Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคกระเพาะอาหาร peptic Ulcer - Coggle Diagram
โรคกระเพาะอาหาร peptic Ulcer
พยาธิสภาพ
โรคกระเพาะอาหาร หมายถึง โรคที่มีแผลในกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กส่วนต้น หรือมีการอักเสบของเยื่อกระเพาะอาหาร คนที่เป็นโรคนี้แล้วสามารถรักษาให้หายขาดได้ ส่วนมากมักจะเป็นเรื้อรัง หรือเป็นนานๆ ถ้าไม่รักษาหรือปฏิบัติตัวให้ถูกต้องจะมีอาการเป็นๆ หายๆ และถ้าปล่อยให้เป็นมาก จะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
สาเหตุของโรคกระเพาะอาหาร
1.สาเหตุที่กระเพาะอาหารมีกรดมากขึ้น เกิดขึ้นเนื่องจาก กระตุ้นของปลายประสาท เกิดจากความเครียด วิตกกังวลและอารมณ์ การดื่มแอลกอฮอล์ ได้แก่ เหล้า เบียร์ ยาดอง การดื่มกาแฟ การสูบบุหรี่
มีการทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหาร เกิดจาก การกินยาแก้ปวด ลดไข้ แก้ปวดกระดูก ปวดกล้ามเนื้อ ยาชุดที่มีแอสไพริน และยาสเตียรอยด์ ยาลูกกลอนต่างๆ การกินอาหารเผ็ดจัด และเปรี้ยวจัดจากน้ำส้มสายชู
กรณีศึกษา
แต่ก่อนเป็นชอบรับประทานอาหารรสจัด พอป่วยมาแพทย์ได้ให้รับประทานยา Amitriptyline 10 mg, Aspirin 81 mg
Omeprazole 20 mg
อาการและอาการแสดง
ปวดท้อง ลักษณะอาการปวดท้องที่สำคัญ คือ ปวดเรื้อรังมานาน เป็นๆ หายๆ เป็นเดือนหรือเป็นปี
จุกเสียด แน่นท้อง ท้องอืด ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ เรอลม มีลมในท้อง ร้อนในท้อง คลื่นไส้อาเจียน
อาการโรคแทรกซ้อน ได้แก่ อาเจียนเป็นเลือดดำ หรือแดง หรือถ่ายดำ เนื่องจากมีเลือดออกในกระเพาะอาหาร หรือลำไส้เล็กส่วนต้น ปวดท้องรุนแรงและช็อก เนื่องจากแผลกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กทะลุ ปวดท้องและอาเจียนมาก เนื่องจากการอุดต้นของกระเพาะอาหาร
การรักษา
กำจัดต้นเหตุของการเกิดโรค ได้แก่
กินอาหารให้เป็นเวลา
งดอาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด
งดดื่มเหล้า เบียร์ หรือยาดอง
งดดื่มน้ำชา กาแฟ
งดสูบบุหรี่
งดเว้นการกินยา ที่มีผลต่อกระเพาะอาหาร
พักผ่อนให้เพียงพอ ผ่อนคลายคลายตึงเครียด
การให้ยารักษา โดยกินยาอย่างถูกต้อง คือต้องกินยาให้สม่ำเสมอ กินยาให้ครบตามจำนวน และระยะเวลา ที่แพทย์สั่งยารักษาโรคกระเพาะอาหาร ส่วนใหญ่ต้องใช้เวลาประมาณอย่างน้อย 4-6 อาทิตย์ แผลจึงจะหาย ดังนั้นภายหลังกินยา
กรณีศึกษา
ใชการรักษาโดยการไม่ดื่ม ชากาแฟ งดอาหารรสเผ็ด
และรับประทานยาตามแพทย์สั่ง ผู้รับบริการได้รับยา Omeprazole 20 mg
การวินิจฉัย
โดยการสอบถามประวัติ อาการ ประวัติการใช้ยา รวมไปถึงตรวจ
การส่องกล้อง
การทดสอบการติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร
การเอกซเรย์ระบบทางเดินอาหารส่วนบน
การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด
การทำงานของตับ เพื่อประเมินดูค่าการแข็งตัวของเลือด