Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Acute kidney injury : AKI ไตวายเฉียบพลัน, นางสาวมาลินี พินธะ 62110077 …
Acute kidney injury : AKI ไตวายเฉียบพลัน
การวินิจฉัย
• BUN , Creatinine พบ อัตราส่วน > 20:1 ให้สงสัยว่าอาการปัสสาวะน้อยอาจเกิดจากสาเหตุก่อนไต
เเต่ถ้าอัตราส่วน < 15:1 รอยโรคน่าจะอยู่ที่ตัวเนื้อไตเอง
• ถ้าพบระดับ Creatinine > 2.5 มก./ดล.
มีโอกาสน้อยที่ผู้ป่วยจะมีไตวายจากสาเหตุก่อนไต
• ผล UA พบ WBC, RBC
• ภาพถ่ายรังสีไต ช่วยดูสาเหตุการอุดกั้น
เนื่องจากก้อนนิ่ว หรือต่อมลูกหมากโต
• Ultrasound KUB ดูขนาดไต ความผิดปกติที่ไต
เเละท่อทางเดินปัสสาวะ
สาเหตุ
1.สาเหตุที่เกิดก่อนไต(Pre-renal failure)
พบร้อยละ 40-80 กลุ่มอาการที่มีการลดลงของเลือดที่ไปเลี้ยงไต > ทำให้หน้าที่ของไตเกิดกการเปลี่ยนแปลง แต่ไม่ได้เกิดจากพยาธิที่ไต ได้แก่
การเสียเลือด
แผลไฟไหม้
ภาวะช็อค
การติดเชื้อ
หัวใจล้มเหลว กล้ามเนื้อหัวใจตาย
หลอดเลือดที่ไตอุดตัน
ภาวะขาดน้ำจากท้องร่วง อาเจียน
ปัสสาวะมีน้ำตาลมากผิดปกติ
2.สาเหตุที่เกิดภายในไต ( intrinsic renal failure)
พบร้อยละ 10-50 กลุ่มอาการที่มีพยาธิสภาพที่ เนื้อไต โกเมอลูรัส ท่อไต หรือเส้นเลือดมีการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อ สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดคือการเน่าตายของท่อไตอย่างเฉียบพลัน ( acute tubular necrosis) พบได้ร้อยละ70 ไตขาดเลือดไปเลี้ยง สาเหตุจากโรค
การอักเสบของไตหรือกรอยไตจากแบคทีเรียหรือไวรัส
นิ่วกดเบียดเนื้อไต
มาลาเรีย
เบาหวาน ความดันโลหิตสูง
ได้รับยาหรือสารที่เป็นพิษต่อเนื้อไต ได้แก่ ยาปฏิชีวนะ
เช่น ampicilin,sulfonamides ยาต้านการอักเสบไม่ใช่
สเตียรอยด์ เช่น aspirin,indomethacin สารืับที่ใช้ใในการใส่
สายสวน เพื่อตรวจการทำงานของหัวใจ สารตะกั่วหรือปรอทเป็นต้น
3.สาเหตุที่เกิดหลังไต(Pro-renal failure)
พบร้อยละ 10 กลุ่มอาการที่มีการอุดตันของทางเดินปัสสาวะตั้งแต่กรอยไต ไปจนถึงท่อปัสสาวะ โตไม่มีพยาาธิสภาพเริ่มต้นที่เนื้อไต อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุได้แก่
เนื้องอก
ต่อมลูกหมากโต
นิ่วในไต
นิ่วในกระเพราะปัสสาวะเกิดลิ่มเลือดหรือการติดเชื้อ
มะเร็งปากมดลูก
การรักษา
• ให้สารน้ำเพียงพอ ( adequate hydration,
adequate plasma volume )
• รักษาความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
( maintenance of adequate mean arterial )
• หลีกเลี่ยงสารที่เป็นพิษต่อไต ( minimizing nephrotoxin exposure )
• เเก้ไขสาเหตุตาม prerenal, intrinsic renal และ post renal
• การเเก้ไขภาวะเเทรกซ้อน เช่น Volume overload, Metabolic acidosis, Hyperkalemia
• การให้การรักษาด้วยการบำบัดทดเเทนไต
เพื่อลดอัตราการเสียชีวิต
เเนวทางการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดภาวะไตบาดเจ็บเฉียบพลัน
Monitor Patient ( การติดตามเเละเฝ้าระวังผู้ป่วย )
1.1 การประเมินสมดุลสารน้ำในร่างกาย เเละการให้สารน้ำทดแทนพยาบาลผู้ดูเเลผู้ป่วยรายงานเเพทย์ทันที
หากพบผู้ป่วยเกิดภาวะไม่สมดุลของสารน้ำ
• Mean arterial pressure ( MAP ) < 65 mmHg
• Central venous pressure ( CVP ) < 8
• Urine output < 0.5 ml/kg/hour
• Capillary refill time > 2 วินาที
1.2 การประเมินภาวะเลือดออก ประเมินเเละเฝ้าระวังหากพบว่ามีการสูยเสียเบือดจากบาดเเผลหรือสายระบาย
หรือมีเลือดออก > 200 ml/hr เจาะ Hematocrit
เเละรายงานเเพทย์ทันที
Maintain Circulation ( คงความสมดุลของ ระบบไหลเวียน)
2.1 การให้สารน้ำทดเเทนตามเเผนการรักษา
เพื่อคงไว้ซึ่งความสมดุลของระบบไหลเวียน บันทึกชนิดเเละปริมาณสารน้ำที่ได้รับให้ถูกต้อง บันทึก Intake/Output ทุก 1-2 ชม.
2.2 การดูเเลเมื่อเกิดภาวะเลือดออกโดยดูเเลให้ได้รับส่วนประกอบของเลือดตามเเผนการรักษา ประเมินอัณหภูมิกายเเละรักษาให้คงไว้ที่ระดับ 36-36 องศาเซลเซียส หากพบว่า < 36 องศาเซลเซียส ให้ความอบอุ่นโดยการใช้ผ้าห่มไฟฟ้า เเล้ววัดซ้ำทุก 15 นาทีจนกว่าจะปกติ
2.3 การประเมิน End point of resuscitation ในผู้ป่วยที่มีภาวะช็อก ประเมิน,การดูเเลรักษาภาวะ Shock
โดยติดตามค่า Lactate levels หาก > 4 mmol/L หรือมีเเนวโน้มลดลง รายงานเเพทย์ทันที
Minimize Kidney Insults ( ลดการทำลายไต )
3.1 การเฝ้าระวังการเกิด AKI จากการได้รับยาที่มีพิษต่อไต
3.2 การเฝ้าระวังการเกิด AKI จากภาวะ Rhabdomyolysis
3.3 การเฝ้าระวังการเกิด AKI จากภาวะ Abdominalcomparment syndrome ( ACS )
3.4 การเฝ้าระวังการเกิด AKI จากการได้รับสารทึบรังสี
( Contrast - induced acute kidney injury: CI-AKI )
3.5 การควบคุมระดับน้ำตาลในกระเเสเลือด
การเฝ้าระวังเเละติดตามการเกิดภาวะไตบาดเจ็บเฉียบพลัน โดยประเมินการเกิดภาวะไตบาดเจ็บเฉียบพลันในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงทุกวัน เป็นระยะเวลา 72 ชม. จากการติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ค่า Serum creatinine ทุก 24 ชม.
เเละตวงปัสสาวะ ทุก 1-2 ชม. ตามเกณฑ์ KDIGO
การระบุสาเหตุของ AKI เพื่อให้ทราบว่าผู้ป่วยเกิดภาวะไตบาดเจ็บเฉียบพลันจากสาเหตุ Prerenal, Intrinsic renal หรือ Postrenal cause
การให้ข้อมูลเเก่ผู้ป่วยเเละญาติเกี่ยวกับผลการประเมินปัจจัยเสี่ยงเเละเเนวทางการพยาบาลผู้ป่วย
อาการและอาการแสดง
ระยะเริ่มแรก (initial phase)
ร่างกายยังสามารถปรับตัวได้โตหลั่งสารที่ทำให้หลอดเลือดหดตัว เพื่อให้ไปเลี้ยงอวัยวะที่สำคัญ เช่น สมอง หัวใจ ทำให่เลือดไปเลี้ยงไตลดลง
ระยะที่มีปัสสวะออกน้อย (oliguric phase) หรือไม่มีน้ำปัสสาวะ
เนื่องจากไตเริ่มมีการทำงานที่บกพร่อง ระยะตั้งแต่ 1 วันถึง 2 สัปดาห์ ในระยะนี้ไตไม่สามารถขับของเสียออกได้ ทำให้ระดับของ ครีตินิน และยูเรียไนโตรเจนสูงขึ้น ที่การคลั่งของน้ำและเกลือแร่ การให้สารน้ำต้องระวัง เนื่องจากอาจทำให้เกิดการบวม น้ำท่วมปอด หัวใจล้มเหลว การจำกัดน้ำและอาหารโปรตีนสูงเพราะจะทำให้กรดในกระแสเลือดเพิ่มขึ้น เกิดภาวะเลือดเป็นกรด ภาวะโปตัสเซียมในเลือดสูง (hyperkalemai) ทำให่เกิดอาการเป็นพิษของโปตัสเซียมซึ่งมีผลหัวใจเต้นผิดปกติและหยุดเต้นได้
ระยะปัสสาวะออกมาก (diuretic phase)
ปัสสาวะอาจจะออกวันละ 1000-2000 มล.ซึ่งอาจจะนำไปสู่ภาวะขาดน้ำ ร้อยละ 25 จะตายภาวะไตวายเฉียบพลันในระยะนี้
ระยะฟื้นสภาพ ( recovery phase)
เป็นระยะที่หน้าที่ของไตค่อยๆฟื้นสภาพอย่างช้าๆ อาจใช้เวลาฟื้นสภาพร้อยละ 70-80ภายในเวลาระยะ 1 ปีในบางรายอาจมรการเสียหน้าที่บางส่วนอย่างถาวร
พยาธิสภาพ
เกิดจากการที่ท่อไตไม่สามารถเก็บกัก Na ได้อย่างปกติ เนื่องจาก Na เป็นตัวกระตุ้นการเกิด renin-angiotensin
system; RAS
มีผลทำให้มีการลดการไหลเวียนกลับของเลือดบริเวณไต ร่างกายจึงเพิ่มการหลั่ง vasopressin
ทำให้
เซลล์บวม ยับยั้งการสังเคราะห์ Prostaglandin และกระตุ้น renin-angiotensin system; RAS ให้หลั่งมากขึ้น
ทำให้การ
ไหลเวียนของเลือดบริเวณไตลดลง อัตราการกรองที่ท่อไตจึงลดลงและทำให้มีปัสสาวะน้อยกว่าปกติ การลดอัตราการ
ไหลเวียนเลือดที่ไต
นำไปสู่การลดการส่งออกซิเจนไปยังท่อไตส่วนต้น เกิดการตายของเนื้อเยื่อและกลุ่มเซลล์ เกิดการ
เปลี่ยนแปลงที่ membrane ของหลอดเลือดที่ท่อไต การหดเกร็งของหลอดเลือดบริเวณไต
ทำให้ลดอัตราการกรองของไต
หรืออาจเกิดการอุดต้น ในท่อไตจากเซลล์และเศษเซลล์ ทำให้ความดันในท่อไตเพิ่มขึ้น เป็นผลให้ไตถูกทำลาย
ภาวะแทรกซ้อน
ระบบโลหิตพบภาวะซีดจากการสร้างฮอร์โมนอิริพอยอิตินลดลงการแตกสลายของเม็ดเลือดแดงและภาวะเลือดออกง่ายจากเกล็ดเลือดผิดปกติ
เมตาบอลิกพบภาวะปัสเซียมในเลือดสูงโซเดียมต่ำฟอสเฟตสูงแคลเชียมต่ำแมกนีเชียมสูงยูริกสูงและภาวะกรดจากเมตาบอลิก
ติดเชื้อ
ผลทางด้านจิตใจทำให้เกิดความวิตกกังวลกลัว
ระบบหายใจ ทำให้เกิดปอดอักเสบปอดบวมน้ำมีuremic pluritis มีภาวะขาดออกชิเจนอย่างรุนแรงเกิด ARDS
ระบบหัวใจและหลอดเลือด ทำให้มีอาการบวมความดัน โลหิตสูง ปอดบวมน้ำมี pericarcialeffusion มีหัวใจเต้นผิดปกติ
ระบบทางเดินอาหารทำให้เกิดคลื่นไส้อาเจียนสะอีกมีแผลในปากท้องเสียมีเลือดออกทางเดินอาหารและตับอ่อนอักเสบ
ระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ทำให้มีอาการสับสนวุ่นวายกระตุกชักหรือหมดสติได้
นางสาวมาลินี พินธะ 62110077
นางสาวกิตติยา มนุสรัมย์ 62110122