Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการคลอด, เอกสารอ้างอิง จารุนันทน์ ภูคำสัน.(ม.ป…
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการคลอด
ชนิดของการคลอดจำแนกออกเป็น 2 ชนิดคือ
การคลอดปกติ (Normal labor / Eutocla) หมายถึงการคลอดที่สามารถคลอดได้เองทางช่องคลอด (Spontaneous labor)
อายุครรภ์ครบกำหนด (fulterm of pregnancy) คืออายุครรภ์ระหว่าง 37-42 สัปดาห์
ทารกใช้ศีรษะเป็นส่วนนำอยู่ในทรงก้มหน้าคางชิดอกท้ายทอยอยู่ทางด้านหน้าของช่องเชิงกรานผู้คลอด (vertex presentation & occipito anterior)
กระบวนการคลอดทั้งหมดเป็นไปตามธรรมชาติ (spontaneous) ไม่ต้องใช้เครื่องมือใด ๆ ช่วยในระหว่างการคลอด
ระยะเวลารวมตั้งแต่เริ่มเจ็บครรภ์จริงจนถึงรกคลอดไม่เกิน 24 ชั่วโมง
ไม่มีภาวะแทรกซ้อนใด ๆ (complication) ในระหว่างการคลอดเช่นตกเลือดหรือรกค้างเป็นต้น
2.การคลอดผิดปกติ (Abnormal labor or dystocia)
การคลอดที่มีระยะเวลาคลอดยาวนานกว่าปกติ
การคลอดทารกที่มีส่วนนําผิดปกติ
ทารกที่มีศีรษะไม่ได้สัดส่วนกับช่องเชิงกราน
ความหมายของการคลอด
กระบวนการที่ทารกรกเยื่อหุ้มทารกและน้ำคร่ำ (Product of conception) ถูกขับออกจากโพรงมดลูกสู่ภายนอกอายุครรภ์ตั้งแต่ 28 สัปดาห์ขึ้นไป
การคลอดครบกำหนด (Fullterm labor) หมายถึงการคลอดที่เกิดขึ้นขณะอายุครรภ์ 37-42 สัปดาห์
การคลอดก่อนกำหนด (Preterm labor) หมายถึงการคลอดที่เกิดขึ้นขณะอายุครรภ์ 28-36 สัปดาห์
การคลอดเกินกำหนด (Posterm labor) หมายถึงการคลอดที่เกิดขึ้นเมื่ออายุครรภ์ตั้งแต่ 42 สัปดาห์ขึ้นไป
การแท้ง (Abortion) หมายถึงการสิ้นสุดของการตั้งครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 28 สัปดาห์
การแท้ง (Abortion) หมายถึงการสิ้นสุดของการตั้งครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 28 สัปดาห์หรือทารกที่คลอดมี น้ำหนักน้อยกว่า 1000 กรัมและไม่สามารถมีชีวิตอยู่รอดได้
ระยะต่างๆของการคลอด (Stage of labor)
ระยะที่ 1 ของการคลอดหรือระยะปากมดลูกเปิด
(first stage of labor or stage ofdilatation)
เป็นระยะปากมดลูกมีการบางลงและเปิดขยาย เกิดจากการหดรัดตัวของมดลูกนับตั้งแต่เริ่มเจ็บครรภ์จริง (onset of true ldbor) หรือปากมดลูกเริ่มเปิดขยายไปจนถึงปากมดลูกเปิดหมด10 เซนติเมตร (full dilatation) และบาง 100%
ครรภ์แรก ใช้เวลาประมาณ 8 - 24 ชั่วโมง เฉลี่ย 12 ชั่วโมง
ครรภ์หลัง ใช้เวลาประมาณ 4 - 12 ชั่วโมง เฉลี่ย 6 ชั่วโมง
ในระยะนี้จะแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่
ระยะเฉื่อยหรือระยะปากมดลูกเปิดช้า นับตั้งแต่เริ่มเจ็บครรภ์จริง หรือปากมดลูกเริ่มเปิดขยายจนถึงเปิด 3 เซนติเมตรความก้าวหน้าของการคลอดจะดำเนินไปอย่างช้า ๆ ครรภ์แรกใช้เวลาประมาณ 7.3-8.6 ชั่วโมงครรภ์หลังใช้เวลาประมาณ 4.1-5.3 ชั่วโมง ลักษณะการหดรัดตัวของมดลูกในระยะนี้ยังไม่รุนแรง สามารถคลำสัดส่วนทารกได้ มดลูกหดรัดตัวสม่ำเสมอทุก 5 นาที ระยะนานสูงสุด 30 - 40 วินาที ในระยะนี้ผู้คลอดจะมีความรู้สึกไม่สุขสบาย มีอาการปวดเกร็งท้องคล้ายปวดประจำเดือน
ระยะเร่งหรือระยะปากมดลูกเปิดเร็ว เป็นระยะที่ปากมดลูกเปิดเร็วขึ้น อยู่ในช่วง 4 – 7 เซนติเมตร การเปิดของปากมดลูกจะดำเนินไปอย่างรวดเร็ว ความบางของปากมดลูก 100% ทารกเข้าสู่อุ้งเชิงกรานและเริ่มมีการหมุนของศีรษะ (internal rotation) มดลูกจะหดรักตัวทุก 2-5 นาที นาน 40-60 วินาที ระดับความรุนแรงป่านกลางถึงรุนแรงมาก (moderate of strong intensity)
ระยะเปลี่ยนผ่านเป็นระยะที่ปากมดลูกเปิด 8-10 เซนติเมตรระดับส่วนนำจะเริ่มเคลื่อนลงต่ำมากขึ้นมีเลือดออกทางช่องคลอด (bloody show) เพิ่มมากขึ้นเนื่องจากมีการเปิดขยายของปากมดลูกมากขึ้นจนกระทั่งเปิดหมด การหดรัดตัวของมดลูกรุนแรงขึ้นไม่สามารถคลำสัดส่วนทารกได้ชัดเจน หดรัดตัวทุก 1.5-2 นาทีนานครั้งละ 60-90 วินาทีในครรภ์แรกใช้เวลาเฉลี่ย 3.6 ชั่วโมง ส่วนครรรภ์หลังจะใช้เวลา 30 นาที ในระยะนี้ผู้คลอดอาจมีความรู้สึกอยากเบ่งเนื่องจากส่วนนำเคลื่อนลงต่ำ ๆ ซึ่งถ้าผู้คลอดเบ่งขณะที่ปากมดลูกยังเปิดไม่หมดอาจทำให้ปากมดลูกบวมส่งผลให้การคลอดล่าช้าผู้คลอดบางรายอาจมีอาการขาสั่น (leg tremors) คลื่นไส้อาเจียน
ระยะที่ 2 ของการคลอดหรือระยะเบ่ง (Second stage of labor or Stage of Expulsion)
เป็นระยะที่ทารกถูกขับออกมาภายนอกนับตั้งแต่ปากมดลูกเปิดหมดจนถึงทารกคลอดพ้นออกมาทั้งตัวครรภ์แรกใช้เวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมงไม่เกิน2 ชั่วโมงครรภ์หลังใช้เวลาประมาณ12-1 ชั่วโมงไม่เกิน 1 ชั่วโมงในกรณีที่ผู้ตลอดได้รับยาระงับปวดบริเวณเยื่อหุ้มไขสันหลัง (epidural block) ระยะเวลาอาจมากกว่านี้มดลูกหดรัดตัวทุก 2-3 นาทีนานครั้งละ 40-60 วินาทีส่วนนำของทารกเคลื่อนมาที่พื้นเชิงกราน (pelvic floor) และสำไส้ตรง โดยมีการเปลี่ยนแปลงเต้นรอบวงศีรษะจาก SoB เป็น SOF และเงยเต็มที่ SOM นั่นคือศีรษะทารกคลอดออกมาพ้นช่องทางคลอดระยะนี้แบ่งออกเป็น 2 ช่วงคือ
• Stage of descent คือระยะที่ทารกมีการเคลื่อนต่ำลงไปภายหลังจากปากมดลูกเปิดหมดแล้ว
• Perineal phase คือระยะที่ส่วนนำของทารกเคลื่อนลงไปกดที่พื้นเชิงกราน (Perineal Floor) ทำให้ผู้คลอดมีความรู้สึกอยากเบ่งมากขึ้นและไม่สามารถควบคุมการหยุดเบ่งได้
ระยะที่ 3 ของการคลอดหรือระยะรก (third stage of labor or Stage of placenta)
เป็นระยะที่รกถูกขับออกมาภายหลังทารกคลอดแล้วนับตั้งแต่ทารกคลอดพันตัวจนถึงรกและเยื่อหุ้มทารกคลอดครบโดยครรภ์แรกและครรภ์หลังใช้เวลาเท่ากันประมาณ 5-15 นาทีไม่ควรเกิน 30 นาทีซึ่งระยะเวลาการลอกตัวขึ้นอยู่กับการหดรัดตัวของมดลูกการฝังตัวของรกและชนิดการลอกตัว ของรกโดยการลอกตัวเกิดจากโพรงมดลูกมีขนาดลดลงอย่างรวดเร็วภายหลังทารกคลอด แต่ขนาดของรกไม่ได้เล็กลงตามไปด้วยจึงทำให้เกิดการดึงรั้งระหว่างรกและผนังมดลูก (shearing down effort) ส่งผลให้รกแยกออกจากผนังมดลูกโดยมีอาการแสดง ดังนี้
•มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของมดลูกจากรีเป็นกลม
•มดลูกลอยตัวสูงขึ้นเนื่องจากรถเคลื่อนลงเข้าไปในช่องคลอด
•สายสะดือเคลื่อนต่ำ
•มีเลือดทะลัก (gush) ออกทางช่องคลอดภายหลังรกลอกออกหมดแล้วซึ่งเป็นเลือดที่ค้างอยู่หลังรก
การลอกตัวของรกแบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่ ลอกจากตรงกลางรกก่อนเรียกว่า Shultze mechanism โดยรกจะคลอดโดยนำส่วนของรกด้านลูก (fetal side) ซึ่งจะเห็นมีลักษณะมันวาวออกมาเป็นส่วนแรกและการลอกตัวเริ่มจากริมรกก่อนเรียกว่า Duncan mechanism โดยรกจะคลอดโดยนำส่วนของรกด้านแม่ (maternal side) ออกมาก่อน
ระยะที่ 4 ของการคลอด (fourth stage of labor)
เป็นระยะตั้งแต่รกคลอดครบไปจนถึง 2 ชั่วโมงหลังรกคลอดครบซึ่งเป็นระยะที่เสี่ยงต่อการตกเลือดหลังคลอดมากที่สุด
ปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพทารกในระยะคลอด
ผู้คลอดในระยะคลอดมีการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาหลายระบบซึ่งอาจมีผลต่อภาวะสุขภาพทารกในครรภ์ได้ดังนี้
ภาวะสุขภาพของผู้คลอดอาจส่งผลต่อทารกในครรภ์และการคลอดเช่นผู้คลอดมีภาวะความดันโลหิตสูงอาจส่งผลให้คลอดก่อนกำหนดทารกขาดออกซิเจนตัวเล็กหรือผู้คลอดเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์อาจทำให้ทารกตัวใหญ่คลอดลำบากมีภาวะน้ำตาลในเลือดเกิน (hyperglycemia) เป็นต้น
แรงดันจากการหดรัดตัวของมดลูกจะเพิ่มขึ้นจาก 20-30 mmHg เป็น 40-60 mmHg และสูงถึง 80-110 mmHg เมื่อผู้คลอดเบ่งคลอดร่วมด้วยแรงดันที่เกิดขึ้นนี้จะกดลงบนตัวทารกและรกมีผลให้หลอดเลือดถูกบีบการไหลเวียนเลือดระหว่างมดลูกและรก (uteroplacental blood flow) ลดลงส่งผลให้ทารกขาดออกซิเจนชั่วขณะ แต่เมื่อมดลูกคลายตัวทารกจะได้รับออกซิเจนปริมาณปกติเช่นเดิมดังนั้นถ้าทารกมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์จะสามารถปรับตัวหรือทนต่อการขาดออกซิเจนชั่วคราวได้
ระยะเวลาของการเจ็บครรภ์คลอดถ้าระยะเวลาของการคลอดยาวนานมดลูกหดรัดตัวเป็นเวลานานอาจทำให้ปริมาณเลือดไปเลี้ยงรกน้อยลงส่งผลให้ทารกมีโอกาสเกิดภาวะขาดออกซิเจนได้
อายุครรภ์ทารกที่คลอดไม่ครบกำหนด (prematurity) จะทนต่อการขาดออกซิเจนได้น้อยกว่าทารกคลอดครบกำหนดดังนั้นเมื่อมดลูกมีการหดรัดตัวเพิ่มขึ้นทารกจึงมีภาวะเครียดได้ง่ายและเมื่อคลอดออกมาก็จะเสี่ยงต่อการขาดออกซิเจนเนื่องจากปอดทารกยังทำงานไม่สมบูรณ์ส่วนทารกที่คลอดเกินกำหนด (postmaturity) ก็มีโอกาสขาดออกซิเจนได้ง่ายเช่นกันสาเหตุมาจากรกเสื่อมส่งผลให้ทารกได้รับอาหารและออกซิเจนลดลงนอกจากนี้ทารกที่อยู่ในครรภ์เกินกำหนดจะมีกะโหลกศีรษะที่แข็งรอยต่อ (suture) ระหว่างกระดูกกะโหลกศีรษะแคบทำให้การขบเกยกัน (molding) ไม่ดีส่งผลให้ส่วนนำผ่านเข้าสู่อุ้งเชิงกราน (engagement) ได้ลำบากเกิดการคลอดยากตาม
การใช้ยาระงับความปวดระหว่างคลอดเช่นมอร์ฟัน (morphine) เพธิดีน (pethidine) เป็นต้นซึ่งมักจะให้ร่วมกับยากล่อมประสาทเช่นฟีเนอร์แกน (phenergen) ซึ่งยาดังกล่าวนี้จะกดศูนย์การหายใจของทารกในครรภ์ดังนั้นถ้าคลอดในขณะที่ยายังออกฤทธิ์อยู่คือภายใน 2-3 ชั่วโมงหลังได้รับยาจะทำให้ยาคั่งค้างในกระแสเลือดทารกกดการหายใจส่งผลให้ทารกขาดออกซิเจนได้
ภาวะแทรกซ้อนในระยะเจ็บครรภ์คลอด ได้แก่ ภาวะรกเกาะต่ำรกลอกตัวก่อนกำหนดถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนดภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์เป็นต้นภาวะดังกล่าวอาจส่งผลให้ทารกตัวเล็กติดเชื้อขาดออกซิเจนหรือคลอดยากได้
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการคลอด
ความสัมพันธ์ระหว่างส่วนของทารก
และมารดาที่มีผลต่อการคลอด
แนวของทารกในครรภ์ (Lie)
แนวตามยาว (Longitudinal lie)
แนวตามขวาง (Transverse lie)
ทรงของทารก (Attitude)
ทรงก้มเต็มที่ (Flexion attitude)
ทรงเงย (Deflexion attitude)
เงยเล็กน้อย (Slighty degree of deflexion)
เงยปานกลาง (Moderate degree of deflexion)
เงยปานกลาง (Moderate degree of deflexion)
จุดอ้างอิงบนส่วนนำ (Denominator)
Vertex presentation
Brow presentation
Face presentation
Face presentation
Shoulder presentation
ส่วนนำ (Presentation)
ส่วนนำที่เป็นศีรษะ (Cephalic presentation)
ยอดศีรษะเป็นส่วนนำ (Vertex presentation)
ขม่อมหน้าเป็นส่วนนำ (Bregma presentation)
หน้าผากเป็นส่วนนำ (Brow presentation)
หน้าเป็นส่วนนำ (Face presentation)
ส่วนนำที่เป็นก้น (Breech presentation)
ก้น (Bottocks)
เท้า (Foot)
เข่า (Knees)
ท่าของรก (Position)
ส่วนประกอบของศรีษะทารก
กระดูกกะโหลกศรีษะ
Frontal bones
Parietal bones
Temporal bones
Occipital bone
Sphenoid bone
ส่วนต่างๆของศีรษะทารก
Occiput
Vertex
Bregma
Sinciput
Face
Subocciput
รอยต่อระหว่างกระดูก (Suture)
Coronal suture
Sagittal suture
Lambdoidal suture
Frontal suture
ขม่อม (Fontanelles)
ขม่อมหน้า (Bregma)
ขม่อมหน้า (Bregma)
สิ่งที่คลอดออกมา
ช่องทางคลอด (Passage)
ช่องเชิงกรานแท้ ช่องเชิงกราน (Bony pelvis)
ช่องเชิงกรานเทียม
ช่องเชิงกรานแท้
ช่องทางเข้า (Pelvic inlet)
ช่องกลาง (Pelvic cavity)
ช่องทางออก (Pelvic outlet)
ช่องทางคลอดที่ยึดขยายได้ (Soft passage)
แรงในการคลอด (Power)
การหดรัดตัวของ มดลูก (Primary power)
แรงเบ่ง (Secondary power)
ท่าของผู้คลอด (Position)
ท่ายกศีรษะสูง (Upright position)
ท่านอน (Recumbent position)
สภาพร่างกายของผู้คลอด (Physical condition)
นโยบายและรูปแบบของการให้บริการ
ขั้นตอนการปฏิบัติต่อผู้คลอด
บุคคลรอบข้าง
บุคลากรทีมสุขภาพ
สถานที่คลอด
ทฤษฎีที่อธิบายการเจ็บครรภ์คลอด
ทฤษฎีการกระตุ้นของฮอร์โมนเอสโทรเจน
(Estrogen stimulation theory
Etrogen ที่เพิ่มขึ้นในกระเเสเลือดเมื่อครรภ์ครบกำหนดจะทำให้มดลูกหดรัดตัว
ทฤษฎีฮอร์โมนคอร์ติโซลของทารกในครรภ์
(Fetal cortisol theory
ช่วยกระตุ้นให้ต่อมหมวกไตหลังฮอร์โมน Cortisol มากขึ้น
Cortisol มีผลทำให้กล้ามเนื้อมดลูกเริ่มหดตัวเเละเกิดการเจ็บครรภ์
ทฤษฎีความดัน
(Pressure theory
การคลอดเกิดขึ้นจากการที่ส่วนนำของทารกเคลื่อนต่ำลงมากดบริเวณมดลูกส่วนล่างจนกระทั่งไปกระตุ้นตัวรับรู้ความดัน
ทฤษฎีการกระตุ้นฮอร์โมนออกซิโทซิน (Oxytocin theory)
การคลอดเป็นภาวะเครียดของร่างกาย
ทฤษฎีโพรสตาแกลนดิน
(Prostaglandin theory
การหดรัดตัวของมดลูกเกิดจากการทํางานร่วมกัน
ระหว่างต่อมหมวกไตของทารกกับมดลูก
ทฤษฎีอายุของรก (Placental aging theory
หลังอายุครรภ์40สัปดาห์ การไหลเวียนของเลือดบริเวณรกจะลดลง ทำให้เนื้อเยื่อของรกเสื่อมสภาพ
ทฤษฎีการขาดฮอร์โมนโพรเจสเตอโรน
(Progesterone deprivation theory
ระดับของโปรเจสเตอโรนที่ลดลงและเอสโตรเจนที่เพิ่มขึ้น
ทําให้ปริมาณออกซิโทซินรเีซพเตอร์เพิ่มขึ้น
ส่งเสริมให้กล้ามเนื้อมดลูกเริ่มมีการหดรัดตัว
เอกสารอ้างอิง
จารุนันทน์ ภูคำสัน.(ม.ป.ป.).ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการคลอด.สืบค้น 5 พฤษภาคม 2564,จาก
https://coggle-downloads-production.s3.eu-west-1.amazonaws.com
.
ชนิดา แสงผา.(ม.ป.ป.).ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการคลอด.สืบค้น 5 พฤษภาคม 2564,จาก
https://sites.google.com/site/karphyabalmardathark/2-khwam-ru-pheun-than-keiyw-kab-kar-khlxd
.
ชญาภรณ์ เอกธรรมสุทธิ์. (2560). การพยาบาลในระยะคลอด (พิมพ์ครั้งที่ 1). นนทบุรี : โครงการสวัสดิการวิชาการ สถาบันพระบรมราชชนก.