Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สาระสำคัญในการจัดสัมมนา, ประโยชน์ที่ได้รับคือ ทำให้ได้รู้และเข้าใจถึงการ…
สาระสำคัญในการจัดสัมมนา
ความหมายของการสัมมนา
การสัมมนา คือ การประชุมเพื่อแสวงหาความรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้และความคิดเห็น
การสัมมนา คือ การศึกษาในเรื่องเดียวกัน รวมทั้งร่วมกันวิเคราะห์ปัญหา หาแนวทางแก้ไข และข้อสรุปร่วมกัน เพื่อให่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม
วัตถุประสงค์ของการสัมมนา
เพื่อเพิ่มพูนและเติมเต็มความรู้ความสามารถ ทักษะประสบการณ์ทั้งด้านวิชาการหรือด้านวิชาชีพแก่ผู้เข้าร่วมสัมมนาโดยตรง
เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันและกันของผู้เข้าร่วมสัมมนากับ วิทยากรหรือผู้เชียวชาญในเรื่องหรือสาขาวิชาเฉพาะทางนั้นๆ
เพื่อค้นหาคำตอบ วิธีการแก้ปัญหาหรือแนวทางการ
แก้ปัญหาในทางปฏิบัติร่วมกัน
เพื่อให้ได้แนวทางสรุป ประกอบการตัดสินใจ หรือหาแนวทางการแก้ปัญหา หรือกำหนด นโยบายของหน่วยงาน องค์กรบางประการ
เพื่อสร้างความตระหนักหรือกระตุ้นให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา
นำหลักการวิธีการเรียนรู้หรือแนวทางปฏิบัติไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อหน้าที่และภาระงานที่ปฏิบัติหรือรับผิดชอบต่อไป
ประโยชน์ของการสัมมนา
เป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างผู้เข้าสัมมนา ทำให้มีความเข้าใจข้อเท็จจริง
ต่างๆ ดีขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดความร่วมมือเพื่อความสำเร็จต่อไป
ช่วยให้การตัดสินใจรอบคอบยิ่งขึ้น เพราะการวินิจฉัยคนเดียวอาจทำให้เกิดความ
ผิดพลาดเนื่องจากข้อจ ากัดทางความรู้ ความคิด ประสบการณ์และอื่นๆ
ผู้เข้าสัมมนาหรือฝึกอบรมได้มีโอกาสรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ทำให้ตนเองมีทัศนะที่กว้างขวางขึ้น
เป็นการร่วมกันแก้ปัญหาโดยผนึกความคิด ความรู้และประสบการณ์ของคนหลายคนเข้าด้วยกัน
ช่วยเพิ่มผลผลิตทั้งปริมาณและคุณภาพ
ช่วยแก้ปัญหาในการปฏิบัติงาน ลดภาระในการควบคุม
รวมถึงช่วยลดอุบัติเหตุ
ช่วยส่งเสริมทัศนคติต่อองค์การ
ช่วยพัฒนาบุคลากรให้มีคุณภาพสูงขึ้น
ประโยชน์ต่อตนเอง
1.ช่วยเพิ่มทักษะ ความรู้ความสามารถ นำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน
ช่วยให้สามารถปรับตัวให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคมเทคโนโลยี และการเปลี่ยนแปลงอื่นๆ
ช่วยพัฒนาบุคลิกภาพของตนเองและปรับปรุงวิธีการปฏิบัติงานให้เหมาะสมกับงานที่ปฏิบัติ
ช่วยให้มีความเชื่อมั่นในตนเอง พร้อมที่จะทำงาน
กล้าเผชิญปัญหา
ช่วยให้รู้จักบุคคลหรือมิตรมากขึ้น อันจะเป็นประโยชน์ต่อการประสานการทำงานให้พัฒนาก้าวหน้าต่อไปได้
ประโยชน์ต่อองค์กร
ช่วยเสริมสร้างทัศนคติที่ถูกต้องในการปฏิบัติงานของบุคลากรและเป็นที่พึงประสงค์ของหน่วยงาน
ช่วยเสริมสร้างขวัญกำลังใจในการทำงานแก่ผู้ปฏิบัติงาน
ช่วยยกระดับความสามารถของบุคลากรในการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามทิศทางเป้าหมาย และนโยบายขององค์การ
ช่วยเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่เกิดขึ้นได้
ช่วยให้บุคลากรเกิดการเรียนรู้ และมีประสบการณ์
การสัมมนา และการฝึกอบรมจะทำให้
บุคลากรมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันละกัน ช่วยให้เกิดความเข้าใจกันมากยิ่งขึ้น
องค์ประกอบของการสัมมนา
องค์ประกอบด้านเนื้อหา
จุดมุ่งหมายของการจัดสัมมนา
เพื่อกำหนดและสำรวจปัญหาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
เพื่อให้ได้แนวทำงในการแก้ปัญหาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
เพื่อศึกษาค้นคว้าวิจัยที่จำเป็นระหว่างสมาชิก
เพื่อแลกเปลี่ยนผลงานค้นคว้ำวิจัยระหว่างสมาชิก
เพื่อร่วมกันพิจารณา หาข้อสรุปจากผลงานค้นคว้าวิจัยนั้น
เรื่องที่จะนำมาจัดสัมมนา
ควรเป็นเรื่องที่ต้องการศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไข ที่เกี่ยวข้องกับงานหรือเรื่องที่กำลังศึกษาอยู่
มีความทันสมัยสอดคล้องกับสภาวะของสังคม
สามารถกำหนดปัญหาได้
เป็นเรื่องที่ไม่กว้างหรือแคบจนเกินไป
ควรเป็นเรื่องที่มีขอบเขตเฉพาะ
ชื่อเรื่อง ควรเป็นชื่อที่มีลักษณะสั้น กะทัดรัด มีความกระชับ เข้าใจง่ำย ชัดเจนและตรงความหมาย
หัวข้อเรื่อง
ควรกำหนดหัวข้อเรื่อง เกี่ยวกับความรู้ หรือเรื่องราว
ต่างๆที่สัมพันธ์กับเรื่องที่จัดสัมมนา
เพื่อจะได้เห็นทิศทางของปัญหาได้และยังเป็นกรอบของ
แนวความคิดของเรื่องที่สัมมนา ให้มีขอบเขตมากขึ้น
กำหนดการสัมมนา
ชื่อหน่วยงาน หรือกลุ่มบุคคล ผู้ดำเนินการจัดสัมมนา
ชื่อเรื่องสัมมนา
วัน เดือน ปี (ที่จัดสัมมนา)
เวลา และสถานที่
ผลที่ได้จากการสัมมนา
เป็นเรื่องที่ผู้จัดสัมมนาคาดหวังว่า ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้รับ
ประโยชน์อย่่างไรบ้าง อาจเป็นทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ
องค์ประกอบด้ำนบุคลากร
บุคลากรฝ่ายจัดการสัมมนา
ประธาน และรองประธาน
เลขานุการ และผู้ช่วยเลขานุการ
กรรมกำรฝ่ายทะเบียน
กรรมการฝ่ายเอกสาร
-ฝ่ายพิธีกร
ฝ่ายสถานที่ และวัสดุอุปกรณ์
ฝ่ายอาหาร และเครื่องดื่ม
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ฝ่ายปฏิคม และฝ่ายประเมินผล
จำนวนบุคลากรที่จัดให้รับผิดชอบแต่ละฝ่ายอาจมีจำนวนที่ไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับความจำเป็นความสามารถของบุคคล
วิทยากร
คือ บุคคลที่ทำหน้าที่บรรยาย อภิปรายหรือถ่ายทอดความรู้
ประสบการณ์ โดยใช้เทคนิควิธีรวมทั้งสื่อต่างๆให้แก่ผู้เข้าร่วมสัมมนาด้วยความจริงใจ
ผู้เข้าร่วมสัมมนา
เป็นผู้ที่มีความสนใจ ในปัญหาหรือประสบปัญหา หรือต้องการแสวงหาแนวคิดใหม่ๆ หรือมีความมุ่งหมายที่จะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความคิดเห็น ทัศนคติ ตลอดจนการถ่ายทอดความรู้ ความสามารถซึ่งกันและกัน
องค์ประกอบด้ำนสถานที่ เครื่องมือ และอุปกรณ์ต่างๆ
ห้องประชุมใหญ่
คือ ห้องประชุมขนาดใหญ่ ที่ใช้ในการสัมมนา กำหนดที่นั่ง สามารถบรรจุผู้เข้าร่วมสัมมนาได้จำนวนมาก
ห้องประชุมขนาดกลางหรือขนาดเล็ก
อาจต้องมีมากกว่าหนึ่งห้อง ควรอยู่ในพื้นที่ใกล้กัน หรือบริเวณเดียวกันกับห้องประชุมใหญ่ ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการร่วมกิจกรรม
ห้องรับรอง
เป็นห้องที่ใช้สำหรับรับรองวิทยากร แขกพิเศษ เพื่อให้ได้พักผ่อนหรือเตรียมตัวก่อนกำรสัมมนำ
ห้องรับประทานอาหารว่างมุมพักผ่อนนองห้อง
หรือหน้าห้องประชุมเป็นพื้นที่จัดไว้สำหรับให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้มาพักรวมทั้งเป็นจุดพักรับประทานอาหารว่าง
อุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์
ชุดไมโครโฟนชนิดตั้งโต๊ะไมโครโฟนชนิดตั้งพื้น
ไมโครโฟนไร้สาย ไมโครโฟนชนิดเล็กใช้หนีบติดปกคอเสื้อ
เครื่องขยายเสียง เครื่องฉาย โปรเจกเตอร์โน้ตบุ๊ค
อุปกรณ์ไฟฟ้าเกี่ยวกับเครื่องเสียง สี แสง
ห้องรับประทานอาหาร
เป็นห้องที่อำนวยความสะดวกจัดไว้ให้ผู้ร่วมรับประทานอาหาร อาจเป็นทั้งรับประทานอาหารเช้า กลางวัน เย็น
อุปกรณ์เครื่องมือ
ประเภทเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องปริ้นเตอร์ และวัสดุอื่นๆ
ที่จำเป็นในการจัดทำเอกสารประกอบคำบรรยายเอกสารสรุปการจัดสัมมนา
องค์ประกอบด้านเวลา
ระยะเวลาสำหรับเตรียมการ
ผู้จัดสัมมนาควรวางแผนปฏิบัติงานให้
ชัดเจนว่างานแต่ละอย่างแต่ละประเภทที่ต้องทำนั้นจะใช้เวลานานเท่าใดจึงจะแล้วเสร็จ
การเชิญวิทยากร
เป็นเรื่องสำคัญมากเรื่องหนึ่งที่ผู้จัดสัมมนาควรจะวางแผนให้ดี เพราะวิทยากรบางคน เป็นผู้มีชื่อเสียงมากมักจะไม่ค่อยว่าง
เวลาที่ใช้ในการสัมมนา
เวลาที่ใช้ขึ้นอยู่กับ “เรื่องที่สัมมนา” และ “หัวข้อเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่สัมมนา” ว่ามีขอบเขตกว้างมากน้อยเพียงใด
องค์ประกอบด้านงบประมาณ
จัดประมาณการค่าใช้จ่าย
แต่ละฝ่ายที่ทำหน้าที่รับผิดชอบ จัดประมาณการใช้จ่ายที่ต้องใช้จ่ายทั้งหมด ของฝ่ายตนเองออกมาในรูปของบัญชีค่าใช้จ่ายนำเสนอฝ่ายเหรัญญิกและที่ประชุมเพื่อพิจารณาถึงความเหมาะสม
ค่าใช้จ่ายต่างๆ
ที่เกี่ยวข้องกับวัสดุอุปกรณ์ ที่จำเป็นต้องจัดซิ้อ ควรมีรายการราคา ตามท้องตลาด หรืออาจใช้วิธีสืบราคาวัสดุอุปกรณ์เหล่านั้นก่อน เพื่อการประมาณค่าใช้จ่ายจะไม่เกิดข้อผิดพลาด
จัดทำงบประมาณรวม
การวางแผนเกี่นวกับค่าใช้จ่ายของแต่ละฝ่ายเห็นชอบ จากที่ประชุม แล้วจัดทำงบประมาณรวมทั้งโครงการ แล้วเสนอผู้รับผิดชอบหรือเสนอฝ่ายบริหาร
ลักษณะของการสัมมนาที่ดี
กำหนดจุดมุ่งหมายในการสัมมนาให้แน่ชัดว่าต้องการจะได้ผลอย่างไรในการสัมมนาครั้งนี้
จัดการสัมมนาเพื่อเสริมความรูู้และประสบการณ์ใหม่แก่สัมมนาสมาชิก
จัดให้มีโอกาสสัมมนาสมาชิกไ้ด้แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันอย่างกว้างขวาง
ให้สมาชิกได้มีโอกาสร่วมกันแก้ปัญหาที่มีมาก่อนสัมมนา หรือปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างการสัมมนาให้มากที่สุด
มีอุปกรณ์ในการสัมมนาเพียบพร้อม เช่น หนังสือ เอกสาร สถานที่ วิทยากร เครื่องมือโสดทัศนูปกรณ์ เครื่องเขียน และอื่นๆที่จำเป็น
กำหนดช่วงเวลาในการสัมมนาให้เหมาะสมกับหัวข้อปัญหาที่จัดสัมมนา
ผู้ดำเนินการจัดสัมมนามีคุณภาพ มีความเป็นผู้นำ
ผลที่ได้รับจากการสัมมนาสามารถนำไปเป็นแนวทางทำประโยชน์อย่างแท้จริง
มีการเผยแพร่ผลการสัมมนาสู่สาธารณชนตามควรแก่กรณี
คุณสมบัติของผู้ร่วมการสัมมนาที่ดี
เป็นผู้ที่ชอบแสวงหาความรู้ใหม่ๆ มีความคิดกว้างไกล
รู้จักรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
คิดก่อนพูดอย่างมีหลักการและเหตุผลรู้จักกาลเทศะ มีสปิริต
แสดงความคิดเห็นในโอกาสและ
จังหวะที่เหมาะสมให้ความร่วมมือกับกิจกรรมการสัมมนา
มีมารยาทในการสัมมนา
ตรงต่อเวลารักษาเวลาของการสัมมนา
มีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีเมตตากรุณาเกื้อกูลประโยชน์จากการสัมมนา ให้แก่ผู้เข้าร่วมสัมมนาซึ่งกันและกัน
ขั้นตอนการจัดสัมมนา
ขั้นที่ 1 การเตรียมการก่อนการประชุมสัมมนา
สำรวจประเด็นปัญหาและความต้องการในการประชุมสัมมนา
1.1 ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการการทำงาน หรือปัญหาที่เกิดขึ้นในหน่วยงาน
1.2 ความต้องการของบุคลากร โดยรวบรวมรวมจากแบบสำรวจความคิดเห็น แบบสอบถาม หรือแบบสัมภาษณ์
1.3 ใช้การจัดประชุมสัมมนาช่วยให้บุคคลากรในหน่วยงานเข้าใจ
แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการจัดประชุมสัมมนา เพื่อทำหน้าที่ดังต่อไปนี้
2.1 หาหัวข้อเรื่องที่จะใช้ในการประชุมสัมมนา โดยการรวบรวม และแยกแยะในประเด็นปัญหาต่างๆ
2.2 พิจารณาบุคคลหรือผู้เชี่ยวชาญ ที่จะเชิญเข้าร่วมในการสัมมนา
2.3 พิธีเปิด พิธีปิดการสัมมนา ตลอดจนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในฝ่ายต่างๆ
2.4 พิจารณาแผนการและจัดเตรียมขั้นตอนในการดำเนินงาน
2.5 พิจารณาแนวทางในการประชาสัมพันธ์ วิธีการประเมินผล ตลอดจนการเผยแพร่
2.6 พิจารณาและเสนอการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการฝ่ายต่างๆ ตั้งแต่เริ่มเตรียมงานจนกระทั่งสิ้นสุดการสัมมนา
เขียนโครงการประชุมสัมมนา
3.1 ชื่อโครงการ ตั้งตาม ลักษณะของผู้เข้าประชุมสัมมนา เนื้อหาที่จะประชุมสัมมนา กิจกรรมที่ประชุมสัมมนา ปัญหาที่จะประชุมสัมมนา
3.2 ผู้รับผิดชอบโครงการอาจเป็นหน่วยงาน องค์กร หรือบุคคล
3.3 หลักการและเหตุผลเป็นการกล่าวถึง ปัญหาและความจำเป็นที่จะต้องประชุมสัมมนาในหัวข้อดังกล่าว
3.4 วัตถุประสงค์ ต้องเขียนให้สัมพันธ์กับหลักการและเหตุผล โดยเขียนให้ชัดเจน
3.5 กลุ่มเป้าหมายหรือผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนา กำหนดให้ชัดเจน
3.6 วิทยากร กำหนดชื่อ คุณสมบัติ การติดต่อ ให้ชัดเจน
3.7 ระยะเวลา กำหนดให้ชัดเจนว่าต้องใช้เวลาเท่าไหร่เริ่มต้นและจบเมื่อไหร่
3.8 สถานที่กำหนดให้ชัดเจน ว่าจะจัดขึ้นที่ไหน
3.9 วิธีการประชุมสัมมนา กำหนดให้ชัดเจนว่าจะใช้วิธีไหน
3.10 งบประมาน กำหนดรายรับ รายจ่าย ที่จะใช้ในการประชุมสัมมนา
3.11 การประเมินผล กำหนดวิธีการประเมินผลให้ชัดเจน จะประเมินผลด้วยเครื่องมือ หรือเทคนิคใดให้เหมาะสม
3.12 ผลที่คาดว่าน่าจะได้รับ มีการคาดคะเนว่าหลังจากการประชุมสัมมนาแล้วผู้เข้าร่วมสัมมนาจะได้รับประโยชน์อะไรบ้างจากการประชุมสัมมนาในครั้งนี้
3.13 กำหนดการประชุมสัมมนา โดยระบุ วัน เวลา และกิจกรรมที่จะทำอย่างชัดเจน
ขั้นดำเนินงานเตรียมการจัดประชุมสัมมนา
4.1 การประชาสัมพันธ์การประชุมสัมมนาให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราย
4.2 ติดต่อเชิญวิทยากร ที่จะมาให้ความรู้แก่ผู้ที่เข้าประชุมสัสมนา
4.3 เชิญผู้เข้าร่วมสัมมนา
4.4 เตรียมการด้านสถานที่และอุปกรณ์
ติดต่อขอใช้สถานที่ในการประชุมสัมมนา
วางแผนการใช้สถานที่ การจัดห้องประชุม
จัดทำอุปกรณ์ที่จะใช้ในการประชุมสัมมนา
4.5 เตรียมการด้านการลงทะเบียน
โดยจัดเตรียมแฟ้มบัญชีรายชื่อเพื่อความสะดวกในการลงทะเบียน การแจกเอกสาร การเก็บเงิน
4.6 เตรียมการด้านเอกสารแจกผู้เข้าร่วมการประชุมสัมมนา
เอกสารที่จะแจกผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนาควรจัดใส่แฟ้มให้เรียบร้อย
ขั้นที่ 2 การดำเนินการระหว่างสัมมนา
การต้อนรับผู้เข้าประชุมสัมมนา ได้แก่ ประธานในพิธี แขกผู้มีเกียรติ วิทยากรและผู้เข้าสังเกตการณ์
การลงทะเบียน ผู้เข้าร่วมการสัมมนาทุกคน จะต้องเซนชื่อในบัญชีรายชื่อที่ทางคณะกรรมการฝ่ายทะเบียนจัดเตรียมไว้ให้
พิธีเปิดการประชุมสัมมนา ประธาณคณะกรรมการดำเนินการจัดประชุมสัมมนาจะเป็นผู้กล่าวรายงานความเป็นมา เพื่อกล่าวเปิด การประชุมสัมมนา
จัดประชุมกลุ่มใหญ่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจะสร้างความเข้าใจที่ตรงกันให้แก่ผู้เข้าร่วม
จัดประชุมกลุ่มย่อย หลังจากที่ได้รับความรู้ ความคิดจากวิทยากรในที่ประชุมกลุ่มใหญ่แล้ว
แบ่งกลุ่มผู้เข้าร่วมสัมมนา ออกเป็นกลุ่มย่อยตามลักษณะของปัญหาและความสนใจ
กลุ่มย่อยจะร่วมกันถกปัญหา เสนอข้อคิดเห็น โดยมีวิทยากรประจำกลุ่มทำหน้าที่ดำเนินการ
ในกลุ่มย่อย จะต้องมี ประธาณกลุ่ม รองประธาณกลุ่ม เลขานุการกลุ่ม และผู้ช่วยเลขานุการกลุ่มย่อย
จัดประชุมรวม เพื่อรายงานผลการประชุม แนวทางการแก้ไขปัญหาของแต่ละกลุ่มย่อย
ผู้เข้าร่วมสัมมนาทุกคนมีสิทธิที่จะเสนอแนะข้อคิดเห็นหรือสนับสนุนได้
เลขานุการของแต่ละกลุ่มจะต้องจดบันทึกการเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมเพื่อจัดทำรายงานผลการประะชุมสัมมนา
พิธีปิดการประชุมสัมมนา ประธานในพิธีปิดการสัมมนา อาจเป็นบุคคลเดียวกับประธานในพิธีเปิดหรือคนละคนก็ได้
ขั้นที่ 3 การดำเนินการหลังสัมมนา
วิเคราะห์การประเมินผลการประชุมสัมมนา ผู้จัดการประชุมสัมมนาต้องติดตามผลจากสมาชิกผู้เข้าร่วมและฝ่ายคณะกรรมการดำเนินงานทั้งหมดแล้วนำผลที่ได้มาวิเคราะห์
สรุปผลของการประชุมสัสมนาแล้วจัดพิมพ์เป็นรายงานการประชุมการสัมมนา
รายงานผลการประชุมสัมมนาต่อผู้บังคับบัญชาให้ทราบเป็นลายลักษณ์อักษร
รายงานว่าเมื่อสิ้นสุดการสัมมนาบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้มากน้อยเพียงใด มีปัญอุปสรรคอะไรบ้าง มีข้อเสนอแนะและวิธีแก้ไขอย่างไร
หนังสือแจ้งผลการประชุมสัมมนาต่อหน่วยงานที่เกี่ยงข้อง
ผู้จัดประชุมสัสสมนาจะต้องจัดจะต้องแจ้งผลประชุมสัมมนาไปยังหน่วยงานของผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนาซึ่งจัดพิมพ์เป็นรายงานการประชุมสัมมนา
ดำเนินการเกี่ยวกับงบประมาณค่าใช้จ่ายต่างๆ
ผู้จัดสัมมนาจะต้องดำเนินการ เบิก-จ่าย ให้เป็นที่เรียบร้อย
ค่าตอบแทนวิทยากร
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
ค่าใช้จ่ายในพิธี เปิด-ปิด
ค่าวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ
ติดตามผล และวิเคราะห์การติดตามผลการประชุมสัมมนา
ผู้จัดประชุมสัมมนาควรจะติดตามผลว่าผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนา ได้นำความรู้และประสบการณ์จากการประชุมสัมมนาไปใช้ปรับปรุงงานในหน้าที่ได้ผลเพียงใด
ประโยชน์ที่ได้รับคือ
ทำให้ได้รู้และเข้าใจถึงการสัมมนามากขึ้นจากเดิมที่ไม่มีความเข้าใจถึงการสัมมนา
ทำให้รู้ถึงประโยชน์ของการสัมมนาคือเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างผู้เข้าสัมมนา ทำให้มีความเข้าใจข้อเท็จจริงต่างๆ ดีขึ้นสามารถนำไปแก้ไขปัญหาได้จริง
ทำให้รู้ลักษณะของการสัมมนาที่ดีและคุณสมบัติของผู้ร่วมการสัมมนาที่ดีเนื่องจากสามารถนำไปใช้ได้จริงในการจัดการสัมมนากลุ่มย่อยในการเรียนวิชาสัมมนาประเด็นปัญหาและแนวโน้มทางวิชาชีพพยาบาล
ทำให้ได้รู้รูปแบบของการจัดสัมมนา 6 รูปแบบที่มีความแตกต่างกันและทำให้เข้าใจวิธีดำเนินการของการสัมมนาแต่ละรูปแบบและสามารถนำไปใช้ในการจัดสัมมนากลุ่มย่อยได้
เกษกานดา สุภาพจน์. (2543). การจัดสัมมนา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.
ณิรดา เวชญาลักษณ์. (2551). คู่มือปฏิบัติงานการดำเนินการจัดฝึกอบรม. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดแพร่. กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน.
ณิรดา เวชญาลักษณ์. (2555).
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการสัมมนา
. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
อ้างอิง
สุภัทร แก้วพัตร. (2560). เอกสารประกอบการสอนสัมมนาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
นางสาวนันทิตา ชุติวิวัฒน์ 6101210767 Sec. A เลขที่ 33
Elisabeth Lindberg. (2018). Lecturers’ lived experiences of guiding reflective seminars during nursing education.
Nurse Education in Practice 31
, 165-170.