Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การเงินการคลังสุขภาพ (Health care financing) - Coggle Diagram
การเงินการคลังสุขภาพ (Health care financing)
แนวคิดทางการเงินการคลังในระบบสุขภาพ
กระบวนการสนับสนุนด้านการเงินให้กับบริการสาธารณสุข เพื่อใช้ตามพันธกิจหลักเเละพันธกิจรอง
มีเป้าหมายคือสถานะสุขภาพของประชาชนดีขึ้นสูงสุด
เป้าหมายของการคลังสุขภาพ
1.ทำให้มีเงินเพียงพอในการจัดบริการสุขภาพ
ประเทศยากจน: จะหาเงินมาจากไหนให้พอในการจัดบริการ
ประเทศปานกลาง: จะทำอย่างไรจึงจะมีหลักประกันสุขภาพครอบคลุม
ประเทศร่ำรวย: จะควบคุมค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นได้อย่างไร
2.จัดระบบกลไกให้ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด
การเลือกซื้อบริการ: จะเลือกซื้อบริการอะไร
การจ่ายค่าบริการ: เพื่อให้ผู้ให้บริการมีเเรงจูงใจในการให้บริการ มีประสิทธิภาพในการบริการสูง จ่ายค่าบริการอย่างไร อัตราเท่าใด
3.ให้ประชาชนเข้าถึงบริการสุขภาพที่มีประสิทธิภาพเท่าเทียมกัน
จ่ายเงินอย่างไรให้ประชาชนได้รับบริการเท่าเทียมกัน
แหล่งการเงินการคลังในระบบบริการสาธารณสุข
หน่วยบริการสุขภาพ
ระบบบริการภาครัฐ
ระบบบริการภาคเอกชน
แหล่งเงินจากภาครัฐ: งบประมาณภาครัฐ รายจ่ายจากองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น สวัสดิการข้าราชการ
แหล่งการคลังอื่นๆ: เงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ เงินอื่นๆ
แหล่งเงินจากภาคเอกชน: รายจ่ายโดยตรงจากครัวเรือน รายจ่ายจากระบบประกันสุขภาพโดยสมัครใจ(ประกันชีวิต)
ข้อดีข้อเสีย
แหล่งเงินจากภาครัฐ: มีเสถียรภาพได้จากการเก็บภาษี ขึ้นอยู่กับนโยบายทางการเมือง
แหล่งการคลังอื่นๆ: ไม่เเน่นอนขึ้นอยู่กับสภาพความรุนเเรงของปัญหาภายในประเทศ
แหล่งเงินจากภาคเอกชน: ขาดเสถียรภาพง่ายขึ้นอยู่กับภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ(การถูกเลิกจ้างงาน รายจ่ายเพิ่มขึ้น) หาบริการอื่นทดเเทนได้
สภาพปัญหาการคลังในระบบบริการสาธารณสุข
แหล่งเงินจากภาครัฐ: งบประมาณภาครัฐ รายจ่ายจากองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น สวัสดิการข้าราชการ
มีระบบประกันสุขภาพ 3 ระบบ
กระทรวงการคลัง
กระทรวงสาธารณสุข
กระทรวงเเรงงาน
สภาพปัญหา เกิดความซ้ำซ้อนในการบริหารจัดการ การลักลั่นของสิทธิประโยชน์ ภาระเปลี่ยนประกัน การจัดการบริหารด้านการงานเงินการคลัง
ปัจจัยที่มีผลต่อสมดุลทางการเงิน
การเปลี่ยนเเปลงโครงสร้างประชาชน
การเปลี่ยนเเปลงสถานภาพและกระบวนการรักษา
การเปลี่ยนเเปลงการอภิบาลระบบ
การเปลี่ยนเเปลงด้านเศรษฐกิจ
ตัวเเปรที่มีผลต่อสมดุลการเงิน
รายรับ: เงินสมทบ,ภาษี,รายได้,อัตราการพึ่งพิง
รายจ่าย: ต้นทุนต่อหน่วยบริการ
ปัญหาระหว่างผู้เอาประกันและผู้ให้บริการ
ผู้เอาประกัน
กลุ่มเสี่ยงซื้อประกันมากกรณี voluntary insurance
จริยธรรมการใช้บริการ โดยการใช้บริการมากเกินจำเป็น
องค์กรประกัน
คัดเลือกกลุ่มเสี่ยงกรณี voluntary insurance
ผู้ให้บริการ
จริยธรรมการให้บริการ
การให้บริการเกินความจำเป็น
การให้บริการต่ำกว่าที่ควรจะเป็น
ความไม่สมมาตรของข้อมูล
ข้อมูลที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในตลาดเเต่ละฝ่ายมีนั้นไม่เท่ากัน
Moral hazard
ปัญหา moral hazard คือ หลังจากผู้เอาประกันทำสัญญาประกันเเล้ว มีพฤติกรรมเปลี่ยนไปเพราะเกิดความรู้สึกว่า "ฉันจะทำอะไรก็ได้ เดี๋ยวประกันก็มาจ่าย"
พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้บริษัทประกันต้องรับมือกับการจ่ายค่าสินไหมทดเเทนบ่อยขึ้นโดยไม่จำเป็น
2.ปัญหา adverse selection กลุ่มหนึ่งมีความเสี่ยงสูง กลุ่มหนึ่งมีความเสี่ยงต่ำ และผู้เอาประกันทั้งสองกลุ่มต่างรู้เเก่ใจว่าตนอยู่ในกลุ่มไหน แต่บริษัทประกันไม่ทราบ
การเงินเเละการเจ็บป่วยในระบบสุขภาพ
Family
Patient
Office
องค์ประกอบในระบบประกันสุขภาพ
ประชาชน/ผู้ป่วย
ผู้ให้บริการ
กองทุน
รัฐ/องค์กรวิชาชีพ
ประเภทของการประกันสุขภาพ
การสร้างหลักประกันสุขภาพจากระบบภาษี
การประกันสุขภาพเเบบบังคับ
การประกันสุขภาพเเบบสมัครใจ
รูปเเบบหลักประกันสุขภาพในประเทศไทย
สวัสดิการสังคม
ประกันสุขภาพสมัครใจ
ประกันสังคมภาคบังคับ
กองทุนเงินทดเเทน
สวัสดิการข้าราชการ
ประกันผู้ประสบจากรถ
ประกันสุขภาพเอกชน
สวัสดิการรักษาพยาบาลและพนักงานรัฐวิสาหกิจ
ประกันสังคม กองทุนเงินทดเเทน การประกันภัยภายใต้พรบ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า
การจ่ายเงินให้สถานบริการ
จ่ายย้อนหลังตามบริการ
จ่ายเงินล่วงหน้าตามข้อตกลง
จ่ายเงินเเบบผสม
แรงจูงใจสำคัญสำหรับผู้ให้บริการ
รายกิจกรรม: เพิ่มจำนวนผู้มารับบริการเพิ่มปริมาณที่ให้บริการ เลือกให้บริการราคาเเพง
เหมาจ่ายรายหัว: เพิ่มจำนวนผู้มาขึ้นทะเบียน แต่ลดการมารับบริการของเเต่ละคน และลดปริมาณที่ให้บริการลง
ตามรายป่วย: เพิ่มจำนวนผู้รับบริการเเต่ลดปริมาณที่ให้บริการ และเลิกให้บริการที่ราคาถูกลง
งบยอดรวม: ลดจำนวนผู้ป่วย ลดจำนวนบริการลง
เงินเดือน: ลดจำนวนผู้ป่วย ลดจำนวนบริการลง
ราคารายวัน: เพิ่มจำนวนวันนอนของผู้ป่วย
อัตราคงที่: ให้บริการเฉพาะส่วนที่จะมีเงินเพิ่มพิเศษ ละเลยบริการอื่นๆ