Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การสนทนาให้เกิดความสัมพันธ์ - Coggle Diagram
การสนทนาให้เกิดความสัมพันธ์
ความหมาย
การพูดแลกเปลี่ยนความคิดเห็นข้อสังเกตความคิดเห็นหรือความรู้สึกระหว่างคน เป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล โดยพูดคุยให้เกิดความรู้สึกดีๆ เกิดขึ้น การสนทนาที่จะมีสัมพันธ์ภาพที่ดีกับผู้อื่นได้นั้น ต้องเกิดจากการพูดด้วยความพึงพอใจ ความรักใคร่ ความศรัทธา และความจริงใจ
ปัจจัยในการสนทนา
๓. บุคคล
ผู้สื่อภาษา ผู้เป็นเป้าหมายของการสื่อสาร และผู้อื่นที่อาจจะร่วมอยู่ในสถานการณ์นั้น
๔. กรอบวัฒนธรรม
รู้ว่าควรจะพูดอย่างไรจึงจะเหมาะกับบุคคล กาละ เทศะ
๒. เทศะ
ความสำคัญทางสังคมสถานที่นั้นๆ บ้านย่อมต่างจากที่ทำงาน ที่ทำงานย่อมต่างจากสถานที่ที่กำหนด
๕. วัตถุประสงค์
ขึ้นอยู่กับตัว ผู้สื่อภาษาเอง ต้องการจะสื่อภาษาให้เกิดผลอย่างไร
๑. กาละ
ลักษณะของสถานการณ์ ว่าเป็นพิธีการหรือเป็นทางการหรือไม่เพียงใด หรือเป็นเพียงการสื่อภาษาตามปกติในชีวิตประจำวัน
วัตถุประสงค์ในการสนทนา
๕. การสร้างสุนทรียะและความสนุกสนาน
๔. การปฏิสันถาร
๓. การบอกให้ทำ
๒. การถามให้ตอบ
๑. การแจ้งให้ทราบ
ประเภทของการสนทนา
๑. การสนทนาแบบเผชิญหน้า ( face to face communications)
เป็นการสนทนาที่คู่สนทนาได้คุยแบบเห็นหน้ากัน สามารถสังเกตอากัปกิริยาท่าทางซึ่งกันและกันได้
วิธีการสื่อสาร
๒. ทักทายด้วยการไหว้
๓ ทักทายด้วยการสร้าง “ รอยยิ้ม”
๔ ทักทายด้วยการ “ ผงกศีรษะ”
๕ ทักทายด้วยการ “ ถามถึงเรื่องทั่วๆ ไป”
๑. ทักทายด้วยการใช้คำพูด “ สวัสดี” เช่น “สวัสดีค่ะ” หรือ “สวัสดีครับ”
๒. การสนทนาแบบไม่เผชิญหน้า (Interposed communications)
เป็นการสนทนาที่ผู้สนทนาไม่ได้เห็นหน้ากันโดยตรงในเวลาที่สื่อสารกัน เป็นการสื่อสารระหว่างบุคคลแบบมีสื่อกลาง เช่น การสนทนาทางโทรศัพท์
หลักของการสื่อสารทางโทรศัพท์
๑. ใช้น้ำเสียงสุภาพ เป็นปกติไม่ตะโกน
๒. การออกเสียงถูกต้องชัดเจน
๓. พูดให้กระชับ ตรงเป้าหมาย
๔. มีอัตราความเร็วพอเหมาะ
๕. ไม่พูดสิ่งที่เป็นความลับทางโทรศัพท์
๖. ไม่ควรชิงกดปิดโทรศัพท์มือถือก่อนการสนทนาจบลง หรือ กระแทกหูโทรศัพท์
๗. ไม่แอบบันทึกการสนทนาในโทรศัพท์ หากต้องการให้ขออนุญาตคู่สนทนา
๘. ไม่ควร เคี้ยวอาหารขณะกำลังโทรศัพท์
๙. หากมีข้อผิดพลาดควรกล่าวคำขออภัย
ข้อควรปฏิบัติในการสนทนา
คิดก่อนพูด คิดก่อนถาม
หลักการแนะนำตัว
๒. แนะนำผู้ชายให้รู้จักผู้หญิง
๓. ถ้าไม่มีผู้แนะนำตัว แต่ต้องแนะนำตัวเอง ก็ใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน คือ บอกชื่อ นามสกุล ที่ทำงาน ให้ชัดเจน
๑. ถ้าผู้ร่วมสนทนาไม่รู้จักกันมาก่อน ต้องแนะนำผู้น้อยให้รู้จักผู้ใหญ่
ลักษณะการเป็นคู่สนทนาที่ดี
มีความรู้รอบตัวและมีปฏิภาณไหวพริบ
มีความจริงใจและไม่พูดให้คู่สนทนาสะเทือนใจ
การเป็นนักฟังที่ดี
มีมารยาทที่ดี
มีความสุภาพอ่อนโยนที่
แสดงออกทั้งคาพูดและกิริยามารยาท
มารยาทในการสนทนา
๒ อย่าเล่าเรื่องส่วนตัวของตนจนเกินไป คนฟังจะเบื่อ
๓ อย่าอวดอำนาจของตนในครอบครัวให้คนอื่นฟัง
๑ อย่าเป็นผู้พูดมาก ให้พูดเท่าที่จำเป็น แต่ต้องเป็นผู้ฟังให้มาก ควรมีสติในการพูดตามความเหมาะสม
๔ อย่าบ่นถึงเคราะห์กรรม หรือความทุกข์ยากใดๆ ของตนให้ผู้อื่นฟังอย่างพร่าเพรื่อ
๕ อย่ารำพึงรำพัน หรือแสดงฐานะว่าตนยากจนอยู่เสมอ
๖ ขณะเดียวกันก็อย่าแสดงตนโอ้อวดความร่ำรวย อวดมั่ง อวดมี ให้ผู้อื่นโดยเฉพาะคนไม่รู้จัก
๗ อย่านินทาคนในครอบครัวของตนให้คนอื่นฟัง
๘ อย่าบ่นไม่ชอบคนโน้น ไม่ชอบคนนี้ คนนั้นไม่ถูกกับตนให้คนฟังไปทั่ว
๙ อย่าเอาความลับของผู้อื่นมาเปิดเผย หรือล้อเลียนเล่น
๑๐ อย่ากล่าวคาหยาบคาย หรือใช้วาจาไม่สุภาพ
การสนทนาในที่ประชุม
หลักในการสนทนาที่สำคัญ
ควรหลีกเลี่ยงการถกเถียงโต้คารมในเรื่องการเมืองการปกครอง
ในทางศาสนา
การเล่าหรือพรรณนาถึงความเจ็บไข้ และอาการป่วยที่ละเอียดมากเกินไป ไม่ควรสนทนา
การเล่าถึงความสูญเสีย ความตาย ถ้าจำเป็นต้องควรเล่าสั้นๆ ถึงเนื้อหาเท่านั้น
ไม่ควรสนทนาในเรื่องที่กว้างไกลตัว ไม่รู้จบหาข้อยุติลำบาก
การสนทนาขึ้นอยู่กับกาลเทศะที่ดูความเหมาะสมว่าอะไรควร อะไรไม่ควร
มารยาทในการสนทนากับผู้ใหญ่
การสนทนากับผู้ใหญ่ หรือผู้ที่มีอายุมากกว่าด้วยแล้ว การวางตัว คำพูดต่างๆ ยิ่งต้องระวังมากขึ้น ดังนั้น มารยาทในการสนทนากับผู้ใหญ่ หรือผู้ที่มีอายุมากกว่าจึงเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เพื่อให้การสนทนาเต็มไปด้วยบรรยากาศที่ดี มีความสบายใจเกิดขึ้นทั้งสองฝ่าย
ต้องคำนึงถึง
การใช้ภาษา
หากบุคคลใช้ภาษาที่สุภาพ มีหางเสียง ลงท้ายด้วยคำว่า ค่ะหรือครับ ก็จะน่าฟัง น่าสนทนามากขึ้น รวมถึงจังหวะ หากเราสามารถควบคุมสิ่งเหล่านี้ได้การสนทนากับผู้ใหญ่ก็จะเป็นไปในทิศทางที่ดีอย่างแน่นอน
บุคลิกภาพ
ในการสนทนากับผู้ใหญ่หากต้องยืนต่อหน้าซึ่งกันและกัน ควรยืนในท่าที่สบายๆ หลังเหยียดตรง แต่ลำตัวโค้งลงเล็กน้อยเพื่อ บ่งบอกว่าเราเป็นผู้น้อยถึงยืนคุยก็ไม่ค้ำศีรษะ รวมถึงการวางมือก็ควรวางทับการข้างใดข้างหนึ่ง เป็นต้น
การใช้สายตา
โดยสายตาที่ดี ควรเป็นสายตาที่ไม่ประสานจ้องมองตลอดเวลา อาจมีการหลบสายตามองต่ำกว่าระดับสายตาของผู้ใหญ่บ้าง หรือสบตาอย่างเป็นธรรมชาติบ้าง เพื่อไม่ให้แสดงถึงความก้าวร้าวจนเกินไป
การจบการสนทนา
การจบการสนทนาควรจบด้วยความนุ่มนวล เช่นเดียวกับการเริ่มต้น เพื่อสร้างความรู้สึกที่ดีต่อกันต่อไป ไม่ควรจบการสนทนาอย่างกะทันหัน