Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Urolithiasis, นางสาวศศิกานต์ วังคะวงศ์ 62110050
นางสาวกนกวรรณ ธรรมพิทักษ์…
Urolithiasis
การพยาบาล
5) บันทึกจำนวนสารน้ำที่ได้รับและที่ขับออกจากร่างกายในแต่ละวัน และบันทึกลักษณะของปัสสาวะที่มองเห็นได้ชัดเจน เช่น ปัสสาวะขุ่นมีหนอง มีตะกอน มีเลือดปน เป็นต้น
-
2) อธิบายและให้ข้อมูลเกี่ยวกับการรักษา ขั้นตอนการเตรียมทำผ่าตัดโดยทั่วไป และการปฏิบัติตนทั้งก่อนและหลังผ่าตัดที่เหมาะสม
3) ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับการระบายปัสสาวะทางสายยางต่างๆ ที่เหมาะสมโดยยึดหลักปราศจากเชื้อ เช่น การมีสายยางระบายน้ำปัสสาวะจากกรวยไต จากกระเพาะปัสสาวะเป็นต้น
4) ดูแลและป้องกันภาวะตกเลือดหลังผ่าตัด โดยการสังเกตบาดแผล ท่อระบาย สายยาง ปัสสาวะที่สวนคาไว้ บันทึกสัญญาณชีพเป็นระยะเพื่อบ่งชี้ถึงอาการแสดงของภาวะตกเลือด
6) การดูแลเกี่ยวกับบาดแผล เพื่อป้องกันและลดการติดเชื้อ โดยเฉพาะบาดแผลที่มีเลือดและน้ำปัสสาวะซึมออกมาอยู่ตลอดเวลา ต้องหมั่นทำความสะอาดแผลอยู่เสมอ
7) การลดความเจ็บปวดหลังผ่าตัดและอาการปวดจากการมีปัสสาวะคั่งค้าง ควรหาสาเหตุและแก้ไข หรือรายงานแพทย์ถ้ามีเลือดออกมากและมีลิ่มเลือดอุดตันในทางเดินปัสสาวะหรือสายยางระบายปัสสาวะ
8) การกระตุ้นให้ผู้ป่วยฟื้นฟูสภาพโดยเร็ว (early ambulation) โดยเฉพาะการฝึกไอและการหายใจเข้าออกลึกๆ ในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด
อาการ
การปัสสาวะผิดปกติคล้ายกับอาการของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ เช่น ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะมีเลือดปน
-
-
หากก้อนนิ่วไปครูดหรือเสียดสีกับผนังกระเพาะปัสสาวะหรือท่อปัสสาวะจนเกิดแผล อาจทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ ซึ่งผู้ป่วยอาจมีไข้ร่วมด้วย
ภาวะแทรกซ้อน
ทำให้มีอาการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะจากการติดเชื้อ ซึ่งถ้าปล่อยทิ้งไว้เรื้อรังหรือก้อนนิ่วอยู่ในตำแหน่งอุดกั้นปากท่อไตที่เปิดเข้ากระเพาะปัสสาวะ อาจทำให้กรวยไตอักเสบและไตวาย
ทางเดินปัสสาวะอุดตันจากก้อนนิ่วหลุดเข้าท่อปัสสาวะ ทำให้มีอาการปวดท้องรุนแรง ปวดเบ่งปัสสาวะมาก ปัสสาวะไม่ออก ทั้งนี้อาการต่าง ๆ จะเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันและมักรุนแรงจนต้องพบแพทย์เป็นการฉุกเฉิน
การอักเสบติดเชื้อของกระเพาะปัสสาวะจากนิ่วอาจลุกลามจนเกิดการอักเสบติดเชื้อของไต หรือการติดเชื้อในกระแสเลือดหรือภาวะพิษเหตุติดเชื้อได้
สาเหตุ
เกิดได้ 2 รูปแบบคือ เป็นนิ่วจากไตหรือท่อไตที่หลุดลงมาสะสมเพิ่มขนาดในกระเพาะปัสสาวะ และเป็นนิ่วที่เกิดในกระเพาะปัสสาวะเองซึ่งในกรณีนี้มักเกิดจากการขับถ่ายปัสสาวะออกไม่หมดด้วยสาเหตุบางประการ เช่น มีภาวะต่อมลูกหมากโตกีดขวางทางเดินปัสสาวะ ท่อปัสสาวะตีบตัน รวมถึงการที่กระเพาะปัสสาวะทำงานผิดปกติจนบีบตัวได้ไม่ดี ทำให้มีน้ำปัสสาวะคั่งค้างในกระเพาะปัสสาวะ นานวันเข้าก็จะเกิดการตกตะกอนแล้วค่อยๆ โตขึ้นเป็นก้อนนิ่ว
นอกจากนี้ นิ่วในกระเพาะปัสสาวะยังอาจเกิดได้จากสาเหตุอื่นๆ ได้แก่ มีการอักเสบติดเชื้อซ้ำๆ ในระบบทางเดินปัสสาวะ มีพฤติกรรมการรับประทานอาหารบางชนิดมากเกินไปทำให้ปัสสาวะมีสารตกตะกอนหรือเกลือแร่เข้มข้นมาก เช่น หน่อไม้ฝรั่ง ยอดผัก
เครื่องในสัตว์ รวมถึงการดื่มน้ำน้อยเกินไปด้วย
นิ่วในกระเพาะปัสสาวะเป็นโรคที่มักพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง เนื่องจากระบบทางเดินปัสสาวะของผู้ชายมีขนาดยาวและคดเคี้ยวกว่า ตะกอนนิ่วจึงมีโอกาสตกค้างได้มากกว่า
การรักษา
- รักษาที่สาเหตุของโรค เนื่องจากการเอานิ่วออกเพียงอย่างเดียวโดยไม่ได้แก้ไขที่ต้นเหตุของการเกิดโรคอาจทำให้ผู้ป่วยกลับมาเป็นนิ่วซ้ำได้อีก ซึ่งการรักษาที่สาเหตุนี้ยกตัวอย่างเช่น
หากนิ่วเกิดจากการมีปัสสาวะคั่งค้างในกระเพาะปัสสาวะ แพทย์ต้องตรวจวินิจฉัยให้แน่ชัดว่าการคั่งค้างนั้นเกิดจากอะไรแล้วทำการรักษาไปพร้อมกัน เช่น ผ่าตัดต่อมลูกหมากโดยใช้วิธีส่องกล้องในกรณีที่ เกิดจากต่อมลูกหมากโต หรือทำการขยายท่อปัสสาวะในกรณีที่มีการตีบตัน
หากนิ่วเกิดจากการที่กระเพาะปัสสาวะทำงานผิดปกติ เช่น บีบตัวไม่ดี ผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องใช้สายสวนในการช่วยปัสสาวะ
- การเอานิ่วออก ในกรณีที่ก้อนนิ่วมีขนาดเล็กมาก แพทย์อาจเริ่มจากการแนะนำให้ผู้ป่วยดื่มน้ำมากๆ เพื่อให้ร่างกายขับนิ่วออกมาเองตามธรรมชาติ แต่โดยทั่วไปแล้วการเอานิ่วออกสามารถทำได้ 3 วิธีดังต่อไปนี้
- การส่องกล้องผ่านท่อปัสสาวะ (Cystolitholapaxy) โดยแพทย์จะส่องกล้องเข้าไปในท่อปัสสาวะเพื่อขบนิ่วให้แตกเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วให้หลุดไหลออกมากับน้ำปัสสาวะ
- การสลายนิ่วด้วยคลื่นกระแทก (Extracorporeal Shock Wave Lithotripsy : ESWL) เป็นการใช้คลื่นเสียงทำให้เกิดแรงกระแทกที่ก้อนนิ่วจนก้อนนิ่วแตกเป็นชิ้นเล็กๆ และหลุดไหลออกมากับน้ำปัสสาวะ
- การผ่าตัด ใช้ในกรณีที่ก้อนนิ่วมีขนาดใหญ่ หรือเป็นนิ่วเขากวางที่มีกิ่งก้าน
หลายกิ่งจนไม่สามารถเอาออกด้วยวิธีอื่นได้
พยาธิสภาพ
พยาธิสภาพของการเกิดนิ่ว เกิดเนื่องจากปัสสาวะมีความเข้มข้น และตกตะกอนมาก (Hypersaturation) โดยเฉพาะตะกอนของเกลือแร่ที่เป็นส่วนประกอบของนิ่ว แล้วจะค่อยๆพอกตัวขึ้นทีละน้อยจนเกิดเป็นนิ่วโตขึ้น การค่อยๆพอกตัวของเกลือแร่เหล่านี้ต้อง อาศัยปัจจัยอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น สภาวะที่มีการคั่งค้างของน้ําปัสสาวะ หรือเวลาที่น้ำปัสสาวะ ไหลผ่านไปช้ามาก
(Prolonged Transit-Time) สภาวะที่มีกรดหรือเกลือยูริคสูงในน้ําปัสสาวะ ก็เป็นปัจจัยเอื้ออํานวยให้มีการพอกตัวของก้อนนิ่ว
การวินิจฉัย
แพทย์สามารถตรวจและวินิจฉัยโรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะได้โดยการซักประวัติและตรวจร่างกายโดยเฉพาะบริเวณระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง ร่วมกับการตรวจปัสสาวะ การเอกซเรย์ภาพช่องท้องในส่วนของไตและกระเพาะปัสสาวะ รวมถึงอาจมีการตรวจอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น ตรวจอัลตราซาวนด์ หรือส่องกล้องตรวจกระเพาะปัสสาวะ
-