Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะชักจากไข้สูง(Febrile Convulsion หรือ Febrile Seizure), นางสาว…
ภาวะชักจากไข้สูง(Febrile Convulsion หรือ Febrile Seizure)
พยาธิสรีรภาพ
ภาวะไข้ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเมตาบอลิซึมของเซลล์ประสาททําให้เซลล์ประสาทไวต่อการเกิดอาการชักได้มากขึ้น มีลักษณะชักเกร็งร่วมกับกระตุกทั่วตัว ทั้งนี้ยังขึ้นอยู่กับอายุและการเจริญเติบโตของสมองด้วย ซึ่งอายุที่มากขึ้นก็มีโอกาสเกิดไข้ได้น้อยลง ทําให้อาการชักได้น้อยลง นอกจากนี้อุณหภูมิของก็เป็นปัจจัยสําคัญในการกระตุ้นให้เกิดอาการ โดยเฉลี่ยประมาณร้อยละ 75 ของเด็กที่ชักจะมีอุณหภูมิของร่างกายสูงเกิน 39 องศาเซลเซียส
สาเหตุ
เกิดจากการติดเชื้อในระบบต่างๆ
การติดเชื้อที่ไม่เกี่ยวข้องกับระบบประสาท เช่น การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ หูชั้นกลางอักเสบ กระเพาะหรือลําไส้อักเสบ ต่อมทอลซิลอักเสบ การติดเชื้อในระบปัสสาวะ และการติดเชื้อทั่วไป เช่น การเป็นหวัดเจ็บคอ
เชื้อไวรัส
เชื้อแบคทีเรีย
การฉีดวัดซีน
อาการไข้สูงมีความสัมพันธ์กับการให้วัคซีนคอตีบ ไอกรน บาดทะยักชนิด whole cell (DTP) และ วัคซีนป้องกันหัด หัดเยอรมัน คางทูม (MMR) มากกว่าชนิดอื่น
ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันบาดทะยัก ชนิดที่เป็น acelular (DTPA) ทําให้มีไข้ลดลงหลังฉีดวัคชีนและโอกาสเกิดชักจากไข้สูงก็มีอุบัติการณ์ลดลง
ปัจจัยกระตุ้น
3.1 สาเหตุเกิดจากการที่สมองยังพัฒนาไม่เต็มที่เป็นสาเหตุให้เกิดการชักจากไข้สูง
3.2 ภาวะขาดธาตุเหล็กอาจเป็นสาเหตุของการเกิดไข้สูงแล้วชักได้
3.3 พันธุกรรมหรือยีน
3.4 ความผิดปกติของสมอง
กลุ่มผู้ป่วยชักจากไข้สูง พบสาเหตุว่ามีความผิดปกติของสมองฮิบโปแคมปัส
ชนิดของการชัก
1.Simple febrile seizure
พบได้บ่อยที่สุดร้อยละ 85
ชักเกร็งหรือกระตุกทั่วตัว
มักเป็นครั้งเดียว
เกิดในช่วงที่มีไข้สูง 39 องศาเซลเซียสขึ้นไป
ชักประมาณ 2-3 นาที
ไม่พบความผิดปกติในการตรวจของคลื่นสมอง
มีประวัติชักของบุคคลในครอบครัว
2.Complex Febrile seizure
พบได้ร้อยละ 15
ชักเฉพาะที่ หรือหลังชักมีลักษณะของ TODD'S PARALYSIS อัมพาตข้าง
เดียวของแขนหรือขาข้างเดียวหลังชัก
ชักนานกว่า 10 -15 นาที
ชักหลายครั้ง
พบความผิดปกติของระบบ
ประสาทขณะชัก ก่อนชักหรือหลังชัก
ตรวจพบความผิดปกติของคลื่นสมอง
อาการและอาการแสดง
ชักเกร็งหรือกระตุกทั้ง
ตัว IGENERALIZED TONIC CLONIC SEIZURES)
โดยเวลาชักจะมีอาการเกร็งกระตุกโดยไม่รู้ตัว และจำไม่ได้ว่าตัวเองชัก
บางส่วน (FOCAL MOTOR หรือ
TONIC)
เด็กจะมีอาการกระตุกเฉพาะส่วนของร่างกาย หรือทุกส่วน อาจมีพฤติกรรมเปลี่ยน ชั่วขณะอาจมีอาการเหม่อ เรียกแล้วไม่รู้สึกตัว
ปัญหาของผู้ป่วยที่อาจเกิดขึ้น
โอกาสการเกิดภาวะชักจากไข้ซ้ำ
1.1. มีประวัติชักจากไข้ในครอบครัวที่เป็นญาติสายตรงลำดับที่ 1
1.2. ชักครั้งแรกที่อายุน้อยกว่า 18 เดือน
1.3. ระยะเวลาที่เกิดการชักหลังจากเริ่มมีไข้ระยะเวลายิ่งสั้นโอกาสเกิดชักซ้ำยิ่งสูงขึ้น
ผลต่อระบบประสาทและสติปัญญา
มีการศึกษาที่พบว่าในเด็กที่มีภาวะชักจากไข้ซ้ำหลาย
ครั้งมีความสัมพันธ์กับพัฒนาการด้านภาษาล่าช้า ที่อายุ 12 เดือน
พบว่าในเด็กที่ชักต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานมีปัญหาทางด้านความจำเมื่อเทียบกับเด็กปกติ
โอกาสเกิดโรคลมชักในอนาคต
ปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับโอกาสเกิดโรคลมชักสูงกว่าปกติ
ภาาวะชักจากไข้แบบซับซ้อน
อายุที่เกิดชักจากไข้ครั้งแรกหลังอายุ 3 ปี
มีประวัติครอบครัวเป็นโรคลมชัก
มีภาวะชักจากไข้เกิดขึ้นซ้ำหลายครั้ง
มีความผิดปกติทางระบบประสาทและก่อนที่จะมีภาวะชักจากไข้
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล
เสี่ยงต่อการเกิดอาการซักจากภาวะไข้สูง หรือ มีโอกาสชักช้ำเนื่องจากมีภาวะไช้สูง
1.ประเมินและบันทึกลักษณะการชัก ลักขณะของใบหน้า ตา ขณะชัก ระดับการรู้สติ ของผู้ป่วย
ก่อน ระหว่าง และหลังการชัก ระยะเวลาที่ชักทั้งหมด จำนวนครั้งหรือ ความถี่ของการชัก
บันทึกสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง และดูแลเช็ดตัวลดไข้
ดูแลให้ได้รับยาลดไข้และสารน้ำตามแผนการรักษา
ดูแลให้เด็กได้พักผ่อนอย่างเพียงพอ ไม่รบกวนเด็กโดยไม่จำเป็น
แนะนำผู้ดูแลหากพบเด็กมีอาการชัก เกร็ง กระตุก เหม่อลอย ตาลอยค้างให้รีบแจ้งแพทย์หรือพยาบาลทันที
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะเเทรกซ้อนจากการชัก เนื่องจากไม่สามารถควบคุมการทำงานของร่างกายได้
ประเมินลักษณะการชัก จัดให้อยู่ในท่านอนราบ ตะแคงใบหน้าไปทางด้านใดด้านหนึ่ง
หากพบอาหาร สิ่งแปลกปลอมต่างในช่องปากให้รีบนำออก หรือหากมีเสมหะหรือน้ำลายมาก ให้รีบดูดออกเพื่อป้องกันการสำลัก
ประเมินการหายใจ ดูแลให้ออกซิเจนหากมีอาการริมฝีปาก ปลายมือ ปลายเท้าเขียว และ
ติดตามค่า SpO2
ไม่ผูกยึด กอด หรือดึงรั้งแขนขาเด็กขณะมีอาการชัก เพราะอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บ
ไม่นำสิ่งของหรือไม้กคลิ้นเข้าปากเด็ก เพราะอาจทำให้ฟันหัก แล้วหลุดเข้าไปในลำคอ อุดกั้นทางเดินหายใจ
สังเกตลักษณะอาการชัก และระยะเวลาที่มีอาการชักหากอาการชักไม่ดีขึ้น รีบรายงานแพทย์เพื่อให้ยาควบคุมอาการชักตามแผนการรักษา
หากอาการชักกำเริบขณะเช็ดตัวลดไข้ให้หยุดการเช็ดตัวก่อน เพื่อลดการกระตุ้นเด็ก
ประเมินอาการ ระดับความรู้สึกตัว ภาวะพร่องออกซิเจน การได้รับบาดเจ็บส่วนต่างๆของร่างกายภายหลังอาการชักสงบลง
เมื่ออาการชักสงบลง ควรดูแลให้เด็กนอนพักผ่อน ไม่รบกวนเด็กโดยไม่จำเป็น
บิดามารดามีความวิตกกังวลเกี่ยวกับอาการชักจากไข้สูงของเด็ก
สร้างสัมพันธภาพกับบิดามารดา
ประเมินความวิตกกังวลของบิดามารดา
อธิบายอาการเจ็บป่วยของเด็ก การรักษาและการพยาบาลที่จะได้รับ อาการที่ควรแจ้ง
ให้บิดา มารดามีส่วนร่วมในการวางแผนการรักษาดูแลเด็ก
เปิดโอกาสให้บิดามารดาได้ระบายความรู้สึก และซักถามเพิ่มเติมเมื่อมีข้อสงสัย
ให้กำลังใจ และชื่นชมเมื่อบิดา มารดาสามารถดูแลเด็กได้ถูกต้อง เหมาะสม
รับฟังและชี้แนะวิธีการผชิญความเครียดแก่บิดา มารดา
บิดามารดาขาดความรู้ในการดูแลเด็กเมื่อมีไข้สูงหรือมีอาการชักจากไข้สูง
สร้างสัมพันธภาพกับบิดามารดา
ประเมินความรู้ความสามารถของบิดา มารดาและญาติ
ให้ความรู้แก่บิดามารดาถึงสาเหตุของการมีไข้ อาการชักจากไข้สูง และอันตรายจากการชัก
แนะนำบิดามารดาเกี่ยวกับการดูแลเด็กเมื่อมีไข้สูง เช่น การวัดไข้ การเช็ดตัวลดไข้ การให้ยาลดไข้
นางสาว รติยาภรณ์ จันทร์สร รหัสนิสิต 61010218 กลุ่ม 03-23