Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การเปลี่ยนแปลงทางสรีวิทยาของมารดาในระยะตั้งครรภ์
sac - Coggle Diagram
การเปลี่ยนแปลงทางสรีวิทยาของมารดาในระยะตั้งครรภ์
ระบบอวัยวะสืบพันธุ์
-
ปากมดลูก
เลือดมาเลี้ยงบริเวณปากมดลูกมากขึ้นและมีการเพิ่มจำนวนเซลล์ (hyperplasia) และขยายขนาด (hypertrophy) ของต่อมที่ปากมดลูก(cervical gland)
ทำให้ปากมดลูกอ่อนนุ่ม (Goodell’s sign) ผลิตมูก (mucous plug)อุดที่cervical canal ช่วยป้องกันไม่ให้แบคทีเรียจากช่องคลอดเข้าไปยังโพรงมดลูกเมื่อเข้าสู่ระยะคลอดปากมดลูกจะเปิดขยาย (cervical dilatation)
ทำให้ mucous plug หลุด ออกมาทางช่องคลอดพร้อมกับ มีเลือดซึมปนออกมาเล็กน้อย เรียกว่าmucous bloody show เยื่อบุช่องคลอดมี สีคล้ำ เกือบม่วงแดง (Chadwick’s sign) ประมาณอายุครรภ์6-10 สัปดาห์
-
รังไข่
ในระยะต้ังครรภ์จะไม่มีการตกไข่ เนื่องจากปฏิกิริยาสะท้อนกลับของปริมาณฮอร์โมน estrogenและ progesterone ที่สร้างจาก corpus luteum ในระยะแรกของการตั้งครรภ์ซึ่ง corpus luteum จะมีขนาดใหญ่ขึ้นเกือบ 1/3ของขนาดของรังไข่และผลิต estrogenและ progesterone เต็มที่ใน 6-8 สัปดาห์แรก ของการตั้งครรภ์จากนั้น corpus luteum เริ่มลดขนาดลงเมื่อรกผลิตฮอร์โมนแทน
-
เต้านม
-
น้ำนม คือ prolactinและ human placenta lactogen (HPL) โดยฮอร์โมน prolactin จะเพิ่มมากขึ้นตลอดการ ตั้งครรภแ์ละเพิ่มสูงเมื่ออายุครรภค์รบกำหนด
-
ระบบการเผาผลาญ
-
การเผาผลาญไขมัน
มีการสะสมไขมันในร่างกาย
-
สตรีมีครรภ์ที่แพ้ท้องและมีอาการคลื่นไส้อาเจียนจะมีการนำไขมันมาใช้เป็นพลังงานทดแทนขณะที่ในครึ่งหลังของการตั้งครรภจะมีการนำไขมันที่สะสมไว้มาใช้เป็นพลังงานทดแทนกลูโคสมากขึ้น
-
การเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต
ในระยะครึ่งแรกของการตั้งครรภ์กลูโคสจะเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญ ไม่รับประทานอาหารเป็นเวลานานจะเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้ (hypoglycemia)และค่าของน้ำตาลในเลือดเมื่ออดอาหาร (fasting blood glucose) จะต่ำกว่าในระยะไม่ตั้งครรภ์โดยพบประมาณ 80-85 มิลลิกรัมต่อเลือด 100 มิลลิลิตร
ในระยะครึ่งหลังของการตั้งครรภ์ระดับน้ำตาลในเลือดของสตรีมีครรภ์จะสูงกว่าภาวะปกติ(hyperglycemia) จากผลของ insulin antagonist ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนน้ำตาลให้ทารกซึ่งมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า สตรีมีครรภ์จะเกิดภาวะ hypoglycemia เมื่ออดอาหาร
การเพิ่มขึ้นของน้ำหนัก
ในไตรมาสที่ 1 การเจริญเติบโตของทารกยังน้อย ประกอบกับยังเป็นช่วงที่มีอาการแพ้ท้อง การเปลี่ยนแปลงของร่างกายยังไม่มากนัก น้ำหนักอาจจะคงที่หรือเพิ่มเพียง1-2 กิโลกรัม
ตลอดระยะตั้งครรภ์น้ำหนักเพิ่มขึ้นทั้งหมดประมาณ 11-12 กิโลกรัมโดยน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นมาจากตัวทารกประมาณ 3 กิโลกรัม รกและน้ำคร่ำประมาณ 3-5 กิโลกรัม ส่วนที่เหลือจะเป็นน้ำหนักจากการขยายตัวของมดลูก เต้านม และเนื้อเยื่อต่างๆโปรตีนและไขมัน ที่สะสมในร่างกายของสตรีมีครรภ์ที่เรียกว่า maternal reserves
ในไตรมาสที่ 2 และ 3 นั้น การตั้งครรภ์ที่มีความคืบหน้าไปมากขึ้น น้ำหนักควรจะเพิ่มขึ้นได้ประมาณไตรมาสละ 5 กิโลกรัม
-
-
-
ระบบขับถ่ายปัสสาวะ
-
ปริมาณเลือดที่เพิ่มขึ้น ทำให้glomerular filtration rate (GFR) เพิ่มขึ้นร้อยละ 20 และ renal plasma flow (RPF) เพิ่มขึ้นร้อยละ25-80 ประกอบกับอิทธิพลของ estrogen, progesteroneและprostaglandins
-
-
-
ระบบทางเดินอาหาร
ถุงน้ำดีและตับ
จากอิทธิพลของ estrogen ส่งผลให้น้ำดีทำหน้าที่ในการละลาย cholesterol ลดลง เกิดภาวะ hypercholesterolemia ซึ่งจะรวมตัวตกผลึกกลายเป็นนิ่วได้ง่ายในไตรมาสที่สองและสาม
การเปลี่ยนแปลงในการทำหน้าที่จากอิทธิพลของ estrogen ที่ทำให้ plasma albumin ลดลงและ serum cholinesterase ทำงานลดลง อาการและอาการแสดง รวมท้ังการตรวจ liver function test คล้ายคลึงกับผู้ป่วยโรคตับ เช่น อาจจะพบเส้นเลือดที่ผิวหนัง (vascular spiders) ร่วมกับการมีฝ่ามือแดง (palmar erythema) ที่เกิดขึ้นใน 2 เดือนแรกของการ ตั้งครรภ์เป็นต้น
ความตึงตัวของกล้ามเนื้อเรียบที่ลดลงจากผลของ progesterone ทำให้ถุงน้ำดี เคลื่อนไหวช้าลง โป่งตึงและมีน้ำดีสะสมคั่งค้างการทำหน้าที่ของ mucosal epithelium ลดลง
-
-
-
หลอดอาหารกระเพาะและลำไส้
การเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหารและลำไส้ลดน้อยลง เนื่องจาก แรงดันจากมดลูกที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ดันเบียดกระเพาะและลำไส้ให้ไปด้านข้างและด้านหลังมากขึ้น กดเบียดไส้ติ่งให้ถูกดันขึ้นบนและออกไปทางด้านข้าง มีทิศทางการเคลื่อนแบบหมุนทวนเข็มนาฬิกา
progesterone ที่เพิ่มขึ้นทำให้กล้ามเนื้อเรียบคลายตัว การเคลื่อนไหวของอาหารจะเคลื่อนผ่านกระเพาะช้าลง (gastric emptying time)และความตึงตัวของกล้ามเนื้อหูรูดลดลง
กล้ามเนื้อหูรูด cardiac sphincter หย่อนตัวจะทำให้อาหารและกรดไหลย้อนจากกระเพาะอาหารขึ้นไปยังหลอดอาหาร gastroesophageal reflux
ปวดแสบยอดอก (heart burn)กระเพาะอาหารจะหลั่งกรดและ pepsin ลดลงโดยเฉพาะใน 6 เดือนแรกของ การตั้งครรภ์เนื่องจากอิทธิพลของ estrogen และกลับสู่สภาพปกติในไตรมาสที่สาม การที่กระเพาะอาหารมีความเป็นกรดลดลงทำให้การย่อยอาหารที่กระเพาะอาหารลดลงด้วย
-
-
-
-
ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
-
กระดูกสันหลัง
ขนาดของมดลูกที่ใหญ่ขึ้น
ทำให้จุดศูนย์ถ่วงเลื่อนมาขว้างหน้าเพื่อรักษาสมดุลของ การทรงตัว กระดูกสันหลังมีการโค้งงอ(lordosis) หลังจึงแอ่น
-