Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและสรีรวิทยาของมารดาในระยะหลังคลอด(puerperium) -…
การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและสรีรวิทยาของมารดาในระยะหลังคลอด(puerperium)
ระยะหลังคลอด หมายถึง ตั้งแต่หลังคลอดถึงระยะที่อวัยวะต่างๆกลับคืนสู่สภาพปกติเหมือนก่อนตั้งครรภ์ ใช้เวลาประมาณ 6-8 wks.
ระยะหลังคลอดแบ่งเป็น 3 ระยะ
ทันทีหลังคลอด(puerperium immediate)คือระยะ 24 ชั่วโมงหลังคลอด
หลังคลอดระยะต้น (Puerperium early) คือระยะ 2 – 7 วันหลังคลอด
หลังคลอดระยะปลาย (Puerperium late) คือระยะที่นับจากสัปดาห์ที่ 2 – 6 หลังคลอด
ระบบอวัยวะสืบพันธุ์
มดลูก (Uterus)
ระดับของมดลูก
หลังคลอดทันทีอยู่ระหว่างสะดือกับหัวเหน่า มีน้้าหนักประมาณ1,000 กรัม
1 ชั่วโมงต่อมา อยู่ระดับสะดือ
2 วันหลังคลอดมดลูกจะหดรัดตัวและลดขนาดลงวันละ ½ - 1 นิ้ว
7 วันหลังคลอด อยู่ระหว่างหัวเหน่ากับสะดือ หนักประมาณ 500 กรัม
2 สัปดาห์หลังคลอด อยู่ระดับหัวเหน่าหรือคลำไม่พบทางหน้าท้องมีน้้าหนักประมาณ 300
กรัม
6 สัปดาห์หลังคลอดมีน้้าหนัก 50 กรัม
การกลับคืนสู่สภาพเดิม อาศัยขบวนการ 2 อย่าง คือ
การย่อยสลายตัวเอง Autolysis
ลดระดับลงของ Estrogen และ Progesterone หลั่งน้้าย่อยพวกโปรทีโอไลติก (Proteolytic enzyme) ทำให้เกิดการแตก
ตัวของใยกล้ามเนื้อ
การขาดเลือดมาหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อมดลูก Ischemia
เกิดจากการบีบรัดตัวของ
กล้ามเนื้อมดลูก ท้าให้มีการบีบกดเส้นเลือด เลือดมาเลี้ยงมดลูกลดลง ทำให้มดลูกเล็กลง
อาการปวดมดลูก(Afterpain)
การหดรัดตัวและคลายตัวของกล้ามเนื้อมดลูก
เกิดในหญิงครรภ์หลังส่วนในครรภ์แรกปกติจะไม่มีอาการปวดมดลูก
อาการปวดมดลูกปกติจะไม่เกิน
72 ชั่วโมง
เยื่อบุโพรงมดลูกและบริเวณรกเกาะ
หลังจากรกและเยื่อหุ้มเด็กคลอดแล้วจะเกิดรอยแผลที่บริเวณรกลอกตัว การหายของแผลเกิดจากเยื่อบุมดลูก(Endometrial tissue) เจริญขึ้นมาแทนที่ดิซิดิวอะเบซัลลิส (Decidua
basalis)
น้้าคาวปลา (Lochia)
เป็นน้้าเลือดปนน้้าเหลืองมีกลิ่นเฉพาะไม่เหม็นเน่า 240 – 480 ซีซีและจะค่อยๆจางลงจนหมดไปภายใน 7 –
21 วันหลังคลอด
แบ่งเป็น 3 ระยะ
Lochia rubra 2 – 3 วันแรกหลังคลอด ลักษณะสีแดงคล้้าและข้น
Lochia serosa วันที่ 4 – 9 ลักษณะน้้าคาวปลาสีจะจางลงเป็นสีชมพูสีน้้าตาลหรือค่อนข้าง
เหลืองมีมูกปน
Lochia alba วันที่ 10 เป็นสีเหลืองจางๆหรือสีขาว
ปากมดลูก
รูปากมดลูกที่เป็นรูปวงกลมเมื่อก่อนตั้งครรภ์จะเปลี่ยนแปลงเป็นรูปยาวรี
ช่องคลอดจะค่อยๆลดขนาดลง ในนระยะแรกจะพบช่องคลอดยืดขยาย นุ่ม ผนังช่องคลอดเรียบ จนสัปดาห์ที่ 3 จึงปรากฎรอยย่น(rugae)
ขอบเยื่อพรหมจารีย์ (Hymenal ring) จะขาดกระรุ่งกระริ่งเรียกว่า
(Carunculae myrtiforms)
ฝีเย็บ (Perineum)
จะมีอาการปวดบริเวณฝีเย็บฝีเย็บจะมี
ลักษณะบวมและอาจมีเลือดออกใต้ผิวหนังจากการที่หลอดเลือดฝอยฉีกขาด
Labia minora และ labia majora เหี่ยวและอ่อนนุ่มมากขึ้น
อบแผลด้วยแสง Infrared นาน 15- 20 นาทีโดยตั้งไฟห่าง 1 – 2 ฟุตก็จะกระตุ้นให้การไหลเวียนเลือดดีขึ้นลดอาการปวด
การมีประจำเดือน
ในรายที่ไม่เลี้ยงทารกด้วยนมมารดาจะกลับมีประจำเดือนใหม่ใน 7 – 9 สัปดาห์หลังคลอด และจะมีการตกไข่ครั้งแรกเมื่อสัปดาห์ที่ 10 – 11หลังคลอด
มารดาที่เลี้ยงทารกด้วยนมตนเองนาน 3 เดือนจะมีการตกไข่ครั้งแรกเมื่อสัปดาห์ที่ 17 หลังคลอด นาน 6 เดือนจะมีการตกไข่เมื่อสัปดาห์ที่ 28 หลังคลอด เริ่มมีประจำเดือนเมื่อสัปดาห์ที่ 30 –
36 หลังคลอด
เต้านม
ชนิดน้ำนม แบ่งเป็น 3 ชนิด
1.หัวน้ำนม (colostrum) จะเริ่มผลิตใน 2 – 3 วันแรกหลังคลอดมีสีเหลืองข้นซึ่งเกิดจากสารเบตาแคโรทีน มี Ig A ที่คุ้มกันเชื้อโรค
2.น้้านมระยะปรับเปลี่ยน (transitional milk)วันที่ 7 – 10 หลังคลอดไปจนถึง 2สัปดาห์หลังคลอด พลังงานจะมากขึ้นกว่า colostrum
3.น้้านมแม่ (true milk) เริ่มประมาณ 2 สัปดาห์หลังคลอด มีส่วนประกอบของน้ำมากถึงร้อยละ87 หลังจากผ่านการย่อยแล้วของเสีย
ที่มาจากนมแม่จะต้องขับถ่ายทางไต (renalsolute load)
ระบบต่อมไร้ท่อ
Placental hormone
จะลดลงอย่างรวดเร็วภายใน24 ชั่วโมง ตรวจหาระดับ
HCS ไม่ได้ ปลายสัปดาห์แรกหลังคลอดระดับ HCG จะลดลง ทดสอบการตั้งครรภ์จากปัสสาวะจะได้ผลลบ
ภายใน 3 ชั่วโมงหลังคลอดระดับเอสโตรเจนจะลดลงต่ำสุดตรวจไม่พบในปัสสาวะประมาณวันที่ 4หลังคลอด มารดาที่เลี้ยงบุตรด้วยน้้านมตนเองเอสโตรเจนอาจกลับเข้าสู่ระดับปกติค่อนข้างช้า
โปรเจสเตอโรนในพลาสมาจะลดลง วันที่ 3 หลังคลอดจะไม่สามารถตรวจพบโปรเจสเตอโรน เริ่มมีการผลิตอีกครั้งเมื่อมีการตกไข่ครั้งแรกหลังคลอด
Pituitary hormone
มารดาที่ไม่เลี้ยงบุตรด้วยน้้านมตนเองระดับโพรแลคทินจะลดลง การให้บุตรดูดนมจะทำให้โพรแลคทินเพิ่มขึ้น ขึ้นกับจำนวนครั้งที่ให้บุตรดูดนมในแต่ละวัน อยู่ในระดับปกติประมาณเดือนที่ 6 ถ้าให้บุตรดูดนมเพียง 1 – 3 ครั้งต่อวัน
ระดับFSH และ LH จะต่ำมากในวันที่ 10 – 12 หลังคลอด
Growth hormone
อยู่ในระดับต่้าตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ตอนท้ายๆไปจนถึง 1 สัปดาห์หลังคลอด
หญิงระยะหลังคลอดจะมีระดับน้้าตาลในเลือดต่้าภายในสัปดาห์แรกหลังคลอด หญิงระยะหลังคลอดที่เป็นเบาหวานก็ต้องการอินสุลินต่ำลง
ต่อมไทรอยด์จะกลับสู่ภาวะปกติเหมือนตอนไม่ตั้งครรภ์ภายใน 6 สัปดาห์หลังคลอด
ระบบหัวใจและหลอดเลือด
หลังคลอดปริมาณเลือดจะลดลง ประมาณ 3 – 4 สัปดาห์หลังคลอดปริมาณเลือดจึงจะลดลงสู่ระดับปกติเหมือนก่อนตั้งครรภ์
ส่วนมากระหว่างคลอดจะเสียเลือดประมาณ300- 400 ซีซีในการคลอดทางช่องคลอด
การปรับตัวของหญิงหลังคลอดต่อการเสียเลือด มี 3 ประการ
การไหลเวียนของเลือดระหว่างมดลูกกับรกสิ้นสุดลง
หน้าที่ในการผลิตฮอร์โมนของรกสิ้นสุด
มีการเคลื่อนย้ายของน้้านอกหลอดเลือด
ระบบเลือด
ปริมาณเลือด (Blood volume) จะลดลงทันที หลังคลอดโดยปริมาณเลือดจะลดลงจากระดับ 5 – 6 ลิตรจนถึงระดับ 4 ลิตรเท่าคนปกติใน 4 สัปดาห์
การไหลเวียนเลือดใน 2–3 วันแรกหลังคลอดจะเพิ่มขึ้นประมาณ 15–30เปอร์เซนต์จากการไหลกลับของเลือดหลังรกคลอด
ใน 3 วันแรกหลังคลอดค่าฮีมาโตคริตอาจสูงขึ้นเล็กน้อยเนื่องจากมีการลดระดับของปริมาณน้้าเหลือง (Plasma) มากกว่าจ้านวนของเม็ดเลือดจะลดลงสู่สภาพปกติภายใน 4 – 5 สัปดาห์หลังคลอด
สารที่เป็นองค์ประกอบในการแข็งตัวของเลือด
(Clotting Factor) ยังคงมีค่าสูงอยู่จะลดลงสู่ระดับปกติใน2- 3สัปดาห์หลังคลอดจะมีผลเสียถ้าไม่มีการเคลื่อนไหว จะกระตุ้นให้เกิดหลอดเลือดอุดตัน (Thromboembolism)ได้ง่ายขึ้น
ความดันเลือดและชีพจร
อาจมีค่าความดันโลหิตต่ำได้จากการเสียเลือดมากกว่าปกติจนทำให้ปริมาณเลือดน้อยเกินไป (Hypovolemia) มีการลดลงของความดันในช่องท้อง ให้เลือดไปรวมตัวบริเวณอวัยวะในช่องท้อง ใช้เวลานาน 2 – 3 ชั่วโมงเพื่อปรับปริมาณเลือดอยู่ในภาวะสมดุล
ชีพจรในช่วงสัปดาห์แรกหลังคลอดต่ำกว่าค่าเฉลี่ยปกติคือประมาณ 50 – 70 ครั้งต่อนาทีจากภายหลังคลอดรกค่อยๆเพิ่มขึ้นเข้าสู่ระดับปกติภายใน7 – 10 วันหลังคลอด
มีโอกาสเกิดภาวะความดันโลหิตต่้าจากการเปลี่ยน
ท่าในทันที (Orthostatic hypotension)
ระบบหายใจ
ความจุภายใน
ช่องท้องและกะบังลมลดลงปอดขยายได้ดีขึ้นการหายใจสะดวก
ระบบทางเดินปัสสาวะ
ท่อปัสสาวะและกระเพาะปัสสาวะ
กระเพาะปัสสาวะจะบวม ช้ำรอบๆรูเปิดของท่อปัสสาวะ ความตึงตัวของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะลดลง จึงมักถ่ายปัสสาวะ
ลำบาก ถ่ายได้แต่ไม่หมดมีปัสสาวะค้างอยู่หลังถ่ายปัสสาวะ มีแนวโน้มที่จะเกิดการอักเสบของทางเดินปัสสาวะโดยการสวนปัสสาวะ ควรกระตุ้นให้ถ่ายปัสสาวะทุก 4 – 6 ชั่วโมง
การทำงานของไต(Renal function)
ระดับฮอร์โมนลดลงไตก็จะทำงานลดลง กลูโคสยูเรีย(Glucosuria)ที่เกิดขึ้นในระยะตั้งครรภ์จะหาย Blood urea nitrogenจะเพิ่มขึ้นในระยะหลังคลอด จากการแตกตัวของใยกล้ามเนื้อมดลูก
มารดาเริ่มถ่ายปัสสาวะมาก ปัสสาวะที่ออกจากร่างกายรวมกับน้ำที่สูญเสียทางเหงื่อจะทำให้น้ำหนักของมารดาลดลง ประมาณ 2 - 2.5 กิโลกรัม การท้างานของไตจะกลับสู่สภาพปกติใน 4 – 6 สัปดาห์
ระบบทางเดินอาหาร
กระหายน้ำในระยะ 2 – 3 วันแรก เพราะสูญเสียน้ำระหว่างคลอด หลังคลอดมีแนวโน้มที่จะท้องผูกจากสูญเสียแรงดันภายในช่องท้อง กล้ามเนื้อหน้าท้องหย่อน การเคลื่อนไหวของลำไส้ช้า และไม่กล้าเบ่งเพราะกลัวแผลแยกหรือกลัวเจ็บแผล ล้าไส้จะทำงานได้ดีปลายสัปดาห์แรกหลังคลอด
ระบบกล้ามเนื้อและโครงกระดูก
กล้ามเนื้อมีอาการเมื่อยและปวดกล้ามเนื้อบริเวณแขนขา
ไหล่และคอ เพราะต้องออกแรงเบ่ง หลังคลอดรกฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนลดต่ำลง ทำให้กล้ามเนื้อหน้าท้องจะนุ่มหยุ่นไม่แข็งแรง บางรายอาจมีกล้ามเนื้อหน้าท้องแยก (diastasis recti abdominis)
โครงกระดูก ฮอร์โมนรีแลคซิน ทำให้บริเวณข้อต่อต่างๆ มีการยืดขยายมีการเคลื่อนไหวของข้อต่อมากเกินไป หลังคลอด 2 – 3 วันแรกระดับฮอร์โมนรีแลคซินค่อยๆลดลงแต่ยังคงเจ็บปวดบริเวณตะโพกและข้อต่อเข้าสู่สภาพปกติต้องใช้เวลาประมาณ 6 – 8 สัปดาห์หลังคลอด
ระบบภูมิคุ้มกัน
ภูมิคุ้มกันต่อปฏิกิริยาการไม่เข้ากันของหมู่เลือด ในช่วงที่เจ็บครรภ์และคลอด เสี่ยงต่อการส่งผ่านเลือดจากทารกไปสู่มารดาในมารดาที่มีRh- เพราะจะได้รับเซลล์จากทารกที่มี Rh+ ระบบภูมิคุ้มกันของมารดาจะสร้างแอนติบอดีเพื่อตอบสนองต่อแอนติเจนอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในการตั้งครรภ์
ครั้งต่อไปป้องกันการสร้างแอนติบอดีโดยการฉีดแอนติ Rh
อาจเกิดจากหมู่เลือด ABO ซึ่งร้อยละ5ของทารกจะมีภาวะเลือดไม่เข้ากันจนทำให้เกิดเม็ดเลือดแดงแตก ทารกจะแสดงอาการตัวเหลืองภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอดและต้องได้รับการส่องไฟรักษา (Phototherapy)
ระบบผิวหนัง
ฝ้าจะหายไป แต่สีที่เข้มของลานนม เส้น
กลางหน้าท้อง (Linea nigra) และรอยแตกของผิวหนังบริเวณผนังหน้าท้อง(Striae gravidarum) จะไม่หายไป แต่สีอาจจางลง ร่างกายจะขับน้ำออก
ทางผิวหนังจำนวนมาก หลังคลอดจึงมีเหงื่อออก อาจเกิดขึ้นในกลางคืน
อุณหภูมิ
Reactionary Feverเกิดจากการขาดน้ำ ขณะคลอดอุณหภูมิสูงขึ้นประมาณ 37.8 องศาเซลเซียส แต่ไม่เกิน 38 องศาเซลเซียส ลดลงสู่ปกติใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด
Milk Feverเกิดจากนมคัด จะพบในวันที่ 3 – 4 หลังคลอด จะสูงกว่า38องศาเซลเซียส หายใน 24 ชั่วโมง
Febile Feverเกิดจากมีการติดเชื้อระบบใดระบบหนึ่งของร่างกายมารดาอุณหภูมิจะสูงกว่า 38องศาเซลเซียส ติดต่อกัน 2 วันหรือมากกว่า (ไม่นับ 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด)
การเปลี่ยนแปลงด้านจิตสังคม
กระบวนการในการปรับตัว แบ่ง 3 ระยะ
Taking – in phase เริ่มเข้าสู่บทบาทการเป็นมารดา1 – 3 วันแรกหลังคลอด อ่อนล้าไม่สุขสบายจากปวดมดลูก เจ็บปวดแผลฝีเย็บ คัดตึงเต้านม ในช่วงนี้จึงสนใจแต่ตนเอง มีความต้องการพึ่งพาผู้อื่น ประคับประคองทางด้านจิตใจและร่างกายของมารดา ควรเริ่ม
อธิบายธรรมชาติของทารกให้มารดาได้รับทราบ
Taking – hold phase อยู่ในช่วง 3 – 10 วันหลังคลอดช่วยเหลือตนเองได้มากยิ่งขึ้น เริ่มสนใจเกี่ยวกับการดูแลทารกสนใจบุคคลอื่นในครอบครัวเพิ่มขึ้น ควรให้คำแนะนำเรื่องการปฏิบัติตัวหลังคลอดและการดูแลทารก คอยให้กำลังใจ
Letting-go phase แสดงบทบาทได้ดี เริ่มตั้งแต่วันที่ 10 หลัง คลอด ชี้แนะแนวทางให้มารดาหลังคลอดและสามีได้ร่วมกันวางแผนการดำเนินชีวิตการปรับตัวเข้าสู่บทบาทใหม่และการมีสมาชิกในครอบครัวเพิ่มขึ้น มารดาหลังคลอดเริ่มมีความต้องการที่จะพบหรือพูดคุยกับบุคคลภายนอก