Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การจัดการความรู้ในสถานศึกษา - Coggle Diagram
การจัดการความรู้ในสถานศึกษา
แบ่งได้ 2 ประเภท
ความรู้ฝังลึก
เป็นความรู้ที่ไม่สามารถอธิบายโดยใช้คำพูดได้ มีรากฐานจากการกระทำและประสบการณ์ มีลักษณะ เป็นความเชื่อ ทักษะ
ความรู้ที่ชัดแจ้ง
เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่างๆ เช่น การบันทึกเป็นลักษณะอักษรทฟษฎี คู่มือต่างๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม
การจัดการความรู้ Knowledge Management (KM)
หมายถึง การรวบรวมความรู้สู่การปฏิบัติ ซึ่งเป็นความรู้ที่เกิดจาก การเรียนรู้ เจตคติในงาน ประสบการณ์การทำงานและพฤติกรรมการทำงานของแต่ละบุคคล ซึ่งปฏิบัติงานเรื่องเดียวกันหรือคนละเรื่อง แล้วประชุมหรือสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกันและกัน แลกเปลี่ยนประสบการณ์ เมื่อรวบรวมแล้วก็มีการนำความรู้ที่ได้มาสังเคราะห์ วิเคราะห์หรือจัดระบบใหม่ เพื่อสร้างเป็นองค์ความรู้ใหม่ ยอมรับข้อดีและจุดที่เป็นปัญหาของกันและกัน
บทบาทในการจัดการความรู้ของครู
การจัดการความรู้ของตนเอง
การจัดการความรู้ในชั้นเรียน
การจัดการความรู้ของวิทยาลัยพยาบาล
การจัดการความรู้ในชุมชน
พัฒนาตนเองให้มีความสามารถและทักษะในการจัดการความรู้
ขั้นการกำหนดความรู้ ครูจะต้องเข้าไปมีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนของวิทยาลัย ศึกษาวิเคราะห์หลักสูตรแต่ละระดับ
ขั้นการแสวงหาความรู้ ต้องตระหนักถึงความสำคัญของการแสวงหาความรู้ พัฒนาความรู้สามารถของตนเองให้เข้าถึงความรู้ โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การแสวงหาความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และเพื่อนร่วมงาน
ขั้นการสร้างความรู้ ต้องเข้าร่วมกิจกรรมสร้างความรู้ นวัตกรรมของสถานศึกษา เข้าร่วมประชุมสัมมนา ประชุมปฏิบัติการเกี่ยวกับการเรียนการสอนที่หน่วยงานต่าง ๆ จัดขึ้น
ขั้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ต้องเข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพทั้งในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษา และเข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่สมาคมหรือชมรมทางวิชาชีพครู จัดขึ้นอยู่เสมอ
ขั้นการเก็บความรู้ ต้องพัฒนาตนเองให้มีความรู้ความสามารถเก็บความรู้อย่างเป็นระบบในรูปแบบต่าง ๆ
ขั้นการนำความรู้ไปใช้ ต้องเข้าร่วมกิจกรรมโดยการนำเสนอความรู้ในโอกาสต่าง ๆ
องค์ประกอบและตัวบ่งชี้การจัดการความรู้ของครู
องค์ประกอบด้านการกำหนดความรู้
องค์ประกอบด้านการแสวงหาความรู้
องค์ประกอบด้านการสร้างความรู้
องค์ประกอบด้านการแลกเปลี่ยนความรู้
องค์ประกอบด้านการเก็บความรู้
องค์ประกอบด้านการนำความรู้ไปใช้
ปัจจัยสำคัญ
ครูและบุคลากรภายในสถานศึกษา จะต้องมีความรู้ความเข้าใจในความสามารถและมุ่งมั่นที่จะพัฒนาการจัดการความรู้
กระบวนการจัดการความรู้ โดยมีขั้นตอนดำเนินงานอย่างเหมาะสม บุคลากรทุกฝ่ายในโรงเรียนมีความเข้าใจและสามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้อย่างต่อเนื่อง
เทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาลัยต้องให้มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีคุณภาพรองรับการจัดการ ความรู้ได้อย่างเหมาะสมและเปิดโอกาสให้ครูทุกคนได้ใช้ระบบสารสนเทศอย่างทั่วถึง
การบริหารจัดการวิทยาลัย ต้องจัดระบบบริหารจัดการที่เอื้ออำนวยโดยมีการกระจายอำนาจและให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม รวมทั้ง มีการจูงใจที่เหมาะสม
ประโยชน์ของการจัดการความรู้ในสถานศึกษา
ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร
ป้องกันการสูญหายของภูมิปัญญา เช่นการ เกษียณอายุ ลาออก หรือเสียชีวิต
เป็นการลงทุนในต้น
ผู้บังคับบัญชาสามารถทำงานเชื่อมโยงกับผู้ใต้บังคับบัญชาให้ใกล้ชิดกันมากขึ้น
แปรรูปความรู้ให้เป็นทุน
เพื่อการสร้างสรรค์