Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลทารแรกเกิด ที่มีภาวะเสี่ยงสูง, นางสาวอติกานต์ ภูกองไชย เลขที่…
การพยาบาลทารแรกเกิด ที่มีภาวะเสี่ยงสูง
ทารกแรกเกิด
มีอัตราการเจ็บป่วย (morbidity) และมีอัตราการตาย (mortality) มากที่สุด
การจำแนก
ตามอายุครรภ์
ทารกแรกเกิดครบกำหนด (term or mature infant)
มีอายุครรภ์มากกว่า 37 สัปดาห์ ถึง 41 สัปดาห์เต็ม
ทารกแรกเกิดเกินกำหนด (post term infant)
อายุครรภ์มากกว่า 41 สัปดาห์
ทารกคลอดก่อนกำหนด (preterm infant)
มีอายุครรภ์ 37 สัปดาห์เต็มหรือต่ำกว่า
ตามน้ำหนัก
ทารกแรกเกิดมีน้ำหนักน้อย (low birth weight infant)
มีน้ำหนักแรกเกิด ต่ำกว่า2,500 กรัม
แบ่งเป็น
ทารกน้ำหนักต่ำกว่า 1,500 กรัม
Very low birth weight
ทารกน้ำหนักต่ำกว่า 1,000 กรัม
Extreme low birth weight
ทารกแรกเกิดมีน้ำหนักปกติ(normal birth weight infant)
มีน้ำหนัก แรกเกิด 2,500 –4,000 กรัม
ทารกที่อายุในช่วง 28 วันแรกของชีวิต
ภาวะหลอดเลือดหัวใจเกิน (Patent Ductus Arteriosus)
อาการและอาการแสดง
รับนมได้น้อย
ท้องอืด
หอบเหนื่อย
น้ำหนักไม่ขึ้น
หายใจเร็ว
การรักษา
ทั่วไป
ให้ยาควบคุมอาการถ้ามีภาวะหัวใจวาย
จำเพาะ
ใช้ยาเพื่อช่วยยับยั้งการสร้าง prostaglandin
Indomethacin
ขนาดที่ให้ 0.1-0.2 มก./กก.ทุก 8 ชม.
ข้อห้ามใช้
BUN > 30 mg/dl , Cr > 1.8 mg/dl
Plt. < 60,000 /mm3
urine < 0.5 cc/Kg/hr. นานกวา่ 8 hr.
มีภาวะ NEC
Ibuprofen
ข้อห้ามใช้
BUN > 20 mg/dl , Cr > 1.6 mg/dl
การผ่าตัด PDA ligation
Hypoglycemia
อาการแสดง
ซึมไม่ดูดนม มีสะดุ้งผวา อาการสั่น ซีดหรือเขียวหยุดหายใจ ตัวอ่อนปวกเปียก อุณหภูมิกายต่ำ ชักกระตุก
สาเหตุ
การไม่ได้รับกลูโคสจากมารดาอีกต่อไป
glycogen ที่ตับสะสมไว้น้อยจึงสร้างกลูโคสได้จำกัด
การสร้างกลูโคส (glucogenesis) ได้น้อย
มีภาวะเครียดทั้งขณะอยู่ในครรภ์ขณะคลอดและหลังคลอดเช่นการขาดออกซิเจนอุณหภูมิกายต่ำทำให้มีการใช้น้ำตาลมาก
ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า 40 mg% (term) ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า 35 mg% (preterm)
การดูแล
ทารกที่มีอาการร่วมกับระดับน้ำตาลน้อยกว่า 40 มก. / ดล. ให้สารละลายกลูโคสทางหลอดเลือด (10% D / W)
ทารกไม่มีอาการ
ถ้าระดับน้ำตาลน้อยกว่า 25 มก / ดล. ให้สารละลายกลูโคสทางหลอดเลือด
ระดับน้ำตาล 25-40 มก. / ดล. ให้นมหรือสารละลายกลูโคสทางหลอดเลือด
แรกเกิด-อายุ 4 ชั่วโมงให้นมภายใน 1 ชั่วโมงแรกติดตามระดับน้ำตาลในเลือด 30 นาทีหลังให้นมมื้อแรก
ถ้าระดับน้ำตาล 35-45 มก / คล, ให้นมหรือสารละลายกลูโคสทางหลอดเลือด
10% D / W 2 mg kg และ / หรือ glucose infusion rate (GIR) 5-8 มก / กก / นาทีโดยให้ระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในช่วง 40-50 มก. / ดล.
กรณีที่มีน้ำตาลในเลือดต่ำตรวจติดตามทุก 30 นาที
ในรายไม่แสดงอาการให้กินนมหรือสารละลายกลูโคสถ้ากินไม่ได้ให้สารละลายกลูโคสทางหลอดเลือดดำ
สังเกตอาการเปลี่ยนแปลง
กรณีทารกเสี่ยงต่อระดับน้ำตาลในเลือดต่ำจะต้องตรวจหาระดับน้ำตาลภายใน 1-2 ชม. หลังคลอดและติดตามทุก 1-2 ชม. ใน 6-8 ชม. แรกหรือจนระดับน้ำตาลจะปกติ
การควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย
ภาวะอุณหภูมิกายต่ำ (Hypothermia)
อุณหภมูิกายต่ำกว่า 36.5 ํC
อาการเริ่มแรก
มือเท้าเย็น ตัวซีด
ผิวหนังลายจากเส้นเลือดขยายตัว
ซึม ดูดนมช้า,น้อย,ไม่ดูดนม
อาเจียน ท้องอืด
ภาวะอุณหภูมิกายสูง(Hyperthermia)
อุณหภูมิกายสูงกว่า 37.5 ํC
อาการเริ่มแรก
หงุดหงิดเมื่อร้อนขึ้น
เคลื่อนไหวลดลง ซึม หายใจเร็วและแรง
ผิวหนังอุ่นกว่าปกติ
การดูแล
keep warm (warmer, incubator หรือผ้าห่มห่อตัว)
ระวัง “Cold stress”
วัดอุณหภูมิ Body temperature ( 36.8 - 37.2 ํC )
ปรับอุณหภมูิห้องให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม (25-26 ํC )
จัดให้อยู่ในที่อุณภมูิเหมาะสม (NTE) 32 - 34 ํC
ป้องกันการสูญเสียความร้อนของร่างกายทารก 4 ทาง
ตรวจสอบอุณหภมูิร่างกายทุก 4 ชม.
Intraventricular hemorrhage (IVH)
อาการ IVH มักเกิดในทารกคลอดก่อนกำหนดที่มีRDS รุนแรงและต้องใช้ เครื่องช่วยหายใจ
รายที่เลือดออกมากและเร็ว ทารกจะมีอาการทรุดลงหมดสติ ชัก เกร็ง หยุดหายใจ ซีด และกระหม่อมหน้าโป่งตึง
ภาวะเลือดออกในโพรงสมอง
ถ้าเลือดออกไม่มาก ทารกอาจไม่มีอาการหรือเพียงแต่ซีดลง บางรายอาจมีอาการ ซึม กล้ามเนื้ออ่อนแรงเป็นพักๆ
การวินิจฉัยด้วยการตรวจ ultrasound เป็นวิธีที่ดีและสะดวกที่สุด
Necrotizing Enterocolitis (NEC)
ภาวะที่เนื้อเยื่อของระบบทางเดินอาหารตายจากการอักเสบจนขาดเลือด
มักเกิดบริเวณลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ในทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักตัวน้อย
ภาวะลำไส้เน่าอักเสบ
สาเหตุ
การใช้ยาของมารดาขณะตั้งครรภ์
การคลอดก่อนกำหนด
ภาวะขาดออกซิเจน
อาการ
เซื่องซึม (lethargy) ดูดนมไม่ดี ตัวเหลือง ร้องกวน อุณหภูมิกายต่ำ หยุดหายใจ หัวใจเต้นช้า มีภาวะกรดเกิน โซเดียมต่ำและออกซิเจนต่ำ
การรักษา
ยาปฏิชีวนะชนิดสเปกตรัมกว้างการระงับการติดเชื้อตามระบบต่างๆของร่างกาย
การพยุงระบบไหลเวียนด้วยการให้สารน้ำสารอาหารทางหลอดเลือด
การระงับสิ่งกระตุ้นทำให้เกิดการอักเสบผ่านการพักการใช้ทางเดินอาหาร (NPO)
ให้ยากลุ่มกระตุ้นความดันโลหิต (Vasopressor)
การเฝ้าติดตามการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วย
Apnea of prematurity (AOP)
ภาวะหยุดหายใจนานกว่า 20 วินาที ร่วมกับมี cyanosis
central apnea
ภาวะหยุดหายใจที่ไม่มีการเคลื่อนไหวของทรวงอกหรือกะบังลม และไม่มีอากาศไหลผ่านรูจมูก
obstruction apnea
ภาวะหยุดหายใจที่มีการเคลื่อนไหวของทรวงอกหรือ กะบังลม
หลอดคอไม่เปิดกว้าง เกิดการอุดกั้น ทางเดินหายใจ
การดูแลระบบทางเดินหายใจ
สังเกตอาการพร่องออกซิเจน
ดูแลให้ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ
จัดท่านอนที่เหมาะสม
ดูดเสมหะเมื่อจำเป็น
ระวังการสำลัก
Sepsis
ชนิด
Early onset Sepsis
ติดเชื้อในระยะก่อน/ ระหว่างการคลอด แสดงอาการ ภายใน 2-3 วัน แรกหลังคลอดภายใน 72 ชั่วโมงแรก
Late onset Sepsis
ติดเชื้อที่แสดงอาการ หลังคลอด 72 ชั่วโมง ถึง 1 เดือน
สาเหตุ
การคลอดล่าช้า
มารดามีการติดเชื้อ น้ำคร่ำมีกลิ่น
preterm
เชื้อ Group B streptococci แกรมลบ E.coli Klebsiella)
ทารกมีภาวะพร่องออกซิเจนในครรภ์
ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนดนานเกิน 18 ชั่วโมง
อาการและอาการแสดง
ในทารกไม่จำเพาะเจาะจงแต่อาจตรวจพบความผิดปกติในระบบต่างๆ
ร้องนาน ไม่ดูดนม ซีด ตัวลายเป็นจ้ำ (motting) ผิวหนังเย็น หายใจเร็ว หายใจลำบาก ท้องอืด อาเจียน สั่น ชัก
การรักษา
ส่วนมากให้Ampicillin iv กบั Gentamycin iv
ถ้าไม่ได้ผลนิยมเปลี่ยนเป็น กลุ่ม Cephalosporins iv
ให้ยาปฏิชีวนะที่เหมาะสมตาม sensitivity
การพยาบาล
ควบคุมอุณหภูมูกายให้อยู่ในระดับปกติ
ดูแลความสะอาดร่างกายและสิ่งแวดล้อม
ดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะ และสังเกตอาการข้างเคียงของยา
ติดตามผลทางห้องปฏิบัติการ
ประเมินภาวะติดเชื้อในร่างกาย
แยกทารก
ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด(Hyperbilirubinemia)
เกิดจากบิลลิรูบิน (bilirubin) ในเลือดสูงกว่าปกติ
แบ่งเป็น
ภาวะตัวเหลืองจากสรีรภาวะ (Physiological jaundice)
ภาวะตัวเหลืองจากพยาธิภาวะ ( Pathological jaundice)
สาเหตุ
มีการสร้างบิลลิรูบินเพิ่มขึ้นมากกว่าปกติ จากภาวะต่างๆที่มีการทำลายเม็ดเลือดแดง
มีการดูดซึมของบิลิรูบินจากลำไส้มากขึ้นจากภาวะต่างๆ
มีการกำจัดบิลิรูบินได้น้อยลงจากท่อน้ำดีอุดตัน การขาดเอนไซม์บางชนิดแต่กำเนิด
มีการสร้างบิลิรูบินเพิ่มมากขึ้นร่วมกับการกำจัดได้น้อยลง ได้แก่ การติดเชื้อ
มีการดูดซึมของบิลิรูบินจากลำไส้มากขึ้นจากภาวะที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (breastfeeding jaundice)
การรักษา
การส่องไฟ (phototherapy)
การพยาบาล
ระหว่างให้นมควรเปิดผ้าปิดตาเพื่อให้ทารกได้สบตากับมารดา
สังเกต บันทึกลักษณะและจำนวนอุจจาระอย่างละเอียดเพื่อ ประเมินภาวะสูญเสียน้ำ
ควรเปิดตาทุก 4 ชม. และเปลี่ยนผ้าปิดตาทุก 8-12 ชม.
บันทึกและรายงานการเปลี่ยนแปลงของสัญญาณชีพทุก 1-4 ชม
เช็ดทำความสะอาดตาและตรวจตาของทารกทุกวัน
ปิดตาทารกด้วยผ้าปิดตา (eyes patches) เพื่อป้องกันการระคายเคืองของแสงต่อตา
สังเกตภาวะแทรกซอ้นจากการได้รับการส่องไฟรักษา
การเปลี่ยนถ่ายเลือด (exchange transfusion)
การพยาบาล
ดูแลให้ร่างกายทารกอบอุ่น
ในขณะเปลี่ยนถ่ายเลือดต้องบันทึกปริมาณเลือดเข้า-ออก ตรวจวัดสัญญาณชีพ
เตรียมอุปกรณ์ช่วยฟื้นคืนชีพให้พร้อม
สังเกตภาวะแทรกซ้อน
อธิบายให้บิดามารดาทราบ
ตรวจวัดสัญญาณชีพ ทุก15 นาที ทุก 30 นาทีจนกระทั่งคงที่
Perinatal asphyxia
เป็นภาวะขาดออกซิเจนของทารกแรกเกิด
สาเหตุ
รกเกาะต่ำ รกลอกตัวก่อนกำหนด
ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์
ภาวะติดเชื้อในครรภ์
มารดา อาจ ตกเลือด อายุมาก หรือเป็นเบาหวาน
ศีรษะทารกไม่ได้สัดส่วนกับเชิงกรานมารดา
ความพิการโดยกำเนิด
การรักษา
ให้ความอบอุ่นและควบคุมทารกให้ได้อุณหภูมิปกติ
ให้ออกซิเจนที่เหมาะสม
สังเกตอาการอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง
งดอาหารทางปากชั่วคราว ให้สารน้ำและอาหารทางหลอดเลือด
ให้เลือด ถ้าความเข้มข้นของเลือดต่ำหรือเสียเลือด
หลังจาก 12 ชั่วโมง ให้ระวังอาการชัก
พิจารณาให้ยาปฏิชีวนะ
ระมัดระวังภาวะแทรกซ้อนต่างๆ
Bronchopulmonary Dysplasia
อาการแสดง
O2ในเลือดต่ำ กว่าปกติ
CO2ในเลือดคั่ง
หน้าอกบุ๋ม (intercostal retraction)
ความดันในปอดสูง(pulmonary hypertension) ในรายที่รุนแรง
หายใจเร็วกว่าปกติ
โรคปอดเรื้อรัง ที่มีการทำลายของทางเดินหายใจขนาดเล็ก
การรักษา
ตามสาเหตุ
ตามอาการ
การให้O2
ให้ยาขยายหลอดลม
รักษาภาวะแทรกซ้อน
ฟื้นฟสูมรรถภาพปอด
Retinopathy of Prematurity (ROP)
เป็นความผิดปกติ ในทารกในทารกคลอดก่อนกำหนดที่มีน้ำหนักน้อย
ลักษณะสำคัญ
การงอกผิดปกติของเส้นเลือด (neovascularization) บริเวณรอยต่อระหว่างจอประสาทตาที่มีเลือดไปเลี้ยงและจอประสาทตาที่ขาดเลือด
พยาบาล
ดูแลให้ทารกรับออกซิเจนเท่าที่จำเป็น
ในทารกที่ได้รับออกซิเจน ติดตาม O2saturation ดูแลให้ทารกมีระดับ O2saturation อยรู่ะหว่าง 88-92 %
ดูแลให้ทารกได้รับยาวิตามินE ตามแผนการรักษา
ดูแลให้ทารกได้รับการตรวจ screening ROP
ดูแลให้ทารกมีภาวะ ROP รุนแรงและอยู่ในเกณฑ์บ่งชี้ให้ได้รับการรักษาโดยใช้แสงเลเซอร์
RDS (Respiratory Distress
ภาวะกลุ่มอาการหายใจลำบาก
สาเหตุ
เกิดจากการขาดสารลดแรงตึงผิวที่ผิวของถุงลม
โครงสร้างของปอดมีพัฒนาการไม่เต็มที่
อาการและอาการแสดง
ซีด, BP ต่ำ
หน้าอกบุ๋ม (retraction)
หายใจเร็ว (tachypnea) , ลำบาก (dyspnea)
ดูดนมไม่ดี อาเจียน ท้องอืด
ซึม กระสับกระส่าย reflex ลดลง
ตัวลาย ผิวหนังเย็น ตัวเหลือง มีจุดเลือดออก
Hypoglycemia ภาวะ acidosis
การรักษา
ป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับออกซิเจน
ให้สารลดแรงตึงผิวเพื่อทำให้ความยืดหยุ่นของปอดดีขึ้น
ให้ออกซิเจนตามความต้องการของทารก
Meconium Aspiration Syndrome (MAS)
เป็นภาวะที่ทารกในครรภ์สูดสำลักหรือหายใจเอาขี้เทาที่มีอยู่ในน้ำคร่ำเข้าไปในหลอดลมหรือปอด ส่งผลให้ทารกมีปัญหาหายใจลำบาก
สาเหตุ
ปัจจัยด้านมารดา
มารดามีภาวะรกเกาะต่ำหรือรกลอกตัวก่อนกำหนด
มารดามีภาวะน้ำคร่ำน้อยกว่าปกติทารกเคลื่อนไหวไม่สะดวกเกิดสายสะดือถูกกด
ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ส่งผลให้ปริมาณเลือดที่ผ่านรกมายังทารกน้อยลง
มีภาวะถุงน้ำคร่ำอักเสบน้ำคร่ำรั่วนานกว่า 18 ชม.
ประวัติใช้สารเสพติดส่งผลให้มีการหดรัดตัวของมดลูก
อายุครรภ์มากกว่า 42wks ส่งผลให้รกเสื่อมสภาพ
ปัจจัยด้านทารก
เมื่อทารกในครรภ์มีภาวะขาดออกซิเจนร่างกายของทารกจะมีการปรับตัวเพื่อหาแหล่งของออกซิเจนมาใช้ แต่เมื่อรับออกซิเจนจากสายสะดือไม่ได้ ทารกจะเกิดภาวะเครียด
อาการและอาการแสดง
อาการรุนแรงปานกลาง
อาการหายใจเร็วมีความรุนแรงมากขึ้นมีการดึงรั้งของช่องซี่โครงและมีความรุนแรงสูงสุดเมื่ออายุ 24 ชั่วโมง
อาการรุนแรงมาก
ทารกจะมีระบบหายใจล้มเหลวทันทีหรือภายใน 2-3 ชั่วโมงหลังเกิด
อาการรุนแรงน้อย
ทารกมีอาการหายใจเร็วระยะสั้น ๆ เพียง 24-72 ชั่วโมงทำให้แรงดันลดลงและมีค่าความเป็นกรด-ด่างปกติอาการมักหายไปใน 24-72 ชั่วโมง
แนวทางการรักษา
พิจารณาใช้ยาเพื่อขยายหลอดเลือดในปอดกรณีมีภาวะความดันในปอดสูง
ให้ยาปฏิชีวนะในกรณีมีภาวะหายใจล้มเหลวเพื่อลดการอักเสบเนื้อเยื่อปอด
พิจารณาให้ยาตามอาการของทารกเพื่อให้ทารกพักผ่อนลดการใช้ออกซิเจนในร่างกาย (กลุ่ม opioids, กลุ่ม muscle relaxants)
เฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ (ภาวะลมรั่วในช่องเยื่อหุ้มปอดและภาวะความดันในปอดสูง)
ให้ทารกได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ
การพยาบาล
ดูแลให้ได้รับออกซิเจนติดตามอาการแสดงของการขาดออกซิเจน ได้แก่ หายใจเร็วอกปุ่มปีกจมูกบานใช้กล้ามเนื้อช่วยในการหายใจมากขึ้นเขียว
วัดความดันโลหิตทุก 2- 4 ชั่วโมงเฝ้าระวังการเกิดความดันต่ำจาก PPHN
เป้าหมายที่สำคัญเพื่อให้ทารกได้รับออกซิเจนเพียงพอเฝ้าระวังการติดเชื้อ
รบกวนทารกให้น้อยที่สุดสังเกตอาการติดเชื้อเพื่อให้ทารกมีพฤติกรรมทางระบบประสาทที่เหมาะสม
นางสาวอติกานต์ ภูกองไชย
เลขที่ 101 รหัส62111301104