Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การสืบสวนสอบสวนการระบาดของโรค Investigation of Epidemics - Coggle Diagram
การสืบสวนสอบสวนการระบาดของโรค Investigation of Epidemics
ความหมาย
การสอบสวนทางระบาดวิทยา คือ การดำเนินงาน หรือกิจกรรมต่างๆ ให้ได้มาซึ่งข้อมูล ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเกิดโรค ภัย ไข้ เจ็บ และเหตุการณ์ผิดปกติที่เป็นปัญหาสาธารณสุข ด้วยวิธีการรวบรวมข้อมูลรายละเอียดในทางระบาดวิทยา สิ่งแวดล้อม และการชันสูตรทางห้องปฏิบัติการ
การสอบสวนผู้ป่วยเฉพาะราย (Individual case investigation)
หมายถึง การรวบรวม ข้อมูลรายละเอียดที่เกี่ยวกับผู้ป่วย หรือผู้สัมผัสโรค โดยใช้แบบสอบสวนโรคเฉพาะรายเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยการสัมภาษณ์และสังเกตในขณะซักถาม
การระบาด หมายถึงการเกิดโรคในชุมชนที่มีความถี่ของการเกิดโรคมากกว่าจำนวนความถี่ ของ โรคในช่วงระยะเวลาเดียวกัน แต่ในกรณีที่มีโรคติดต่ออันตรายซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นในชุมชนนั้นมาก่อน หรือ เคยเกิดมานานแล้วและกลับมาเป็นอีก ถึงแม้มีผู้ป่วยเพียง 1 ราย ก็ถือว่าเป็นการระบาด
ลักษณะการระบาด
1) Outbreak หมายถึง การเกิดโรค ภัย ไข้ เจ็บ หรือเหตุการณ์ผิดปกติที่มีผลกระทบต่อ สุขภาพของคนหรือสัตว์ ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปในระยะเวลาสั้นๆ
2) Epidemic หมายถึง การเกิดโรค ภัย ไข้ เจ็บ หรือเหตุการณ์ผิดปกติที่มีผลกระทบต่อ สุขภาพ หรือสัตว์ มากกว่าค่าเฉลี่ยรวมกัน 2 เท่า ของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (X +2 S.D.)
ชนิดของการระบาด
การระบาดของโรคจากแหล่งแพร่เชื้อร่วม (Common-source epidemics)
ลักษณะของ Epidemic curve
รูประฆังหรือการกระจายแบบปกติ
ระยะห่างของเวลาระหว่างผู้ป่วยรายแรกและรายสุดท้าย
ห่างกันไม่เกิน 1 ระยะฟักตัวของโรค
วิธีการแพร่เชื้อ (Methods of Transmission)
จากนํ้า อาหาร นม และสื่อร่วมนำโรค(Common transmission)
ระยะเวลาของการระบาด(Duration of epidemic)
มักจะสั้น จำกัดอยู่ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง
การระบาดของโรคจากแหล่งแพร่เชื้อกระจาย (Propagated-source epidemics)
ลักษณะของ Epidemic curve ไม่เป็นรูประฆัง จับกันเป็นกลุ่มๆ
ระยะห่างของเวลาระหว่างผู้ป่วยรายแรกและรายสุดท้าย
ห่างกันเกิน 1 ระยะฟักตัวของโรค
วิธีการแพร่เชื้อ (Methods of Transmission)
จากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่ง
(Person-to-person transmission)
ระยะเวลาของการระบาด(Duration of epidemic)
มักจะยาว ไม่จำกัดอยู่ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง
ขั้นตอนในการสืบสวนสอบสวน
ตรวจสอบการวินิจฉัย
จุดประสงค์
1.เพื่อเป็นแนวทางที่จะไต้ศึกษาการระบาดของโรคที่ถูกต้องต่อไป
2.เพื่อได้จำนวนผู้ป่วยที่ถูกต้อง
ประกอบด้วย
1.การวินิจฉัยทางคลินิก
การวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ
ผลการตรวจทางพยาธิสภาพหรือผลการตรวจศพ
ตรวจสอบว่ามีการระบาดของโรคอยู่จริง
พิจารณาเปรียบเทียบอัตราผู้ป่วยใหม่ที่เกิดขึ้นขณะนั้นกับอัตราผู้ป่วยใหม่ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาหรือเปรียบเทียบกับอัตราผู้ป่วยใหม่ช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว xˉ+2 S.D.
ประเมินผลอย่างรวดเร็วเกี่ยวกับปัจจัยต่าง ๆ ที่น่าจะเป็นสาเหตุของการระบาด (Repid evaluation of epidemiologic potentialities)
3.1 การมีประสบการณ์ร่วมกัน
3.2 สิ่งแวดล้อมของกลุ่มผู้ป่วย
การรวบรวมข้อมูล (Collection of data)
4.1 วางกฎเกณฑ์การเลือกและการจัดกลุ่ม
4.2 การค้นหาผู้ป่วยและลักษณะของผู้ป่วย
4.3 การค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติม
4.4 การค้นหาประสบการณ์ที่พบร่วมกันในกลุ่มผู้ป่วย
4.5 การศึกษาสภาวะสิ่งแวดล้อมขณะมีการระบาดของโรคและเปรียบเทียบกับสภาวะก่อนมีการระบาด
การวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis of data)
บุคคล - จำแนกตามอายุ เพศ อาชีพ ประวัติกิจกรรม เพื่อหากลุ่มเสี่ยง
เวลา - หาความสัมพันธ์ของจำนวนผู้ป่วยกับเวลาเริ่มป่วยเพื่อให้ทราบระยะเวลาที่ผู้ป่วยไปสัมผัสโรค ( Period of exposure )และสร้าง Epidemic curve ทำให้ทราบชนิดของการระบาด
สถานที่ - วิเคราะห์ข้อมูลจำนวนผู้ป่วยกับสถานที่เริ่มป่วย หาพื้นที่เสี่ยง ศึกษาทิศทางและการกระจายของโรค และปัจจัยที่เกี่ยวข้องโดยใช้ spot map และ area map
ตั้งสมมุติฐานการเกิดโรคและพิสูจน์สมมุติฐาน
Case-control study เปรียบเทียบดูว่าผู้ป่วย และ ผู้ไม่ป่วย มีประวัติการได้รับปัจจัยเสี่ยงแตกต่างกันกี่เท่า
Cohort study เปรียบเทียบดูว่าผู้ที่ได้รับปัจจัยเสี่ยง กับ ผู้ที่ไม่ได้รับปัจจัยเสี่ยงมีโอกาสป่วยแตกต่างกันกี่เท่า
ศึกษาสภาพแวดล้อม และสิ่งประกอบอื่นๆ
เก็บตัวอย่างอาหารที่สงสัย ผู้ปรุง ผู้สัมผัสกับอาหา
รสภาพโรงครัว
ขั้นตอนการประกอบอาหารที่สงสัย
การจัดการเกี่ยวกับการระบาดของโรค (Management of epidemic)
8.1 การรักษาผู้ป่วย
8.2 การสืบหาประชากรที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคและกลุ่มประชากรที่เป็นพาหะนำโรค
8.3 การป้องกันการแพร่กระจายและวางมาตรการในการควบคุม
การรายงานผลการสืบสวนสอบสวน (Report of the investigation)
9.1 ลักษณะการระบาดของโรคตามบุคคล (Person) สถานที่ (Place) และเวลา (Time)
9.2 สาเหตุของการระบาดของโรค สิ่งที่ทาให้เกิดโรค (Agent) แหล่งแพร่เชื้อ (Source of infection) และ วิธีการแพร่เชื้อ (Method of transmission)
9.3 ข้อแนะนาในการป้องกันการระบาดครั้งต่อไป
บทบาทพยาบาล
พยาบาลมีหน้าที่รับผิดชอบในการเฝ้าระวังโรค
ร่วมดำเนินการ หรือให้ความร่วมมือตามขั้นตอนการสอบสวนโรค
ตรวจสอบการวินิจฉัยโดยส่งผู้ป่วย ไปรับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ การติดตามตรวจสอบจำนวนผู้ป่วย
นำรายงานผลการสอบสวนโรคมาใช้ในการดำเนินมาตรการที่เหมาะสม เพื่อป้องกันและควบคุมโรคในกลุ่มบุคคลหรือชุมชนที่ รับผิดชอบ