Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้…
การพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้
สาเหตุ
มีค่ามวลกายเกิน BMI
35.38 กิโลกรัมต่อตารางเมตร
ความดันโลหิต
140/90 มิลลิเมตรปรอท
ไม่ออกกำลังกาย
อายุมากกว่า 45 ปี
พฤติกรรมการรับประทานอาหาร
ชอบรรับประทานอาหารรสหวาน
ภาวะแทรกซ้อน
ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะตอนกลางคืน 4-5 ครั้ง
การถ่ายปัสสาวะบ่อยเกิดจากกลไกลของไตที่พยายามจะกรองแยกเอาสารอาหารที่มีประโยชน์ (น้ำตาล) กลับคืนสู่ร่างกายและแยกของเสียออกจากเลือดแล้วขับออกจากร่างกายโดยส่งไปพร้อมกับปัสสาวะจึงเป็นสาเหตุทำให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานปัสสาวะมากกว่าปกติ
สายตาพล่ามัว
เนื่องจากปริมาณน้ำตาลในร่างกายมากผิดปกติเป็นสาเหตุทำให้น้ำขับออกมาทางเลนส์ตาเมื่อรับน้ำที่ผ่านเข้ามาเลนส์ตาก็จะทำการซับน้ำไว้ให้ได้มากที่สุดจึงเกิดการทำงานที่ผิดปกติ เป็นสาเหตุทำให้เกิดตาพล่ามัว
มีอาการชาปลายมือและเท้า
เกิดจากเส้นเลือดฝอยที่มาเลี้ยงเส้นประสาทถูกทำลาย ทำให้ไม่สามารถส่งออกซิเจนมาตามกระแสเลือดเพื่อไปเลี้ยงเส้นประสาทได้รวมถึงการมีน้ำตาลสะสมรวมตัวกันอยู่บริเวณปลายประสาทเองด้วยจึงทำให้การทำงานของเส้นประสารทเสื่อมลง
ไตเสื่อม
ผนังเส้นเลือดถูกทำลายโดยน้ำตาลในเลือดที่สูงอยู่เป็นเวลานานการทำหน้าที่การกรองของไตจะเริ่มเสื่อมลง ทำให้โปรตีนรั่วออกมาในปัสสาวะ
โรคความดันโลหิตสูง
การสะสมของไขมันในหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดแคบลง จึงทำให้ความดันสูงขึ้น
อาการของกรณีศึกษา
ตาซ้ายบอด ตาขวามัว
ปัสสาวะบ่อยในเวลากลางคืน
มีภาวะไตวายระยะที่5
ประสาทรับรู้ที่เท้าเสียความรู้สึกทั้ง 2 ข้าง
โรคเบาหวาน
โรคที่เซลล์ร่างกายมีความผิดปกติในขบวนการเปลี่ยนน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงาน โดยขบวนการนี้เกี่ยวข้องกับอินซูลินซึ่งเป็นฮอร์โมนที่สร้างจากตับอ่อนเพื่อใช้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เมื่อน้ำตาลไม่ได้ถูกใช้จึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นกว่าระดับปกติ โรคเบาหวานแบ่งเป็น 4 ชนิด ตามสาเหตุของการเกิดโรค
โรคเบาหวานชนิดที่ 1 (type 1 diabetes mellitus, T1DM) เกิดจากเซลล์ตับอ่อนถูกทำลายจากภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้ขาดอินซูลิน มักพบในเด็ก
โรคเบาหวานชนิดที่ 2 (type 2 diabetes mellitus, T1DM) เป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุด ร้อยละ 95 ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด เกิดจากภาวะดื้อต่ออินซูลิน มักพบในผู้ใหญ่ที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วนร่วมด้วย
โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (gestational diabetes mellitus, GDM) เป็นโรคเบาหวานที่เกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์ มักเกิดเมื่อไตรมาส 2-3 ของการตั้งครรภ์
โรคเบาหวานที่มีสาเหตุจำเพาะ (specific types of diabetes due to other causes) มีได้หลายสาเหตุ เช่น โรคทางพันธุกรรม โรคของตับอ่อน โรคทางต่อมไร้ท่อ ยาบางชนิด เป็นต้น
การป้องกัน
ออกกำลังกายแบบเต้นแอโรบิค เดิน หรือปั่นจักรยาน อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์
ลดการรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว ไขมันทรานส์ และอาหารจำพวกแป้ง
รับประทานผักผลไม้ และอาหารจำพวกธัญพืชให้มากขึ้น
พยายามลดน้ำหนักให้ได้อย่างน้อย 7% ตามสัดส่วนของร่างกาย หากเริ่มมีน้ำหนักตัวมากเกินไป
การรักษา
ตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด
เลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ
ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อาจต้องได้รับอินซูลินเพิ่มขึ้นด้วย