Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Attention Deficit Hyperactivity Disorders (ADHD) - Coggle Diagram
Attention Deficit Hyperactivity Disorders (ADHD)
อาการและอาการแสดง
อาการซุกซนอยู่ไม่นิ่ง (Hyperactivity)
จะมีอาการซุกซนมาก นั่งไม่ติดท่ี มักลุกเดิน ในห้องเรียนหรือเดินออกนอกห้อง เล่นผาดโผน ขณะนั่งอยู่กับท่ีก็จะไม่อยู่เฉย อาการซุกซนอยู่ไม่นิ่ง จะเด่นชัดในวัยอนุบาลและประถมต้น เมื่ออายุมากขึ้นจะลดน้อยลงจนเมื่อเป็นวัยรุ่นหรือเป็นผู้ใหญ่ อาจสังเกตไม่พบ
อาการสมาธิสั้น (Inattention)
จะมีลักษณะวอกแวก (Distraction) ต่อสิ่งกระตุ้น รอบข้าง จดจ่อกับเรื่องหนึ่งเรื่องใดไม่นาน ทำให้เล่นอะไรไม่นาน เปลี่ยนบ่อย ทำงานไม่เสร็จ บางครั้ง เหม่อลอย จะทำงานที่ละเอียดไม่ค่อยได้ มักหลีกเลี่ยง แต่อาจทำบางอย่างที่ชอบได้นานๆ (Selective attention) เช่น ดูโทรทัศน์ เล่นเกมคอมพิวเตอร์ หรืออ่านการ์ตูน
อาการหุนหันพลันแล่น (Impulsivity)
จะมีลักษณะหุนหันพลันแล่น ยั้งตนเองไม่ ค่อยไดทั้งความคิดและพฤติกรรม ทำให้ดูเหมือนใจร้อน ก้าวร้าว หรือไม่รอบคอบ ประกอบกับอาการ ซุกซนอยู่ไม่นิ่งจึงอาจเกิดอุบัติเหตุได้ มักรอคิวไม่ค่อยได้ พูดแทรก โพล่ง หรือขัดจังหวะผู้อื่น
ความหมาย
โรคท่ีมี ภาวะสมาธิบกพร่องและมีพฤติกรรมไม่อยู่นิ่ง เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากความผิดปกติของสมองซึ่งมี ผลกระทบต่อพฤติกรรม อารมณ์ การเรียน การงาน หรือการเข้าสังคมกับผู้อื่นอย่างชัดเจน โดยกลุ่ม อาการน้ีประกอบด้วย อาการขาดสมาธิ (Attention deficit) อาการหุนหันพลันแล่น (Impulsivity) อาการซน อยู่ไม่นิ่ง (Hyperactivity)
สาเหตุ
ปัจจัยทางพันธุกรรม
การเกิดโรคมีการถ่ายทอดภายในครอบครัว อัตราการพบ ADHD ในฝาแฝดไข่ใบเดียวกันร้อยละ 51 และในฝาแฝดไข่คนละใบ ร้อยละ 33 พี่ชายหรือน้องชาย ของเด็ก ADHD มีโอกาสเป็น ADHD สูงกว่าคนทั่วไป 5 เท่า
ปัจจัยทางชีวภาพ
ท่ีอาจเป็นสาเหตุ ได้แก่ ภาวะต่างๆ ที่มีผลต่อพัฒนาการของสมอง เช่น. ภาวะทุพโภชนาการ การติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์ การสูบบุหรี่ของมารดา ภาวะน้ำหนักแรกเกิด น้อย การได้รับสารโลหะหนัก โดยเฉพาะสารตะกั่ว ความผิดปกติของสารสื่อประสาทพบว่ามี Dopamine และ Norepinephrine ต่ากว่าปกติ
ปัจจัยทางสังคมและส่ิงแวดล้อม
การเลี้ยงดูและสภาพแวดล้อมภายในบ้านท่ีไม่ เหมาะสม ปัญหาด้านจิตใจของพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูไม่ได้เป็นสาเหตุโดยตรงแต่เป็นปัจจัยเสริมให้เด็กท่ี เป็น ADHD มีแนวโน้มที่จะแสดงอาการออกมาเด่นชัดและรุนแรง
อุบัติการณ์
ในฝาแฝดไข่ใบเดียวกันร้อยละ 51 และในฝาแฝดไข่คนละใบ ร้อยละ 33 พี่ชายหรือน้องชาย ของเด็ก ADHD มีโอกาสเป็น ADHD สูงกว่าคนทั่วไป 5 เท่า
การวินิจฉัย
A. มีอาการอย่างน้อย 6 อาการข้ึนไปในข้อ ก และ/หรือข้อ ข เป็นเวลานานติดต่อกัน อย่างน้อย 6 เดือน
ก. อาการขาดสมาธิ (Inattentive symptoms).
1) ไม่สามารถจดจารายละเอียดของงานที่ทาได้หรือทาผิดเนื่องจากขาดความรอบคอบ
2) ไม่มีสมาธิในการทางานหรือการเล่น
3) ไม่สนใจฟังคำพูดของผู้อื่น
4) ไม่สามารถต้ังใจฟังและเก็บรายละเอียดของคำสั่ง ทำให้ทำงานไม่เสร็จหรือผิดพลาด
5) ทำงานไม่เป็นระเบียบ
6) ไม่เต็มใจหรือหลีกเลี่ยงการทำงานท่ีต้องใช้เวลาคิด
7) ทำของใช้ส่วนตัวหรือของจำเป็นในการทำงานหรือการเรียนหายบ่อยๆ 8) วอกแวกง่าย
9) ลืมบ่อยๆ ในกิจวัตรประจำวันท่ีทำประจำ
ข. อาการซน/หุนหันพลันแล่น (Hyperactivity/Impulsivity symptoms)
1) ยุกยิก อยู่ไม่สุข ชอบขยับมือและเท้าไปมา
2) ชอบลุกจากท่ีนั่งเวลาอยู่ในห้องเรียนหรือในสถานที่ที่เด็กจำเป็นต้องนั่งเฉยๆ
3) ชอบวิ่งหรือปีนป่ายสิ่งต่างๆ
4) ไม่สามารถเล่นหรืออยู่เงียบๆ ได้
5) ต้องเคลื่อนไหวตลอดเวลา
6) พูดมาก พูดไม่หยุดเหมือนติดเครื่องยนต์
7) ชอบโพล่งคาตอบโดยท่ีฟังคำถามยังไม่จบ
8) มีความลำบากในการเข้าคิวหรือรอคอย
9) ชอบขัดจังหวะหรือสอดแทรกเวลาผู้อื่นกำลังคุยกันหรือแย่งเพื่อนเล่น
B. อาการต้องเกิดขึ้นก่อนอายุ 7 ปี
C. อาการปรากฏในสถานการณ์หรือสถานที่อย่างน้อย 2 แห่งขึ้นไป เช่น ที่โรงเรียน ที่ ทางาน หรือที่บ้าน
D. อาการต้องรบกวนการเรียน การเข้าสังคม หรืออาชีพการงานอย่างชัดเจน
E. อาการไม่ได้เกิดเนื่องจากผู้ป่วยกาลังป่วยด้วยโรคทางจิตเวชอ่ืนๆ เช่น pervasive developmental disorder, schizophrenia, psychotic disorder
1) การสัมภาษณ์ผู้ปกครอง โดยสัมภาษณ์ให้ครอบคลุมอาการของโรค ระยะเวลาของ อาการ อายุท่ีเร่ิมมีอาการ สถานการณ์ที่ผู้ป่วยมีอาการ และผลกระทบของอาการต่อการทำหน้าท่ีด้าน ต่างๆ โดยเฉพาะด้านการเรียนและสังคม
2) การสัมภาษณ์และสังเกตพฤติกรรมเด็ก โดยเด็กเล็กอาจสัมภาษณ์ไปพร้อมกับ ผู้ปกครอง แต่เด็กโตหรือวัยรุ่นควรแยกสัมภาษณ์ การสัมภาษณ์ต้องครอบคลุมอาการของโรคสมาธิสั้น ระยะเวลาของอาการ อายุท่ีเร่ิมมีอาการ และสถานการณ
3) การใช้แบบสอบถาม ADHD Rating Scale-IV
4) การตรวจร่างกาย เพื่อแยกโรคทางกายที่อาจเป็นสาเหตุ เช่น พิษจากสารตะกั่ว โรค ไทรอยด์ รวมทั้งทดสอบการมองเห็นและการได้ยินเบื้องต้น
5) การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ควรทาเฉพาะกรณีท่ีมีข้อบ่งชี้ทางคลินิกเท่านั้น
6) การสัมภาษณ์ครูถึงอาการของโรคสมาธิสั้น พฤติกรรมระหว่างเรียน ผลการเรียน และพฤติกรรมในโรงเรียน รวมทั้งผลกระทบต่อการเรียนและการเข้าสังคมของเด็ก
การรักษา
การช่วยเหลือด้านครอบครัว (Family intervention)
1) การให้ความรู้ (Psychoeducation) กับบุคคลในครอบครัวให้เข้าใจโรค ADHD พร้อมทั้งให้การรับฟัง ตอบข้อซักถามโดยครอบคลุมประเด็นต่างๆได้แก่สาเหตุอาการ ผลกระทบ การพยากรณ์โรค และบทบาทของครอบครัวในการช่วยเหลือเด็ก
2) การฝึกอบรมผู้ปกครอง (Parent management training) โดยให้ความรู้ และฝึกทักษะในเรื่องการปรับสภาพแวดล้อมเพื่อช่วยในการปรับตัวของเด็ก การช่วยเหลือด้านการเรียน
การช่วยเหลือด้านโรงเรียน (School intervention)
1) ไม่ควรให้เด็กนั่งติดหน้าต่างหรือประตู เพราะจะทำให้เด็กเสียสมาธิง่าย ควรให้นั่งอยู่หน้าสุดใกล้โต๊ะครูเพื่อจะได้เรียกหรือเตือนได้
2) ควรมีกิจกรรมให้เด็กได้ผ่อนคลายหากเห็นว่าเด็กหมดสมาธิ โดยให้เด็ก ลุกจากท่ีได้บ้าง ซึ่งจะช่วยลดความเบื่อของเด็กและทำให้เรียนได้นานขึ้น
3) หากเด็กมีสมาธิสั้นมาก ให้ลดระยะเวลาการทำงานให้สั้นลง แต่ให้ทำ
บ่อยกว่าคนอื่น
4) ไม่ประจาน หรืองโทษด้วยความรุนแรง หากเป็นพฤติกรรมจากโรค ADHD เช่น ทำของเสียหาย หุนหันพลันแล่น ควรตักเตือนว่าพฤติกรรมใดไม่เหมาะสม และพฤติกรรม ท่ีเหมาะสมคืออะไร
5) ให้ความสนใจและช่ืนชมเมื่อเด็กมีพฤติกรรมที่ดี
6) ในการสื่อสารกับเด็กควรสังเกตว่าเด็กพร้อมหรือมีสมาธิที่จะให้ความ สนใจในสิ่งที่ครูจะพูดหรือไม่
7) เด็กอาจมีปัญหาการปรับตัวกับเพื่อนเนื่องจากเด็กมักใจร้อน เล่นแรง ซึ่ง ครูต้องตักเตือนและแนะนาด้วยท่าทีที่เข้าใจ เพื่อให้เด็กสามารถควบคุมตนเองให้ได้มากขึ้น
8) ให้ความช่วยเหลือด้านการเรียนพิเศษ เนื่องจากเด็กมีความบกพร่องด้าน การเรียนรู้ (Learning Disability) เช่น การอ่าน การสะกดคา และการคำนวณ
10) ให้คำแนะนาผู้ปกครองในการช่วยเหลือเด็กด้านการเรียนท่ีบ้าน
การใช้ยา
ปัจจุบันนิยมใช้ยาเช่นMethylphenidate (RitalinR, RubifenR)ในการ รักษาโรค ADHD ยาจะออกฤทธ์ิท่ีสมองทำให้เด็กสามารถควบคุมตนเองได้ดีขึ้น มีสมาธิจดจ่อนาน นิ่ง มากข้ึน ติดตามการเรียนในห้องดีขึ้น รับฟังคำสั่งได้ต่อเนื่อง รบกวนชั้นเรียนน้อยลง ซึ่งยาจะออกฤทธิ์ หลังรับประทาน 30 นาที อยู่นาน 4-6 ชั่วโมง ไม่มีฤทธิ์กดประสาท ไม่ทาให้ง่วง ไม่สะสมในร่างกาย แต่อาจมีผลข้างเคียง เช่น ปวดศีรษะ ปวดท้อง เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ (ช่วงบ่าย) อารมณ์เศร้า หงุดหงิด ซึ่งอาการข้างเคียงจะลดลงหลังได้รับยาประมาณ 1-2 สัปดาห
กระบวนการพยาบาลในการพยาบาลผู้ป่วยโรคสมาธิสั้น การประเมิน (Assessment)
ปัญหาทางการพยาบาล
ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองต่ำเนื่องจากไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมที่ตนเองคาดหวังได้
เสี่ยงต่อการเกิดพฤติกรรมรุนแรงท่ีอาจเป็นอันตรายต่อตนเอง ผู้อื่น และส่ิงของ เนื่องจากอาการไม่อยู่นิ่ง หุนหันพลันแล่น และควบคุมตนเองไม่ได้
ไม่สามารถควบคุมตนเองได้เนื่องความผิดปกติของพัฒนาการ
ครอบครัวไม่สามารถเผชิญปัญหาได้ เนื่องจากความเจ็บป่วยเรื้อรัง ความรู้สึกผิด ความวิตกกังวล และความสิ้นหวัง
บกพร่องในการสร้างสัมพันธภาพเนื่องจากอาการหุนหันพลันแล่น
การพยาบาล
1) ให้ความรู้ครอบครัวและส่งเสริมให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการวางแผนการดูแลเด็ก
2) การจัดสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัยและช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ เนื่องจากเด็กที่มี สมาธิสั้นมักมีความบกพร่องในการควบคุมพฤติกรรมตนเอง การปรับสิ่งแวดล้อมจะช่วยให้เด็ก สามารถควบคุมตนเองและปรับตัวได้ดีข้ึน
3) การใช้พฤติกรรมบาบัดเพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยทั้งทางบ้านและ โรงเรียนควรมีบรรยากาศท่ีเข้าใจเป็นกำลังให้เด็ก ให้ความสนใจ ชื่นชม เมื่อเด็กมีพฤติกรรมที่ดี หากเด็กทำผิดโดยไม่ต้ังใจสมควรใช้คำพูดปลอบใจ มีท่าทีเห็นใจ แนะนำวิธีแก้ไข ไม่ประจาน และไม่ ลงโทษด้วยความรุนแรง หากมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมควรปราม ตักเตือนอย่างสม่ำเสมอ
4) การสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดเป็นรายบุคคล เพื่อให้ไว้วางใจในตัวพยาบาล และมีทักษะในการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่น
5) การให้คำแนะนำสำหรับครูเพื่อให้เกิดความเข้าใจและช่วยเหลือเด็กทั้งในด้านการ เรียนและการปรับตัวที่โรงเรียน
6) การให้ความรู้เรื่องการใช้ยาเกี่ยวกับวิธีการใช้ การออกฤทธ์ิ
ผลข้างเคียง และการ ติดตามประเมินอย่างต่อเนื่อง
ลักษณะทางคลินิก
โรคสมาธิสั้น แบ่งออกเป็น 3 ชนิด
โรคสมาธิสั้นชนิดผสม (Combined type) มีอาการเด่นชัดทั้งในกลุ่มอาการซน/ หุนหันพลันแล่น และกลุ่มอาการขาดสมาธิ (มากกว่าหรือเท่ากับ 6 จาก 9 อาการ ของทั้ง 2 กลุ่ม) เป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุด
โรคสมาธิสั้นชนิดซน/หุนหันพลันแล่น (Hyperactivity-impulsive type) มีอาการ เด่นชัดในกลุ่มอาการซน/หุนหันพลันแล่น (มากกว่าหรือเท่ากับ 6 จาก 9 อาการ เฉพาะในกลุ่มอาการ ซน/หุนหันพลันแล่น แต่น้อยกว่า 6 อาการ ในกลุ่มอาการขาดสมาธิ)
โรคสมาธิสั้นชนิดขาดสมาธิ (Inattentive type) มีอาการเด่นชัดทางด้านอาการขาด สมาธิ (มากกว่าหรือเท่ากับ 6 จาก 9 อาการ ในกลุ่มอาการขาดสมาธิ แต่น้อยกว่า 6 อาการ ในกลุ่ม อาการซน/หุนหันพลันแล่น)