Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
นางสาวปภาวี ศรีดามาส ปี 3B วอร์ด 6, การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของทารกแรกเ…
นางสาวปภาวี ศรีดามาส ปี 3B วอร์ด 6
การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของทารกแรกเกิดด้านระบบประสาท
ระบบประสาทในทารกแรกเกิด จะเจริญมากแต่ยังไม่สมบูรณ์ แต่มีการพัฒนามากพอที่จะทำให้ทารกมีชีวิตอยู่ภายนอกครรภ์ หน้าที่ของระบบประสาทส่วนใหญ่เป็น primitive reflex และระบบประสาทอัตโนมัติที่ช่วยกระตุ้นการหายใจ รวมถึงระบบอื่นๆอีกด้วย เมื่อสมองของทารกพัฒนาดีแล้ว primitive reflex จะหายไป
การทำหน้าที่ของประสาทรับความรู้สึก (Sensory function)
การได้ยิน
ทารกจะได้ยินทันทีหลังเกิด การได้ยินจะดีมากขึ้นเมื่อไขและน้ำคร่ำได้ไหลออกจากรูหู หรือถูกดูดซึมทาง eustachian tube ทารกจะมีปฏิกิริยาต่อเสียงสูงต่ำแตกต่างกัน ถ้าเสียงที่มีความถี่ต่ำจะทำให้ทารกสงบและหยุดร้องไห้ ถ้าเป็นเสียงแหลมที่มีความถี่สูงหรือเสียงดังทารกจะตกใจ
การมองเห็น
ทารกจะแสดงอาการในการมองเห็นโดยการกะพริบตาเมื่อมีแสงจ้ามากระทบ (blinking reflex) หรือมองตามของเล่นสีสดๆที่อยู่ใกล้ได้ภายในระยะ 8 นิ้วฟุต และต้องอยู่ตรงกลางของลานสายตา (visual field) เพราะทารกแรกเกิดไม่สามารถจะมองได้มากกว่า midline of vision ปฏิกิริยาของ pupil ต่อแสงจะมีตั้งแต่เกิด ส่วนต่อมน้ำตาจะยังไม่ทำงานจนกระทั่งทารกอายุ 2–4 สัปดาห์
การรับกลิ่น
การได้กลิ่น ทารกจะได้กลิ่นทันทีเมื่อดูดน้ำคร่ำออก แต่ความสามารถในการได้กลิ่นมีจำกัด ทารกจะปฏิกิริยาต่อกลิ่นที่รุนแรง เช่น แอลกอฮอล์ กรดน้ำส้ม โดยทารกจะหันศีรษะหนี แต่เมื่อได้กลิ่นนมมารดาจะหันหน้าเข้าหาหัวนมมารดาทันที และแสดง rooting reflex
การรับรส
การรู้รส ทารกสามารถแยกรสต่างๆ ได้ ใน 1-2 วันแรกหลังคลอดเพราะต่อมรับรสได้พัฒนาและทำหน้าที่ได้ตั้งแต่ก่อนเกิด การทดสอบการรู้รสของทารกพบว่า ทารกจะไม่แสดงอาการอะไรเมื่อได้รับน้ำกลั่น แต่จะแสดงอาการพอใจดูดอย่างเร็วเมื่อได้รับสารละลายรสหวาน ทำปากย่นเมื่อได้รับสารละลายรสเปรี้ยว และแสดงอาการโกรธเมื่อได้รับรสขม ต่อมรับรสส่วนใหญ่กระจายอยู่ปลายลิ้น
การรับสัมผัส
การสัมผัส ทารกรับรู้ต่อการสัมผัสได้ดีตั้งแต่แรกเกิด บริเวณที่ไวต่อการรับรู้ที่สุด คือ หน้า มือ และส้นเท้า การสัมผัสที่แผ่วเบาจะทำให้ทารกสงบ แต่ถ้ากระตุ้นแล้วทำให้เกิดความเจ็บปวดจะโกรธและหงุดหงิด การสัมผัสและการให้ทารกได้มีการเคลื่อนไหวมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการเจริญเติบโต และพัฒนาการของระบบประสาท
การทำหน้าที่ของประสาทรีเฟล็กซ์ (primitive reflex)
การทำหน้าที่ของระบบประสาทของทารกแรกเกิดส่วนใหญ่จะเป็นรีเฟล็กซ์ (primitive reflex) ซึ่งเป็นการโต้ตอบของร่างกายโดยไม่ผ่านสมอง เมื่อสมองของทารกเจริญเติบโตดีแล้ว primitive reflex จะหายไปแต่บางรีเฟล็กซ์จะยังคงมีอยู่ไปตลอดชีวิต สิ่งสำคัญคือการสังเกตหรือการตรวจลักษณะการตอบสนองและอายุของทารกที่รีเฟลกซ์นั้นหายไป primitive reflex ที่สำคัญได้แก่
Moro reflex
เมื่อให้ทารกนอนหงายแล้วกระตุ้น โดยตบที่เบาะหรือดึงมือทารกค่อย ๆ แล้วปล่อย หรือประคองด้านหลังของทารก แล้วปล่อยมือให้ทารกหงายไปข้างหลังประมาณ 10 – 15 องศา โดยใช้ฝ่ามือคอยรองรับไว้ จะกระตุ้นทำให้เด็กกางแขนกางขาออกแล้วทารกจะงอแขนและขา งอเข้า ทำท่าคล้ายกับการกอด
Tonic neck reflex
Tonic neck reflex เมื่อทารกนอนหงายและหันศีรษะไปด้านใดด้านหนึ่ง แขนและขาด้านนั้นจะเหยียดออก ส่วนด้านตรงข้ามจะงอเข้า
Dancing or Stepping
เมื่ออุ้มทารกให้หน้าขา หรือหลังเท้าแตะขอบเตียง ทารกจะงอเท้าและยกเท้าขึ้นวางบนขอบเตียงได้ ถ้าอุ้มทารกให้ยืนในท่าที่ศีรษะเอียงไปข้างหน้าเล็กน้อยทารกจะทำท่าเดินทีละก้าว
Crawling reflex
เมื่อจับทารกนอนคว่ำ แขนและขาของทารกจะเคลื่อนไหวเหมือนจะคลาน
Blinking or Corneal reflex
ทารกจะกระพริบตาเมื่อมีแสงจ้า หรือเมื่อมีวัตถุจะมากระทบถูกตา รีเฟล็กซ์นี้จะปรากฏหลังเกิดจนถึงตลอดชีวิต ถ้าทารกไม่มีรีเฟล็กซ์นี้หรือกระพริบตาไม่เท่ากันทั้งสองข้าง ทารกอาจมี cranial nerve ที่ 3, 4 และ 5 เสียไป
Pupillary reflex
รูม่านตาจะหดตัวเมื่อถูกแสงสว่าง รีเฟล็กซ์นี้จะปรากฏหลังเกิดจนถึงตลอดชีวิต ถ้าไม่มีรีเฟล็กซ์นี้อาจเกิดจากทารกมีการขาดออกซิเจน (anoxia) หรือ สมองได้รับอันตราย (brain damage)
Sneezing reflex
ทารกจะมีอาการจาม เมื่อมีสิ่งอุดตันหรือสิ่งระคายเคืองในจมูก รีเฟล็กซ์นี้จะมีหลังเกิดจนถึงตลอดชีวิต
Coughing reflex
เมื่อมีสิ่งระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อของหลอดเสียงหรือหลอดลมจะทำให้ทารกไอ รีเฟล็กซ์นี้จะมีตั้งแต่หลังเกิดจนถึงตลอดชีวิต
Gag reflex
เมื่อใส่สายยางหรือลูกสูบยางไปกระตุ้นที่ posterior pharynx ทารกจะทำท่าขย้อน รีเฟล็กซ์นี้จะมีภายหลังเกิดจนถึงตลอดชีวิต
Rooting reflex
กระตุ้นโดยใช้มือหรือของนิ่มๆ เขี่ยที่แก้ม หรือบริเวณใกล้ปากทารกเบาๆ ทารกจะหันหน้าไปหาสิ่งกระตุ้น และอ้าปากเหมือนกับพยายามจะดูดหัวนม
Sucking reflex
ถ้ามีสิ่งกระตุ้นที่ริมฝีปาก เพดานปาก ทารกก็จะดูด
Extrusion reflex
เมื่อลิ้นของทารกถูกกดด้วยไม้กดลิ้น ทารกจะพยายามยื่นลิ้นออกมา เพื่อป้องกันไม่ให้กลืนสิ่งนั้น ๆ ลงไปในคอ รีเฟล็กซ์นี้จะหายไปเมื่ออายุ 4 เดือน ซึ่งจะเห็นได้ว่าการให้อาหารเสริมประเภท solid food แก่ทารกในระยะ 3 – 4 เดือน ทารกมักจะกลืนไม่เป็นทั้งนี้ก็เนื่องจากทารกมี extrusion reflex
Yawn reflex
ทารกจะหาวเมื่อต้องการออกซิเจนเพิ่มขึ้น รีเฟล็กซ์จะปรากฏตลอดชีวิต
Palmar grasping reflex
เมื่อสอดนิ้วมือหรือสิ่งของเข้าไปในอุ้งมือของทารกแรกเกิด ทารกจะกำสิ่งของนั้นไว้ชั่วขณะและปล่อยออกรีเฟล็กซ์นี้จะหายไปเมื่ออายุ 6 สัปดาห์ถึง 3 เดือน
Plantar หรือ Babinski reflex
ถ้าขีดที่ด้านข้างของฝ่าเท้าจากด้านส้นเท้าขึ้นมาเป็นรูปตัวเจ จนถึงบริเวณใกล้นิ้วหัวแม่เท้า ทารกแรกเกิดจะมีการตอบสนอง โดยหัวแม่เท้ากระดกขึ้นและอาจจะมีนิ้วอื่นๆ กางออกด้วย