Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาล ระยะ ที่ 1-4 ของการคลอด - Coggle Diagram
การพยาบาล ระยะ ที่ 1-4 ของการคลอด
ระยะที่ 4 ของการคลอด
( Fourth Stage of Labor )
การประเมินสภาพ
1.1 การตรวจร่างกายทั่วไป
1.สภาพทั่วไป หญิงหลังคลอดจะรู้สึกเหนื่อย ออ่นเพลียเนื่องจากเสียพลังงาน เลือดและเกลือแร่ขณะคลอด
2.ความดันโลหิต ชีพจร หายใจ ควรประเมินและบันทึกทุก 15 นาที ในชั่วโมงแรก แล้วประเมินทุก 30 นาทีในชั่งโมงที่สองหลังคลอด
3.อุณหภูมิของร่างกาย ภายหลังคลอดอุณหภูมิอาจสูงหรือต่ำกว่าปกติเล็กน้อยโดยอาจสูงถึง 38 C เรียกว่า reactionary fever ซึ่งพบได้ใน 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด
4.ผิวหนัง ควรจะแห้งและอุ่น ถ้าผิวหนังสีซีดอาจเป็นอาการแสดงของอาการเสียเลือดมากกว่าปกติ
5.ความเจ็บปวด (pain) ในระยะนี้ผู้คลอดจะมีอาการเจ็บปวดบริเวณมดลูกเนื่องจากมีการหดรัดตัวตามปกติ
1.2 การตรวจร่างกายเฉพาะที่
1.มดลูก (Uterus) ต้องมีการหดรัดตัวระยะอย่างสม่ำเสมอ ควรตรวจสอบการหดรัดตัวของมดลูกทุก 15 นาทีใน 1 ชั่วโมงแรก และทุก 30 นาทีในชั้วโมงที่สอง
2.จำนวนเลือดที่ออกทางช่องคลอด (bleeding per vagina) ปกติจะมีการสูญเสียเลือดภายหลังรกคลอดแล้วประมาณ 100-200 ซีซี และในระยะ 2 ชั่วโมงหลังคลอดจะมีอีกได้ 100 ซีซี รวมเสียเลือดประมาณ 300 ซีซี
3.ฝีเย็บ ในการคลอดฝีเย็บจะมีการฉีกขาดได้ จะมากหรือน้อยอยู่กับกระบวนการคลอด
สาเหตุที่ทำให้เกิดการฉีกขาด
1) ความไม่สมดุลระหว่างศรีษะกับฝีเย็บ
2) การคลอดเกิดรวดเร็ว
3) คลอดโดยใช้เครื่องมือ
ระดับของการฉีกขาดช่องทางคลอด
การฉีกขาดระดับที่ 1 (First degree tear) ฉีกขาดที่บริเวณ fourchette ผิวหนังบริเวณด้านหน้าของเยื่อบุช่องคลอด
การฉีกขาดระดับที่ 2 (Second degree tear การฉีกขาดที่ลึกลงไปถึงกล้ามเนื้อ perineal body แต่ไม่ถึง anal sphinctor
การฉีกขายระดับที่ 3 (Third degree tear) การฉีกขาดที่ลึกลงไปถึงกล้ามเนื้อรอบรูทวารหนัก (anal sphinctor)
การฉีกขาดระดับที่ 4 (Fourth degree tear) เป็นการฉีกขาดไปถึงผนังของทวารหนัก
4.กระเพาะปัสสาวะ ในระยะ 1-2 ชั่วโมงแรกหลังคลอดนี้ กระเพาะปัสสาวะควรว่าง
การพยาบาล
2.1 การซ่อมแซ่มฝีเย็บผู้คลอดที่ได้รับการตัดฝีเย็บ (Episiotomy)
1.วัตถุประสงค์ของการซ้อมแซ่มฝีเย็บ
เพื่อไม่ให้เสียเลือดมาก
เพื่อให้แผลสะอาดป้องกันการติดเชื่อ และแผลติดเร็วขึ้น
เพื่อให้พื้นเชิงกรานกลับคืนสู่สภาพเดิม
การเตรียมเครื่องมือในการเย็บแผล
1.โต๊ะสี่เหลี่ยมเล็กสำหรับจัดวางเครื่องมือที่จะเย็บแผล 1 ตัว
ชุดเย็บแผล 1 ห่อ
ไหมละลาย (Chromic cat gut) No. 00 1 อัน
กระบอกฉีดยา 10 ซีซี หรือ 20 ซีซี 1 อัน
เข็มดูดยาเบอร์ 21 และเข็มฉีดยาเบอร์ 24 อย่างละ 1 อัน
ชุดทำความสะอาดแผลฝีเย็บที่ปราศจากเชื่อ
น้ำยาเซฟลอน (savlon) 1 : 100
ยาชาไซโลเคน (xylocaine) 1 เปอร์เซ็น หรือ 2 เปอร์เซ็น
การเตรียมผู้คลอดเพื่อเย็บแผลฝีเย็บ
อธิบายใหฟ้ผู้คลอดทราบวัตถุประสงค์ และขั้นตอนของการซ่อมแซมฝีเย็บ
กรณีผู้คลอดนอนท่า Dorsal recumbent ตอนคลอดให้จตัดท่าสำหรับเตรียมทำแผล
สวมถุงมือทำความสะอาดฝีเย็บ (flush perineum)
นำผ้าปราศจากเชื่อปูรองใต้กัน
เตรียมชุดเย็บแผลวางไว้ในตำแหน่งที่หยิบจับได้สะดวก
4 ขั้นตอนการเย็บซ่อมแซ่มช่องคลอดและฝีเย็บ
เตรียมคีมจับเข็ม (needle holder) และใส่เส้นเอ็น (cat gut) ไว้
เตรียม Xylocaine ประมาณ 10-20 ซีซี
อธิบายให้ผู้ป่าวยทราบเพื่อให้ความร่วมมือทุกขั้นตอน
ปูผ้าสี่เหลี่ยมเจาะกลาง
ใส่ก้อนผ้าซับเลือด (tampon) เข้าไปในช่องคลอด
6 ตรวจรอยฉีกขายของแผลซ้ำอีกครั้ง
ฉีดยาซาเฉพาะที่บริเวณเนื่อเยื่อของแผลฝีเย็บ
เมื่อผู้คลอดเริ่มชาแล้วเริ่มเย็บแผลจากด้านในช่องคลอดออกมาด้านนอก วิธีเย็บแผลที่นิยม 2 วิธี
วิธีที่ 1 เข็มแรกเริ่มเย็บเหนือยอดของแผล (apex) จากนั้นเย็บแผลจากด้านในออกมาด้านนอกเลื่อยๆ โดยเย็บติดต่อกันเรียกว่า วิธีนี้ว่า continuous lock stitches
วิธีที่ 2 เริ่มเย็บเข็มแรกเหนือยอดแผล จากด้านในช่องคลอดออกมาเรื่อยๆ โดยเย็บผูกและตัดไหมแต่ละครั้งเรียกว่า การเย็บแบบ simple interrupted
การเย็บกล้ามเนื้อฝีเย็บ โดยใช่เข็มโค้งกลมและไหมละลาย
การเย็บผิวหนัง ส่วนมากนิยมใช้เข็มตรงเย็บสอยใต้ผิวหนังแบบสอยผ้า (subcuticular)
เมื่อเย็บแผลเรียบร้อยแล้ว ตรวจดูแผลที่เย็บไว้ว่ามีปัญหาหรือไม่ ถ้าไม่มีปัญหาให้เอา tampon ออก
2.2 การพยาบาลที่หน่วย 2 ชั่วโมงหลังคลอด
จัดให้ผู้คลอดนอนศีรษะสูงเล้กน้อย (semi Fowler's position)
ดูแลสภาพร่างกายผู้คลอดให้สะอาด
ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายผู้คลอด
อาหารและน้ำ
ส่งเสริมสัมพันธภาพของครอบครัว
การพักผ่อน ในรายที่อ่อนเพลียมาก
การบันทึกรายงานการคลอดและอาหารต่างๆ
การย้ายผู้คลอดออกจากห้องคลอด
ตรวจสอบการหดรัดตัวของมดลูก
ตรวจดูกระเพาะปัสสาวะ
ตรวจสอบสัญญาณชีพ
ทำความสะอาดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์อีกครั้งด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ
ระยะที่ 2 ของการคลอด
( Second Stage of Labor )
1.การเปลี่ยนแปลงทางเสรีรวิทยา
การเปลี่ยนแปลงของแรงผลักดัน
1.1 การหดรัดตัวของมดลูก มดลูกจะมีการหดรัดตัวถี่ นานและรุนแรงขึ้นทุก 2-3นาทีนาน 60-90 วินาที มีความรุนแรงระดับมาก
1.2 กดารหดรัดตัวของกล้ามเนื้อหน้าท้องและกระบังลม ส่วนนำของทารกเคลื่อนต่ำลงมากดกับพื้นเชิงกรานและทวารนนัก ทำให้ผปู้คลอดรู้สึกอยากเบ่งในขณะที่มดลูกมีการหดรัดตัว
3.การเปลี่ยนแปลงของพิ้นเชิงกรานและฝีเย็บ
1) รุ้สึกอยากเบ่งหรืออยากถ่ายอุจจาระ
2) ฝีเย็บโป่งตึง หรือรูทาวารหนักเปิด
3) มองเห็นส่วนนำของทารก
4) มีการแตกของน้ำทูนหัว (บางรายอาจแตกก่อนเข้าสู่ระยะที่สองของการคลอด)
5) มีมูกเปื้อนเลือดออกทางช่องคลอดมากขึ้น
การเปลี่ยนแปลงของทารก
2.การเปลี่ยนแปลงด้านจิตสังคม
ผู้คลอดจะมีความเครียดมากขึ้น เนื่องจากผู้คลอดเหนื่อย อ่อนเพลียมีการรับรู้ความเจ็บปวดรุนแรงมากขึ้น ทำให้ผู้คลอดแยกตัว ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม
พยาบาลจึงต้องเข้าใจภาวะจิตสังคมและช่วยประคับประคองจิตใจของผู้คลอดโดยการยอมรับพฤกรรมของผู้คลอด แสดงความเห็นใจ และดูแลอย่างใกล้ชิด
3.การทำคลอดปกติ
1.การเตรียมคลอด
1.1 การเตรีบมสถานที่
1.2 การเตรียมเครื่องมือเครื่องใช้ในการทำคลอด
1.3 การเตรียมผู้คลอด
การเตรียมทางด้านร่ายกาย
การจัดท่าผู้คลอด
การฟอกทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภานนอก
การเตรียมด้านจิตใจ
1.4 การเตรียมผู้ทำคลอด
สวมหมวกคลุมผมให้มิดชิด ผูกผ้าปิดปากและจมูก ใส่ผ้ายางกันเปื้อน สวมแว่นตาและรองเท้าบู๊ทให้เรียบร้อย
ทำความสะอาดมือ โดยฟอกมือและแขนจึงถึงข้อศอก hibiscrub เป็นเวลา 3- 5 นาที
สวมเสื้อกาวน์ และถุงมือด้วยเทคนิคปราศจากเชื้อ
การช่วยเหลือการคลอด
2.1 การทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภานนอก
2.2 การปูผ้า
2.3 การเชียร์เบ่ง
2.4 การตัดฝีเย็บ (episiotomy)
ประโยชน์ของการตัดฝีเย็บ
1.1 ลดอัตรายต่อสมองทารก
1.2 ป้องกันการฉีกขาดหรือการหย่อนของพื้นเชิงกราน
1.3 สะดวกในการซ่อมแซมฝีเย็บ
1.4 ช่วยให้ระยะที่สองของการคลอดสั้นลง
ข้อบ่งชี้ในการตัดฝีเย็บ
2.1 ผู้คลอดครรภ์แรก
2.2 ผู้คลอดครรภ์หลังที่เคยได้รับการตัดฝีเย็บมาแล้ว
2.3 ทารกมีขนาดใหญ่
2.4 รายที่คลอดก่อนกำหนด
2.5 รายที่ต้องใช้สูติศาสตร์หัตถการในการช่วยคลอด
ชนิดของการตัดฝีเย็บ
3.1 การตัดตามแนวกลางฝีเย็บ (median episiotomy)
แผลซ่อมแซมง่าย
แผลติดตรงดีกว่า
มีรอยแผลเป็นน้อย
มีความเจ็บปวดทรมานน้อย
เสียเลือดน้อยกว่า
การฉีกขาดต่อถึงหูรูดและทวารหนักได้มาก
3.2 การตัดแบบเฉียง (mediolateral episiotomy)
แผลซ่อมแซมยากกว่า
แผลหายแล้วมีลักษณะผิดปกติบ่อยกว่า
มีรอยแผลเป็นเห็นชัด
อาจเกิดความเจ็บปวด ทรมาน
เสียเลือดมากว่า
การฉีกขาดต่อถึงหูรูดและทวารหนักได้น้อยกว่า
เวลาที่เหมาะสมในการตัดฝีเย็บ
เทคนิคในการตัดฝีเย็บ
2.5 การทำคลอดศีรษะ
ภายหลังการตัดฝีเย็บ หรือผู้คลอดเบ่งจนศีรษะทารกโผ่ลออกมาที่ปากช่องคลอกมองเห็นเส้นฝ่าศูนย์กลางประมาณ 5 เซ็นติเมตร ให้ผู้ทำคลอดใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ของมือที่ไม่ถนัดกดศรีษะทารกบริเวณท้ายทอยเบาๆ ส่วนมือที่ถนัดป้องกันการฉีดขาดของฝีเย็บ (safe perineum)
ส่วนที่กว้างที่สุดของศรีษะทารกคลอดออกมาหรือศรีษะทารกมี crowning ให้ผู้คลอดหยุดเบ่ง ผู้ทำคลอดเปลี่ยนมือไม่ถนัดที่กดบริเวณท้ายทอยมาโกยศรีษะทารกที่อยู่เหนือบริเวณฝีเย็บให้เงยหน้าขึ้น
หมุนศรีษะทารกตาม restitution จนหน้ามารกแหงนมาทางด้านหน้าใช้สำลีแห้งหรือสำลีชุบ N.S.S เช็ดตาทารกโดยเช็ดจากหัวตาไปทางหางตาและใช้ลูกสูบยาแดงดูดมูกออกจากปาก ลำคอและจมูกของทารกจนหมดป้องกันการสูดสำลักในระบบทางเดินหายใจ
ขณะรอให้ไหล่ internal rotation ตามกลไก แล้วช่วยทำ external rotation โดยจับศีรษะทารกหมุนให้ทายทอยไปอยู่ด้านเดียวกับหลัง จนศีรษะอยู่ขวางปากช่องคลอด
2.6 การทำคลอดไหล่
ผู้ทำคลอดจะต้องตรวจดูว่ามีสายสะดือพันคอทารกหรือไม่
ถ้าพบว่ามีสายสะดือพันคอ 1 รอบและไม่แน่น ให้ค่อยๆ คลายออกแล้วดึงให้รูดผ่านทางท้ายทอยออกทางหน้าทารก
ถ้าสายสะดือพันคอแน่นมากหรือพันคอ 2 รอบขึ้นไป ให้ใช้ arterial forceps 2 อัน หนีบที่สายสะดือ ใช้กรรไกรตัดสายสะดือระหว่างตำแหน่งที่หนีบไว้แล้วคลายเกลียวรอบคอทารกออกก่อนช่วยทำคลอดไหล่
การทำคลอดไหล่หน้า ผู้ทำคลอดใช้มือทั้งสองข้างจับศีรษะของทารกให้ขมับทารกทั้งสองข้างอยู่ระหว่างฝ่ามือทั้งสอง แล้วดึงศีรษะทารกลงล่างตามแนวทิศทางของช่องเชิงกรานอย่างนุ่มนวลเมื่อเห็นไหล่หน้าและวอกรักแร้จึงหยุด
การทำคลอดไหล่หลัง เมื่อไหล่หน้าคลอดแล้วผู้ทำคลอดจับศีรษะทารกในลักษณะเดียวกับที่ทำคลอดไหล่หน้า ยกศีรษะทารกขึ้นในทิศทาง 45 องศากับแนวดิ่ง จนไหล่ทั้งสองข้างคลอดออกมาจึงหยุด
2.7 การทำคลอกลำตัว
ให้ดึงทารกออกมาช้าๆในแนวขนานกับช่องคลอด โดยผู้ทำคลอดเปลี่ยนมือข้างที่จับศีรษะทารกด้านบนออกมารองรับลำตัวทารกแทน ดูเวลาที่ทารกคลอดออกมาทั้งตัว ผู้ช่วยผู้ทำคลอดจดบันทึกไว้ เช็ดตัวบริเวณในหน้า ศีรษะและลำตัวให้แห้งเพื่อป้องกันการสูญเสียความร้อน
2.8 การผูกและตัดสายสะดือทารก
การผูกสายสะดือ ผู้ทำคลอดใช้ cord tope ผูกสายสะดือทารกสามตำแหน่ง
ตำแหน่งที่ 1 ผูกชิดกับบริเวณปากช่องคลอดเพื่อประเมินการเลื่อนต่ำของสายสะดือไม่ต้องแน่
ตำแหน่งที่ 2 ผูกห่างจากหน้าท้องทารกประมาณ 2 เซนติเมตร โดยไม่ต้องผูกให้แน่ 2 รอบเพื่อป้องกันเลือดไหลออกดจากตัวทารกหลังวจากตัดสายสะดือแล้ว
ตำแหน่งที่ 3 ผูกห่างจากตำแหน่งที่ 2 ประมาณ 3-4 เซนติเมตร โดยผูกเงื่อนตายให้แน่
การตัดสายสะดือ ก่อนตัดสายสะดือผู้ทำคลอดจะต้องทำความสะอาดบริเวณที่จะตัดคือระหว่างรอยผูกตำแหน่งที่ 2 และ 3 ด้วยน้ำยาฆ่าเชื่อ เช่น alcohol 70 เปอร์เซ็น
ข้อควรระวังในการตัดสายสะดือ ก่อนตัดสายสะดือจะต้องผูกป้ายข้อมือทารกที่ผู้คลอดได้ตรวจสอบความถูกต้องเรียบร้อยป้องกันการสับเปลี่ยนทารก ถ้ามีการคลอดพร้อมกันหลายๆคน
2.9 การส่งเสริมสัมพันธภาพระหว่างมารดาและทารกในระยะคลอดทันที
ภายหลังคลอดส่งเสริมให้มารดาได้มีโอกาสสัมผัสและอุ้มทารกโดยเร็วมากที่สุด โดยนำทารกไปวางบนตัวมารดาหรือข้างๆ ตัวมารดานานประมาณ 15 - 20 นาที เพื่อให้มารดาได้มีโอกาสมองสำรวจร่างกายบุตรสัมผัส โอบกอด และมีปฏิสัมพันธ์
กระตุ้นให้มารดาประสานสายตากับบุตรพูดคุยบุตรและให้นมบุตร จึงค่อยนำทารกไปหยอดตาด้วย AgNO3 1 เปอร์เซ็น หรือป้ายตาด้วย terramycin eye ointment ต่อไป
บทหน้าที่ของผู้ช่วยผู้ทำคลอด
ช่วยจัดท่าผู้คลอด
เตรียมและดูแลเครื่องมือเครื่องใช้สำหรับการทำคลอดให้เรียบร้อย
ดูแลให้ผู้คลอดเบ่งอย่างถูกวิธีและให้กำลังใจผู้คลอดในการเบ่งคลอด
วัดสัญญาณชีพผู้คลอดทุก 15 นาที (ยกเว้นอุณหภูมิ)
ประเมินการหดรัดของมดลูกทุก 5 นาที
ฟังเสียงหัวใจทารกในครรภ์ทุก 15 นาที ในรายปกติและทุก 5 นาที ในรายที่มารกเสี่ยงต่อภาวะขาดออกชิเจน
ดูแลความสบายทั่วไปของผู้คลอด
สังเกตอาการของผู้คลอดและบันทึกรายงานให้เรียบร้อย
รายงานหัวหน้าเวณกรณีที่มีภาวะผิดปกติเกิดขึ้น
บันทึกเวลาการคลอด
เขียนและผูกป้ายข้อมือทารก
วัดความดันโลหิตภายหลังทารกคลอดทันที และฉีดยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลุก ได้แก่ methergin หรือ syntocinon
นำทารกไปดูดนมมารดาบนเตียงคลอดเพื่อส่งเสริมพันธ์ภาพระหว่างมารดาและมารก
ชั่งน้ำหนักทารก
การประเมิน
การหดรัดตัวของมดลูก
กาารเคลื่อนต่ำของส่วนนำ
แรงเบ่ง
สัญญาณชืพ
กระเพาะปัสสาวะ
สภาวะของทารกในครรภ์
สภาวะร่ายกายของผู้คลอด
สภาวะจิตใจของผู้คลอด
ระยะที่ 1ของการคลอด
( First Stage of Labor )
การรับใหม่ผู้คลอด
1.การซักประวัติ
1.5 ประวัติการเจ็บป่วยในอดีตและปัจจุบัน
1.6 ประวัติการเจ็บป่วยในครอบครัว
1.4 ประวัติการตั้งครรภ์และการคลอดในอดีต
1.3 ประวัติการตั้งครรภ์ปัจจุบัน
1.2 อาการสำคัญที่มาโรงพยาบาล
1.1 ข้อมูลทั่วไป
2.การตรวจร่างกาย
2.2 การตรวจร่างกายเฉพาะที่
1.ตรวจครรภ์
การดู
รอยแผลผ่าตัด ขนาดของหน้าท้องความตึงของตัวกล้ามเนื้อหน้าท้อง
การคลำ
ใช้การคลำตาม Leopold handgrip ทั้ง 4 ท่าเพื่อประเมินความสมดุลระหว่างอายุครรภ์ขนาดของทารก
การฟังเสียงอัตราการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์
ประเมินการหดรัดตัวของมดลูก
2.ความก้าวหน้าของการคลอดภายใน
2.3 ตรวจทางห้องปฎิบัติการ (Laboratory test)
การตรวจ hematocrit, blood type, Rh test, VDRL, HBsAg ประมาณ 1-2 ครั้งก่อนคลอดเมื่อรับใหม่ในรายปกติอาจไม่จำเป็นต้องตรวจอีก
2.1 การตรวจร่างกายทั่วไป
2.ตรวจสัญญาณชีพ
3.ตรวจลักษณะร่างกายทั่วๆไป
1.ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง
4.ตรวจร่างกายตามระบบต่างๆ
ระบบประสาท
ระบบหัวใจและการไหลเวียนเลือด
ระบบทางเดินอาหาร
ระบบหายใจ
ระบบทางเดินปัสสาวะ
ระบบสืบพันธุ์
ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
ระบบผิวหนังและเนื้อเยื่อ
การเฝ้าคลอด(Attend)
การประเมินความการหน้าของการคลอด
1.การหัดรัดตัวของมดลูก
ระยะหดรัดตัว (Duration)
ระยะพัก (Resting stage)
ระยะห่างในการหดรัดตัวของมดลูก (Interval)
ความถี่หดรัดตัวของมดลูก (Frequency)
ความแรงในการหดรัดตัวของมดลูก (Intensity) หรือ Severity of uterine contraction)
ก. Mild หรือ+1 มดลูกหดรัดตัวน้อย
ข. Moderate หรือ +2 มดลูกหดรัดตัวแข็งตามปกติ
ค. Strong หรือ +3 มดลูกหดรัดตัวแข็งมาก
ง. Tetanic หรือ +4 มดลูกหดรัดตัวแข็งมากผิดปกติ
2.การสั้นบางและการเปิดขยายของปากมดลูก
การสั้นบางของปากมดลูก (Effacement)
การเปิดขยายของปากมดลูก (Dilatation)
3.การเคลื่อนต่ำของส่วนนำ
ระยะการเปิดขยายของปากมดลูก
เริ่มตั้งแต่เจ็บครรภ์จริง จนกระทั่ง
ปากมดลูกเปิดหมด
การเตรียมผู้คลอด
การเตรียมบริเวรอวัยวะสืบพันธุ์
การทำความสะอาดร่างกาย
การสวนอุจจาระ
การพยาบาลด้านจิตสังคม
1) แสดงพฤกรรมต้อนรับผู้คลอดด้วยสีหน้าที่ยิ้มแย้ม ใช้คำพูดที่สุภาพ เป็นกันเอง เพื่อให้ผู้คลอดเกิดความไว้วางใจ
2) แสดงพฤกรรมยอมรับการแสดงออกของผู้คลอด เห็นอกเห็นใจความเจ็บปวดเพื่อให้ผู้คลอดรู้สึกคล้ายความวิตกกังวล
3) ปฐมนิเทศผู้คลอดเกี่ยวกับสถานที่ เช่น ห้องน้ำ ห้องส้วม ห้องรอคลอด ห้องคลอดแนะนำให้รู้จักเจ้าหน้าที่อย่างคราวๆ เช่น สวมชุดสีอะไรหมายถึงใครเพื่อให้ผู้คลอดขอความช่วยเหลือได้ตรงตามความต้องการ
4) ภายหลังการประเมินสภาพด้วยการซักประวัติและตรวจร่างกายแล้ว บอกให้ผู้คลอดสามีและญาติทราาบว่าผู้คลอดอยู่ในระยะใดของการคลอด ทารกควรคลอดประมาณเวลาใดเพื่อให้ผู้คลอดและญาติคลายความวิตตกกังวน
5) ปฎิบัติอย่างนุ่มนวลเพื่อให้ผู้คลอดรู้สึกมั่นใจ
6) หลังจากเตรียมผู้คลอดเพื่อการคลอดแล้ว หากไม่มีภาวะแทรกช้อนใดๆ ที่ต้องจำกัดกจิกรรมให้ผู้คลอดทำกจิกรรมต่างๆด้วยตนเอง เพื่อให้รู้สึกว่าได้มีส่วนร่วมในการดูแลตนเองและอนุญาตให้ออกมาหน้าห้องรอคลอดเพื่อพูดคุยกับสามีหรือญาติได้
7) ควรอนุญาตให้สามีหรือญาติเข้ามาช่วยบีบนวด ให้กำลังใจ เพราะจะช่วยให้ผู้คลอดมีกำลังใจและอบอุ่นใจ เป็นการส่งเสริมพันธภาพที่ดีของครอบครัว
การบันทึกพยาบาล
การพยาบาล
1.การพยาบาลด้านสุขวิทยาส่วนบุคคล
1.1 การรับประทานอาหาร
ในระยะ latent การดูดซึ่มและการย่อยอาหารจะช้าลงจึงควรดูแลให้ผู้คลอดรับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย
ในระยะ active การย่อยและการดูดซึ่มอาหารจะช้าลงมาก จึงควรดูแลให้ได้รับอาหารเหลวเฉพาะน้ำหวานเพื่อเป็นพลังงานในระยะคลอดเมื่อปากมดลูกใกล้เปิดหมดอาจมีอาการคลื่อไส้อาเจียนได้จึงงดอาหารและน้ำทางปาก
1.2 การขับถ่าย
1.การขับถ่ายปัสสาวะ
ส่วนนำของทารกเคลื่อนต่ำลงมากดกระเพาะปัสสาวะมากขึ้นผู้คลอดจะถ่ายปัสสาวะบ่อยครั้งแต่ไม่ออกจึงควรดูแลกระตุ้นให้ถ่ายปัสสวาะทุก 2 - 4 ชั้วโมงหรือเมื่อรู้สึกปวด
การขับถ่ายอุจจาระ
หลังจากสวนอุจจาระเมื่อรับใหม่แล้ว 12-24 ชั่วโมง หากยังไม่คลอดควรสวนอุจจาระซ้ำในรายที่ไม่มีข้อห้าม โดยสวนทุก 12 ชั่วโมง หรือเมื่อมีอุจจาระเต็มเพราะการมีอุจจาระเต็มจะขัดขว้างการหดรัดตัวของมดลูกและการเคลื่อนต่ำของส่วนนำ
1.3 การพักผ่อนและการนอนหลับ
ดูแลผู้คลอดได้พักผ่อนและนอนหลับในท่าที่จะสามารถทำได้โดยดูแลความสะอาดของร่างกาย จัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม
1.4 ท่าของผู้คลอดและการทำกจิกรรม
ท่ายืน (standing)
ยืนและเอนตัวไปข้างหน้่า (standing and leaning forward)
การเดิน (walking)
นั่งตัวตรง (sitting upright)
กึ่งนั่งกึ่งนอน (semi sitting)
นั่งเอนตัวไปข้างหน้ามีที่รับรอง (sitting, leaning forward with support)
นั่งโก้งโค้งโดยใช้มือและเข่ายันพื้น (hands and knees)
นั่งคุกเข่าเอนตัวไปข้างหน้าที่มีรับรอง (kneeling, leaning forward with support)
นอนตะแคง (side- lying)
นั่งขัดสมาธิ (squatting)
นั่งขัดสมาธิมีผู้ประครองด้านหลัง (supported squat)
นั่งบนโถส้วมซักโครก (sitting on toilet or commode)
การพยาบาลด้านจิตสังคม
ในระยะ latent ผู้คลอดรู้สึกเจ็บครรภ์เล็กน้อยโดยมีความรู้สีกดีใจ ตื่นเต้นที่การตั้งครรภ์กำลังจะสื้นสุดลง แต่ก็อาจจะรู้สึกกลัวหรือวิตตกกังวลบ้าง การพยาบาลโดยรับฟังสิ่งที่ผู้คลอดพูดคุยด้วยท่าทีที่สนใจ ตอบข้อซักถามด้วยข้อมูลที่ถูกต้องเพื่อลดความวิตตกกังวล
ในระยะ active เมื่อมีความเบ็บปวดมากขึ้น ผู้คลอดจะมีความตึงเครียดเพื่มขึ้น รู้สึกกลัวการอยู้คนเดียวต้องการเพื่อนสนใจเฉพาะตังเองให้การพยาบาลโดยกำลังใจและให้ความมั่นใจว่าจะสามารถผ่านการคลอดไปได้อย่างดี
ระยะ transitional ผู้คลอดจะมีความเจ็บปวดมากยิ่งขึ้นอ่อนล้าอยากพักผ่อน อาจรู้สึกโกรธที่ตนเองไม่สามารถควบคุมความเจ็บปวดหรือควบคุมพฤติกรรมได้ พยาบาลควรยอมรับพฤติกรรม แสดงความเข้าใจ ปล่อยให้ผู้คลอดได้พักขณะที่มดลูกไม่มีการหดรัดตัวให้กำลังใจและชมเชยเป็นระยะ
การพยาบาลเพื่อบรรเทาความเจ็บปวด
2.1ให้ความรู้เกี่ยวกับการคลอด
2.2 การทบทวนเทคนิคการผ่อนคลายความเจ็บปวด
2.3 ประคบด้วความร้อยและความเย็น
2.4 การบรรเทาด้วยน้ำ
1.Latent phase
เริ่มตั้งแต่เจ็บครรภ์จริงจนกระทั่งปากมดลูกเปิด 3 เซนติเมตร
ครรภ์แรกเปิดขยาย 0.3 เซนติเมตร/ชม.
ครรภ์หลังเปิดขยาย 0.5 เซนติเมตร/ชม.
2.Active phase
ปากมดลูกเปิด 3 เซนติเมตร จนกระทั่งเปิด 10 เซนติเมตร
ครรภ์แรกเปิดขยาย 1.2 เซนติเมตร/ชม.
ครรภ์หลังเปิดขยาย 1.5เซนติเมตร/ชม.
2.3 ระยะลดลง ( Deceleration phase )
ปากมดลูกเปิดขยาย 9-10 เซนติเมตร
Transitional phase
ปากมดลูกเปิดขยาย 8-10 เซนติเมตร
2.1 ระยะเริ่มเร่ง (Acceleration phase )
ปากมดลูกเปิดขยาย 3-4 เซนติเมตร
2.2 ระยะรวดเร็ว ( Phase of maximum slope )
ปากมดลูกเปิดขยาย 4-9 เซนติเมตร
ระยะที่ 3 ของการคลอด
( Third Stage of Labor )
การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา
กลไกการลอกตัวของรก (mechanism of placenta separation)
Schultze's Method
Matthews Duncan's Method
กระบวนการพยาบาลระยะที่ 3 ของการคลอด
การประเมิน
1.1 ลักษณะทั่วไป
1 ชีพจร (pulse) ต่ำกว่าปกติเล็กน้อย คือ ประมาณ 60-70 ครั้ง/นาที
2 ความดันโลหิต (blood pressure) ความดันโลหิตในระยะนี้ไม่ควรต่ำกว่า 100/60 mmHg.
3 ผิวหนัง ผิวหนังควรจะอุ่นและแห้ง
1.2 มดลูก
มีทารกอยู่ในมดลูกอีกหรือไม่โดยการคลำ
ขนาดของรกใหญ่กว่าปกติ เช่น ในรายที่เป็นครรภ์แฝดของรกจะโต
มีเลือดออกอยู่ข้างใน (internal bleeding)
กระเพาะปัสสาวะเต็ม (bladder full) ถ้าพบมีกระเพาะปัสสาวะเต็มควรทำการสวนทิ้งเพราะกระเพาะปัสสาวะที่เต็มจะดันมดลูกขัดขวางหดรัดตัวของมดลูก
1.3 จำนวนเลือดที่ออกทางช่องคลอด
1.4 การฉีกขาดของฝีเย็บ
1.5 อาการแสดงการลอกตัวของรก
อาการแสดงของมดลูก (uterine sign) มดลูกจะเปลี่ยนรูปร่างจากแบบเป็นกลม
อาการแสดงของสายสะดือ (vulva signs) จะมีเลือดออกมาให้เห็นทางช่องคลอด 30-60 cc.
การพยาบาล
2.1 การรักษาความสะอาด (aseptic and antiseptic)
2.2 ท่าของผู้คลอก (position)
2.3 การป้องกันการตกเลือด
ก่อนรกลอกตัว
การฉีดยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก
1 ยา Oxytocin
2 ยา Ergonovine maleate (ergotrate) หรือ Methyler gonovine maleate (Methergine)
การทำคลอดรก
3.1 การเตรียมผู้คลอด
การเตรียมด้านจิตใจของผู้คลอด
การเตรียมร่างกายผู้คลอก
เตรียมภาชนะที่จะรองรับรก
3.2 ทำคลอดรก
Modified Crede' Maneuver หรือ Simple expression.
ตรวจสอบว่ารกลอกตัวสมบูรณ์แล้ว
เมื่อแน่ใจว่ารกลอกตัวสมบรูณ์แลเว ผู้ทำคลอดต้องเปลี่ยนตำแหน่งการยืนยันมาอยู่ด้านตรงข้าม ใช้มือข้างที่ถนัดคลึงมดลูกให้หดรัดตัวดียิ่งขึ้น
ขณะที่มือด้านที่ถนีดผลักมดลูก มืออีกข้างต้องรอคอยรับรองรกที่จะคลอดออกมา
Brandt-Andrews Maneuver
ทดสอบว่ารกลอกสมบูรณ์
เมื่อทดสอบว่ารกลอกตัวแลเว ทำคลอดรกโดยใช้มือข้างที่ถนัดกดที่บริเวณท้องน้อยเหนือกระดูกหัวเหน่า ดันลงล่างเพื่อพลักไล่รกที่อยู่ในมดลูกส่วนล่างให้เคลื่อนที่ต่ำลงจนรกโผล่ปากช่องคลอดจึงหยุดกด
Controlled Cord traction
ทดสอบว่ารกลอกตัวสมบูรณ์ โดยใช่มือที่ไม่ถนัดวางเหนือรอยต่อของกระดูก หัวเหน่าโกยมดลูกส่วนบนขึ้นไป
ใช้มือที่ไม่ถนัดคลึงมดลูกส่วนบนให้แข็งและเลื่อนมาวางบริเวณรอยต่อกระดุกหัวเหน่าดันมดลูกส่วนบนไว้มิให้เคลื่อนลงมา
การตรวจรก และเยื่อหุ้มทารก
4.1 เพื่อตรวจว่ารกและเยื่อหุ้มทารกคลอดครบหรือไม่
ตรวจเยื้อหุ้มทารก โดยจับสายสะดือยกชึ้น รกและเยื่อหุ้มจะถ่วงลงล่าง
ตรวจเนื้อรกว่าครบหรือไม่โดยการแผ่รกด้านมารดาซึ่งมีลักษณะเป็นก้อนเนื้อสีแดงเข้มเหมือนสีลิ้นจี่ แยกเป็นก้อนๆ
4.2 ตรวจเพื่อศึกษาลักษณะทั่วไป
1 รกด้านมารดา คือ ด้านที่ผูกติดกับผนังมดลูก
2 รกด้านทารก คือ รกด้านที่ทีสายสะดือเกาะอยู่
4 สายสะดือ (umbilical cord)
5 ตำแหน่งการเกาะของสายสะดือบนรก
Insertio centralis หรือ Central insertion คือ สายสะดือเกาะอยู่กลาง Chorionic Plate
Insertio lateralis หรือ Lateral insertion คือ สายสะดือเกาะค่อนไปทางด้านใดด้านหนึ่ง Chorionic plate
Insertio marginalis หรือ marginal insertion สายสะดือเกาะที่ริมขอรกมองดูเหมือนแร๊กเกต จึ่งมีอีกชื่อหนึ่งว่า battledore placenta
6 รกที่ผิดปกติ
1 Placenta Velamentosa เป็นรกที่มีการเกาะสายสะดือที่ผิดปกติ
2 Placenta Succenturiata คือรกที่มีรกยน้อย ( assessory placenta) ร่วมด้วย
3 Placenta Spurium คือ รกที่มีรกน้อยร่วมด้วย แต่ต่างกันกับ placenta succenturiate ที่ไม่มีเส้นเลือดติดต่อระหว่างรกใหญ่และรกน้อย
4 Placenta membranacea คือ การที่รกมีลักษณะแผ่นกว้าง ใหญ่และบางกว่าปกติ
5 Placenta Circumvallata คือ รกที่มี Chorionic plate เล็กกว่าปกติ
3 เยื่อหุ้มทารก (fetal membranes) คือ เยื่อบางๆ ที่ห่อหุ้มทารกมี 2 ขั้น
ขั้น chorion เยื่อหุ้มทารกชั้นนอกที่ติดกับผนังมดลูก
ชั้น amnion คือ เยื่อหุ้มทารกชั้นใน เป็นเยื่อห่อหุ้มตัวทารก