Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis) - Coggle Diagram
เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis)
เป็นการติดเชื้อในเยื่อหุ้มสมอง เป็นบริเวณส่วนที่เป็นเมมเบรน ซึ่งปกป้องหุ้มเนื้อสมองและไขสันหลัง ซึ่งมีอาการสำคัญ คือ ไข้ ปวดศีรษะ คอแข็ง ไม่สู้แสง คลื่นไส้อาเจียนและมีอาการแสดงของการระคายเคืองเยื่อหุ้มสมอง
สาเหตุ
1.Bacterial meningitis เยื่อหุ้มสมองอักเสบที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย มีภาวะรุนแรงมากกว่าเชื้อไวรัส
เกิดจาก
เชื้อแบคทีเรียสามารถไปสู่ Subarachnoid Space แล้วทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เกิดได้จาก 3 วิธี
การติดเชื้อผ่านทางกระแสโลหิตโดยที่มีแหล่งติดเชื้ออยู่ที่ส่วนอื่นของร่างกายแล้วแบคทีเรียเข้าสู่กระแสโลหิต (Bacteremia) ไปสู่ Subarachnoid Space ได้
การติดเชื้อลุกลามโดยตรง พวกนี้การติดเชื้อกระจายสู่ Subarachnoid Space โดยตรงโดยมีแหล่งติดเชื้อบริเวณใกล้เคียง
มีการอักเสบของหูชั้นกลางอย่างเรื้อรัง
มีการอักเสบของเส้นโลหิตดำใหญ่ๆ ในชั้นdura ซึ่งเป็นการติดเชื้อที่เป็นผลจากการติดเชื้อในบริเวณหน้าจมูก
Meningocele แตก
ได้รับเชื้อโดยตรงจากการเปื้อนของเชื้อ เช่น มีการแตกหักของกะโหลกศีรษะ หรือมีกระดูกแตกที่บริเวณฐานของกะโหลกศีรษะ ทำให้น้ำไขสันหลังไหลออกมาทางจมูกหรือหู
อาการและอาการแสดง
อาการที่แสดงว่ามีการติดเชื้อ คือ มีไข้สูง หนาวสั่น เบื่ออาหาร ในเด็กเล็ก ๆ จะกระสับกระส่ายหรือหงุดหงิดไม่ยอมดูดนม หรือมีอาเจียนได้ง่าย
อาการที่แสดงว่ามีการระคายของเยื่อหุ้มสมอง (Meningeal Irritation) ร่วมกับความผิดปกติในการทำงานของสมอง
ซึม / คงมีแต่กระหม่อมหน้า (Anterior Fontanelle) ตึงอย่างเดียว
อาการที่แสดงถึงภาวะแทรกซ้อน
สมองบวม มีน้ำหรือหนองในช่องใต้เยื่อหุ้มสมอง มีฝีในสมอง
แบ่งตามเชื้อต้นเหตุได้อีก 2 ชนิด
Purulent meningitis เยื่อหุ้มสมองอักเสบชนิดเป็นหนอง
Tuberculosis meningitis เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อวัณโรค
เกิดจากเชื้อ mycobacterium tuberculosis ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ประเภท acid fast bacilli เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากวัณโรค
ในเด็กส่วนมากจะพบการติดเชื้อวัณโรคที่ปอดก่อนแล้วเชื้อลุกลามไปตามน้ำไขสันหลังแล้วไปสู่สมอง
อาการและอาการแสดง
แบบเฉียบพลัน
เด็กจะมีไข้ ซึมลง การรับรู้เปลี่ยนแปลง ชัก มีอาการระคายเคืองของเยื่อหุ้มสมอง ในระยะท้ายๆผู้ป่วยจะมี decerebrate rigidity และเกิดการเลื่อนของสมอง (cerebral herniation)
แบบเรื้อรัง
2.1 ระยะนำ (prodomal stage)
มีไข้ต่ำๆ บางรายไข้สูงลอย มีอาการกระสับกระส่าย ร้องกวนผิดปกติ
2.2 ระยะเปลี่ยนแปลง (transitional stage)
เป็นระยะที่มีความดันในกะโหลกศีรษะสูง เด็กเล็กกะหม่อมหน้าโป่งตึง คอแข็ง ไข้สูงตลอดเวลา
2.3 ระยะสุดท้าย (terminal stage)
ไข้สูง ซึมมากขึ้น รูม่านตาขยายโดยไม่มีปฏิกิริยาต่อแสง อาจมีอาการกระตุก น้ำตาลในเลือดต่ำ ชีพจรเต้นไม่สม่ำเสมอ หายใจไม่สม่ำเสมอ
2.Viral meningitis หรือ Aseptic meningitis เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากไวรัส
3.Eosinophilic meningitis เกิดจากพยาธิ
4.การติดเชื้อรา (fungal meningitis)
Candida albicants, Cryptococcus neoformans
5.ปฏิกิริยาที่ไม่ใช่การติดเชื้อ (non-infections diseases)
เนื้องอก (Malignancy)
primary medulloblastoma, metastatic leukemia
การบาดเจ็บ/กระทบกระเทือนของสมอง (trauma)
subarachnoid bleed, traumatic lumbar puncture, การผ่าตัดทางระบบประสาท
การได้รับสารพิษ จากตะกั่ว ปรอท
การวินิจฉัยโรค
การซักประวัติถามถึงอาการ มีไข้สูง ซึม อาเจียน เด็กเล็กไม่ยอมดูดนม ร้องกวน กระสับกระส่าย
การตรวจห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ
เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย
การตรวจเลือด
การตรวจน้ำไขสันหลัง
การย้อมสีน้ำไขสันหลัง เพื่อหาเชื้อแบคทีเรีย
การตรวจคอมพิวเตอร์สมอง (CT scan)
เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อวัณโรค (Tuberculous meningitis)
การทดสอบทูเบอร์คูลิน (tuberculin test) ให้ผลบวก
การเจาะหลัง (Lumbar puncture)
การรักษา
เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย
การรักษาเฉพาะ
การให้ยาต้านจุลชีพหรือยาปฏิชีวนะสอดคล้องกับผลการเพาะเชื้อน้ำไขสันหลัง
การรักษาทั่วไปตามอาการและการรักษาแบบประคับประคอง
ให้ยาลดไข้เมื่อมีไข้สูง
ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ เพื่อรักษาภาวะสมดุลของน้ำและอิเลคโตไลท์
เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อวัณโรค (Tuberculous meningitis)
การรักษาเฉพาะ แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะร่วมกับยาต้านวัณโรค อย่างน้อย 2 ชนิดขึ้นไป
การรักษาแบบประคับประคอง
การให้สารน้ำ และเกลือแร่ทางหลอดเลือดดำ
การให้นมที่ให้พลังงาน เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
การรักษาภาวะแทรกซ้อน