Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การจัดสัมมนา, แหล่งอ้างอิง สมคิด บางโม, (2553), เทคนิคการฝึกอบรมและการประ…
การจัดสัมมนา
ลักษณะของการสัมมนาที่ดี
มีจุดมุ่งหมายในการจัดสัมมนาอย่างชัดเจน และสมาชิกทุกคนทั้งคณะกรรมการจัดสัมมนา ผู้เข้าสัมมนา ตลอดจนวิทยาการ ควรจะไดร้ับทราบจุดมุ่งหมายนี้ด้วย
มีกาจัดที่ช่วยเสริมความรู้ให้แก่ผู้เข้าร่วมสัมมนาอย่างแท้จริง
มีการเปิดโอกาสให้ผู้เข้าสัมมนาได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและความรู้ซึ่งกันและกัน
มีการเปิดโอกาสให้ผู้เข้าสัมมนาได้ร่วมกันแก้ปัญหาที่มีการสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายที่กำหนดให้
ผู็เข้าสัมมนามีความศรัทธาในวิธีการแห่งปัญญาเป็นเครื่องมือในการตัดสินปัญหาต่างๆ (Intellectual Method)
ผู้เข้าสัมมนามีความเป็นประชาธิปไตย กล่าวคือ เคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มีมารยาทในการพูดและการฟัง ปฏิบัติตามกติกาของการสัมมนาเป็นต้น
ผู้เข้าสัมมนาทุกคนมีความกระตือรือร้นที่จะทำงานร่วมกัน เพื่อให้บรรลุตามจุดมุ่งหมายที่วางไว้
มีผู็นำที่ดีทั้งในการเตรียมการและการดำเนินการสัมมนา
มีการจัดการที่ดี คือ จัดผู้บรรยายหรือผู้อภิปรายที่น่าสนใจ ดำเนินรายการต่าง ๆ เป็นไปตามกำหนดการอย่างต่อเนื่อง ไม่ติดขัดสับสน ผู้เข้าสัมมนาได้รับการตอ้นรับอย่างอบอุ่นตลอดจนได้รับการประชาสัมพันธ์ชี้แจงรายละเอียด กระบวนการต่างๆ ตลอดการสัมมนาอย่างชัดเจน
มีอุปกรณ์สำคัญ สำหรับใช้ประกอบสัมมนา และอำนวยความสะดวกต่อการสัมมนา อย่างครบถ้วน เช่น หนังสือหรือเอกสารต่างๆ อุปกรณ์การเขียน เครื่องมืออุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์สถานที่ห้องประชุมใหญ่ ห้องประชมกลุ่มย่อย ห้องรับประทานอาหาร เป็นต้น
ผลที่ได้จาการสัมมนา สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง ทั้งแก่ตัวสมาชิกเองและแก่หน่วยงานหรือสถาบันที่เกี่ยวข้อง
ประโยชน์ของการสัมนา
1.ช่วยให้ผู้เข้าร่วมสัมมนามีความรู้ ความคิด และประสบการณ์เพิ่มขึ้น
2.ช่วยให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้ข้อเสนอแนะ หรือแนวทางในการแก้ปัญหาต่างๆ
3.ช่วยให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้มีประสบการณ์ในการแก้ปัญหาร่วมกันโดยใช้ความคิดอย่างมีเหตุผล
4.ช่วยให้ผู้เข้าร่วมสัมมนารู้จักกันดียิ่งขึ้น
5.ช่วยกระตุ้นให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาเกิดความคิดที่จะปฎิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไป
6.ช่วยฝึกฝนผู้เข้าร่วมสัมมนาให้ยอมรับผลการตัดสินใจ โดยใช้กระบวนการกลุ่ม
7.ช่วยให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
8.ผลของการสัมมนาจะเป็นประโยชน์แก่สัมมนาแก่บุคคลและสถาบันต่าง ๆที่เกี่ยวข้องในเรื่องของการสัมมนาโดยตรง
วัตถุประสงค์ของการจัดสัมนา
เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์แก่ผู้เข้าร่วมสัมมนา
เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ระหว่างผู้เข้าสัมมนาด้วยกัน และผู้เข้าสัมมนากับวิทยากร
เพื่อค้นหาวิธีการแก้ปัญหาหรือแนวทางปฏิบัติร่วมกัน
เพื่อให้ได้แนวทางประกอบการตัดสินใจหรือกำหนดนโยบายบางประการ
เพื่อกระตุ้นให้ผู้ร่วมเข้าสัมมนานำหลักวิธีการที่ได้เรียนรู้ไปใช้ให้เป็นประโยชน์
องค์ประกอบการสัมนา
ด้านบุคลากร
วิทยากร
บุคคลที่ทา หน้าที่บรรยายอภิปรายหรือถ่ายทอดความรู้ประสบการณ์ โดยใช้เทคนิควิธีรวมทั้งสื่อต่าง ๆ ให้แก่ผู้เข้าร่วมสัมมนาด้วยความจริงใจและมุ่งหวังที่จะใหผู้เข้าร่วมสัมมนาได้รับความรู้และประสบการณ์อย่างเต็มที่
ผู้เข้าร่วมสัมมนา
บุคคลที่เข้าร่วมสัมมนา เป็นผู้ที่มีมีความสนใจในปัญหา หรือประสบปัญหาหรือต้องการแสวงหาแนวคิดใหม่ๆ หรือมีความมุ่งหมายที่จะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความคิดเห็น ทัศนคติตลอดจนการถ่ายทอดความรู้ความสามารถซึ่งกันและกัน
ผู้จัดการสัมมนา
ประกอบด้วย ประธาน รองประธาน เลขานุการ ผู้ช่วยเลขานุการ นายทะเบียนและประธานอนุกรรมการฝ่ายต่าง ๆ ซึ่งจะมีคณะอนุกรรมการฝ่ายเอกสาร ฝ่ายกิจกรรมและวิทยากรฝ่ายสถานที่ฝ่ายอาหารและเครื่องดื่ม ฝ่ายการเงินและฝ่ายวัดและประเมินผล
ด้านเนื้อหา
หัวข้อหรือเรื่องที่จัดสัมมนา
จุดมุ่งหมายสำคัญของการสัมมนา
หัวข้อให้ความรู้ที่สัมพันธ์กับ เรื่องที่จัดสัมมนาโดยวิธีการบรรยายหรืออภิปราย
กำหนดการสัมมนา
ผลที่ได้จากการสัมมนา
ด้านเวลา
ระยะเวลาสำหรับการเตรียมการ ผู้จัดสัมมนาควรวางแผนปฏิบัติงานให้
ชัดเจนว่างานแต่ละอย่างแต่ละประเภทที่ต้องทำนั้นจะใช้เวลานานเท่าใด
การเชิญวิทยากร
วัน เวลา ที่ใช้ในการสัมมนาจะใช้กี่วัน ขึ้นอยู่อับเรื่องที่สัมมนาว่ามีขอบเขตกว้างมาน้อยเพียงใดอาจเพียงวันเดียว
ด้านสถานที่
ห้องประชุมย่อย
ห้องรับรอง
ห้องประชุมใหญ่
ห้องรับประทานอาหารว่าง
ห้องรับประทานอาหาร
อุปกรณ์ด้านโสตทัศนูปกรณ์
อุปกรณ์ด้านเครื่องเขียนเครื่องใช้สำนักงานที่มีความจ าเป็น
ด้านงบประมาณ
จัดประมาณการค่าใช้จ่าย
ค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องจัดซื้อ
จัดทำงบประมาณรวม
ขั้นตอนการจัดสัมมนา
ขั้นดำเนินการจัดสัมมนา
1.การประชาสัมพันธ์การสัมมนาให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ
2.ติดต่อเชิญวิทยากร ที่จะมาให้ความรู้แก่ผู้เข้าสัมมนา
3.เชิญผู้เข้าร่วมการสัมมนา
4.การเตรียมการ ด้านสถานที่และอุปกรณ
5.เตรียมการด้านการลงทะเบียน
6.เตรียมการด้านเอกสารแจกผู้เข้าร่วมการสัมมนา
7.เตรียมการสําหรับพิธีเปิด –พิธีปิดการสัมมนา
ขั้นหลังการจัดสัมมนา
ระยะที่การดำเนินการจัดสัมมนาจริงได้เสร็จแล้ว แต่งานก็มิไดส้ิ้นสุดไปดว้ยจะมีงานที่จำเป็นต้องจัดทำตามหลังการสัมมนา เพื่อให้งานสำเร็จสมบูรณ์
ขั้นเตรียมการจัดสัมมนา
เป็นขั้นของการวิเคราะห์ถึงสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวกับการจัดสัมมนา เพื่อให้การจัดสัมมนาดําเนินการไปได้ด้วยความเรียบร้อย หรือเรียกว่าเป็นการวางแผนเบื้องต้น ถ้ามีการวางแผนเตรียมการที่ดีปัญหาต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นจะมีน้อยลง หรือถ้าเกิดขึ้นก็สามารถแก้ไขได้ใน ระยะเวลาอันสั้น หลังจากได้มีการวางแผนไว้เบื้องต้นแล้ว ก่อนลงมือดําเนินการควรมีการเตรียมการให้เกิดความพร้อม
ขั้นตอนการจัดเตรียมงาน
แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการจัดสัมมนา
เขียนโครงการสัมมนา
สำรวจประเด็นปัญหาและความต้องการในการสัมมนา
ความหมาย
การที่บุคคล กลุ่มหนึ่งมาเข้าร่วมประชุมกันโดยการนำของผู้เชี่ยวชาญหรือผู้รู้ในลักษณะที่แต่ละบุคคล เข้ามาปรึกษาหารือกัน หรือเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องที่จะมุ่งพิจารณากันโดยเฉพาะ (Particular Topic) โดยการนำ เอาประสบการณ์เดิมมาสร้างเป็นแนวปฏิบัติใหม่
คุณสมบัติของผู้เร่วมการสัมมนาที่ดี
เป็นผู้ที่ชอบแสวงหาความรู้ใหม่ๆ มีความคิดกว้างไกล รู้จักรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น คิดก่อนพูดอย่างมีหลักการและเหตุผลรู้จักกาลเทศะ มีสปิริต แสดงความคิดเห็นในโอกาสและ จังหวะที่เหมาะสมให้ความร่วมมือกับกิจกรรมการสัมมนา มีมารยาทในการสมาคม
แหล่งอ้างอิง
สมคิด บางโม, (2553), เทคนิคการฝึกอบรมและการประชุม, กรุงเทพฯ: วิทยาพัฒน์.
Aranya Bhavan, (2016), Guideline for planning and conducting Seminar, LA – 10A Block, Sector III Salt Lake City, Kolkata, West Bengal, 700098