Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ปัญหาที่พบบ่อยในทารกแรกเกิด - Coggle Diagram
ปัญหาที่พบบ่อยในทารกแรกเกิด
Hypoglycemia
ขณะอยู่ในครรภ์
ระดับน้ำตาลในทารกแารกเกิดประมาณร้อยละ 70-80 ของระดับในมารดา
หลังคลอด
สายสะดือถูกตัดออก ร่างกายไม่ได้รับน้ำตาลจากมารดา
ระด้ับน้ำตาลในเลือดลดลงภายใน 1-2 hr.หลังเกิด (แม่ในทารกแรกเกิดปกติพบระดับกลูโคสอาจลดลงถึง 30 mg/dl ได้)
หลังจากนั้นร่่างกายจะมีการปรับตัวเพื่อรักษาระดับกลูโคสในเลือดให้อยู่ระดับปกติ
โดยทั่วไปทารกได้รับนมหลังเกิด ระดับพลาสมากลูโคส >40 mg/dl ภายใน 4 hr.หลังเกิด และ>45 mg/dl ภายใน 24 hr. หลังเกิด
สาเหตุ
1.Transient hypoglycemia (ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำที่เกิดชั่วคราว)
การเปลี่ยนแปลงทางด้านเมทาบอลิซึมของมารดา
มารดาได้รับสารละลายกลูโคสก่อนคลอด ทำให้ทารกในครรภ์มีระดับกลูโคส insulin และ lactate เพิ่มขึ้น และเมื่อคลอดจะมีน้ำตาลต่ำ
มารดาได้รับยา
ยารักษาโรคเบาหวานชนิดกิน โดยยาผ่านรกกระตุ้นตับอ่อน ทำให้เกิด beta cell hyperplasia มีผลทำให้หลั่ง insulin มากขึ้น
ยาขับปัสสาวะกลุ่ม benzothiazide และกลุ่ม beta sympathomimetic ที่ใช้ยับยั้งคลอด ทำให้มารดาและทารกในครรภ์มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ซึ่งกระตุ้น beta cell ของทารกทำให้ insulin สูง
ยากลุ่ม beta blocker ออกฤทธิ์ยับยั้งการหลั่ง catecholamine ในทารกหลังเกิด
ทารกที่มารดาเป็นเบาหวาน (Infant of diabetic mother:IDM)
ทารกจะมีระดับน้ำตาลลดลงถึงจุดต่ำสุดได้ในช่วง 30-90 นาทีหลังเกิด
ในทารกบางรายระดับน้ำตาลต่ำต่อเนื่อง พบบ่อยที่ <20 mg/dl ต้องได้รับการรักษา
การเปลี่ยนแปลงทางด้านทารก
SGA น้ำหนักน้อยกว่าอายุครรภ์ เนื่องจากมีการสะสม glycogen น้อย สร้างกลูโคสน้อย มักตรวจพบอาการน้ำตาลต่ำใน 24 hr.แรก
ทารกเกิดก่อนกำหนด ทำให้มีไขมัน และ glycogen น้อย ทำให้มีปัญหาในการสร้างกลูโคส
ภาวะขาดออซิเจนแรกเกิด เนื่องจากต้องการปริมาณกลูโคสที่สูง
ภาวะติดเชื้อ เกี่ยวกับ glycogen ที่ลดลง ร่างกายต้องการใช้กลูโคสมากขึ้น
Polythemia, hyperviscosity เม็ดเลือดแดงเพิ่มมากขึ้นมีการใช้กลูโคสมากขึ้น
Erythroblastosis fetalis มักพบในรายที่ซีดมากหลังเปลี่ยนถ่ายเลือด และใช้เลือดที่มี acid citrate dextrose ทำให้น้ำตาลในเลือดสูง ทำให้ insulin สูงตาม
Latrogenic causes การใส่สายสวนเข้าหลอดเลือดแดงสายสะดือ เป็นการหยุดการให้สายสะลายกลูโคสความเข้มข้นสูงเข้าหลอดเลือดดำกะทันหัน
2.Pesistent หรือ Recurrent hypoglycemia (ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำที่เกิดต่เนื่อง)
1.Hyperinsulinism
CHI: Congenital hyperinsulinism เกิดจาก beta cell ของตับอ่อนสร้าง insulin มากผิดปกติ มักจะแสดงอาการใน 24-48 ชม.แรกหลังเกิด เช่น ชัก hypotonia หยุดหายใจหรือเขียว
Beckwith-Wiedmann syndrome ทารกมีลักษณะเฉพาะ ได้แก่ ตัวโต(macrosomia) ลิ้นใหญ่(macroglossia) ใบหูมีร่องหรือรู(ear creases, pitrs)
2.ความผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อ(พบได้น้อย)
ได้แก่ pituitary insufficiency, cortisol deficiency, congenital glucagon deficiency และ epineohrine deficiency
3.Inborn errors of carbohydrate metrabolism
เกิดจากความผิดปกติแต่กำเนิดของกระบวนการสร้างและสลาย glycogen การสร้างกลูโคส และ fatty acid oxidation
อาการ
อาจมีอาการหรือไม่มีก็ได้
การร้องที่ผิดปกติ, กระสับกระส่าย(irritability), ชัก, ซึม hyponia อาการสั่น(tremor) หายใจเร็ว หยุดหายใจ หายใจลำบาก อาการเขียว อุณหภูมิกายต่ำ มีปัญหาการกินนม
การรักษา
1.ทารกแรกเกิดที่มีอาการแสดงและมีผลตรวจคัดกรองกลูโคสในเลือด <40 mg/dl
ให้สายละลายกฃูโคส 200 mg/kg โดยให้ 10% D/W 2 mg/kg ทางหลอดเลือดดำช้าๆ มากกว่า 1 นาที ตามด้วยกลูโคสทางหลอดเลือดดำในอัตรา 6-8 mg/kg/min
หลังจากนั้น 30 นาทีควรตรวจกลูโคสในเลือดซ้ำและตรวจทุก 1-2 ชั่วโมงจนกว่าจะคงที่ ต่อไปตรวจทุก 4-6 ชั่วโมง
ถ้าพลาสมากลูโคสอยู่ในระดับ 50-70 mg/dl สามารถลดอัตรากลูโคสเข้าหลอดเลือดดำทุก 3-4 ชั่วโมง
ควรตรวจกลูโคสในเลือดแต่ละครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงอัตราการไหลของกลูโคสเข้าหลอดเลือดดำ ทารกส่วนใหญ่สามารถลดอัตรากลูโคสเข้าหลอดเลือดดำจนหยุดได้
ทารกคลอดก่อนกำหนดระยะท้าย ทารกครบกำหนดที่เป็น SGA, IDM/LGA ที่ไม่มีอาการ
แรกเกิดถึง24ชั่วโมงหลังเกิด - ให้ทารกกินนมภายใน 1 ชม.หลังเกิด - ถ้าระดับกลูโคสยังคง <25 mg/dl และยังคงปกติดี สามารถให้กินนมซ้ำอีกครั้งอีกครั้งและตรวจระดัลกลูโคสหลังกิน 1 ชม. ถ้ายังคง<25mg/dl ให้สารละลายกลูโคสเข้าหลอดเลือดดำ ถ้าได้25-40 mg/dl ให้กินนมต่อไป
อายุ 4-24 ชม.หลังเกิด - ให้ทารกกินนมทุก 2-3ชม. ตรวจกลูโคสในเลือดก่อนกินนมแต่ละมื้อ - ถ้าระดับกลูโคส <35 mg/dl .ให้กินนมและตรวจกลูโคสหลังกินนม 1ชม. ถ้ายังคง<35 mg/dl ให้สารละลายเข้าหลอดเลือดดำ แต่ถ้าเท่ากับ 35-40 mg/dl ให้กินนมต่อ
Hyperglycemia
เป็นภาวะที่มีระดับกลูโคสในเลือด >125 mg/dl หรือพลาสมากลูโคส >145-150 mg/dl
โดยทั่วไประดับกลู้โคสที่ต้องการการรักษาคือ >180 mg/dl หรือระดับกลูโคสที่มีภาวะ glycosuria จาก osmotic diuresis ร่วมด้วย
สาเหตุ
1.ความบกพร่องในการรักษาสมดุลกลูโคสมนทารกเกิดก่อนกำหนด/SGA/ทารกเจ็บป่วย
2.การให้ปริมาณกลูโคสเข้าหลอดเลือดดำที่มากเกินไป
3.ภาวะติดเชื้อกระแสเลือด
4.ภาวะ stress
5.การได้รับคอร์ติโคสเตียรอยด์
6.ทารกเป็นเบาหวาน(neonatal diabetes mellitus) 4k;touhr[ohvp
มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง มีภาวะขาดน้ำ น้ำหนักลด หรือภาวะเลือดเป็นกรด ทารกจะมีอาการแสดงได้ตั้งแต่อายุ 2 วันถึง 6 สัปดาห์
ทารกส่วนใหญ่มีน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่าอายุครรภ์ แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ เบาหวานแบบถาวรและแบบชั่วคราว
อาการ
ส่วนใหญ่มักไม่มีอาการแสดงให้เห็น
จะไม่สามารถวินิจฉัยได้หากไม่ได้ตรวจวัดปริมาณกลูโคสในเลือดหรือพลาสมา
ทารกที่มีระดับกลูโคสสูงเฉียบพลัน มากกว่า 400-500 mg/dl ทำให้มี glycosuria เกิดภาวะขาดน้ำ hyperosmolar coma, cerebral และ neuronal edema มีอาการชักและเลือดออกในสมองได้
การรักษา
ยังไม่มีแนวทางการรักษาที่ชัดเจน เนื่องจากหากไม่มี osmotic diuresis ส่วนใหญ่จะดีขึ้นภายใน 2-3 วัน
กรณีระดับกลูโคสในเลือด >180-200 mg/dl
1.หลีกเลี่ยงการให้ hypotonic solution ซึ่งกรณีทารกได้รับสารอาหารทางหลอดเลือดดำและไขมันร่วมด้วย ทารกจะสามารถรักษาระดัยกลูโคสอยู่ในเกณฑ์ปกติได้
2.ในทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยมาก ให้เริ่มสารอาหารทาลหลอดเลือดดำเร็วที่สุด การให้กรดอะมิโนจะช่วยส่งเสริมการหลั่งอินซูลิน
3.ให้ทารกกินนมเมื่อสภาวะของทารกพร้อมรับนมได้ จะช่วยส่งเสริมการหลั่งอินซูลิน
4.รักษาสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง เช่น ภาวะติดเชื้อ เป็นต้น