Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีความสูงอายุ - Coggle Diagram
ทฤษฎีความสูงอายุ
ทฤษฎีความสูงอายุเชิงจิตสังคม
ทฤษฎีอีริกสัน
ระยะที่2 2-3ปีความอิสระกับความละอายความสงสัย
ระยะที่3 3-5ปี ความคิดริเริ่มกับความรู้สึกผิด
ระยะที่1แรกเกิด-ปีความเชื่อถือไว้วางใจกับไม่มีความเชื่อถือไว้วางใจ
ระยะที่4 6ปีความขยันหมั่นเพียรกับความรู้สึกด้อย
ระยะที่5 วัยรุ่นการทำงานเข้าใจความรู้สึกตนเองกับความสับสน
ระยะที่6 เริ่มเป็นผู้ใหญ่ความใกล้ชิดสนิทสนมความเป็นปึกแผ่นความโดดเดี่ยวอ้างว้าง
ระยะ7 25-65ปี ผู้ใหญ่หรือวัยกลางคนการกำเนิดและเลี้ยงดูบุตรการหมกมุ่นใฝ่ใจ ทะเยอทะยาบ ความคิดสร้างสรรค์ต้องการความสำเร็จในชีวิต
ระยะ8 วัยชราความมั่งคั่งสมบูรณ์ความหมดหวังทอดอาลัย
ทฤษฎีของเพค
ความรู้สึกของผู้สูงอายุขึ้นอยู่กับงานที่มีทําอยู่
ผู้สูงอายุจะรู้สึกภาคภูมิใจและเห็นว่าตนเองมีคุณค่า
แต่เมื่อเกษียณอายุแล้วความรู้สึกจะลดลง
ผู้สุงอายุยอมรับว่าเมื่ออายุมากขึ้น สมรรถภาพของร่างกายเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติความแข็งแรงลดลง
ยอมรับเรื่องความตายโดยไม่รู้สึกกลัว
ทฤษฎีความต่อเนื่อง
เมื่อบุคคลเข้าสู่วัยสูงอายุแต่ละคนจะพยายามคงความต่อเนื่องในเรื่องของนิสัย ความชอบ ความเชื่อค่านิยม และปัจจัยอื่นๆที่ส่งผลต่อบุคลิคของเขาในวัยต้นๆของชีวิต
ทฤษฎีความต้องการพื้นฐานของมาสโลว์
ความต้องการพื้นฐานได้แก่ ความต้องการทางร่างกาย ความปลอดภัย ความรัก การมีคุณค่าในตนเองและการยอมรับจากผู้อื่น เมื่ออายุมากขึ้นความต้องการตอบสนองแล้ว จะเป็นผู้ที่มีอำนาจใจตนเอง
ทฤษฎีการมีกิจกรรมร่วมกัน
Havighurst อธิบายว่าการที่ผู้สูงอายุจะประสบความสําเร็จได้ (Successful aging) ผู้สูงอายุต้องมีการทํากิจกรรมอยู่เสมอไม่ถอนตัวออกจาสังคมและสิ่งแวดล้อม ผู้สูงอายุจะมีความพึงพอใจในชีวิต ถ้ายังคงมีกิจกรรมในสังคมจะช่วยส่งเสริมผู้สูงอายให้มีอัตโนทัศน์ดีทําให้รู้สึกว่าตนเองเป็นสวนหนึ่งของสังคม
ทฤษฎีของจุง
ผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะสามารถยอมรับในการกระทำที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นความสำเร็จหรือข้อบกพร่อง ที่เกิดขึ้นกับเขาในอดีต
ทฤษฎีการทดถอยจากสังคม
เมื่อถึงวัยสูงอายุจะสามารถยอมรับในบทบาทและหน้าที่
ของตนที่ลดลงทำให้ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีลักษณะ
แยกตัวออกจากสังคมทีละน้อย หรือต้องการปล่อยวางเป็นอิสระ
ทั้งนี้อาจอาจเนื่องจากสัมพันธภาพของผู้สูงอายุและ
บุคคลรอบข้องมีน้อยลง
ทฤษฎีบูเลอร์
แต่ละคนจะมเป้าหมายในชีวิตที่แตกต่างกัน ซึ่งทุกคนจะใช้ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต ไม่ว่าจะเป็นเป้าหมายที่สามารถบรรลุเป้าหมายหรือล้มเหลวนำมาปรับปรุงแก้ไขในปัจจุบันโดยผ่านกระบวนการทบทวนชีวิต
ทฤษฎีความสูงอายุเชิงชีวภาพ
ทฤษฎีความสูงอายุที่ไม่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรม
ทฤษฎีความเสื่อมโทรม
สิ่งมีชีวิตคล้ายเครื่องจักร เมื่อมีการใช้งานมากๆก็จะเกิดความผิดปกติ แต่มนุษย์สามารถที่จะซ่อมแซมตัวเองและใช้งานต่อไปได้โดยกระบวนการสร้างใหม่เพื่อทดแทน
ทฤษฎีการสะสม
ความสูงอายุเป็นผลมาจากการสะสมที่เป็นอันตรายต่อเซลล์สารนี้มีสีดำเรียกว่าLipofuscin เมื่อมีการคั่งค้างของของเสีย สะสมในเวลานาน ทำให้เซลล์เปลี่ยนแปลงรูปร่างและของเสียทางเคมี
ทฤษฎีอนุมูลอิสระ
ความสูงอายุเกิดจากร่างกายมีการสะสมของอนุมูลอิสระมากขึ้นจนเกิดเป็นสารหรือโมเลกุลที่มีฤทิ์ทำลาย อนุมูลอิสระเกิดจาก Metabolismของร่างกายเอง
ทฤษฎีเชื่อมตามขวาง
ความสุงอายุเกิดขึ้นจากมีการเชื่อมตามขวางของดมเลกุลของโปรตีนส่วนใหญ่จะพบการเชื่อมตามขวางมากที่สุดในอิลาสตินและคอลลาเจน ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อเกรี่ยวพันธ์ในร่างกายของสิ่งมีชีวิต เป็นส่วนประกอบของโครงสร้างร่างกายช่วยพยุงและให้ความแข็งแกร่งเนื้อเยื้อเหล่านี้
ทฤษฎีเกี่ยวกับความเครียดและการปรับตัว
ปฏิกิริยาของร่างกายต่อความเครียด มีผลรบกวนการทำงานของเซลล์ และทำให้เซลล์ตายได้ ภาวะที่ต้องเผชิญกับความเครียดบ่อยๆจะทำให้เกิดความสูงอายุได้
ทฤษฎีความสูงอายุที่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรม
ทฤษฎีพันธุกรรมทั่วไป
อายขัยของสัตว์แต่ละชนิดไม่เท่ากัน เพศชายจะมีโครโมโซมxy เพศหญิงมีโครโมโซมxx เพศหญิงมีอายุยืนกว่า
ทฤษฎีเกี่ยวข้องกับพันธุกรรมในเซลล์
ยีนเป็นตัวควบคุมลักษณะทางพันธุกรรมเรียงตัวบนโครโมโซมยีนจำเพาะคู่หนึ่งจากพ่อและแม่เป็นตัวกำหนดลักษณะคนคนหนึ่งถ้าโมเลกุลของ DNA ถูกทําลายไปจะทําให้สารประกอบอยู่ถัดตำแหน่งไปได้ยีนก็จะมีความผิดปกติมีผลทำให้ปฎิกิริยาในร่างกายต้องการเอนไซม์ การทำหน้าที่ของเซลล์จะเสียไป
ทฤษฎีผ่าเหล่า
เกิดขึ้นเนื่องจากรังสีทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของDNAเป็นตัวเร่งให้แก่เร็วขึ้น รังสีจะทำให้โครโมโซมผิดปกติและมีจำนวนมากขึ้น เมื่อมีการผ่าเหล่าสะสมเพิ่มมากขึ้นจนถึงจุดที่เสียหน้าที่ของยีน โครโมโซม ทำให้ร่างกายไม่สามารถผลิตโปรตีนได้ เซวล์จะตาย
ทฤษฎีความผิดพลาด
ถ้ามีความผิดพลาดเกิดขึ้นในขั้นตอนของการถ่ายทอดข้อความในการสังเคราะห์โปรตีนหรือเอนไซม์ซึ่งมีลักษณะและคุณสมบัติผิดไปจากเดิมและไม่สามารถทำหน้าที่ได้เป็นเหตุให้เซลล์ตาย เอนไซม์ส่วนใหญ่จะทำหน้าที่ได้น้อยลงเมื่ออายุมากขึ้น เอนไซม์บางชนิดทำงานได้มากขึ้น
ทฤษฎีวิวัฒนาการ
ความสูงอายุมีการปรับตัวตาม วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต มีการสร้างสิ่งที่ดีกว่าเพื่อความอยู่รอดในสิ่งแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
ทฤษฎีนาฬิกาชีวภาพ
ความสูงอายุถูกกําหนดไว้โดยรหัสที่อยู่ในยีนกำหนดให้เซลล์ต่างๆหรือระบบแก่ลงเมื่อถึงเวลาที่กำหนด
ทฤษฎีความสูงอายุที่เกี่ยวข้องกับสรีรวิทยา
ทฤษฎีภูมิคุ้มกัน
ระบบภูมิคุ้มกันประกอบด้วยส่วนต่างๆหลายส่วนทำหน้าที่ป้องกันร่างกาย จุลินทรีย์ที่ได้รับจากสิ่งแวดล้อมภายนอกและเซลล์แปลกปลอมซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกายของตนเอง เช่น การติดเชื้อ เซลล์มะเร็ง
ทฤษฎีเกี่ยวข้องกับระบบประสาทและต่อมไร้ท่อ
ต่อมใต้สมอง โดยเฉพาะต่อมใต้สมองส่วนหน้า จะเสื่อมหน้าที่ลงอย่างรวดเร็ว ฮอร์โมนต่ำ
ต่อมไทรอยด์จะมีขนาดเล็กลงหลังอายุ 50 ปีขึ้นไป
ตับอ่อน จะผลิตอินซูลินได้น้อยลง เป็นผลให้ระดบน้ำตาลในเลอดสูงขึ้น
อ้างอิง
มหาวิทยาลัยบูรพา.(2556).Disengagement theory.สืบค้นจาก :
http://digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/51928297/chapter2.pdf
. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2564
หนึ่งฤทัย โพธิ์ศรี.(2559).แนวคิดและทฤษฎีความสูงอายุ.
สืบค้นจาก :
http://www.elnurse.ssru.ac.th/nuengruethai_po/pluginfile.pdf
. สืบค้นเมื่อวันที่10พฤษภาคม 2564.
นางสาวปาณี ตนประโคน ชั้นปีที่2
รหัสนักศึกษา621801048 เลขที่45