Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะบกพร่องทางสติปัญญา Intellectual Disabilities (ID), พบได้ร้อยละ 23 -…
ภาวะบกพร่องทางสติปัญญา
Intellectual Disabilities (ID)
จัดอยู่ในกลุ่ม neurodevelopmental disorder เป็นความผิดปกติของพัฒนาการด้านสติปัญญา ทำให้ความสามารถทางปัญญาทั่วไปบกพร่อง (การทำความเข้าใจข้อมูล การเรียนรู้และการใช้ทักษะใหม่ ๆ) มีข้อจำกัดของการใช้ความคิด การเข้าใจแนวคิดที่ซับซ้อน การสรุปความคิดรวบยอด การใช้เหตุผล การแก้ปัญหา การตัดสินใจ และการเรียนรู้จากประสบการณ์ ส่งผลให้มีปัญหาการปรับตัวในการดำรงชีวิตประจำวัน
การวินิจฉัย
ความบกพร่องด้านสติปัญญา
การให้เหตุผล การแก้ปัญหา การวางแผน
ความคิดด้านนามธรรม การตัดสินใจ การเรียนด้านวิชาการ และการเรียนรู้ผ่านประสบการณ
การทดสอบ โดยการประเมินสติปัญญาทางคลินิกรายบุคคล และการทำแบบทดสอบมาตรฐานด้านสติปัญญา
ความบกพร่องด้านการปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อม
เป็นผลจากความล้มเหลวของพัฒนาการตามวัย ทำให้ไม่สามารถดูแลช่วยเหลือตนเองได้ และไม่สามารถรับผิดชอบตนเองในด้านต่าง ๆ ทางสังคมตามเกณฑ์ที่วัฒนธรรมสังคมกำหนดไว้ ทำให้กิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันถูก
จำกัด เช่น การติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่น การเข้าไปมีส่วนร่วมในสังคม และการดำรงชีวิตโดยไม่ต้องพึ่งพาผู้อื่น ทั้งที่บ้าน โรงเรียน/ สถานที่ทำงาน และในชุมชน
ความบกพร่องของสติปัญญา และการปรับตัว ในระยะพัฒนาการ
แบ่งออกเป็น 4 ระดับ ตามความรุนแรงของอาการที่แสดงออก ตาม DSM-5 (2013)
ระดับเล็กน้อย (Mild): IQ อยู่ในช่วง 50-70
มักได้รับการวินิจฉัยเมื่อเด็กเข้าสู่วัยเรียนแล้ว เนื่องจากในวัยก่อนเรียนพัฒนาทักษะทางสังคมและการสื่อความหมายได้เพียงพอ ส่วนใหญ่เรียนได้ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรือสูงกว่า เมื่อเป็นผู้ใหญ่สามารถทำงาน แต่งงาน ดูแลครอบครัวได้ แต่อาจต้องการความช่วยเหลือบ้างเป็นครั้งคราวเมื่อมีปัญหาชีวิตหรือหน้าที่การงาน มักไม่พบสาเหตุทางพยาธิสภาพ ส่วนใหญ่จะสัมพันธ์กับปัจจัยทางสังคมและเศรษฐสถานะยากจนหรือด้อยโอกาส ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมที่มีผลต่อภาวะบกพร่องทางสติปัญญา
อาการและอาการแสดง
ด้านความคิดรวบยอด(Conceptual domain)
เด็กวัยก่อนเรียน จะสังเกตความผิดปกติด้านนี้ได้ไม่ชัดเจน
เด็กวัยเรียนและผู้ใหญ่ จะพบว่ามีปัญหาด้านทักษะการเรียนหนังสือในด้านการอ่าน การเขียน การคำนวณ รวมทั้งปัญหาเรื่องเวลา หรือเรื่องเงิน จึงจำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือตั้งแต่หนึ่งด้าน หรือมากกว่าหนึ่งด้าน เพื่อให้สามารถเรียนรู้ได้เหมาะสมกับวัย
วัยผู้ใหญ่ จะมีความบกพร่องของความคิดด้านนามธรรมความสามารถในการบริหารจัดการเรื่องที่สำคัญ (เช่น การวางแผน การใช้กลยุทธวิธีต่าง ๆ การจัดลำดับความสำคัญก่อนหลัง และความยืดหยุ่นด้านความคิด) ความจำระยะสั้นและการใช้ทักษะต่าง ๆ ด้านวิชาการ (เช่น การอ่าน การบริหารจัดการด้านเงิน)และจะพบวิธีการแก้ปัญหาแบบรูปธรรมทั่ว ๆ ไปไม่มีควาซับซ้อน เมื่อเทียบกับบุคคลวัยเดียวกัน
ด้านสังคม (Social domain)
จะพบความไม่มีวุฒิภาวะด้านการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม เช่น การไม่สามารถรับรู้ หรือเข้าใจความหมายต่างๆทางสังคมของเพื่อนได้อย่างถูกต้อง กาติดต่อสื่อสาร การสนทนา และการใช้ภาษาจะเป็นแบบรูปธรรมพื้นๆ ง่ายๆ หรือไม่มีวุฒิภาวะที่เหมาะสมตามวัย
อาจมีการควบคุมพฤติกรรมและอารมณ์ ได้ไม่เหมาะสมตามวัย ซึ่งจะสังเกตได้จากเพื่อนที่อยู่ด้วยในสถานการณ์ต่างๆ
มีข้อจำกัดในความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะเสี่ยงต่างๆ ในสภาพสังคมปัจจุบัน เช่น การตัดสินใจที่ไม่เหมาะสมกับอายุ และเสี่ยงต่อการถูกบุคคลอื่นหลอกใช้
ด้านการปฏิบัติตน (Practical domain)
บุคคลสามารถดูแลสุขภาพส่วนบุคคลได้เหมาะสมกับวัย แต่ต้องการความช่วยเหลือในการทำกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ที่ซับซ้อนเมื่อเปรียบเทียบกับเพื่อน
วัยผู้ใหญ่ ยังต้องการความช่วยเหลือในการใช้จ่าย การเดินทาง การจัดการงานบ้านและการดูแลบุตร การเตรียมอาหาร การไปทำธุระที่ธนาคาร และการบริหารจัดการเรื่องเงิน
ทักษะในการพักผ่อนหย่อนใจ จะคล้ายคลึงกับเพื่อนวัยเดียวกัน แต่ยังต้องการความช่วยเหลือด้านการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับสภาพความเป็นอยู่ และการบริหารจัดการ
วัยผู้ใหญ่ งานที่ทำจะไม่เน้นงานที่ต้องใช้ทักษะในการใช้ความคิด
บุคคลต้องการความช่วยเหลือทั่ว ๆ ไปด้านการตัดสินใจในการดูแลสุขภาพด้านกฎหมาย การเรียนรู้ทักษะการประกอบอาชีพ และต้องการความช่วยเหลือในการ เลี้ยงดูครอบครัว
ระดับปานกลาง (Moderate): IQ อยู่ในช่วง 35-49
มักได้รับการวินิจฉัยตั้งแต่วัยก่อนเรียน เมื่ออายุประมาณ 2-3 ปี โดยพบว่าอาจมีความแตกต่างของระดับความสามารถในด้านต่างๆ เช่น กลุ่มอาการดาวน์ล่าช้าในด้านการใช้ภาษา กลุ่มอาการวิลเลี่ยม (Williams syndrome) บกพร่องในทักษะการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับมิติสัมพันธ์ (visuo-spatial processing skills) และบางรายมีความสามารถทางภาษาเด่น ในบางรายพบพยาธิสภาพชัดเจน สามารถเรียนได้ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 2-3 ในวัยเรียนมักต้องการการจัดการศึกษาพิเศษ สามารถเรียนรู้การเดินทางตามลำพังได้ในสถานที่ที่คุ้นเคย ใช้ชีวิตในชุมชนได้ดีทั้งการดำรงชีวิตและการงาน แต่ต้องการความช่วยเหลือปานกลาง ตลอดชีวิต ประมาณร้อยละ 20 ดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยตนเอง
ด้านความคิดรวบยอด(Conceptual domain)
ตลอดช่วงพัฒนาการจะพบว่าทักษะด้านความคิดรวบยอดจะมีความด้อยอย่างชัดเจนเมื่อเทียบกับเพื่อนวัยเดียวกัน
วัยเด็กก่อนเรียน จะมีพัฒนาการล่าช้า ในด้านทักษะภาษา และทักษะต่าง ๆก่อนเข้าโรงเรียน
วัยเรียนจะมีพัฒนาการล่าช้าด้านการอ่าน การเขียน การคำนวณ และไม่เข้าใจเกี่ยวกับเรื่องเวลา ส่วนเรื่องเงินจะเข้าใจอย่างช้า ๆ เมื่อเทียบกับเพื่อนวัยเดียวกัน
วัยผู้ใหญ่ พัฒนาการทักษะด้านวิชาการ จะเทียบได้กับเด็กชั้นประถม และต้องการความช่วยเหลือเกี่ยวกับการใช้ทักษะด้านวิชาการในการทำงาน และชีวิตส่วนตัว
ในการดำรงชีวิตประจำวัน ยังต้องการความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง และอาจต้องมีบุคคลอื่นเข้ามาดูแลรับผิดชอบเรื่องต่าง ๆ
ด้านสังคม (Social domain)
แสดงออกพฤติกรรมในสังคม และการติดต่อสื่อสาร แตกต่างอย่างมากจากเพื่อนวัยเดียวกันตลอดช่วงพัฒนาการ
ใช้ภาษาในการติดต่อสื่อสารในสังคมที่ง่าย ๆ ไม่มีความซับซ้อนเมื่อเทียบกับเพื่อนวัยเดียวกัน
มีสัมพันธภาพที่ดีกับครอบครัว และเพื่อน และอาจสืบเนื่องสัมพันธภาพได้ตลอดช่วงชีวิต ทั้งอาจมีสัมพันธภาพแบบโรแมนติกในช่วงวัยผู้ใหญ่ แต่บุคคลอาจไม่เข้าใจ ในการแปลความหมายทางสังคมอย่างถูกต้อง
มีข้อจำกัดด้านการตัดสินใจทางสังคม และความสามารถในการตัดสินใจ โดยผู้ดูแลจะต้องช่วยเหลือบุคคลเกี่ยวกับการตัดสินใจในชีวิต
มีข้อจำกัดทางสังคมและการสื่อสาร บุคคลต้องการความช่วยเหลือ
ด้านการปฏิบัติตน (Practical domain)
ช่วยเหลือตนเองได้ แต่จะต้องใช้เวลาอย่างมากในกิจกรรมเหล่านี้และต้องมีการทบทวนให้เป็นระยะ ๆ
งานบ้าน จะสำเร็จได้ต้องมีผู้ใหญ่คอยช่วยเหลือ และขยายระยะเวลาในการทำงานออกไป และคอยช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง
การทำงานมีข้อจำกัดที่จะประสบผลสำเร็จในด้านความคิดรวบยอด ทักษะการติดต่อสื่อสาร และต้องการความช่วยเหลือมากจากผู้ร่วมงาน ผู้นิเทศงาน และบุคคลอื่น
ทักษะด้านนันทนาการสามารถถูกพัฒนาขึ้นได้ โดยเฉพาะต้องการด้านความช่วยเหลือ และต้องขยายระยะเวลาในการเรียนรู้
ระดับรุนแรง (Severe): IQ อยู่ในช่วง 20-34
พบความผิดปกติของพัฒนาการตั้งแต่ขวบปีแรก มักมีพัฒนาการล่าช้าทุกด้าน โดยเฉพาะพัฒนาการด้านภาษา สื่อความหมายได้เพียงเล็กน้อยหรือพูดไม่ได้เลย บางรายเริ่มพูดได้เมื่อเข้าสู่วัยเรียน มีปัญหาในการเคลื่อนไหว ในบางรายพบพยาธิสภาพมากกว่า 1 อย่าง มีทักษะการป้องกันตนเองน้อย มีความจำกัดในการดูแลตนเอง ทำงานง่ายๆได้ ส่วนใหญ่ต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิดหรือต้องช่วยในทุกๆด้านอย่างมาก ตลอดชีวิต
ด้านความคิดรวบยอด (Conceptual domain)
ทักษะด้านความคิดรวบยอดอย่างจำกัด
มีความเข้าใจน้อยเกี่ยวกับการเขียนภาษา หรือความคิดเกี่ยวกับตัวเลข ปริมาณ เวลา และเรื่องเงิน ผู้ดูแลต้องให้ความช่วยเหลืออย่างมากด้านการแก้ไขปัญหาตลอดช่วงชีวิตของบุคคลนั้น
ด้านสังคม (Social domain)
ข้อจำกัดอย่างมากเกี่ยวกับภาษาที่ใช้ในการพูดทั้งด้านคำศัพท์ และไวยากรณ์
พูดอาจเป็นคำๆ เดียว หรือเป็นวลี โดยใช้วิธีอื่นเสริม เพื่อให้สื่อความหมายได้ ภาษาพูด และการติดต่อสื่อสาร จะเน้นที่นี่ และปัจจุบันเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่ เกิดขึ้นประจำวัน
มีความเข้าใจคำพูดง่าย ๆ และท่าทางที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร
ด้านการปฏิบัติตน(Practical domain)
การเรียนรู้เกี่ยวกับทักษะด้านต่าง ๆ ต้องใช้ระยะเวลาในการสอนนาน และต้อง ช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง
ต้องการความช่วยเหลือในด้านกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ทั้งในด้าน การรับประทานอาหาร การอาบน้ำการแต่งตัว และการขับถ่าย
วัยผู้ใหญ่ ต้องการความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับงานต่าง ๆ ในบ้าน การนันทนาการ และการทำงาน การเรียนรู้เกี่ยวกับทักษะด้านต่างๆ
ระดับรุนแรงมาก (Profound): IQ น้อยกว่า 20
พัฒนาการล่าช้าชัดเจนตั้งแต่เล็กๆทั้งในด้านประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว อาจจะฝึกการช่วยเหลือตนเองได้บ้าง แต่ต้องอาศัยการฝึกอย่างมาก ส่วนใหญ่พบว่ามีพยาธิสภาพ ต้องการการดูแลตลอดเวลา ตลอดชีวิต แม้จะเป็นผู้ใหญ่แล้วก็ตาม
ด้านความคิดรวบยอด(Conceptual domain)
จะเกี่ยวข้องกับสิ่งที่จับต้องได้ มากกว่าสิ่งที่เป็นสัญลักษณะ
มีทักษะที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ด้านการมองเห็น เช่น การจับคู่ การจำแนกชนิด วัตถุที่มีลักษณะเหมือนกัน อย่างไรก็ตามสิ่งที่เกิดร่วมด้วยในด้านความบกพร่อง ของการเคลื่อนไหว และการรับความรู้สึกอาจเป็นปัญหาในการหยิบจับวัตถุ
อาจต้องใช้วัตถุมาจูงใจ เพื่อให้บุคคลคูแลความสะอาดของร่างกาย การทำงาน และการนันทนาการ
ด้านสังคม (Social domain)
มีข้อจำกัดในความเข้าใจการติดต่อสื่อสารในเชิงสัญลักษณ์ทั้งด้านคำพูด หรือท่าทาง
ความรู้สึกที่ร่วมด้วยและความบกพร่องของทางร่างกายอาจเป็นอุปสรรคในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในสังคม
ด้านการปฏิบัติตน(Practical domain)
พึ่งพาผู้อื่นในการดูแลความสะอาดของร่างกาย สุขภาพ และความปลอดภัย ประจำวัน แม้จะทำกิจกรรมเหล่านี้ได้ได้บ้าง
ความบกพร่องทางกาย และการรับความรู้สึก จะเป็นเป็นอุปสรรคต่อการมีส่วน ร่วมในบ้าน นันทนาการ และการประกอบอาชีพกิจกรรมด้านนันทนาการที่อาจทำได้ เช่น การฟังดนตรี การชมภาพยนตร์ การเดินเล่นหรือการเข้าร่วมกิจกรรมทางน้ำจะต้องได้รับความช่วยเหลือดูแล
สาเหต
1) พันธุกรรม
โดยโรคทางพันธุกรรมที่พบบ่อย ได้แก่ Down
syndrome, Tuberous sclerosis, Phenylketonuria (PKU) และ Inborn error of metabolism
พบร้อยละ 32
2) ภาวะแทรกซ้อนในระยะก่อนคลอดและระหว่างคลอด
ภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์
การติดเชื้อ เช่น หัดเยอรมัน เริม ซิฟิลิส และเอชไอวี
การเสพสารเสพติดที่ผลต่อการพัฒนาของสมอง
แอลกอฮอล์ แอมเฟตามีน การได้รับสารตะกั่ว
ภาวะทุพโภชนาการ ภาวะครรภ์เป็นพิษ
ภาวะแทรกซ้อนระหว่างการคลอด
การคลอดก่อนกำหนด และการขาดออกซิเจนระหว่างคลอด (Birth asphyxia)
ภาวะแทรกซ้อนในระยะแรกเกิด
ภาวะบิลลิรูบินในเลือดสูง (Hyperbilirubinemia) ภาวะการมีเลือดออกในสมอง (Intracranial hemorrhage)
3) สาเหตุเกิดขึ้นภายหลัง
พบได้ร้อยละ 8
การติดเชื้อ เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis) สมองอักเสบ (Encephalitis) การบาดเจ็บที่ศีรษะ เนื้องอกในสมอง
ผลจากการรักษาทางเคมีบำบัด การฉายรังสี ภาวะทุพโภชนาการรุนแรง และการขาดสารอาหารบางชนิด เช่น ไอโอดีน ธาตุเหล็ก การได้รับพิษจากสารตะกั่ว การเป็นโรค เช่น ไฮโปธัยรอยด์ (Hypothyroidism) และภาวะชักผิดปกติ (Seizure disorder)
4) ความผิดปกติที่ไม่ทราบสาเหตุแน่นอน
พบได้ร้อยละ 8
Neural tube defect
และ Cornelia de Lange
5) ไม่ทราบสาเหตุ
พบได้ร้อยละ 25
การรักษา
การรักษาโรคทางกายที่เป็นสาเหตุ เช่น Hypothyroidism, Phenylketonuria
และ Hydrocephalus
การรักษาโรคทางกายที่มักพบร่วมกับโรคที่เป็นสาเหตุ เช่น การรักษาHypothyroidism ในผู้ป่วย Down syndrome และการรักษาอาการชักผิดปกติของผู้ป่วยที่มีภาวะปัญญาอ่อนระดับรุนแรง
การให้คำปรึกษาผู้ป่วย สนับสนุนให้ผู้ป่วยเข้าใจและยอมรับความสามารถที่บกพร่องของตนเองตามความเป็นจริงสามารถเข้าใจและจัดการอารมณ์ของตนเองได้
การให้คำปรึกษาครอบครัว
ออกหนังสือรับรองความพิการตาม พ.ร.บ. การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ.2534
การบำบัดรักษาทางจิตสังคมต้องปรับให้เหมาะสมกับความสามารถทางสติปัญญาและการสื่อความหมายของผู้ป่วย ส่วนการรักษาด้วยยาควรใช้ในเด็กที่มีความผิดปกติทางจิตร่วมด้วยอย่างชัดเจน
การช่วยเหลือด้านการศึกษา พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 10บัญญัติให้มีการจัดตั้งศูนย์การศึกษาพิเศษระดับจังหวัดเป็นหน่วยงานรับผิดชอบ
การวินิจฉัยการพยาบาล (Nursing Diagnosis)
เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนไหวของร่างกายในผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว
กิจกรรมการพยาบาล
จัดสิ่งแวดล้อมที่มีความปลอดภัยสำหรับผู้ป่วย เช่น
นำสิ่งของขนาดเล็ก (กระดุม เม็ดมะขาม ฯลฯ) และสิ่งของมีคม (มีด กรรไกร ฯลฯ) ออกจากบริเวณที่ผู้ป่วยอยู่
2.วางสิ่งของที่ผู้ป่วยใช้ประจำให้สะดวกในการที่ผู้ป่วยจะนำมาใช้
จัดเตรียมไม้คั่นเตียง และนวมบริเวณหัวเตียง เพื่อป้องกันการกระแทก ในกรณีที่ผู้ป่วยมีประวัติชัก
4.ป้องกันการทำร้ายร่างกายจากผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว โดยสังเกตไม่กระตุ้นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดความก้าวร้าว
การประเมินผล
ผู้ป่วยไม่ได้รับอันตรายทางร่างกาย
ผู้ป่วยไม่มีพฤติกรรมก้าวร้าว
บกพร่องในการดูแลตนเอง เนื่องจากมีความบกพร่องทางสติปัญญา/ บกพร่องทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
กิจกรรมการพยาบาล
ระบุรายละเอียดการดูแลตนเองตามความสามารถของผู้ป่วย โดยใช้การอธิบายง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน
2.ให้คำชมเชยผู้ป่วยที่พยายามทำกิจกรรมดูแลช่วยเหลือตนเอง
3.เมื่อผู้ป่วยได้แสดงถึงความสามารถอย่างเต็มที่ในการทำกิจกรรมช่วยเหลือตนเองชนิดหนึ่งแล้ว ให้พยาบาลแนะนำการทำกิจกรรมอื่นต่อไป
การประเมินผล
1.ผู้ป่วยสามารถทำกิจกรรมการดูแลช่วยเหลือตนเองได้
ความต้องการการดูแลช่วยเหลือตนเองของผู้ป่วยบรรลุผลสำเร็จ
บกพร่องด้านการติดต่อสื่อสารโดยใช้คำพูด เนื่องจากมีพัฒนาการล่าช้า
กิจกรรมการพยาบาล
จัดให้มีเจ้าหน้าที่ที่สามารถสื่อสาร และเข้าใจผู้ป่วยขึ้นทำงานตลอดเวลา
คาดเดา และพยายามเข้าใจความต้องการของผู้ป่วย จนผู้ป่วยเกิดพอใจในการ สื่อสาร และควรเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับคำพิเศษที่ผู้ป่วยใช้สื่อสารในครอบครัว ซึ่งอาจแตกต่างจาก คำศัพท์ที่มีใช้ทั่ว ๆ ไป
เรียนรู้ลักษณะท่าทางที่ไม่ใช้คำพูด และสัญลักษณ์ที่ผู้ป่วยอาจจะใช้เพื่อแสดงถึง ความต้องการต่าง ๆ
การประเมินผล
ผู้ป่วยสามารถสื่อสารกับผู้ดูแลด้วยความเข้าใจกัน
2.ผู้ดูแลสามารถคาดเดาความต้องการของผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถติดต่อสื่อสารได้
พบได้ร้อยละ 23