Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคพฤติกรรมเกเร (Conduct Disorder) - Coggle Diagram
โรคพฤติกรรมเกเร (Conduct Disorder)
เป็นโรคทางจิตเวชเด็กและวัยรุ่นที่แสดงออกถึงปัญหาทางด้านอารมณ์และพฤติกรรม ลักษณะสำคัญของโรคคอนดัค คือ จะมีพฤติกรรมที่ละเมิดสิทธิผู้อื่น หรือไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบของ สังคมอย่างต่อเนื่อง โดยทำซ้ าๆ และทำมาเป็นเวลานานคล้ายผู้ใหญ่ที่มีบุคลิกภาพผิดปกติชนิดต่อต้านสังคมเด็กจะมีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นเพียงเล็กน้อย จะไม่แสดงความสำนึกผิดต่อพฤติกรรมที่ไม่ดีของตนเอง เด็ก จะมีความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองต่ำ (Low self-esteem) มีความอดทนต่ำมีการระเบิดอารมณ์จาก การควบคุมตนเองไม่ได้
สาเหตุ
1) ปัจจัยทางชีวภาพ
พันธุกรรม สารสื่อประสาทในสมอง เช่น dopamine หรือ5-hydroxyindoleacetic acid ผิดปกติฮอร์โมนเพศในเด็กชายที่มีระดับ testosterone สูง จะมีความอดทนต่ำ มีระดับ androstenedione สูง จะมีพฤติกรรมก้าวร้าว เป็นต้น
2) ปัจจัยทางสภาวะแวดล้อม
เศรษฐานะต่ำการติดสารเสพติดของบิดามารดา เด็กมีพฤติกรรมเกเร ส่วนมากมาจากครอบครัวที่ไม่สงบสุข การทะเลาะกันของบิดามารดา ขาดความอบอุ่น ถูกทารุณหรือถูกทอดทิ้ง
อาการและอาการแสดง
1)ด้านอารมณ์
ความอดทนต่ำอารมณ์เสีย หงุดหงิดง่าย
ไม่มั่นใจในตนเอง รู้สึกตนเองไม่มีคุณค่า
มักใช้กลไกทางจิตแบบโทษผู้อื่น
ไม่รู้สึกผิดเมื่อถูกลงโทษ
มีความวิตกกังวลและซึมเศร้าร่วมด้วย
2) ด้านพฤติกรรม
ก้าวร้าวรุนแรง มักมีเรื่องทะเลาะวิวาท ชกต่อย ตบตีเป็นประจำ
ดื้อ ไม่เชื่อฟังผู้ปกครองหรือครู
ชอบแกล้งเพื่อนหรือข่มขู่ให้ผู้อื่นทำตามที่ตนต้องการ
ชอบพูดคำหยาบ พูดโกหก
ลักขโมย ทำลายทรัพย์สิน
หนีเรียน หนีออกจากบ้าน
ใช้สารเสพติด สูบบุหรี่ ดื่มสุรา
มีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสมกับวัย
การวินิจฉัย
A.พฤติกรรมที่ละเมิดสิทธิผู้อื่น หรือไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบของสังคมอย่างต่อเนื่อง โดยทำซ้ำๆ และทำมาเป็นเวลานาน ต้องปรากฏอาการอย่างเด่นชัด อย่างน้อย 3 ข้อ จาก 15 ข้อ ใน รอบ 12 เดือนที่ผ่านมา และอย่างน้อย 1 ข้อ ที่ทำติดต่อกันไม่น้อยกว่า 6 เดือน
ก้าวร้าวต่อคนหรือสัตว์
ทำลายทรัพย์สิน
ฝ่าฝืนกฎระเบียบอย่างรุนแรง
B. พฤติกรรมที่ผิดปกตินี้เป็นสาเหตุของการบกพร่องทางด้านสังคม ด้านการศึกษา หรือการประกอบอาชีพ
C. ถ้าอายุ 18 ปี หรือมากกว่า ต้องไม่เข้าเกณฑ์ของ Antisocial Personality Disorder
1) ระดับเล็กน้อย (Mild) โกหก หนีโรงเรียน ออกนอกบ้านกลางคืนโดย ไม่ได้รับอนุญาต
2) ระดับปานกลาง (Moderate) จำนวนและผลของพฤติกรรมอยู่ระหว่างระดับ เล็กน้อยและระดับรุนแรง
3) ระดับรุนแรง (Severe) มีปัญหาพฤติกรรมเกินเกณฑ์การวินิจฉัยหลายข้อหรือปัญหา พฤติกรรมนั้นๆ ก่อให้เกิดผลเสียชัดเจนต่อผู้อื่น (บังคับการร่วมเพศ ทำร้ายร่างกาย ใช้อาวุธ ขโมยโดย เผชิญหน้ากับเจ้าของ งัดแงะ)
การรักษา
1 การรักษาทางจิตสังคม เป็นการให้คำปรึกษารายบุคคล มุ่งเน้นให้เด็กได้ฝึกการใช้ทักษะในการแก้ไขปัญหาโดยการใช้สติปัญญา (Cognitive problem solving skill training) ผ่านการเลียนแบบ (Modeling) และการแสดงบทบาทสมมุติ (Role playing)
2.การบำบัดโดยการฝึกฝนบิดามารดา (parenting training therapy) เพื่อแก้ไขบิดามารดา ให้สร้างและใช้กฎในบ้านด้วยความสม่ำเสมอ และแก้ไขบิดามารดาที่ลงโทษเด็กรุนแรงเกินเหตุ แนะนำให้ใช้การเสริมแรงทางบวกในการปรับพฤติกรรมเด็ก
3 ครอบครัวบำบัด (Family therapy) เพื่อช่วยให้สมาชิกในครอบครัวสามารถทำหน้าที่ของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ให้ความสนับสนุนกันในด้านร่างกาย สังคมอารมณ์ และจิตใจ ทำให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีต่อกันและกัน
4.การรักษาด้วยยา (Medications)
ใช้ยา Haloperidol (Hadol), Risperidoe (Risperdol) ในเด็กที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว
ใช้ยา Serotonin reuptake inhibitors (SSRIs) เช่น Sertraline (Zoloft), Fluoxetine (Prozac), Paroxetine (Paxil) ในเด็ก ที่มีอาการหุนหันพลันแล่น
ใช้ยา Propanolol ในเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญาร่วมด้วย หรือ มีปัญหาทางสมอง (Organic brain)
กระบวนการพยาบาล
1.เสี่ยงต่อการใช้ความรุนแรงด้านการใช้กำลัง การใช้อารมณ์ และความรุนแรงทางเพศ เนื่องจากพัฒนาการของระบบประสาทบกพร่อง หรือทำงานไม่ปกติ
2.Ineffective impulse control (ไม่สามารถควบคุมตนเองได้) 3.Ineffective coping (บกพร่องในการเผชิญปัญหา) 4.Ineffective relationship (บกพร่องในการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่น)
5.Impaired social interaction (ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมบกพร่อง)
6.Risk for other-directed violence (เสี่ยงต่อการเกิดพฤติกรรมรุนแรงที่อาจเป็น อันตรายต่อผู้อื่น)
กิจกรรมการพยาบาล
1) การสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดเพื่อให้เกิดความไว้วางใจ
2) การให้คำแนะนำการเลี้ยงดูแก่ผู้ปกครองและครูที่โรงเรียนในการจัดการปัญหา พฤติกรรมต่างๆ ของเด็ก
3) ส่งเสริมความตระหนักรู้ในพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของตนและรับรู้ว่าพฤติกรรม ดังกล่าวไม่เป็นที่ยอมรับของสังคม โดยใช้หลักพฤติกรรมบำบัด เช่น การให้แรงเสริมทางบวกและทาง ลบ 4) เปิดโอกาสให้ปรับเปลี่ยนพลังความคับข้องใจ ความโกรธ เป็นพลังสร้างสรรค์เพื่อให้ เกิดการผ่อนคลาย เช่น เล่นกีฬา และเล่นดนตรี เป็นต้น
5) ส่งเสริมความตระหนักรู้ในคุณค่าของตนเอง การพัฒนาเอกลักษณ์แห่งตนอย่าง เหมาะสมด้วยการเสริมสร้างประสบการณ์ความสำเร็จ การประเมินศักยภาพของตนเอง และการ ตั้งเป้าหมายชีวิต