Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ใบงานบทที่ 7.2 การพยาบาลผู้สูงอายุที่มีภาวะกระดูกสันหลังเคลื่อน - Coggle…
ใบงานบทที่ 7.2
การพยาบาลผู้สูงอายุที่มีภาวะกระดูกสันหลังเคลื่อน
สาเหตุของภาวะกระดูกสันหลังเคลื่อน
โรคกระดูกสันหลังเคลื่อน (Spondylolisthesis) เป็นโรคที่พบได้บ่อยทั้งในวัยรุ่นและวัยผู้สูงอายุ โดยมีสาเหตุและพยาธิสภาพที่แตกต่างกันในแต่ละช่วงอายุ
ส่วนในกลุ่มผู้ป่วยสูงอายุ ภาวะกระดูกสันหลังเคลื่อนมักเกิดจากความเสื่อมของแนวกระดูกสันหลัง ทั้งในบริเวณหมอนรองกระดูกและข้อต่อกระดูกสันหลัง ซึ่งจะทำให้กระดูกสันหลังเกิดความไม่มั่นคงและส่งผลทำให้มีการเลื่อนของชิ้นกระดูกสันหลังตามมาในที่สุด
อาการของภาวะกระดูกสันหลังเคลื่อน
คนไข้ที่มีกระดูกสันหลังเคลื่อนส่วนหนึ่งอาจจะไม่มีอาการใดๆ และอาจตรวจพบโดยบังเอิญจากภาพถ่ายรังสีเอกซเรย์
ปวดตึงกล้ามเนื้อบริเวณหลังส่วนล่าง สะโพก และต้นขาด้านหลัง
ปวดหลังบริเวณบั้นเอวส่วนล่างเวลาก้มหรือแอ่นหลัง และอาการปวดดีขึ้นเมื่อได้นอนหรือนั่งพัก
ถ้าอาการกระดูกสันหลังเคลื่อนเป็นมากขึ้นจนกดทับเส้นประสาท อาจทำให้มีอาการปวดร้าวลงขา ชาขาหรือชาเท้า กล้ามเนื้อขาอ่อนแรง รวมถึงมีปัญหาในการขับถ่ายอุจจาระปัสสาวะ
ภาพถ่ายรังสีเอกซเรย์ในผู้ป่วยหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน
อาจเห็นรอยหักของกระดูกสันหลังในชิ้นส่วนกระดูกที่เรียกว่า Pars Interarticularis
มีการเคลื่อนตัวออกจากกันของแนวกระดูกสันหลัง
พบความไม่มั่นคงของกระดูกสันหลังในภาพถ่ายในท่า ก้มและแอ่นหลัง (Flexion-Extension Lateral view)
การรักษา
การรักษาโดยวิธีไม่ผ่าตัด
การพักกิจกรรมหรือกีฬาที่จำเป็นต้องใช้หลังอย่างหนักหรือใช้เป็นเวลานาน
การใช้ยาแก้ปวดในกลุ่ม NSAIDs (Nonsteroidal anti-inflammatory drugs) ได้แก่ยา Paracetamol, Ibuprofen Diclofenac Arcoxia และ Celebrex
การทำกายภาพบำบัด เพื่อเน้นการเพิ่มความยืดหยุ่นและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลัง หน้าท้อง สะโพก และต้นขาด้านหลัง
การใส่อุปกรณ์พยุงหลัง (Lumbar support) เพื่อลดการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังส่วนเอว
การรักษาโดยวิธีอินเตอร์เวนชั่น (Spinal intervention pain management)
การฉีดยาสเตียรอยด์เพื่อลดอาการอักเสบและระงับปวด (Steroid Injection)
เทคนิคการฉีดยาเข้าโพรงเส้นประสาทเพื่อลดอาการปวดจากเส้นประสาท (Epidural Steroid Injection)
การฉีดยาเข้าข้อต่อกระดูกเพื่อลดการอักเสบ (Intraarticular Steroid Injection)
การจี้เส้นประสาทบริเวณรอบข้อต่อกระดูกด้วยคลื่นวิทยุความถี่สูง (Radiofrequency Ablation)
การใช้จี้ไฟฟ้าคลื่นวิทยุความถี่สูงเพื่อทำลายเส้นประสาทรับความรู้สึกปวดที่มาเลี้ยงบริเวณข้อต่อกระดูกสันหลัง เพื่อเป็นการกำจัดความเจ็บปวดที่เกิดจากการอักเสบและความเสื่อมของข้อต่อกระดูกสันหลัง ซึ่งมักพบในผู้ป่วยที่มีอาการปวดคอหรือปวดหลังเรื้อรัง
การรักษาโดยการผ่าตัด
การผ่าตัดส่องกล้องขยายโพรงเส้นประสาท (Microscopic Decompression)
เป็นการผ่าตัดเพื่อขยายโพรงเส้นประสาทที่มีข้อดีคือ บาดแผลเล็ก เสียเลือดน้อย ผู้ป่วยฟื้นตัวไว และสามารถกลับบ้านได้เร็ว
การผ่าตัดแบบเปิดกว้าง (Open Laminectomy)
เป็นการผ่าตัดแบบดั้งเดิมโดยการเปิดแผลผ่าตัดตรงกลางและทำการเลาะกล้ามเนื้อบริเวณรอบกระดูกสันหลัง และเข้าไปตัดกระดูกสันหลังส่วน Lamina เพื่อทำการเปิดโพรงเส้นประสาทให้โล่ง
การผ่าตัดแบบเปิดแผลเล็กโดยใช้กล้องเอนโดสโคป (Endoscopic Decompression)
เป็นเทคนิคที่ทำให้แผลผ่าตัดมีขนาดเล็กและผู้ป่วยฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วมาก เป็นการผ่าตัดโดยใช้กล้องส่องขยายชนิด Endoscope ซึ่งมีลักษณะเป็นท่อยาวใส่เข้าไปเพื่อใช้ทำการผ่าตัด
เทคนิคการผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกสันหลัง
การผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกสันหลังโดยวิธี Posterolateral Fusion
เป็นวิธีการผ่าตัดแบบดั้งเดิม โดยการเปิดแผลผ่าตัดขนาดใหญ่เพื่อใส่อุปกรณ์ยึดตรึงกระดูกสันหลัง (Pedicle screw) และใส่ชิ้นกระดูกเพื่อกระตุ้นการเชื่อมข้อในบริเวณกระดูกสันหลังด้านข้าง (Transverse Process) การผ่าตัดชนิดนี้มีข้อเสียคือจำเป็นต้องเปิดแผลผ่าตัดขนาดใหญ่ เสียเลือดมาก การฟื้นตัวหลังผ่าตัดช้า และอัตราความสำเร็จในการเชื่อมข้อกระดูกไม่สูงมากนัก
การผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกสันหลังโดยวิธี Interbody Fusion
ใช้เทคนิคการนำหมอนรองกระดูกสันหลังเดิมของผู้ป่วยออกเพื่อแทนที่ด้วยหมอนรองกระดูกเทียมและวัสดุกระตุ้นการเชื่อมกระดูก โดยการผ่าตัดวิธีนี้ไม่จำเป็นต้องเปิดแผลใหญ่ ทำให้ผู้ป่วยมีอัตราการเสียเลือดน้อยกว่า การฟื้นตัวเร็วกว่าและมีอัตราความสำเร็จในการเชื่อมข้อกระดูกสูงกว่าการผ่าตัดแบบดั้งเดิม
การผ่าตัดเชื่อมกระดูกสันหลังด้วยวิธี PLIF (Posterior Lumbar Interbody Fusion)
เป็นการผ่าตัดเพื่อเปิดโพรงเส้นประสาททางด้านหลังและใส่อุปกรณ์กระดูกเทียม (Interbody Cage) เพื่อทดแทนหมอนรองกระดูกเดิม ข้อดีของการผ่าตัดชนิดนี้คือสามารถทำการขยายโพรงเส้นประสาทที่ตีบแคบได้ดี
การผ่าตัดเชื่อมกระดูกสันหลังด้วยวิธี TLIF (Transforaminal Lumbar Interbody Fusion)
เป็นการผ่าตัดเพื่อขยายโพรงเส้นประสาทและใส่อุปกรณ์กระดูกเทียม (Interbody Cage) จากทางด้านหลังโดยการตัดข้อต่อกระดูกสันหลัง (Facet Joint)
การผ่าตัดเชื่อมกระดูกสันหลังด้วยวิธี ALIF (Anterior Lumbar Interbody Fusion)
เป็นการผ่าตัดเพื่อใส่อุปกรณ์กระดูกเทียม (Interbody Cage) จากทางด้านหน้า มีข้อดีคือสามารถที่จะหยิบเศษหมอนรองกระดูกเดิมที่เสื่อมสภาพออกได้มากที่สุด ทำให้สามารถใส่อุปกรณ์กระดูกเทียมที่มีขนาดใหญ่ได้
การผ่าตัดเชื่อมกระดูกสันหลังด้วยวิธี DLIF (Direct Lateral Lumbar Interbody Fusion)
เป็นการผ่าตัดเพื่อใส่อุปกรณ์กระดูกเทียม (Interbody Cage) จากทางด้านข้าง โดยทำการใส่อุปกรณ์ช่วยผ่าตัดผ่านทางกล้ามเนื้อด้านข้าง (Psoas Muscle) เพื่อลดความเสี่ยงในการบาดเจ็บต่อเส้นเลือดขนาดใหญ่
การผ่าตัดเชื่อมกระดูกสันหลังด้วยวิธี OLIF (Oblique Lumbar Interbody Fusion)
เป็นการผ่าตัดเพื่อใส่อุปกรณ์กระดูกเทียม (Interbody Cage) จากทางด้านข้าง โดยทำการใส่อุปกรณ์ช่วยผ่าตัดทางด้านหน้าต่อกล้ามเนื้อ Psoas Muscle เป็นวิธีการผ่าตัดที่สามารถหยิบเศษหมอนรองกระดูกเดิมที่เสื่อมสภาพออกได้มากและสามารถใส่อุปกรณ์กระดูกเทียมที่มีขนาดใหญ่ได้ รวมทั้งยังสามารถหลีกเลี่ยงการเกิดการบาดเจ็บต่อเส้นประสาทโดยรอบกล้ามเนื้อ Psoas Muscle และลดความเสี่ยงในการเกิดการบาดเจ็บต่อเส้นเลือดใหญ่ได้อีกด้วย
การพยาบาล
การพยาบาลแรกรับ
ซักประวัติการบาดเจ็บป่วยอาการอาการแสดงการรักษาในอดีตระยะเวลาของโรคอย่างประสิทธิภาพจากผู้ป่วยญาติ
การตรวจร่างกาย ได้แก่ การตรวจวัดสัญญาณชีพการตรวจกล้ามเนื้อการตรวจทางระบบประสาท
การตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษเช่นการถ่ายภาพรังสีที่ปอดและหลังการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและการตรวจด้วยเครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์
การพยาบาลก่อนการผ่าตัด
การพยาบาลเพื่อลดความวิตกกังวลของผู้ป่วยและญาติโดยการสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้ป่วยและพยาบาลวางแผนร่วมมือกับแพทย์ในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับพยาธิสภาพของโรคให้ข้อมูลเกี่ยวกับการผ่าตัดปลอบโยนและอธิบายให้ผู้ป่วยและญาติทราบว่าขณะอยู่ในห้องผ่าตัดหรือภายหลังการผ่าตัดจะได้รับการดูแลใกล้ชิดจากแพทย์พยาบาลเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยและญาติซักถามเพื่อลดความวิตกกังวลและมีความเข้าใจและวิธีปฏิบัติอย่างถูกต้องพร้อมทั้งเซ็นใบยินยอมรับการผ่าตัดสำหรับผู้ป่วยที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องให้ผู้ปกครองเซ็นอนุญาตเพื่อป้องกันการฟ้องร้องที่จะเกิดขึ้นภายหลังได้
การเตรียมความพร้อมของผู้ป่วยด้านร่างกาย ได้แก่ การทำความสะอาดร่างกายการทำความสะอาดบริเวณผ่าตัดเพื่อป้องกันการติดเชื้องดน้ำและอาหารทางปากให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำและให้ยาตามแผนการรักษาของแพทย์การเตรียมเลือดและส่วนประกอบของเลือดติดตามผลตรวจทางห้องปฏิบัติการจัดเตรียมอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆให้พร้อมทันทีที่ผู้ป่วยมีภาวะวิกฤติ
การเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับเอกสารของผู้ป่วยการเตรียมอุปกรณ์เครื่องมือที่จำเป็นในการผ่าตัดจัดเตรียมอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆให้พร้อมทันทีที่ผู้ป่วยมีภาวะวิกฤติ
การพยาบาลหลังการผ่าตัด
การพยาบาลเพื่อกันภาวะช็อกจากการเสียเลือดวัดและบันทึกสัญญาณชีพสังเกตและบันทึกระดับความรู้สึกตัวเช่นผู้ป่วยกระสับกระส่ายผิวหนังเย็นซีดเปลือกตาซีดปลายมือปลายเท้าเขียวหายใจเร็วตื้นประเมินการเสียเลือดโดยสังเกตและบันทึกปริมาณเลือดที่ออกจากท่อระบายเลือดสังเกตบริเวณบาดแผลผ่าตัดตรวจหาค่าความเข้มข้นเพื่อประเมินภาวะซีดจากการเสียเลือดให้สารหยดทางหลอดเลือดคำตามแผนการรักษา
การพยาบาลเพื่อบรรเทาอาการปวดแผลในผู้ป่วยที่ผ่าตัดกระดูกสันหลังจะมีท่อระบายเลือดดูแลให้มีการระบายโดยสะดวกไม่ให้มีการพับงอสังเกตผ้าพันแผลไม่ให้รัดมากเกินไปปฏิบัติกิจกรรมต่างๆด้วยความนุ่มนวลพลิกตะแคงตัวแบบ rog roll จัดท่านอนหงายใช้หมอนรองใต้เข่าให้งอเล็กน้อยเพื่อลดความตึงของกล้ามเนื้อหลังใช้หมอนแบนรองใต้ศีรษะคอและไหล่ไม่รบกวนผู้ป่วยบ่อย ๆ ทำกิจกรรมต่าง ๆ ในเวลาเดียวกัน
การพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะติดเชื้อให้การพยาบายโดยเทคนิคปลอดเชื้อเปิดทำแผลแบบแห้งประเมินอาการและอาการแสดงของการติดเชื้อที่แผลผ่าตัดดูแลให้ได้รับอาหารเพียงพอกับความต้องการของร่างกายดูแลให้ถุงรองรับสิ่งคัดหลั่งอยู่ต่ำกว่าตัวผู้ป่วยเสมอการแนะนำผู้ป่วยและญาติเกี่ยวกับการดูแลสายสวนปัสสาวะทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกอย่างน้อยวันละ 2 ครั้งและทุกครั้งหลังขับถ่ายอุจจาระให้ระบบสายสวนปัสสาวะเป็นระบบปิดและเอาสายสวนออกให้เร็วที่สุด
การพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการถูก จำกัด กิจกรรมผู้ป่วยต้องนอนพักบนเตียงตลอดเวลาการดูแลที่สำคัญคือการกระตุ้นให้มีการเคลื่อนไหวและการฝึกบริหารปอดโดยฝึกการหายใจการบริหารร่างกายบนเตียงเมื่อแพทย์อนุญาตให้ลุกจากเตียงต้องกระตุ้นให้ลุกจากเตียงให้เร็วที่สุดแนะนำวิธีการขึ้น-ลงเตียงการใส่เครื่องช่วยพยุงหลังและการฝึกเดิน