Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Intellectual Disabilities - Coggle Diagram
Intellectual Disabilities
ความหมาย -ความบกพร่องทางสติปัญญาและการปรับตัวก่อนอายุ18ปี
สาเหตุ
ปัจจัยทางชีวภาพ
ปัจจัยทางชีวภาพ เป็นสาเหตุได้ตั้งแต่ขณะตั้งครรภ์ ขณะคลอด และหลังคลอด มักพบมีความ
ผิดปกติอื่นร่วมด้วย สาเหตุได้แก่
โรคทางพันธุกรรม
การติดเชื้อ
การได้รับสารพิษ
การขาดออกซิเจน
การขาดสารอาหาร
การเกิดอุบัติเหตุต่างๆ
ปัจจัยทางจิตสังคม
ขาดการเลี้ยงดูที่เหมาะสม ถูกทอดทิ้ง ครอบครัวแตกแยก ฐานะยากจน
อยู่ในภาวะแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ ขาดความกระตือรือรัน ขาดแรงจูงใจที่ดี
อุบัติการณ์
พบร้อยละ 1-3 บองประชากรพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง โดยอัตราชาย:หญิง ประมาน 1.5:1
อาการสำคัญและระดับความรุนแรงมี 4ระดับ
ระดับป่านกลาง (Moderate Mental Retardation) ระดับIQ อยู่ในช่วง35-50
ในช่วงขวบปีแรก มักจะมีพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวปกติแต่พัฒนาการด้านภาษาและด้านการพูดจะล่าช้า ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนในช่วงวัยเตาะแตะ การศึกษาหลังจากระดับชั้นประถมต้น มักไม่ค่อยพัฒนา
ระดับรุนแรง (Severe Mental Retardation)
ระดับIQ อยู่ในช่วง 20-35
จะพบทักษะทางการเคลื่อนไหวล่าช้าอย่างชัดเจน ด้านภาษาพัฒนาเล็กน้อย ทักษะการสื่อความหมายมีเพียงเล็กน้อยหรือไม่มี พอจะฝึกฝนทักษะการดูแลตนเองเบื้องต้นได้บ้างแต่น้อย
ระดับน้อย (Mild Mental Retardation) ระดับIQ อยู่ในช่วง 50-70
หากสังเกตอย่างละเอียด จะพบว่าเด็กเหล่านี้มีความสามารถต่ำกว่าเกณฑ์อย่างเห็นได้ชัดเจนตั้งแต่วัยอนุบาล ไม่มีอาการแสดงทางร่างกาย ทางบุคลิกภาพ หรือทางพฤติกรรมใดโดยเฉพาะ ที่บ่งบอกถึงความบกพร่องทางสติปัญญา
ยกเว้นกลุ่มอาการที่มีลักษณะพิเศษทางรูปร่างหน้าตา ปรากฎให้เห็น ก็จะทำให้สามารถวินิจฉัยได้ตั้งแต่แรกเกิด หรือในวัยทารก อาทิ กลุ่มอาการดาวน์ ( Down Syndrome) แต่ความผิดปกติเหล่านี้ ก็
เป็นเพียงส่วนน้อยเท่านั้น
เต็กในกลุ่มนี้สามารถพัฒนาทักษะด้านสังคม และการสื่อความหมายได้เหมือนเด็กทั่วไป แต่มักมีความบกพร่องด้านประสาทสัมผัส และการเคลื่อนไหว สามารถเรียนรู้ได้ (educable) ทักษะทางวิชาการมักเป็นปัญหาสำคัญที่พบในวัยเรียน แต่ก็สามารถเรียนจนจบชั้นประถมปลายได้
ระดับรุนแรงมาก (Profound Mental Retardation) ระดับIQต่ำกว่า20
มีพัฒนาการล่าช้าอย่างชัดเจนในทุกๆด้าน มักมีพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว และฝึกการช่วยเหลือตนเองได้บ้าง มีขีดจำกัดในการเข้าใจและการใช้ภาษาอย่างมากต้องการความช่วยเหลือ ดูแลอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา
การรักษา
การส่งเสริมศักยภาพครอบครัว
ให้คำปรึกษาสำหรับครอบครัว เพื่อลดความเครียดของครอบครัว ให้ข้อมูลและทางเลือกต่างๆในการตัดสินใจ และให้กำลังใจ
การส่งเสริมพัฒนาการ (Early Intervention)ควรจัดโปรแกรมการฝึกทักษะที่จำเป็นในการเรียนรู้ ส่งเสริมพัฒนาการทุกๆด้าน ทำอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่พัฒนาการที่เหมาะสมตามวัยในทุกๆด้าน
การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์
กายภาพบำบัด (Physical Therapy) เน้นพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่ การเคลื่อนไหวแก้ไขการเดิน และลดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ
กิจกรรมบำบัด (Occupational Therapy) เน้นพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก การหยิบจับสมาธิ และการรับรู้สัมผัส
แก้ไขการพูด (Speech Therapy) เน้นพัฒนาการด้านภาษาและการสื่อสาร
ฝึกทักษะในชีวิตประจำวัน (Activity of Daily Living Training) เน้นพัฒนาการด้านสังคม และการดูแลตนเองในชีวิตประจำวัน
การฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการศึกษา
ส่งเสริมการจัดการเรียนร่วมให้มากที่สุด โดยทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP -Individualized Educational Program)
การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม
การส่งเสริมให้เด็กสามารถใช้ชีวิตในสังคม และชุมชนได้ปกติตามศักยภาพ โดยการเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกอย่างเท่าเทียม
การฟื้นฟูสมรรถภาพทางอาชีพ
การฝึกทักษะพื้นฐานทางอาชีพเฉพาะด้าน และฝึกลักษณะนิสัยในการทำงานที่เหมาะสม
ปัญหาทางการพยาบาล
3.บกพร่องในการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่นเนื่องจากพัฒนาการ ล่าช้า
4.บกพร่องในการพูดสื่อสารเนื่องจากพัฒนาการล่าช้า
2.บกพร่องในการดูแลตนเองและทักษะในการดำรงชีวิตประจำวันเนื่องจากความพร่องทางสติปัญญาและการรับรู้
5.บกพร่องในการเผชิญปัญหาเนื่องจากขาดความสามารถในการ. เรียนรู้
1.การเจริญเติบโตและพัฒนาการล่าช้าเนื่องจากความบกพร่องทางสติปัญญาและการรับรู้
การวินิจฉัย
การตรวจวินิจฉัย โดยการรวบรวมประวัติจากบิดา มารดา ผู้เลี้ยงดู
สมุดบันทึกสุขภาพ แม่และเด็ก ข้อมูลการตั้งครรภ์และการคลอด การเจริญเติบโตและพัฒนาการ ข้อมูลโรงเรียน เช่น จำนวนนักเรียนที่สอบตกซ้าชั้น จำนวนนักเรียนที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเด็กพิเศษ การตรวจร่างกาย การตรวจสภาพจิต และการสัมภาษณ์
การวัดการเจริญเติบโต การตรวจร่างกาย น้ำหนัก ส่วนสูง เส้นรอบศีรษะ พบว่า microcephaly, hydrocephalus, hypogenitalia หรือ macroorchidism ในเด็กผู้ชายมัก เกี่ยวข้องกับปัญญาอ่อน
การประเมินเชาว์ปัญญา โดยการประเมินความรู้ท่ัวไป ภาษา การวาดภาพ สังเกตความ ทะมัดทะแมง การจับดินสอ การควบคุมและความคล่องแคล่วในการใช้มือ
การตรวจสภาพจิตและการสัมภาษณ์ ควรพบเด็กพร้อมกับผู้ปกครอง ประเมิน ความสามารถในการใช้ภาษา และการสื่อความหมาย การแสดงออกระหว่างเด็กและผู้เลี้ยงดู การรับรู้ ความจา อาการทางจิตเวช เช่น วิตกกังวลตลอดเวลา ไม่กระตือรือร้น อดทนน้อย พึ่งพาผู้อื่น ทำร้าย ตนเอง หรือแสดงพฤติกรรมซ้ำๆ
การพยาบาลที่สำคัญ
สอน แนะนำ หรือให้คำปรึกษาครอบครัวในเรื่องโรคแนวทางการดูแลเด็กปัญญา อ่อนให้ได้รับการตอบสนองความ ต้องการขั้นพื้นฐานทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคมและ การมีส่วนร่วมของครอบครัวในการดูแล
การกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการโดยเน้นทักษะด้านร่างกาย และทักษะในการ ดำรงชีวิตประจำวันอย่างต่อเนื่อง
จัดสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัยไม่เกิดอันตราย รวมท้ังการจัดส่ิงแวดล้อมเพื่อส่งเสริม การเรียนรู้และพัฒนาการในทักษะด้านการดำรงชีวิตประจำวัน
การให้คำปรึกษาครอบครัวในการระบายความรู้สึก สร้างเสริมกำลังใจเพื่อ ประคับประคองและช่วยวางแผนการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก
การสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดอย่างต่อเนื่องเป็นรายบุคคล ให้เกิดความ ไว้วางใจในตัวพยาบาลเพื่อช่วยให้เด็กเผชิญ กับภาวะเครียดวิตกกังวลได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดย. ระบายความรู้สึกด้วยการเล่น
การทำกิจกรรมบำบัด เป็นการฝึกใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ได้แก่ การใช้มือหยิบจับ ส่ิงของฝึกการทำงานของตาและมือให้ประสานกัน
การฝึกพูด เริ่มจากการฝึกใช้กล้ามเนื้อช่วยพูด บังคับกล้ามเน้ือเปล่งเสียง การออก เสียงให้ถูกต้อง ซึ่งต้องกระทำตั้งแต่เด็กอายุต่ำกว่า 4 จึงจะได้ผลดีท่ีสุด
การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา โดยสนับสนุนให้ได้เรียนรู้ชีวิตในสังคมร่วมกับ คนปกติ และได้มีโอกาสเรียน ซึ่งการจัดการศึกษาเป็นการจัดการศึกษาพิเศษเฉพาะบุคคลท่ีมีภาวะ บกพร่องทางสติปัญญาล้วนๆ จัดให้เท่าที่จำเป็น แต่จะส่งเสริมการจัดการเรียนร่วมให้มากที่สุด
การฟื้นฟูสมรรถภาพทางอาชีพ เริ่มที่อายุ 15-18 ปี เป็นสิ่งจำเป็นต่อการประกอบ อาชีพในวัยผู้ใหญ่ ได้แก่ ฝึกการตรงต่อเวลา รู้จักรับคำสั่งและนำมาปฏิบัติ การปฏิบัติตนต่อผู้ร่วมงาน และมารยาทในสังคม