Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
(Autistic Disorders)หรือ(Autism) - Coggle Diagram
(Autistic Disorders)หรือ(Autism)
ความหมาย
เป็นการแสดงออกทาง พฤติกรรมโดยแสดงออกถึงความบกพร่องของปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและการสื่อสารทั้งการใช้ภาษาพูด และภาษาท่าทาง มักทำกิจกรรมซ้ำๆ เฉพาะท่ีตนเองสนใจ
เป็นความผิดปกติของพัฒนาการเด็กซึ่งมีลักษณะเฉพาะตัว โดยเด็กไม่ สามารถพัฒนาทักษะทางสังคมและการสื่อความหมายได้เหมาะสมตามวัย มีลักษณะพฤติกรรม กิจกรรม และความสนใจ เป็นแบบแผนซ้ำๆ จำกัดเฉพาะบางเรื่อง และไม่ยืดหยุ่น ปัญหาดังกล่าวเป็น ต้ังแต่เล็ก ส่งผลให้เกิดข้อจำกัดในการดำรงชีวิต
อาการสำคัญ
ความบกพร่องในการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม (Impairment in social interaction)
ไม่ใส่ใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นรอบๆตัวเช่นเรียกแล้วไม่หัน
การเพ่งและการมองจะแปลกกว่าเด็กอื่นสบตาน้อย
ไม่ค่อยเข้าใจกับกฎเกณฑ์ของสังคม
ชอบเล่นคนเดียวไม่เล่นกับเด็กอื่นเข้ากับเพื่อนได้ยาก
การมีปฏิสัมพันธ์ทางเดียวเช่นพูดในสิ่งท่ีสนใจคนเดียวไม่สนใจเรื่องท่ีคนอื่นพูด
มีบุคลิกที่ไม่เป็นธรรมชาติเช่นแสดงอาการแปลกงุ่มง่ามหัวเราะอย่างไม่มีเหตุผล
ไม่ชอบให้อุ้มหรือขืนตัวเวลาอุ้มไม่กลัวคนแปลกหน้า
ไม่รู้วิธีการเร่ิมหรือจบบทสนทนา
การสื่อสารกับผู้อื่นทั้งการพูดและภาษาท่าทาง
(Verbal and Non-verbal
communication)
ไม่พูดหรือเริ่มพูดช้า แต่มีรูปแบบของการท่องจำซ้ำๆ
และไม่สื่อความหมาย
ไม่เข้าใจความหมายของการพูดเช่นไม่เข้าใจว่าเป็นประโยคคำถามที่ต้องการคำตอบ แต่ตอบโดยพูดตาม (Echolalia)
ไม่มีความเข้าใจในการแสดงออกของสีหน้า
เลี่ยงการสบตาพูดในสิ่งที่ตัวเองสนใจ
มีปัญหาในการสื่อสารทางภาษากายเช่นผงกหัวส่ายหน้า
เรียกแล้วไม่หัน(เหมือนหูตึง)
บางครั้งเมื่อแสดงความต้องการไม่ได้ก็จะจับมือผู้อื่นไปทาในสิ่งที่ต้องการ
พฤติกรรมและความสนใจแบบจำเพาะซ้ำเดิมเพียงไม่ก่ีชนิด (Restricted, repetitive and stereotypic behaviors and interests)
อาจเป็นพฤติกรรมทางกายและการ เคลื่อนไหวที่จากัดอยู่กับความสนใจในกิจกรรมหรือส่ิงของไม่ก่ีชนิด เช่น การสะบัดมือ หมุนข้อเท้า โยกศีรษะ หมุนวัตถุ เปิดปิดไฟ ในเด็กโตจะมีความสนใจในบางเรื่องมากผิดปกติ มีความหมกมุ่นกับ เรื่องนั้นอย่างมาก จดจารายละเอียดเก่ียวกับส่ิงน้ันและพูดคุยเกี่ยวกับส่ิงนั้นได
สาเหตุ
ปัจจัยทางชีวภาพ (Biological factors)
1) ปัจจัยทางพันธุกรรม (Genetic factor) จากการศึกษาพบว่าร้อยละ 60-92 ของแฝดไข่ใบเดียวกัน จะเป็นเด็กออทิสติกเหมือนกัน และพบได้ร้อยละ 10 ในแฝดไข่คนละใบ มี โอกาสเกิดโรคในพี่น้องเด็กออทิสติกถึง 1: 50 นอกจากนี้ยังพบว่ามีความเก่ียวข้องกับความผิดปกติ ของโครโมโซมตัวที่ 2, 7, 13, 15, 16 และ 19
2) ปัจจัยโครงสร้างทางสมอง เชื่อว่าเกิดจากเซลล์สมองผิดปกติและความไม่ สมดุลของสารเคมีในระบบประสาท
3) ปัจจัยทางสารสื่อประสาท (Neurotransmitter factors) พบว่ามีระดับสาร สื่อประสาทบางอย่างผิดปกติ ดังนี้
Serotonin ในเลือดสูง ซึ่งเป็นสารเคมีที่สำคัญในการทางานของสมอง ส่วนท่ีควบคุมอารมณ์พฤติกรรมทางสังคม
Endorphins มีการทำหน้าที่มากกว่าปกติ โดยไปยับยั้งการเติบโตของ ระบบประสาท ทาให้การทำงานของระบบประสาทเสียสมดุล เกิดพฤติกรรมอยู่ไม่นิ่ง การกระทำซ้ำๆก้าวร้าว และขาดความสนใจ
Catecholamine การทำงานที่เพิ่มข้ึนของ Dopamine ทำให้มี
Homovanillic acid (HVA) ในน้ำไขสันหลังเพิ่มขึ้น เด็กออทิสติกบางรายมีระดับความเจ็บปวดลดลง มีแนวโน้มในการทาร้ายตนเองอย่างรุนแรงซ้าๆ เช่น โขกศีรษะ
Sulfate ในเลือดต่ำ ทำให้สารสื่อประสาททำงานแปรปรวน
4) ปัจจัยทางภูมิคุ้มกัน (Immunology factor) เด็กออทิสติกบางรายมีจานวนT-cell และ Immunoglobulin A (IgA) ซึ่งช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายอยู่ในระดับต่ำ
5) ปัจจัยของมารดาขณะตั้งครรภ์ ขณะคลอด หรือหลังคลอด เช่น มีเลือดออก ในช่วง3 เดือนแรกของการต้ังครรภ์การใช้ยาขณะตั้งครรภ์มีขี้เทาในถุงน้ำคร่ำการคลอดผิดปกติ การเจ็บป่วยหลังคลอด เช่น โรคไข้สมองอักเสบ หัด ไอกรน ก็จะส่งผลต่อพัฒนาการของสมองผิดปกติได้
ปัจจัยทางจิตสังคม (Psychological factors)
การเลี้ยงดูซึ่งในปัจจุบันเชื่อว่าเป็นปัจจัยเสริมท่ีทำให้เด็กออทิสติกมีอาการมากขึ้นหรือช่วยให้อาการของเด็กออทิสติกดีข้ึนได
อุบัติการณ์
จากการศึกษาพบว่าร้อยละ 60-92 ของแฝดไข่ใบเดียวกัน จะเป็นเด็กออทิสติกเหมือนกัน และพบได้ร้อยละ 10 ในแฝดไข่คนละใบ มี โอกาสเกิดโรคในพี่น้องเด็กออทิสติกถึง 1: 50
การวินิจฉัย
A. เข้าเกณฑ์ต่อไปนี้ 6 ข้อหรือมากกว่าจากหัวข้อ (1) (2) และ (3) โดยอย่างน้อยต้องมี 2 ข้อ จากหัวข้อ (1) และจากหัวข้อ (2) และ (3) อีกหัวข้อละ 1 ข้อ
(1) มีคุณลักษณะในการเข้าสังคมที่ผิดปกติโดยแสดงออกอย่างน้อย2ข้อต่อไปนี้
(1.1) บกพร่องอย่างชัดเจนในการใช้ท่าทางหลายอย่าง (เช่น การสบตา การแสดงสีหน้า กิริยาหรือท่าทางประกอบการเข้าสังคม)
(1.2) ไม่สามารถสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อนในระดับที่เหมาะสมกับอายุได้
(1.3) ไม่แสดงความอยากเข้าร่วมสนุก ร่วมทาสิ่งท่ีสนใจ หรือร่วมงานให้เกิด ความสาเร็จกับคนอื่นๆ (เช่น ไม่แสดงออก ไม่เสนอความเห็น หรือไม่ชี้ว่าตนสนใจอะไร)
(1.4) ไม่มีอารมณ์หรือสัมพันธภาพตอบสนองกับสังคม
(2) มีคุณลักษณะในการสื่อสารผิดปกติโดยแสดงออกอย่างน้อย1ข้อต่อไปน้ี
(2.1) พัฒนาการในการพูดช้าหรือไม่มีเลย โดยไม่แสดงออกว่าอยากใช้การ สื่อสารวิธีอื่นมาทดแทน (เช่น แสดงท่าทาง)
(2.2) ในรายที่พูดได้ ก็ไม่สามารถเร่ิมพูดหรือสนทนาต่อเนื่องกับคนอื่นได้ (2.3) ใช้คาพูดซ้ำหรือใช้ภาษาที่ไม่มีใครเข้าใจ
(2.4) ไม่มีการเล่นสมมติที่หลากหลาย คิดเองตามจินตนาการ หรือเล่น เลียนแบบสิ่งต่างๆ ตามสมควรกับพัฒนาการ
(3) มีแบบแผนพฤติกรรม ความสนใจ หรือกิจกรรมที่จำกัด ใช้ซ้ำ และรักษาเป็น เช่นเดิม โดยแสดงออกอย่างน้อย 1 ข้อ ต่อไปนี้
(3.1) หมกมุ่นกับพฤติกรรมซ้าๆ (Stereotyped) ต้ังแต่ 1 อย่างขึ้นไป และ ความสนใจในส่ิงต่างๆ มีจำกัดซึ่งเป็นภาวะท่ีผิดปกติทั้งในแง่ของความรุนแรงหรือสิ่งที่สนใจ
(3.2) ติดกับกิจวัตรหรือย้ำทำกับบางส่ิงบางอย่างที่ไม่มีประโยชน์โดยไม่ยืดหยุ่น
(3.3) ทากิริยาซ้ำๆ (Mannerism) (เช่น เล่นสะบัดมือ หมุน โยกตัว)
(3.4) สนใจหมกมุ่นกับเพียงบางส่วนของวัตถุ
B. มีความช้าหรือผิดปกติในด้านต่างๆ ต่อไปนี้ ก่อนอายุ 3 ปี
1) ปฏิสัมพันธ์กับสังคม
2) ภาษาที่ใช้สื่อสารกับสังคม
3)เล่นสมมตหรือเล่นตามจินตนาการ
C. ความผิดปกติไม่เข้ากับ Rett's disorder หรือ Childhood disintegrative disorder
ในเด็กอายุ 18 เดือนขึ้นไป ถ้าพบว่ามีอาการผิดปกติเหล่าน้ีตั้งแต่ 2 ข้อขึ้นไป ควร นึกถึงโรคออทิสติก และควรมีการดำเนินการเพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรคและให้ความช่วยเหลืออย่าง ทันที
1) เล่นสมมติ เล่นจินตนาการไม่เป็น (Lack of pretend play)
2) ไม่สามารถชี้นิ้วบอกความต้องการได้ (Lack of protodeclarative pointing)
3) ไม่สนใจเข้ากลุ่ม หรือเล่นกับเด็กคนอื่น (Lack of social interest)
4) ไม่มีพฤติกรรมที่แสดงออกถึงความสนใจร่วมกับคนอื่นได้ (Lack of jointattention)
ปัญหาทางการพยาบาล
บกพร่องในการพูดสื่อสารเนื่องจากการพูดล่าช้า
เสี่ยงต่อพัฒนาการล่าช้า เนื่องจากโรคออทิสติก
เสี่ยงต่อการเกิดพฤติกรรมรุนแรงท่ีอาจเป็นอันตรายต่อตนเองและผู้อื่นเนื่องจาก ขาดความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม
ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมบกพร่องเนื่องจากไม่สามารถสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่นได้
การรักษา
1) การกระตุ้นพัฒนาการ การปรับพฤติกรรม ฝึกพูด และ. ให้การศึกษาท่ีเหมาะสมช่วย ให้เด็กมีอาการดีขึ้น
2) การรักษาด้วยยา เป็นการรักษาตามอาการเพื่อลดพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดปัญหาใน การดูแล และทำให้ผู้ป่วยได้รับประโยชน์จากการรักษาด้วยวิธีอื่น โดยยาที่ใช้ร่วมกับการรักษาโรค ออทิสติก
ยาต้านโรคจิตเช่นRisperidone, Chlorpromazine, Theoridazine และ Haloperidol ในการรักษาพฤติกรรมก้าวร้าวทาร้ายตนเอง ซน อยู่ไม่นิ่ง ที่อาจเป็นอันตรายต่อตนเอง และผู้อ่ืน ซึ่งยากลุ่มนี้จะช่วยลดพฤติกรรมทาซ้าๆ กระวนกระวาย โดยใช้ร่วมกับยากันชัก
ยาต้านเศร้า ในกรณีท่ีมีอารมณ์ซึมเศร้าร่วมด้วย เช่น Fluoxetine, Fluvoxamine, Sertraline และ Clomipramine
ยาคลายกังวลช่วยลดความวิตกกังวลและมีส่วนช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย - ยาในกลุ่มอ่ืนๆ เช่น ยากันชัก และวิตามินบี 6
การพยาบาล
1) การดูแลความปลอดภัย
2) การกระตุ้นพัฒนาการ
5) พฤติกรรมบำบัด
3) การให้คำปรึกษาครอบครัว
4) การเล่นเพื่อการบำบัด
6) ครอบครัวบำบัด
7) การจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อการบำบัด
8) โภชนบำบัด
9) การสอนทางสุขภาพ