Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สมาธิสั้น( Attention Deficit Hyperactivity Disorder :ADHD ) - Coggle…
สมาธิสั้น( Attention Deficit Hyperactivity Disorder :ADHD )
ความหมาย
โรคซน-สมาธิสั้น เป็นโรคที่พบอุบัติการณ์มากในปัจจุบันโดยเฉพาะในวัยเด็กตอนต้นซึ่งเด็กจะมีลักษณะดังนี้
-อาการขาดสมาธิ (Inattention) เหม่อลอยไม่สามารถสนใจและจดจ่อต่อกิจกรรมที่ทำและ / หรือ
-มีอาการซนอยู่ไม่นึ่ง (Hyperactivity) โดยเคลื่อนไหวชอบปีนป่ายโลดโผนมากกว่าเด็กปกติทั่วไปมีอาการหุนหันพลันแล่น (Impulsivity) ใจร้อนซึ่งมักทำอะไรโดยไม่คิดถึงผลที่ตามมาและจะเป็นปัญหาเมื่อต้องทำตามกฏกติกาหรือการทำงานร่วมกับผู้อื่น
อาการสำคัญ
ขาดสมาธิ
ซนอยู่ไม่นิ่ง
หุนหันพลันแล่น
สาเหตุ
ปัจจัยด้านพันธุกรรม ADHD เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยด้านพันธุกรรม (Heritability) ประมาณ 76%
ปัจจัยสภาพแวดล้อมที่สัมพันธ์กับโรคซน-สมาธิสั้น ได้แก่
-ภาวะแทรกซ้อนในขณะที่มารดาตั้งครรภ์และการคลอด
-ภาวะทุพโภชนาการการติดเชื้อไวรัสบางชนิด
-การได้รับสารพิษ เช่น สารตะกั่วการที่มารคาสูบบุหรี่ดื่มสุราใช้สารเสพติดหรือมีภาวะเครียดมากในระหว่างตั้งครรภ์
อุบัติการณ์
การศึกษาในต่างประเทศพบความชุก 5-12% เพศชาย> หญิง 2.5 : 1
ประเทศไทยพบความชุกในเด็กวัยเรียน 8.1% โดยพบในเพศชายเป็น 3 เท่าของเพศหญิง
การวินิจฉัย
การวินิจฉัยตามเกณฑ์DSM-5 ของสมาคมจิตแพทย์อเมริกัน (APA)
A มีรูปแบบถาวรของการไม่ใส่ใจ ขาดสมาธิและ/ หรืออาการซนอยู่ไม่นิ่ง
หุนหันพลันแล่น ส่งผลต่อการด ารงชีวิตประจ าวัน และพัฒนาการปกติของเด็ก
B อาการแสดงของการขาดสมาธิหรือการซน อยู่ไม่นิ่ง หุนหันพลันแล่น แสดงตั้งแต่ก่อนเด็กอายุ12ปี
C อาการแสดงของการขาดสมาธิหรือการซนอยู่ไม่นิ่ง หุนหันพลันแล่น แสดงอาการให้เห็นอย่างน้อยในสถานที่ 2 แห่งขึ้นไปเช่น ที่บ้าน โรงเรียน หรือที่ทำงาน โดยแสดงอาการกับเพื่อนหรือญาติพี่น้อง โดยเกิดขึ้นในขณะทำกิจกรรมต่าง ๆ
D มีหลักฐานที่ชัดเจนว่า อาการเหล่านี้จะรบกวน หรือลดคุณภาพด้านสังคม
การศึกษา หรือการท างาน
E อาการต่าง ๆ เหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นในช่วงที่มีอาการของโรคจิตเภท หรือ ความผิดปกติทางจิต เช่นMood disorder, Anxiety disorder, Dissociative disorder,Personality disorder,Substance intoxication or withdrawal
การพยาบาล
1.ให้คำแนะนำแก่บิดามารดา ผู้ปกครอง และครูในการลดสิ่งกระตุ้น หรือสิ่งเร้าขณะเรียนหนังสือ เช่น
จัดให้เด็กนั่งใกล้ครูผู้สอน และไม่นั่งใกล้หน้าต่าง หรือประตูทางเข้าออก
2.ดูแลให้เด็กได้รับประทานยาตามแผนการรักษา
3.ให้เด็กเข้าร่วมกลุ่มฝึกทักษะทางสังคมสัปดาห์ละ 2 ครั้ง
4.สอนทักษะบิดามารดาในการรับมือ และจัดการอารมณ์โกรธของเด็กอย่างเหมาะสมเพื่อให้เด็กสงบลง
และฟังบิดามารดา หรือผู้อื่นพูด
การรักษา
1.การให้สุขภาพจิตศึกษา (Psycho-education) สำหรับเด็กและครอบครัว
ความสามารถในการประกอบกิจกรรมการดำเนินชีวิต และพฤติกรรมสำหรับเด็ก
การสนับสนุนในระดับบุคคล และครอบครัว
4.การให้คำปรึกษาและการบำบัด
5.การให้ความช่วยเหลือของโรงเรียน และการบริหารจัดการยาสำหรับการรักษา
ปัญหาทางการพยาบาล
บกพร่องด้านการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม เนื่องจากมีพฤติกรรมของโรคซน-สมาธิสั้น