Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ (Bladder cancer), นางสาวสุวรรณนา มากลาง 62110230,…
มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ (Bladder cancer)
ระยะของมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
ระยะ 0 : เซลล์มะเร็งอยู่ในชั้นเยื่อบุกระเพาะปัสสาวะ
ระยะ | : เซลล์มะเร็งอยู่ในชั้นใต้เยื่อบุกระเพาะปัสสาวะ
ระยะ Il : เชลล์มะเร็งอยู่ในชั้นกล้ามเนื้อของกระเพาะปัสสาวะ
ระยะ lll : เชลล์มะเร็งอยู่ในชั้นไขมันที่บุอยู่รอบนอกกระเพาะปัสสาวะ หรืออวัยวะข้างเคียงอื่นใกล้ๆ
ระยะ lV : เซลล์มะเร็งกระจายไปภายในช่องท้อง และต่อมน้ำเหลือง
ปัจจัยเสี่ยง
1.บุหรี่
การสัมผัสกับสารเคมีต่อเนื่องเป็นเวลานาน
การติดเชื้อ และการระคายเคืองในกระเพาะปัสสาวะแบบเรื้อรัง
พันธุกรรม
พยาธิสรีรวิทยา
มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มากกว่าร้อยละ 90 เริ่มในชั้นเยื่อบุผิว และประมาณร้อยละ 80 เกิดขึ้นที่บริเวณฐานของกระเพาะปัสสาวะ และลุกลามไปที่รูเปิดของท่อไต คอของกระเพาะปัสสาวะ รองลงมาพบที่บริเวณ trigone และผนังด้านหน้าของกระเพาะปัสสาวะ อาจทำให้เกิดการอุดตันของระบบขับถ่ายปัสสาวะขึ้น น้ำปัสสาวะจะคั่งค้างเกิดเป็นแผล ถ่ายปัสสาวะเป็นเลือด และมักจะมีการติดเชื้อร่วมด้วย เมื่อก้อนเนื้องอกโตมากขึ้น ความจุของกระเพาะปัสสาวะจะน้อยลง ทำให้ถ่ายปัสสาวะบ่อย
อาการและอาการแสดง
ปัสสาวะเป็นเลือด โดยไม่มีอาการเจ็บปวด
ปวดเบ่งเวลาถ่ายปัสสาวะ ปัสสาวะบ่อย แสบ ขัด
อาการที่เกิดจากชลล์มะเร็งลุกลามไปยังอวัยวะอื่นๆ เช่น ปวดกระดูก คลำพบต่อมน้ำเหลือง เท้าบวม อ่อนเพลียอยากรับประทานอาหาร น้ำหนักลด เป็นต้น
การวินิจฉัย
การซักประวัติ และตรวจร่างกาย
2.การตรวจปัสสาวะ
การส่องกล้องตรวจกระเพาะปัสสาวะ
การตรวจทางรังสีวิทยา เช่น Ultrasound KUB, IVP, CT scan
การรักษา
การผ่าตัดเปลี่ยนช่องทางขับถ่ายปัสสาวะ (Urinary reconstruction and diversion)
Ileal conduit urinary diversion โดยนำท่อไต (Ureters) ทั้ง 2 ข้างมาเย็บต่อกับส่วนของลำไส้เล็กส่วนปลาย (ilium) ที่นำมาทำเป็นกระเพาะปัสสาวะใหม่ แล้วเปิดทางหน้าท้อง เรียกว่า สโตมา (stoma) หรือทวารเทียม ใช้เป็นช่องขับถ่ายปัสสาวะ
Indiana pouch reservoir เป็นการผ่าตัดเอาลำไส้ใหญ่ส่วนต้น (Ascending colon) และลำไส้เล็กส่วนปลาย (ilium) มาดัดแปลงเป็นกระเพาะปีสสาวะใหม่ เย็บต่อกับท่อตทั้ง 2 ข้างแล้วเปิดทางหน้าท้อง
Neobladder to urethra diversion เป็นการผ่าตัดทำกระเพาะปัสสาวะขึ้นมาใหม่โดยใช้บางส่วนของลำไส้เล็กมาเย็บติดเป็นกระเปาะเชื่อมต่อกับท่อปัสสาวะ (urethra) แล้วนำท่อไตทั้ง 2 ข้างมาเย็บต่อเข้ากับกระเพาะปัสสาวะใหม่
การพยาบาล
การสังกตสีและลักษณะของน้ำปัสสาวะ
การรับประทานอาหารและน้ำ ผู้ป่วยสามารถรับประทานอาหารได้ทุกประเภท ยกเว้นบางโรคที่ต้องควบคุมการรับประทานอาหาร เช่น ผู้ป่วยโรคเบาหวาน, โรคตับ, โรคไต, ความดันโลหิตสูง
การดูแลผู้ป่วยผ่าตัดกระเพาะปัสสาวะใหม่โดยวิธี Neobladder
4.การดูแลผู้ป่วยที่มีสโตมาเปิดทางหน้าท้อง ประเมินตำแหน่งและลักษณะของสโตมา
การดูแลผิวหนังรอบๆ สโตมา
การดูแลด้านจิตใจ
การทำกิจกรรมและการออกกำลังกาย ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหรือกีฬาที่หักโหม รุนแรง และไม่ควรยกของหนัก
การทำงาน หลังผ่าตัดประมาณ 1-2 เดือน ผู้ป่วยสามารถกลับไปทำงานได้ตามปกติ แต่ควรเตรียมกระเป๋าใส่อุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการเปลี่ยนถุงรองรับน้ำปัสสาวะเมื่อฉุกเฉิน
การเดินทางไกล ผู้ป่วยจะต้องมีการเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ ที่ต้องใช้ให้พร้อม และเพียงพอ
การสวมใส่เสื้อผ้า ควรหลีกเลี่ยงการกดทับบริเวณสโตมา
การมีเพศสัมพันธุ์ ก่อนมีเพศสัมพันธ์ ผู้ป่วยควรทำความสะอาดสโตมาและเปลี่ยนถุงรองรับปัสสาวะใหม่ก่อน
การสังเกตอาการผิดปกติที่ควรมาพบแพทย์
ภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด
•ภาวะแทรกซ้อนในระยะแรกหลังผ่าตัด (Early postoperative complications)
1.1 อาการหลังผ่าตัดที่พบได้ทั่วไป เช่น เลือดออก ปวดแผล อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะและแผลผ่าตัด
1.2 ทางเดินปัสสาวะรั่ว
1.3 สโตมาและผิวหนังรอบๆ สโตมาผิดปกติ
1.4 ภาวะขาดน้ำและเกลือโซเดียม
1.5 การดูดซึมไขมันผิดปกติและภาวะซีด
1.6 ความผิดปกติของสมดุลกรด-ด่าง
•ภาวะแทรกซ้อนระยะยาว (Long-term complications) ที่พบบ่อยในผู้ป่วยกลุ่มนี้ คือ การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น กรวยไตอักเสบ หรือกระเพาะปัสสาวะใหม่อักเสบ
นางสาวสุวรรณนา มากลาง 62110230
นายอิสระพงษ์ สวัสดี 62110291