการเจริญเติบโตทำได้โดยการวัดขนาดส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐาน และติดตามการเปลี่ยนแปลงเป็นระยะ ๆ
น้ำหนัก
ความยาวหรือความสูง
3.เส้นรอบศีรษะ
4.เส้นรอบอก
ความหนาของไขมันใต้ผิวหนัง
6.การเติบโตของฟัน (dental growth)
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโต
1.พันธุกรรม มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของเด็ก เช่น ความสูง ซึ่งแสดงออกตามกรรมพันธุ์ (heredity)
2.สภาวะแวดล้อม มีอิทธิพลตลอดระยะเวลาที่มีการเจริญเติบโต ที่สำคัญ ได้แก่ โภชนาการ โรคต่าง ๆ ยาขับเลือด เฮโรอีน และนิโคตินเศรษฐานะ อาจมีผลต่อภาวะโภชนาการและสุขอนามัยต่าง ๆ
สุขภาพจิต
3.ฮอร์โมน ฮอร์โมนของคนที่มีผลเด่นชัดต่อการเจริญเติบโตของเด็กไปเป็นผู้ใหญ่ (somatic Growth) ซึ่งล้วนมีผลต่อการเจริญของกระดูกด้วย
ภาวะโภชนาการ
หมายถึงสภาวะทางสุขภาพของบุคคลมีผลเนื่องมาจากการรับประทานอาหารการย่อยอาหารการดูดซึมการขนส่งการสะสม และผลของการเผาผลาญสารอาหารในระดับเซลล์โดยสามารถประเมินได้ด้วยการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูง
ภาวะโภชนาการแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.ภาวะโภชนาการที่ดี (Good Nutritional Status)คือภาวะที่ร่างกายได้รับอาหารที่มีคุณค่าครบถ้วนมีสัดส่วนและปริมาณเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายทำให้ร่างกายสุขภาพดี
2.ภาวะทุพโภชนาการ (Malnutrition)คือภาวะที่ร่างกายได้รับอาหารที่ไม่เพียงพอหรือมากเกินความต้องการของร่างกายทำให้เกิดความไม่สมดุล และส่งผลเสียต่อร่างกาย และจิตใจ