Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
จริยธและจรรยาบรรณของนักคอมพิวเตอร์และพรบ คอมพิวเตอร์2560 - Coggle Diagram
จริยธและจรรยาบรรณของนักคอมพิวเตอร์และพรบ คอมพิวเตอร์2560
จริยธรรมคอมพิวเตอร์
หมายถึง หลักศีลธรรมจรรยาที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติหรือควบคุมการใช้ระบบคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ
ความแตกต่างระหว่างจริยธรรมกับกฎหมาย
1.กฎหมายเป็นสิ่งที่ออกได้โดยรัฐผ่านกระบวนการนิติบัญญัติแต่จริยธรรมเป็นเรื่องของคนในสังคมร่วมกันสร้างขึ้นมา
2.กฎหมายเป็นข้อบังคับที่เป็นลายลักษณ์อักษรแต่จริยธรรมเป็นเรื่องของความสมัครใจ
3.กฎหมายมีบทลงโทษที่ชัดเจนแน่นอนแต่จริยธรรมไม่มีบทลงโทษสำหรับฝ่าฝืน
4.กฎหมายเป็นสิ่งที่ควบคุมการกระทำของคนแต่จริยธรรมเป็นสิ่งที่ควบคุมจิตใจ
5.กฎหมายมีวัตถุประสงค์ลงโทษผู้กระทำผิดหรือชดใช้ค่าเสียหายแต่จริยธรรมมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับคุณค่าทางจิตใจ
จริยธรรมที่เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศกล่าวถึง4ประเด็น
1.ความเป็นส่วนตัวเช่นข้อความในอีเมล
2.ความถูกต้อง เช้นผู้สอนเข้าไปดูคะแนนของนักเรียนเพื่อตรวจสอบและแก้ไขความถูกต้อง
3.ความเป็นเจ้าของ เช่นสินทรัพย์ทางปัญญาไม่วาจะเป็นลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร
4.การเข้าถึงข้อมูล เช่นการเข้าใช้งานโปรแกรม
บทบั 10 ประการในการใช้คอมพิวเตอร์
ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายหรือละเมิดผู้อื่น
ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น
ต้องไม่สอดแนม แก้ไข หรือเปิดดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น
ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
ต้องมีจรรยาบรรณการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์
ให้ระมัดระวังในการละเมิดหรือสร้างความเสียหายให้ผู้อื่น
ให้แหล่งที่มาของข้อความ ควรอ้างอิงแหล่งข่าวได้
ไม่กระทำการรบกวนผู้อื่นด้วยการโฆษณาเกินความจำเป็น
ดูแลและแก้ไขหากตกเป็นเหยื่อจากโปรแกรมอันไม่พึงประสงค์ เพื่อป้องกันมิให้คนอื่นเป็นเหยื่อ
จรรยาบรรณคอมพิวเตอร์
หมายถึง การประมวลหลักจริยธรรมที่เปี่ยวข้องกับการใช้คอมพิวเตอร์เป็นลายลักษณ์อักษร
ประโยชน์ของการกำหนดจรรยาบรรณ
1.พัฒนาการตัดสินใจทางจริยธรรมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
2.สนับสนุนให้เกิดมาตรฐานของการประพฤติตามจริยธรรม
3.เพื่อความน่าเชื่อถือ
4.มีการประเมินเปรียบเทียบกับมาตรฐาน
จรรยาบรรณของนักคอมพิวเตอร์
1.จรรยาบรรณต่อตนเอง
2.จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมงาน
จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
จรรยาบรรณต่อสังคม
จรรยาบรรณตีอผู้รับบริการ
พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
พรบ คอมพิวเตอร์ เป็นการบังคับใช้เพื่อ ให้มีการควบคุมการใช้งานคอมพิวเตอร์
8ข้อที่ห้ามทำ เกี่ยวกับพรบ คอมพิวเตอร์
1.เข้าถึงระบบ หรือข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ชอบ (มาตรา 5-8)
บทลงโทษ
เข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์: จำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
เข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์: จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์และนำไปเปิดเผย: จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ดักรับข้อมูลคอมพิวเตอร์: จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
แก้ไข ดัดแปลง หรือทำให้ข้อมูลผู้อื่นเสียหาย (มาตรา 9-10)
บทลงโทษ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
แต่ถ้าเป็นกรณีกระทำต่อระบบหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามมาตร 12 หรือเข้าถึงระบบ ข้อมูลด้านความมั่นคงโดยมิชอบ จะต้องได้รับโทษจำคุก 3-15 ปี และปรับ 6 หมื่น – 3 แสนบาท
และถ้าเป็นเหตุให้เกิดอันตรายต่อบุคคลอื่น ต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี และปรับ 2 แสนบาท และถ้าเป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตาย ต้องจำคุก 5-20 ปี และปรับ 1-2 แสนบาท
ส่งข้อมูลหรืออีเมลก่อกวนผู้อื่น หรือส่งอีเมลสแปม (มาตรา 11)
บทลงโทษ
ถ้าส่งโดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มา ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท และถ้าส่งโดยไม่เปิดโอกาสให้ปฏิเสธตอบรับได้โดยงาน ต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
เข้าถึงระบบ หรือข้อมูลทางด้านความมั่นคงโดยมิชอบ (มาตรา 12)
บทลงโทษ
กรณีไม่เกิดความเสียหาย: จำคุก 1-7 ปี และปรับ 2 หมื่น – 1.4 แสนบาท
กรณีเกิดความเสียหาย: จำคุก 1-10 ปี และปรับ 2 หมื่น – 2 แสนบาท
กรณีเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย: จำคุก 5-20 ปี และปรับ 1 แสน – 4 แสนบาท
จำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งเพื่อนำไปใช้กระทำความผิด (มาตรา 13)
กรณีทำเพื่อเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ตามมาตรา 5-11 (หรือข้อ 1-3 ในบทความนี้) ต้องจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากมีผู้นำไปใช้กระทำความผิด ผู้จำหน่ายหรือผู้เผยแพร่ต้องรับผิดชอบร่วมด้วย
กรณีทำเพื่อเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ มาตรา 12 ต้องจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากมีผู้นำไปใช้กระทำความผิด ผู้จำหน่ายหรือผู้เผยแพร่ต้องรับผิดชอบร่วมด้วย
นำข้อมูลที่ผิดพ.ร.บ.เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ (มาตรา 14)
บทลงโทษ
หากเป็นการกระทำที่ส่งผลถึงประชาชน ต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และหากเป็นกรณีที่เป็นการกระทำที่ส่งผลต่อบุคลใดบุคคลหนึ่ง ต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 6 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (แต่ในกรณีอย่างหลังนี้สามารถยอมความกันได้)
ให้ความร่วมมือ ยินยอม รู้เห็นเป็นใจกับผู้ร่วมกระทำความผิด (มาตรา 15)
บทลงโทษ
แต่ถ้าไม่ยอมลบออกต้องได้รับโทษ ถือว่าเป็นผู้กระทำความผิดตามมาตร 14 ต้องได้รับโทษเช่นเดียวกันผู้โพสต์
หรือแสดงความคิดเห็นทางออนไลน์ แต่ถ้าผู้ดูแลระบบพิสูจน์ได้ว่า ตนได้ปฏิบัติตามขั้นตอนการแจ้งเตือนแล้วไม่ต้องรับโทษ
Shifu แนะนำ
ผู้ให้บริการมีหน้าที่เก็บข้อมูลการใช้งานไม่น้อยกว่า 90 วัน ในกรณีที่จำเป็น ศาลอาจสั่งให้เก็บข้อมูลเพิ่มได้ไม่เกิน 2 ปี
ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงภาพ (มาตรา 16)
บทลงโทษ
หากทำผิดตามนี้ ต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 2 แสนบาท