Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การอภิปรายกลุ่ม (group discussion) - Coggle Diagram
การอภิปรายกลุ่ม (group discussion)
ความหมาย
การเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสนทนาของผู้ให้ข้อมูล ซึ่งเป็นบุคคลที่สามารถให้คำตอบในประเด็นที่ต้องการศึกษาได้ โดยจัดให้มีกลุ่มสนทนาประมาณ 6-12 คน ซึ่งกลุ่มที่จะมีลักษณะโต้ตอบโต้แย้งกันดีที่สุดคือ 7-8 คน และจะต้องมีผู้ดำเนินการสนทนา (Moderator) เป็นผู้คอยจุดประเด็นในการสนทนา เพื่อชักจูงให้กลุ่มเกิดแนวคิดและแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นหรือแนวทางการสนทนาอย่างกว้างขวางละเอียดลึกซึ้ง
ข้อจำกัด
ถ้าหากมีความคิดเห็นที่ไม่ตรงกันอาจทำให้เกิดการทะเลาะวิวาทได้
ถ้าผู้ดำเนินในการสนทนาคุมเกมไม่ได้ การสนทนากลุ่มจะไม่ราบรื่น
1.ถ้าในการสนทนากลุ่ม มีผู้ร่วมสนทนาเพียงไม่กี่คนที่แสดงความคิดเห็นอยู่ตลอดเวลาจะทำให้ข้อมูล ที่ได้เป็นเพียงความคิดเห็นของคนส่วนน้อยเท่านั้น ดังนั้นจึงต้องระวังไม่ให้มีการผูกขาดการสนทนาขึ้น
วิธีการดำเนินงาน
ควรสร้างบรรยากาศก่อนการสนทนาให้เกิดความเป็นกันเองให้มากที่สุด โดยอาจเริ่มการสนทนาอย่างไม่เป็นทางการไปก่อน
ผู้ดำเนินการจะต้องจำชื่อผู้ที่ร่วมสนทนาให้ได้ทุกคน ถ้าเกรงว่าจะจำไม่ได้ให้ใช้วิธีจดชื่อไว้ในสมุดบันทึกตาตำแหน่งที่คนๆนั้นนั่งอยู่
ผู้ดำเนินการควรจดประเด็นการพูดคุยไว้ เพื่อกันการลืมระหว่างการสนทนา
เริ่มการสนทนาโดยพูดเรื่องที่ใกล้ตัวของผู้ร่วมสนทนาก่อน เช่น คุยเรื่องงานในหน้าที่ ณ ปัจจุบัน
มีผู้ร่วมสนทนากลุ่มละประมาณ 10 - 12 คน โดยนั่งล้อมรอบผู้ดำเนินการและผู้ช่วยผู้ดำเนินการ
พยายามให้ผู้ร่วมสนทนาทุกคนได้มีส่วนในการออกความคิดเห็นและได้ร่วมพูดมากที่สุดและอย่างทั่วถึง (เป็นเทคนิคอย่างหนึ่งของผู้ดำเนินการที่ต้องมีประสบการณ์การทำสนทนากลุ่มย่อยมาก่อน)
1.มีผู้ดำเนินการหนึ่งคน และผู้ช่วยผู้ดำเนินการ (ผู้คอยจดบันทึก - สรุปผล) อีกหนึ่งคนรวมสองคน
ระยะเวลาการสนทนา ประมาณ 1 ชั่วโมงเศษ (ไม่ควรใช้เวลานานเกินไป ผู้ร่วมสนทนาจะเบื่อหน่ายได้)
สถานที่สนทนาไม่ควรมีเสียงรบกวนมากนัก อาจใช้ห้องนั่งเล่น ห้องรับแขกหรือถ้ามีสนามหญ้าหรือร่มใต้ต้นไม้นอกอาคารก็ได้แล้วนั่งล้อมวง
เวลาในการสนทนา ควรเป็นเวลาที่ผู้ร่วมสนทนาว่างจริง ๆ เพื่อทุกคนจะได้อยู่ร่วมสนทนาจนจบ ไม่ลุกออกไปก่อนการสนทนาจะเสร็จสิ้น
ผู้ช่วยสามารถช่วยซักถามหรือร่วมสนทนาด้วยได้ โดยเฉพาะบางประเด็นที่ผู้ดำเนินการอาจตกหล่นบ้าง
หลังการสนทนาเสร็จในแต่ละกลุ่มแล้ว ผู้ดำเนินการและผู้ช่วยควรมาสรุปผลสั้นๆ และวิเคราะห์ร่วมกัน
ข้อดี
มีบรรยากาศที่เป็นกันเอง
บรรยากาศของการคุยกันเป็นกลุ่มจะช่วยลดความกลัวที่จะแสดงความเห็นส่วนตัว
เป็นการกระตุ้นให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมต้องเตรียมตัวให้ดียิ่งขึ้น
ใช้เวลาน้อย กระชับ
ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีโอกาสร่วมแสดงความคิดเห็น วิเคราะห์ปัญหา
ลดความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องในประเด็นที่พูดคุยกัน
อ้างอิง
มานิต ศุทธสกุล. (มปป.). บทความเรื่อง การอภิปรายกลุ่ม การระดมสมอง การสัมมนาและการประชุมเชิงปฏิบัติการ. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา
http://m.exteen.com/blog/pises/20060821/entry