Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
IHE_PCC_RIPT_Picture
Interfacility, สถานการณ์:, B6128623…
Interfacility
Order for one day
-
-
-
-
Refer รพ.มหาราชนครราชสีมา For Proper management โรงพยาบาลต้นทาง เป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 120 เตียง มี CT scan สามารถให้ rTPA ได้ แต่ไม่มีแพทย์ Neuro surg ไม่สามารถผ่าตัดสมองได้ (ระยะทาง 80 Km ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง)
ณ รพ.ชุมชนแห่งหนึ่ง ชายไทย อายุ 55 ปี มาด้วยอาการ 30 นาทีก่อนมา รพ. ขณะนั่งคุยกับเพื่อนบ้าน ชัก ไม่พูด แขนขาด้านขวาอ่อนแรง เพื่อนนำส่ง รพ.
At ER ผู้ป่วยซึม ตาลอย ไม่ตอบคำถาม ส่งเสียงอืออาไม่เป็นคำพูด แขนขาด้านซ้ายอ่อนแรงขยับได้ในแนวราบ แขนขาด้านขวายกได้เอง Lethargy GCS E4V2M5 = 11 Pupil size Rt 4 mm Lt 3 mm RTLBE T 37.4 o C, PR 104 /min , RR 22 /min , BP 220/105 mmHg , SpO2 95 % Room air CT Brain : Acute cerebral hemorrhage with hematoma at the right basal ganglion (measured about 7.9X3.6X4.8 cm in size and about 71.5 ml in volume) with perifocal brain edema and IVH causing midline shifting to the left at 7 mm in distance is suggestive.
-
EKG AF with RVR 112/min
Level of Patient Acuity for Inter-facility Transfer U H M L N
Levels of Patient Acuity for Interfacility Transfer เป็นระดับ M หรือ Stable with Medium risk of deterioration (ผู้ป่วยมีเสถียรภาพมีความเสี่ยงต่อการทรุดลงเฉียบพลันปานกลาง) หมายถึงผู้ป่วยที่มีความจำเป็นต้องเฝ้าระวังสัญญาณชีพอย่างใกล้ชิดระหว่างส่งต่อโดยการติดตามคลื่นไฟฟ้าหัวใจ / การหายใจ / ความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด / ความดันโลหิต / ระดับความรู้สึกตัว ทุก 5-15 นาที หรือผู้ป่วยที่ได้รับยาความเสี่ยงสูงทางหลอดเลือดดำซึ่งจำเป็นต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด เช่น Heparin, Nitroglycerine เป็นต้น ซึ่งในกรณีนี้ผู้ป่วยต้องได้รับการเฝ้าระวังสัญญาณชีพอย่างใกล้ชิดเนื่องจาก ผู้มีความดันโลหิตสูงถึง 220/105 mmHg Lethargy GCS E4V2M5 = 11 Pupil size Rt 4 mm Lt 3 mm RTLBE ร่วมกับได้รับยา Nicardipine และ Dilantin
เตรียมทีมบุคลากร/ อุปกรณ์/ เอกสาร
-
อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม
อุปกรณ์ช่วยฟื้นคืนชีพที่จำเป็น เช่น อุปกรณ์ใส่ท่อช่วยหายใจ ชุดอุปกรณ์ช่วยหายใจ ชุดให้ออกซิเจน เครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจ (defibrillation และ cardio version) อุปกรณ์ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ Infusion pump ไว้เพื่อควบคุมสารน้ำ เครื่องดูดเสมหะ เครื่องวัดความดันโลหิต เครื่อง Vital sign monitor
เปลนั่งและเปลนอนสำหรับใช้เคลื่อนย้ายผู้ป่วย มีอุปกรณ์การสื่อสารระหว่างเดินทาง เช่น วิทยุ แบตเตอรี่ที่ใช้กับอุปกรณ์การแพทย์ นอกจากนี้ควรเตรียมความพร้อมของรถโรงพยาบาลให้พร้อมใช้เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุระหว่างเดินทาง
เอกสารที่ต้องเตรียม
- แบบบันทึกการส่งต่อระหว่างโรงพยาบาล
- ประสานงานทำหนังสือรับรองสิทธิ(กรณีมีสิทธิบัตรทอง/ปกส.)
- เขียนใบขอใช้รถพยาบาล ใบเตรียมอุปกรณ์ทางการแพทย์ และของใช้ที่จำเป็น
-
Pre-transfer assess and management
Pre-transfer assess
ประเมินอาการและอาการแสดง: ผู้ป่วยมีอาการซึม ตาลอย ไม่ตอบคำถาม ส่งเสียงอืออาไม่เป็นคำพูด แขนขาด้านซ้ายอ่อนแรงขยับได้ใน แนวราบ แขนขาด้านขวายกได้เอง
-
ประเมินสัญญาณชีพ: T 37.4 C, PR 104 /min , RR 22 /min , BP 220/105 mmHg , SpO2 95 % Room air
CT Brain : Acute cerebral hemorrhage with hematoma at the right basal ganglion (measured about 7.9X3.6X4.8 cm in size and about 71.5 ml in volume) with perifocal brain edema and IVH causing midline shifting to the left at 7 mm in distance is suggestive.
EKG AF with RVR 112/min , CXR normal
โรงพยาบาลต้นทางเป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 120 เตียง มี CT scan สามารถให้ rTPA ได้ แต่ไม่มีแพทย์ Neuro surg ไม่สามารถผ่าตัดสมองได้
Pre-transfer Management
-
B: Breathing and ventilation: ventilator setting PC mode RR 22 /min, SpO2 95 % Room air
C: Circulation and hemorrhagic control: intravascular fluid ชนิด NSS 1000 ml V drip 80 cc/hr PR 104 /min , BP 220/105 mmHg
D: Disability, Deformity, Drain, Drug : Nicardipine 20 mg + 5-D-W 100 ml V drip 5 ml/hr (1 mg /hr ) Dilantin 1000 mg + NSS 100 ml V drip in 30 min
CT brain: Acute cerebral hemorrhage with hematoma at the right basal ganglion (measured about 7.9X3.6X4.8 cm in size and about 71.5 ml in volume) with perifocal brain edema and IVH causing midline shifting to the left at 7 mm in distance is suggestive.
Other management: EKG AF with RVR 112/min , CXR normal
คาดการณ์ว่าขณะเดินทางด้วยรถพยาบาลจะเกิดปัญหาอะไรได้บ้าง จะต้อง Monitorอะไรบ้าง หากเกิดปัญหาต้องรายงานใคร ต้นทางหรือปลายทาง และจะแก้ไขปัญหาอย่างจึงจะเหมาะสม
ขณะเดินทางเพื่อส่งต่อผู้ป่วยอาจเกิดปัญหาใดได้บ้าง ระดับความรู้สึกตัวลดลงเนื่องจากที่เนื้อสมอง/ปริมาณเลือดในสมอง/ปริมาตรน้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลังเปลี่ยนแปลง มีความดันในกะโหลกศรีษะสูง ทำให้การไหลเวียนเลือดในสมองลดลง สมองขาดออกซิเจน/ขาดเลือด สัญญาณชีพเปลี่ยนแปลงจนกระทั่ง Arrest ได้ รูปแบบการหายใจเปลี่ยนแปลง หัวใจเต้นช้าลง ความดันเลือดสูงขึ้น เนื่องจากเกิดความดันในกะโหลกศีรษะเพิ่มขึ้น อาจมีการกดเบียดที่ก้านสมอง ทำให้รบกวนศูนย์ควบคุมการหด-ขยายตัวของหลอดเลือด/ศูนย์ควบคุมการเต้นของหัวใจ/ศูนย์ควบคุมการหายใจ – กลไกการตอบสนองของร่างกายในระยะปรับตัวชดเชย เมื่อเลือดไปสู่สมองน้อยลง ไฮโปธาลามัสจะหลั่งสารเคมีไปกระตุ้นให้หัวใจบีบตัวเพิ่มขึ้น ทำให้ cardiacoutput เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ความดันโลหิตสูงขึ้น เมื่อความดันโลหิตสูงขึ้นจะไปกระตุ้น baroreceptor ที่หลอดเลือดแดงทำให้หัวใจเต้นช้าลง
จะต้อง Monitor อะไรบ้าง
- GCS เพื่อประเมินการเปลี่ยนแปลงของระดับความรู้สึกตัว โดยเริ่มประเมิน ABC ตามลำดับ และติดตามระดับความรุนแรงของภาวะความดันในกะโหลกศรีษะสูง
- EKG และ V/S, O2 sat ตลอดเวลาเพื่อติดตามสัญญาณชีพอย่างใกล้ชิด และสังเกตอาการทางระบบประสาทเปลี่ยนแปลง
หากเกิดปัญหาควรรายงาน: แพทย์ต้นทางเนื่องจากแพทย์ได้มีการประเมินผู้ป่วย มีข้อมูลภาวะสุขภาพ การตรวจร่างกายและข้อมูลการรักษาของผู้ป่วยก่อนอยู่แล้ว จึงทำให้สามารถช่วยเหลือผู้ป่วยเมื่อเกิดภาวะฉุกเฉินได้รวดเร็วกว่าแพทย์ปลายทาง
ควรแก้ปัญหาอย่างไรจึงจะเหมาะสม: ในระหว่างส่งตัวผู้ป่วยควรดูแลให้ผู้ป่วยนอนท่าศรีษะสูง เพื่อช่วยลดภาวะความดันในกระโหลกศรีษะสูง ดูแลอุณหภูมิในรถไม่ให้มีอุณหภูมิสูงเนื่องจากจะทำให้เกิด Metabolism ในสมองสูง ซึ่งส่งผลให้เกิดความดันในสมองสูงขึ้น และเมื่อประเมินแล้วพบว่าผู้ป่วยมีระดับความรู้สึกตัวลดลง (GCS 3-8 คะแนน) ควรได้รับการสอดท่อช่วยหายใจ และสัญญาณชีพอยู่ในช่วงวิกฤติ ควรรีบแจ้งแพทย์ต้นทางให้เร็วที่สุด เพื่อจะได้ทำการช่วยเหลือผู้ป่วยได้ทันเวลา และหากผู้ป่วยเกิดภาวะรุนแรงถึงขั้นไม่มีชีพจร ควรรีบทำการกู้คืนชีพทันที
-
-
-