Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 1 หลักการและแนวคิดเกี่ยวกับ การประกันคุณภาพการศึกษา - Coggle…
บทที่ 1
หลักการและแนวคิดเกี่ยวกับ
การประกันคุณภาพการศึกษา
ประโยชน์ของ
การประกันคุณภาพการศึกษา
ผู้ประกอบการ ชุมชน สังคม และประเทศชาติได้เยาวชนและคนที่ดีมีคุณภาพและศักยภาพที่จะช่วยทำงานพัฒนาองค์กร ชุมชน สังคมและประเทศชาติต่อไป
หน่วยงานที่กำกับดูแลได้สถานศึกษาที่มีคุณภาพและศักยภาพในการพัฒนาตนเอง ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาภาระในการกำกับดูแลสถานศึกษา และก่อให้เกิดความมั่นใจในคุณภาพทางการศึกษา และคุณภาพของสถานศึกษา
ผู้บริหารได้ใช้ภาวะผู้นำ และความรู้ความสามารถในการบริหารงานอย่างเป็นระบบ และมีความโปร่งใส เพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับและนิยมชมชอบของผู้ปกครองและชุมชน ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจและเป็นประโยชน์ต่อสังคม
ผู้เรียนมาตรฐานและผู้ปกครองมีหลักประกันและความมั่นใจว่าสถานศึกษาจะจัดการศึกษาที่มีคุณภาพเป็นไปตามที่กำหนด
ครูได้ทำงานอย่างมืออาชีพ ได้ทำงานที่เป็นระบบที่ดี
มีประสิทธิภาพ มีความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้
และเน้นวัฒนธรรมคุณภาพ
ระบบคุณภาพและ
การบริหารคุณภาพ
ระบบคุณภาพ
ความหมาย
เป็นระบบที่ทำให้เห็นถึงแนวทางปฏิบัติที่จะนำไปสู่ผลผลิตที่มีคุณภาพ
เป็นการรวมสิ่งต่าง ๆ ซึ่งมีลักษณะ
ที่ซับซ้อนให้ประสานเป็นหนึ่งเดียว
ลักษณะ
ภารกิจของระบบคุณภาพ คือ การให้ความเชื่อมั่น
มีรายการองค์ประกอบต่างๆ ตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐานนานาชาติอย่างเหมาะสม
จัดตั้งและนำระบบคุณภาพไปใช้เป็นเครื่องมือ เพื่อให้นโยบายวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้บรรลุผลสำเร็จ
มีการออกแบบโครงสร้างความรับผิดชอบ
ขั้นตอน กระบวนการ และแหล่งทรัพยากร
ขององค์กร
องค์ประกอบ
การวางแผนคุณภาพ (Quality Planning)
การควบคุมคุณภาพ(Quality Control)
การปรับปรุงคุณภาพ(Quality Improvement)
การบริหารคุณภาพ
ความหมาย
เป็นกระบวนการที่กำหนดและการบริหารกิจกรรมต่าง ๆ ที่มีความจำเป็นต่อการดำเนินการให้ได้มาซึ่งจุดประสงค์ด้านคุณภาพขององค์การ
แนวคิด
Heilpern & Nadler (1992)
การบริหารจัดการโดยข้อเท็จจริง (Management by facts)
การใช้กระบวนการในการแก้ปัญหา (Problem Solving)
ความสามารถในการควบคุมกระบวนการ (Process) โดยเน้นสมรรถนะในการดำเนินการ
การให้ความสำคัญกับเศรษฐศาสตร์คุณภาพ
(Quality Economics)
กระบวนการที่มุ่งเน้นลูกค้าและผู้ป้อนวัตถุดิบ (Customer/Supplier model)
การทำงานเป็นทีมและการมีส่วนเกี่ยวข้องในการทำงาน (Involvement and Teamwork)
Juran (1951)
การพัฒนาคุณภาพ
การควบคุมคุณภาพ
การวางแผนคุณภาพ
หลักการ
การเน้นกระบวนการ (Process Approach) ในการจัดกิจกรรมและทรัพยากรอย่างเหมาะสม
การบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ (System Approach to Management)
การมีส่วนร่วมของบุคลากรในองค์การ (Involvement of people)
การปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (Continual Improvement)
ภาวะผู้นำ (Leadership) แสดงเป้าหมายและทิศทางในการดำเนินการ
การตัดสินใจบนฐานของข้อเท็จจริง (Factual Approach to Decision Making)
การให้ความสำคัญ ความต้องการของผู้รับบริการ (Customer)
ความสัมพันธ์เชิงพึ่งพากันระหว่างองค์การกับผู้ส่งมอบผลิตภัณฑ์
(Mutually Beneficial Supplier Relationships)
การประกันคุณภาพ
การศึกษา
ความหมาย
การควบคุมคุณภาพ (Quality Control)
การตรวจสอบคุณภาพ (Quality Auditing) การประเมินคุณภาพ (Quality Assessment)
การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
ระบบและกระบวนการ
ประกันคุณภาพการศึกษา
ระบบการประกันคุณภาพภายใน
เป็นระบบการประเมินผล และการติดตาม
ตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา
ของสถานศึกษาจากภายในโดยบุคลากรของ
สถานศึกษานั้นเองหรือโดยหน่วยงานต้นสังกัด
ที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษานั้น
ระบบการประกันคุณภาพภายนอก
เป็นการประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายนอกโดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือสมศ. หรือบุคคลหรือหน่วยงานภายนอกที่สำนักงานดังกล่าวรับรอง
ความสำคัญ
ป้องกันการจัดการศึกษาที่ไม่มีคุณภาพ ซึ่งจะเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคและเกิดความเสมอภาคในโอกาสที่จะได้รับการบริการการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง
ทำให้ผู้รับผิดชอบในการจัดการศึกษามุ่งบริหารจัดการศึกษาสู่คุณภาพและมาตรฐานอย่างจริงจัง ซึ่งมีผลให้การศึกษามีพลังที่จะพัฒนาประชากรให้มีคุณภาพอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง
ทำให้ประชาชนได้รับข้อมูลคุณภาพการศึกษาที่เชื่อถือได้ เกิดความเชื่อมั่นและสามารถตัดสินใจเลือกใช้บริการที่มีคุณภาพมาตรฐาน
ความเป็นมาของการ
ประกันคุณภาพการศึกษา
ระบบการประกันคุณภาพเพิ่งเกิดขึ้นภายใต้
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ(ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 หมวด 6 มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา มาตรา 47-49 ที่กำหนดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาต่อเนื่องและให้มีประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาทุกแห่งอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกห้าปี
ประเทศไทย ปรากฏชัดเจนว่าเริ่มดำเนินการในปี พ.ศ. 2484 โดยสภาการศึกษาแห่งชาติ
ประเทศที่ริเริ่มพัฒนาแนวคิดการประกันคุณภาพการศึกษา คือ ประเทศอังกฤษ ซึ่งได้เริ่มนำแนวคิดเกี่ยวกับการประกันคุณภาพในภาคธุรกิจ และภาคอุตสาหกรรม
คุณภาพและการ
ประกันคุณภาพ
คุณภาพ
คุณลักษณะต่าง ๆ ทั้งหมดของสินค้าหรือบริการ ซึ่งแสดงถึงความสามารถในการสร้าง เพื่อสนองตอบต่อความต้องการ และเป็นไปตามความต้องการหรือเป็นไปตามที่กำหนดไว้ จนสามารถสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าได้
การประกันคุณภาพ
กิจกรรมการบริหารคุณภาพในส่วนที่มุ่งทำให้เกิดความมั่นใจว่าจะบรรลุข้อกำหนดทางด้านคุณภาพ
เป็นการกระทำที่มีการวางแผน ไว้ล่วงหน้าและเป็นไปอย่างมีระบบ ซึ่งจำเป็นที่จะต้องมีเพื่อให้ความมั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์หรือบริการจะสามารถตอบสนองความต้องการด้านคุณภาพได้ตามที่ได้ตกลงกัน
เป็นการบริหารจัดการเพื่อให้เกิดประสิทธิผล หรือการตัดสินใจเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วเกิดผลดี เป็นเรื่องที่พึงปรารถนา