Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 7 นวัตกรรมและเทคโนโลยี สมัยใหม่ - Coggle Diagram
บทที่ 7 นวัตกรรมและเทคโนโลยี
สมัยใหม่
ปัญญาประดิษฐ์
ในปัจจุบัน ปัญญาประดิษฐ์เข้ามามีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของมนุษย์ตัวอย่างเช่น ผู้ช่วยอัจฉริยะ(Intelligent personal assistant) อย่าง Siri ของApple, Cortana ของ Microsoft, Alexa ของ Amazon,Google Assistant ของ Google ที่สามารถรับคำสั่งเสียงของมนุษย์ ไปประมวลผลแล้วตอบคำถาม จัดการสิ่งต่างๆ ตามคำสั่งที่ได้รับ หรือรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติที่สามารถแล่นไปยังจุดหมายปลายทางโดยที่ผู้โดยสารบนรถไม่ต้องขับขี่เอง
แนวคิดด้านปัญญาประดิษฐ์
มนุษย์มีแนวโน้มที่จะใช้ปัญญาประดิษฐ์มาช่วยทั้งในvด้านการทำงานและอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวัน ดังนั้นการเรียนรู้การเรียนรู้แนวคิดของปัญญาประดิษฐ์จึงมีความสำคัญโดยองค์กรที่ชื่อว่า for K-12 ได้นำเสนอแนวคิดการจัดการเรียนรู้ปัญญา ประดิษฐ์ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เรียกว่า แนวคิดสำคัญ 5 ประการสำหรับปัญญาประดิษฐ์ (Five Big Ideas in AI) ในงานประชุมวิชาการของสมาคมครูด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์
การรับรู้ (Perception)
ปัญญาประดิษฐ์จะเรียนรู้ผ่านอุปกรณ์เซนเซอร์ เช่นกล้อง ไมโครโฟน เพื่อนำไปประมวลผล และต้อง
เข้าใจสิ่งที่รับรู้นั้นด้วย
การแทนความรู้และการให้เหตุผล
(Representation and Reasoning)ปัญญาประดิษฐ์สามารถเก็บองค์ความรู้ในรูปแบบ
ของตัวแทนความรู้ (Knowledge Representation)ตัวอย่างคือ กฎการตัดสินใจจากความรู้ของผู้เชี่ยวชาญในเรื่องต่างๆ จากนั้นใช้ตัวแทนความรู้ที่มีอยู่นี้มาหาข้อสรุป โดยใช้การอนุมาน (Inference)ปัญญาประดิษฐ์มีตัวแทนความรู้ของการข้ามถนน (คู่มือการข้ามถนน) เมื่อมีการรับข้อมูลนำเข้ามา ปัญญาประดิษฐ์ จะไปตรวจสอบว่าข้อมูลนำเข้าตรงกับตัวแทนความรู้ใด (สถานการณ์ตรงกับกฎการ
ข้ามถนนข้อใดในคู่มือ) จากนั้นจึงตัดสินใจว่าจะข้าม
ผลกระทบทางสังคม (Social Impact)
ปัญญาประดิษฐ์ต้องคำนึงถึงจริยธรรม (Ethics) ความปลอดภัย (Security) และความเป็นส่วนตัว (Privacy)เนื่องจากปัญญาประดิษฐ์อาจตัดสินใจหรือทำในสิ่งที่
ส่งผลกระทบต่อมนุษย์ได้
การปฏิสัมพันธ์อย่างเป็นธรรมชาติ (Natural
Interaction)ปัญญาประดิษฐ์ต้องเข้าใจปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ เพื่อสร้างปัญญาประดิษฐ์ให้มีปฏิสัมพันธิ์กับมนุษย์ได้อย่างเป็นธรรมชาติ
การเรียนรู้ (Learning)
ปัญญาประดิษฐ์ที่ใช้อัลกอริทึมการเรียนรู้ของเครื่องจะเรียนรู้จากข้อมูลขนาดใหญ่
(Big Data) โดยสร้างตัวแบบ (Model) จากข้อมูลฝึกสอน (Training Data) ที่มนุษย์นำเข้าไป หรือเป็น
ข้อมูลจากเครื่องจักรที่สร้างข้อมูลฝึกสอนเองได้เช่น การพัฒนาตัวแบบปัญญาประดิษฐ์เพื่อใช้
จำแนกเพศจากรูปภาพใบหน้าคน โดยอาศัยข้อมูลฝึกสอนที่เป็นรูปใบหน้าคนเพศชาย-หญิง จำนวน
มากๆ
การประมวลผลแบบคลาวด์ (Cloud
Computing)
เป็นรูปแบบหนึ่งของการให้บริการทรัพยากร
คอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเช่น หน่วย
ประมวลผล หน่วยความจำ พื้นที่เก็บข้อมูล ซอฟต์แวร์ซึ่งสามารถอำนวยความสะดวกได้ทุกที่ทุกเวลา โดยไม่สนใจว่าทรัพยากรที่ใช้นั้นอยู่ที่ใด เปรียบเสมือนการใช้บริการสาธารณูปโภคพื้นฐาน เช่น ไฟฟ้า น้ำประปา นั่นคือใช้บริการได้โดยไม่ต้องรู้ว่าโรงผลิตอยู่
ที่ใด เพียงแต่ต้องจ่ายค่าบริการตามปริมาณที่ใช้
ค่าใช้จ่ายการประมวลผลแบบคลาวด์
สำหรับบุคคลทั่วไป มักไม่มีค่าใช้จ่าย แต่ได้รับบริการพื้นฐานอย่างจำกัด หากต้องการใช้บริการเพิ่มเติม ต้องเสียค่าบริการสำหรับการใช้งาน
สำหรับภาคธุรกิจ มีค่าใช้จ่ายสำหรับอำนวยความสะดวกแก่หน่วยงานที่พร้อมใช้งาน โดยไม่ต้องซื้ออุปกรณ์หรือแอปพลิเคชั่นเอง ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการลงทุน และค่าใช้จ่ายในการจ้างผู้ดูแลระบบ นอกจากนี้ยังปรับเพิ่ม-ลด ทรัพยากรที่ต้องการใช้งานได้อย่างรวดเร็ว ช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเกินความ
จำเป็น
รูปแบบการให้บริการการประมวลผลแบบคลาวด์
Infrastructure-as-a-Service (IaaS) คือ การให้
บริการโครงสร้างพื้นฐาน ประกอบด้วย ระบบประมวล
ผล ระบบการจัดเก็บข้อมูล ระบบเครือข่าย และระบบรักษาความปลอดภัย ผู้ใช้บริการสามารถใช้งานได้
ตามการใช้งานจริง แทนการซื้ออุปกรณ์ ประหยัดค่าบำรุงรักษาและค่ารักษาความปลอดภัยของระบบ เช่น
Microsoft Azure, Dropbox, Google Drive forbusiness, Amazon Web Services
Platform-as-a-Service (PaaS) คือ การให้
บริการด้านแพลตฟอร์ม สำหรับผู้ใช้งานที่เป็นนักพัฒนาแอปพลิเคชั่นเป็นหลัก โดยจะมีเครื่องมือให้บริการโดยไม่ต้องติดตั้งด้วยตนเอง รวมถึงสามารถติดตั้งแอปพลิเคชั่นที่พัฒนาเสร็จแล้วเพื่อใช้งานบนคลาวด์ของผู้ให้บริการได้โดยง่าย เช่น บริการฐาน
ข้อมูลสำหรับพัฒนาเว็บไซต์
Software-as-a-Service (SaaS) คือการให้
บริการด้านซอฟต์แวร์บนคลาวด์ ผู้ใช้บริการใช้งานได้ผ่านเบราวเซอร์ ลดค่าใช้จ่ายในการพัฒนา ติดตั้ง
บำรุงรักษา และรักษาความปลอดภัยของซอฟต์แวร์คิดค่าบริการตามลักษณะการใช้งาน เช่น Microsoft
Office 365, Google G-suite
อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet
of Things: IoT)
เป็นเทคโนโลยีจากการที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ
สามารถเชื่อมต่อหรือสื่อสารถึงกันได้ผ่านทางอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟน สมาร์ทวอทช์
รถยนต์อัจฉริยะ และอุปกรณ์อื่นๆ โดยมีจำนวนอุปกรณ์ IoT ทั่วโลกนับหลายพันล้านชิ้นและมี
แนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นเรื่อยๆ
ความสำคัญของอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง
อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง ทำให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เชื่อมต่อและมีการแลกเปลี่ยนข้อมูล
ระหว่างกัน ส่งผลให้ในแต่ละวันเกิดข้อมูลปริมาณมากสะสมกันเป็นจำนวนมหาศาล การดำเนินการทางธุรกิจ
จึงหันมาใช้เทคโนโลยี IoT เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันทางธุรกิจและการให้บริการ
ส่วนสนับสนุนการบริการ ใช้สำหรับสนับสนุนการ
ทำงานของบริการ เช่น การประมวลผล วิเคราะห์ข้อมูล ควบคุมความปลอดภัย บริหารจัดการการ
เชื่อมต่ออุปกรณ์ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นตัวกลางสนับสนุนการเชื่อมโยงระหว่างแอปพลิ
เคชั่นกับอุปกรณ์ IoT ซึ่งนิยมใช้การประมวลผลแบบคลาวด์มาใช้ในการจัดเก็บและประมวลผล
ข้อมูล
แอปพลิเคชั่น ใช้สำหรับติดต่อสื่อสารระหว่าง
มนุษย์กับอุปกรณ์ ทำให้สามารถควบคุมอุปกรณ์IoT ได้จากระยะไกลผ่านอินเทอร์เน็ต นอกจากนี้ยัง
เป็นส่วนที่ควบคุมอุปกรณ์ให้ทำงานสอดคล้องกันตามวัตถุประสงค์ของการทำงานแบบอัตโนมัติ
สถาปัตยกรรมอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง
สมองกลฝังตัวและเซนเซอร์ ใช้ในการเชื่อมต่อ
ระหว่างโลกทางกายภาพและโลกดิจิทัล โดยเซนเซอร์จะตรวจจับสิ่งที่สนใจ รวมทั้งประมวลผลและ
จัดเก็บข้อมูลแบบทันทีทันใด เช่น เซนเซอร์วัดอุณหภูมิ คุณภาพอากาศ ความชื้น การเคลื่อนไหว
ความเร็ว
เกตเวย์และเครือข่าย ใช้สำหรับการเชื่อมต่อสู่อิน
เทอร์เน็ต ทำให้เกิดการเชื่อมต่อแบบท้องถิ่น (LocalAre Network: LAN) เครือข่ายไร้สาย (Wi-Fi)
เครือข่ายโทรศัพท์ เครือข่ายส่วนบุคคล (PersonalArea Network: PAN) อย่างบลูทูธ (Bluetooth)
สำหรับเซนเซอร์บางตัวสามารถเชื่อมต่อกันเองได้ผ่านเครือข่ายไร้สาย เรียกว่า เครือข่าย
เซนเซอร์ไร้สาย (Wireless Sensor Networks:WSN) ซึ่งถูกพัฒนาให้มีประสิทธิภาพสูง ใช้
พลังงานน้อย รับส่งข้อมูลในอัตราที่ต่ำ
เมืองอัจฉริยะ (Smart City)
เป็นการนำเทคโนโลยี IoT มาประยุกต์ใช้ภายใน
เมือง เพื่อทำให้คุณภาพชีวิตของผู้คนในเมืองดีขึ้นเช่น การดูแลรักษาความปลอดภัยโดยใช้กล้อง
วงจรปิด การอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันการบริหารจัดการพลังงาน การจัดการจราจร
เทคโนโลยีเสมือนจริง
เทคโนโลยีที่จำลองสภาพแวดล้อมผ่านระบบ
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เพื่อให้เกิดการรับรู้เสมือนกับอยู่ในสภาพแวดล้อมจริง โดยจะกล่าวถึงความเป็น
จริงเสริม (Augmented Reality: AR) และความเป็นจริงเสมือน
หลักการทำงานของความเป็น
จริงเสริม
ความเป็นจริงเสริม เป็นการรวม
สภาพแวดล้อมจริงกับวัตถุเสมือนเข้าด้วยกัน โดยนำเข้าสภาพแวดล้อมจริงผ่านกล้องถ่ายรูป นำไปแสดงเป็นฉาก
หลัง และเพิ่มวัตถุเสมือนซ้อนทับบนฉากหลัง ซึ่งต้องอาศัยซอฟต์แวร์
ประมวลผลร่วมกับกล้องโทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ หรือแว่นตาอัจฉริยะ
(smart glasses)
หลักการทำงานของความเป็นจริงเสมือน
ความเป็นจริงเสมือน เป็นเทคโนโลยีที่นำเสนอภาพและเนื้อหาที่
สร้างด้วยคอมพิวเตอร์ เพื่อจำลองโลกในความจริง โดยมีจุดมุ่งหมายให้ผู้ใช้รู้สึกเสมือนอยู่ในสภาพแวดล้อมจริง ผ่าน
ประสาทสัมผัส เช่น การมองเห็น ได้ยิน สัมผัส
เทคโนโลยีอื่นๆ ที่ควรรู้
สถานการณ์หรือสภาพแวดล้อมที่ผสานโลกจริงและโลกเสมือนเข้า
ด้วยกัน เพื่อสร้างภาพแวดล้อมใหม่ที่วัตถุเสมือนและวัตถุจริงด้วยกัน เพื่อสร้างภาพแวดล้อมใหม่ที่วัตถุเสมือนและวัตถุจริง
สามารถโต้ตอบกันได้ เพื่อให้รู้สึกจับต้องได้จริงๆ
บล็อกเชน (Blockchain)เทคโนโลยีสำหรับการจัดเก็บข้อมูลแบบกระจายศูนย์
(Decentralized) ที่ทุกโหนด (Node) ในเครือข่ายบล็อกเชน จะเก็บข้อมูลชุดเดียวกัน โดยข้อมูลในแต่ละโหนดจะถูกเก็บอยู่ในรูปแบบ
ของบล็อก (Block) แล้วนำมาเชื่อมโยงกันเป็นสายโซ่ เรียกว่า เชน(Chain) และใช้หลักการเข้ารหัส (Cryptography) ที่ยากต่อการ
ปลอมแปลงแก้ไข รวมทั้งสามารถตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลในทุกบล็อกตลอดทั้งเชนได้ ปัจจุบันมีการประยุกต์บล็อกเชน ใน
การสร้างสกุลเงินดิจิทัล เช่น บิตคอยน์ (Bitcoin) หรือด้านบริการลายมือชื่อออนไลน์, ซื้อขายหลักทรัพย์, ระบบลงคะแนนเสียง
เลือกตั้ง และแอปพลิเคชั่นต่างๆ