Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคซน-สมาธิสั้น (Attention Deficit Hyperactivity Disorder: ADHD) - Coggle…
โรคซน-สมาธิสั้น (Attention Deficit Hyperactivity Disorder: ADHD)
เป็นโรคที่พบอุบัติการณ์มากในปัจจุบัน โดยเฉพาะในวัยเด็กตอนต้นซึ่งเด็กจะมีลักษณะของอาการขาดสมาธิ (Inattention) มีอาการเหม่อลอย ไม่สามารถสนใจ และจดจ่อต่อกิจกรรมที่ทำ และ/ หรือมีอาการซน อยู่ไม่นิ่ง (Hyperactivity) โดยเคลื่อนไหว ชอบปีนป่ายโลดโผนมากกว่าเด็กปกติทั่วไป มีอาการหุนหันพลันแล่น (Impulsivity) ใจร้อน ซึ่งมักทำอะไรโดยไม่คิดถึงผลที่ตามมา และจะเป็นปัญหาเมื่อต้องทำตามกฎกติกา หรือการทำงานร่วมกับผู้อื่น
สาเหตุ
1) ปัจจัยทางพันธุกรรม
การเกิดโรคมีการถ่ายทอดภายในครอบครัว อัตราการพบ ADHD ในฝาแฝดไข่ใบเดียวกันร้อยละ 51 และในฝาแฝดไข่คนละใบ ร้อยละ 33 พี่ชายหรือน้องชาย ของเด็ก ADHD มีโอกาสเป็น ADHD สูงกว่าคนทั่วไป 5 เท่า
2.ปัจจัยทางชีวภาพที่อาจเป็นสาเหตุ ภาวะต่างๆ ที่มีผลต่อพัฒนาการของสมอง
ภาวะทุพโภชนาการ การติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์ การสูบบุหรี่ของมารดา ภาวะน้ำหนักแรกเกิด น้อย การได้รับสารโลหะหนัก โดยเฉพาะสารตะกั่ว เป็นต้น ความผิดปกติของสารสื่อประสาทพบว่ามี Dopamine และ Norepinephrine ต่ำกว่าปกติ
3.ปัจจัยทางสังคมและสิ่งแวดล้อม
การเลี้ยงดูและสภาพแวดล้อมภายในบ้านที่ไม่เหมาะสม ปัญหาด้านจิตใจของพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูไม่ได้เป็นสาเหตุโดยตรงแต่เป็นปัจจัยเสริมให้เด็กที่เป็น ADHD มีแนวโน้มที่จะแสดงอาการออกมาเด่นชัดและรุนแรง
อาการและอาการแสดง
1)อาการซุกซนอยู่ไม่นิ่ง (Hyperactivity)
2)อาการสมาธิสั้น (Inattention)มีลักษณะวอกแวก (Distraction) ต่อสิ่งกระตุ้นรอบข้าง จดจ่อกับเรื่องหนึ่งเรื่องใดไม่นาน ทำให้เล่นอะไรไม่นาน เปลี่ยนบ่อย ทำงานไม่เสร็จ บางครั้ง เหม่อลอย
3) อาการหุนหันพลันแล่น (Impulsivity)ยั้งตนเองไม่ค่อยได้ทั้งความคิดและพฤติกรรม ทำให้ดูเหมือนใจร้อน ก้าวร้าว หรือไม่รอบคอบ ประกอบกับอาการ ซุกซนอยู่ไม่นิ่งจึงอาจเกิดอุบัติเหตุได้ มักรอคิวไม่ค่อยได้ พูดแทรก โพล่ง หรือขัดจังหวะผู้อื่น
การวินิจฉัย
เด็กในช่วงอายุ 6-12 ปี ที่มาพบแพทย์ด้วยปัญหาการเรียนหรือปัญหาพฤติกรรมร่วมกับมีอาการซน อยู่ไม่นิ่ง ขาดสมาธิ เหม่อ ใจลอย หุนหันพลันแล่น ใจร้อน วู่วาม ควรนึกถึงโรคสมาธิสั้น
A. มีอาการอย่างน้อย 6 อาการขึ้นไปในข้อ ก และ/หรือข้อ ข เป็นเวลานานติดต่อกัน อย่างน้อย 6 เดือน
ก. อาการขาดสมาธิ (Inattentive symptoms)
1) ไม่สามารถจดจำรายละเอียดของงานที่ทำได้หรือทำผิดเนื่องจากขาดความรอบคอบ
2) ไม่มีสมาธิในการทำงานหรือการเล่น
3) ไม่สนใจฟังคำพูดของผู้อื่น
4) ไม่สามารถตั้งใจฟังและเก็บรายละเอียดของคำสั่งทำให้ทำงานไม่เสร็จหรือผิดพลาด
ข. อาการซน/หุนหันพลันแล่น (Hyperactivity/Impulsivity symptoms)
1) ยุกยิกอยู่ไม่สุขชอบขยับมือและเท้าไปมา
2) ชอบลุกจากที่นั่งเวลาอยู่ในห้องเรียนหรือในสถานที่ที่เด็กจำเป็นต้องนั่งเฉยๆ
3) ชอบวิ่งหรือปีนป่ายสิ่งต่างๆ
4) ไม่สามารถเล่นหรืออยู่เงียบๆ ได้
B. อาการต้องเกิดขึ้นก่อนอายุ 7 ปี
C. อาการปรากฏในสถานการณ์หรือสถานที่อย่างน้อย 2 แห่งขึ้นไป เช่น ที่โรงเรียน ที่ทำงาน หรือที่บ้าน
D. อาการต้องรบกวนการเรียน การเข้าสังคม หรืออาชีพการงานอย่างชัดเจน
E. อาการไม่ได้เกิดเนื่องจากผู้ป่วยกำลังป่วยด้วยโรคทางจิตเวชอื่นๆ เช่น pervasive developmental disorder, schizophrenia, psychotic disorder, mood disorder, anxiety disorder, dissociative disorder หรือ personality disorder
การซักประวัติและตรวจร่างกาย
การสัมภาษณ์ผู้ปกครอง โดยสัมภาษณ์ให้ครอบคลุมอาการของโรค ระยะเวลาของ อาการ อายุที่เริ่มมีอาการสถานการณ์ที่ผู้ป่วยมีอาการ และผลกระทบของอาการต่อการทำหน้าที่ด้านต่างๆ
การใช้แบบสอบถาม ADHD Rating Scale-IV
การตรวจร่างกาย เพื่อแยกโรคทางกายที่อาจเป็นสาเหตุ เช่น พิษจากสารตะกั่ว โรคไทรอยด์ รวมทั้งทดสอบการมองเห็นและการได้ยินเบื้องต้น
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ควรทำเฉพาะกรณีที่มีข้อบ่งชี้ทางคลินิกเท่านั้น
6) การสัมภาษณ์ครูถึงอาการของโรคสมาธิสั้น พฤติกรรมระหว่างเรียน ผลการเรียนและพฤติกรรมในโรงเรียน รวมทั้งผลกระทบต่อการเรียนและการเข้าสังคมของเด็ก
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล
1.บกพร่องด้านการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม เนื่องจากมีพฤติกรรมของโรคซน-สมาธิสั้น
2.เสี่ยงต่อการได้รับบาดเจ็บ เนื่องจากสภาพแวดล้อมในสังคม มีผลกระทบต่อการปรับตัวของเด็ก
กิจกรรมการพยาบาล
1) ให้ความรู้ครอบครัวและส่งเสริมให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการวางแผนการดูแลเด็ก
2) การจัดสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัยและช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ เนื่องจากเด็กที่มี สมาธิสั้นมักมีความบกพร่องในการควบคุมพฤติกรรมตนเอง การปรับสิ่งแวดล้อมจะช่วยให้เด็ก สามารถควบคุมตนเองและปรับตัวได้ดีขึ้น
3) การใช้พฤติกรรมบำบัดเพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยทั้งทางบ้านและ โรงเรียนควรมีบรรยากาศที่เข้าใจเป็นกำลังให้เด็ก ให้ความสนใจ ชื่นชม เมื่อเด็กมีพฤติกรรมที่ดี หากทำผิดโดยไม่ตั้งใจสมควรใช้คำพูดปลอบใจ มีท่าทีเห็นใจ แนะนำวิธีแก้ไข ไม่ประจาน และไม่ลงโทษด้วยความรุนแรง
4) การสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดเป็นรายบุคคล เพื่อให้ไว้วางใจในตัวพยาบาล และมีทักษะในการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่น
5) การให้คำแนะนำสำหรับครูเพื่อให้เกิดความเข้าใจและช่วยเหลือเด็กทั้งในด้านการ เรียนและการปรับตัวที่โรงเรียน
6) การให้ความรู้เรื่องการใช้ยาเกี่ยวกับวิธีการใช้ การออกฤทธิ์ ผลข้างเคียง และการ ติดตามประเมินอย่างต่อเนื่อง
การรักษา
1 การช่วยเหลือด้านครอบครัว (Family intervention)
1.การให้ความรู้ (Psychoeducation) กับบุคคลในครอบครัวให้เข้าใจโรค ADHD พร้อมทั้งให้การรับฟัง ตอบข้อซักถาม ได้แก่ สาเหตุ อาการ ผลกระทบ การพยากรณ์โรค และบทบาทของครอบครัวในการช่วยเหลือเด็ก
2.การฝึกอบรมผู้ปกครอง (Parent management training) โดยให้ความรู้และฝึกทักษะในเรื่องการปรับสภาพแวดล้อมเพื่อช่วยในการปรับตัวของเด็ก การช่วยเหลือด้านการเรียน การใช้ยารักษาเมื่อจำเป็นโดยใช้เทคนิคการปรับพฤติกรรม (Behavioral approaches) ด้วยการให้แรงเสริมเพื่อเพิ่มพฤติกรรมที่ต้องการและลดพฤติกรรมที่ไม่ต้องการ
2 การช่วยเหลือด้านโรงเรียน (School intervention)
1.ไม่ควรให้เด็กนั่งติดหน้าต่างหรือประตู
2.ควรมีกิจกรรมให้เด็กได้ผ่อนคลายหากเห็นว่าเด็กหมดสมาธิ
3.ให้ลดระยะเวลาการทำงานให้สั้นลง แต่ให้ทำบ่อยกว่าคนอื่น
4.ให้ความสนใจและชื่นชมเมื่อเด็กมีพฤติกรรมที่ดี
5.ให้ความช่วยเหลือด้านการเรียนพิเศษ
6.ให้คำแนะน าผู้ปกครองในการช่วยเหลือเด็กด้านการเรียนที่บ้านโดยสถานที่ที่จะให้เด็กทำการบ้านต้องเป็นมุมที่สงบ ไม่มีโทรทัศน์ หรือสิ่งของที่ดึงดูดความสนใจ กำหนดเวลาในการทำการบ้านให้แน่นอน
การใช้ยา
นิยมใช้ยา เช่น Methylphenidate (RitalinR, RubifenR) ในการรักษาโรค ADHD
ยาจะออกฤทธิ์หลังรับประทาน 30 นาที อยู่นาน 4-6 ชั่วโมง ไม่มีฤทธิ์กดประสาท ไม่ทำให้ง่วง ไม่สะสมในร่างกายแต่อาจมีผลข้างเคียงเช่น ปวดศีรษะ ปวดท้อง เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ (ช่วงบ่าย) อารมณ์เศร้า หงุดหงิด เป็นต้น ซึ่งอาการข้างเคียจะลดลงหลังได้รับยาประมาณ 1-2 สัปดาห์