Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ระบบประสาท, 2, eyes-1540474_960_720, 3, 4, 1, 5, 6, 7, นางสาวน้ำฝน นามวงษ์…
ระบบประสาท
การประเมินสภาพของระบบประสาท ทารกแรกคลอดควรได้รับการประเมินสภาพของระบบประสาท (Neurological Assessment) ดังต่อไปนี้
- Moro reflex เมื่อให้ทารกนอนหงายแล้วกระตุ้นโดยตบที่เบาะ หรือดึงมือของทารกค่อยๆ แล้วปล่อย หรือประคองด้านหลังของทารกแล้วปล่อยมือ ให้ทารกหงายไปข้างหลังประมาณ 10-15 องศา โดยใช้ฝ่ามือคอยรองรับไว้ จะกระตุ้นทำให้เด็กกางแขนกางขาออก แล้วทารกจะงอแขนและขางอเข้า ทำท่าคล้ายกับการกอด รีเฟล็กซ์นี้จะพบบ่อยใน ระยะ 2 เดือนแรก และจะค่อยๆ หายไปเมื่อทารกอายุ 3-4 เดือน ถ้าไม่พบมอโรรีเฟลกซ์ (Moro reflex) ในทารกแรกเกิดหรือพบมากกว่า 6 เดือน ต้องนึกถึงภาวะสมองได้รับอันตราย
- Tonic neck reflex เมื่อทารกนอนหงายและหันศีรษะไปด้านใดด้านหนึ่ง แขนและขาข้างนั้นจะเหยียดออก ส่วนด้านตรงข้ามจะงอเข้า
- Dancing or stepping reflexes เมื่ออุ้มทารกให้หน้าขาหรือหลังเท้าแตะที่ขอบเตียง ทารกจะงอเท้าและยกเท้าขึ้นวางบนขอบเตียงได้ ถ้าอุ้มทารกให้ยืนในท่าที่ศีรษะเอียงไปข้างหน้าเล็กน้อย ทารกจะทำท่าเดินทีละกาว
- Crawling reflex เมื่อจับให้ทารกนอนคว่ำ แขนและขาของทารกจะมีการเคลื่อนไหวเหมือนจะคลาน รีเฟล็กซ์นี้จะหายไปเมื่ออายุ 6 สัปดาห์
- Blining or Corneal reflex ทารกจะกระพริบตาเมื่อมีแสงจ้า หรือเมื่อมีวัตถุจะมากระทบตา รีเฟล็กซ์นี้จะปรากฏหลังเกิดจนถึงตลอดชีวิต
- Pupillary reflex รูม่านตาจะหดตัวเมื่อถูกแสงสว่าง รีเฟล็กซ์นี้จะปรากฏหลังเกิดจนถึงตลอดชีวิต ถ้าไม่มี รีเฟล็กซ์นี้อาจพบได้ในทารกที่มีการขาดออกซิเจน (Anoxia) หรือสมองถูกทำลาย
- Sneezing reflex ทารกจะมีอาการจามเมื่อมีสิ่งอุดตันหรือสิ่งระคายเคืองในจมูก รีเฟล็กซ์นี้จะมีหลังเกิดจนตลอดชีวิต
- Coughing reflex เมื่อมีสิ่งระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อของหลอดเสียงหรือหลอดลม จะทำให้ทารกไอได้ รีเฟล็กซ์นี้จะมีภายหลังเกิด 1 วัน จนถึงตลอดชีวิต
- Gag reflex เมื่อใส่สายยางหรือลูกสูบยางไปกระตุ้นที่บริเวณด้านหลังคอหอย ( Posterior pharynx) ของ ทารก ทารกจะทำท่าขย้อน รีเฟล็กซ์นี้มีภายหลังเกิดจนถึงตลอดชีวิต
- Rooting reflex กระตุ้นโดยใช้มือหรือของนิ่มๆ เขี่ยที่แกมหรือริมฝีปากทารกเบาๆ ทารกจะหันหน้าไปหาสิ่งกระตุ้น และอ้าปากเหมือนกับพยายามจะดูดหัวนม รีเฟล็กซ์นี้จะหายไปเมื่ออายุ 3-4 เดือน เมื่อทารกอยู่ในภาวะตื่นและ เมื่อทารกอยู่ในภาวะหลับ รีเฟล็กซ์นี้จะหายไปภายใน 7-8 เดือน
การทำงานของระบบประสาทในทารกแรกเกิดจะเป็นรีเฟล็กซ์แรกเริ่ม (Primitive basic reflex) ส่วนระบบประสาทอัตโนมัติจะมีความสำคัญมากในระยะแรกเพราะจะทำหน้าที่กระตุ้นการหายใจครั้งแรกของทารกแรกเกิด ช่วยควบคุมความเป็นกรดด่าง และอุณหภูมิของร่างกาย โดยพัฒนาการของระบบประสาทสัมผัสของทารกแรกเกิด
การได้ยิน ทารกจะได้ยินทันทีหลังเกิด หรือทันทีที่น้ำคร่ำของมารดาที่ค้างอยูในหูส่วนกลางไหลลงไปตาม หลอดลม (Eustachian tube) ของทารกแล้ว แต่การได้ยินของทารกในระยะแรกๆ จะยังแบ่งทิศทางของเสียงไม่ได้ ทารกจะสะดุ้งผวาและร้องไห้เมื่อได้ยินเสียงดัง หรือถ้าได้ยินเสียงดังขณะร้องไห้ ทารกอาจจะหยุดร้องและสนใจต่อเสียงนั้นๆ เมื่ออายุ 4 สัปดาห์ไปแล้ว จะมีปฏิกิริยาต่อเสียงของมารดาหรือผู้คนที่พบบ่อยๆ
การมองเห็น ทารกจะมองเห็นตั้งแต่แรกเกิด แต่การมองเห็นของทารกแรกเกิดมีขอบเขตจำกัด คือจะมองเห็นวัตถุเฉพาะที่อยู่ตรงกลางหน้า (Midline) ในระยะทางภายใน 8 นิ้ว ซึ่งเป็นระยะทางที่ทารกสามารถมองเห็นใบหน้าของมารดาหรือผู้เลี้ยงดูได้เมื่ออายุ 3 เดือน ทารกจะกรอกตามองตามวัตถุที่อยู่ในทิศทางต่างๆ ได้ ทารกจะกะพริบตาเมื่อมีแสงจ้า (Blining reflex) ส่วนรูม่านตาจะหดตัวเมื่อถูกแสง (Pupillary reflex) ต่อมน้ำตาจะเริ่มงานเมื่อทารกอายุ 2-4 สัปดาห์
การสัมผัส ทารกแรกเกิดจะมีความรู้สึกต่อการสัมผัสของร่างกายเป็นอย่างดี โดยเฉพาะที่ปาก มือ และส้นเท้าจะมีความรู้สึกไวกว่าส่วนอื่น จะสังเกตได้วาทารกจะเงียบและท่าทางมีความสุขขณะที่ถูกอุ้มชูอย่างอ่อนโยน และถ้ายิ่งกระตุ้นที่ปากหรือลิ้นทารกก็จะดูดทันที ส่วนความรู้สึกต่อการเจ็บปวดก็จะมีตั้งแต่เกิดเช่นเดียวกัน ทารกจะแสดงออกโดยการร้องไห้และโกรธ
การรับรส ทารกแรกเกิดจะรู้รสเป็นอย่างดีและมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ประสาทรับรสของทารกอยู่ที่ปลายลิ้น จะยอมรับอาหารเหลวรสหวานโดยจะดูดได้ดี ใบหน้าจะแสดงถึงความพอใจ แต่จะไม่ยอมรับอาหารที่มี รสเปรี้ยวหรือขม ซึ่งจะแสดงออกโดยขมวดคิ้ว หรือใบหน้าแสดงถึงความโกรธ
การได้กลิ่น ทารกจะได้กลิ่นทันทีที่ดูดเมือกหรือน้ำคร่ำของมารดาออกจากจมูก สังเกตได้วาเมื่อทารกได้กลิ่นนมมารดาจะหันเข้าหาหัวนม หรือถ้าได้กลิ่นรสฉุน เช่น กลิ่นเหล้าก็จะหันหน้าหนี
ความรู้สึกต่อการกระตุ้นทางร่างกาย ทารกจะมีความรู้สึกนี้ตั้งแต่เกิด มีความรู้สึกเจ็บปวดของร่างกายทารกจะตอบสนองสิ่งกระตุ้นโดยการร้องไห้
-
-
- Extrusion reflex เมื่อลิ้นของทารกถูกกดด้วยไม้กดลิ้น ทารกจะพยายามยื่นลิ้นออกมา เพื่อป้องกันไม่ให้กลืนสิ่งนั้นๆ ลงไปในคอ รีเฟล็กซ์นี้จะหายไปเมื่ออายุ 4 เดือน การให้อาหารเสริมประเภทที่ไม่ใช่ของเหลวแก่ทารกในระยะ 3-4 เดือน ทารกมักจะกลืนไม่เป็น ทั้งนี้เนื่องจากทารกมี Extrusion reflex นั่นเอง
- Sucking reflex ถ้ามีสิ่งกระตุ้นที่ริมฝีปากด้านในเพดานอ่อนทารกก็จะดูด รีเฟล็กซ์นี้จะมีตั้งแต่แรกเกิดจนถึง อายุ 4-6 เดือน
- Palmar grasping reflex เมื่อสอดนิ้วมือหรือสิ่งของเข้าไปในอุ้งมือทารกแรกเกิด ทารกจะกำสิ่งของนั้นไว้ ชั่วขณะและจะปล่อยออก รีเฟล็กซ์จะหายไปเมื่ออายุ 6 สัปดาห์ถึง 3 เดือน
- Yawn reflex ทารกจะหาวเมื่อต้องการออกซิเจนเพิ่มขึ้น รีเฟล็กซ์นี้จะปรากฏตลอดชีวิต
- Paintar หรือ Babinski reflex ถ้าขีดที่ด้านข้างของฝ่าเท้าจากด้านส้นเท้าขึ้นมาเป็นรูปตัวเจ จนถึงบริเวณใกล้นิ้วหัวแม่เท้าทารกแรกเกิดจะมีการตอบสนอง โดยมีหัวแม่เท้ากระดกขึ้น และอาจจะมีนิ้วอื่นๆ กางออกด้วยแล้วหุ้มปลายนิ้วเท้าลง รีเฟล็กซ์นี้มักจะหายไปเมื่อเด็กเริ่มเดินหรืออายุมากกว่าหนึ่งขวบ
-
-
-
-
-
-
-
-
-