Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
:pencil2: การพยาบาลผู้ป่วยจิตเวชเด็ก, อ้างอิง จิราพร รักการ. (ม.ป.ป). …
:pencil2:
การพยาบาลผู้ป่วยจิตเวชเด็ก
Intellectual Disabilities(ID)
ภาวะปัญญาอ่อน หรือความบกพร่องทางสติปัญญา
ความหมาย
:red_flag: ตามเกณฑ์ของ DSM-IV-TR ภาวะที่ผู้ป่วยมีระดับเชาวน์ ปัญญาต่ำกว่าค่าเฉลี่ย คือมี IQ ต่ำกว่า 70 โดยเริ่มมีอาการแสดงก่อนอายุ 18 ปี ร่วมกับมีความสามารถในการปรับตัวบกพร่องอย่างน้อย 2 ด้าน จาก 10 ด้าน ดังนี้
การสื่อความหมาย (Communication)
การดูแลตนเอง (Self-care)
การดำรงชีวิตภายในบ้าน (Home living)
การปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นในสังคม (Social and interpersonal skills)
การนำความรู้มาใช้ในชีวิตประจำวัน (Functional academic skills)
การใช้แหล่งทรัพยากรในชุมชน (Used of community resources)
การควบคุมตนเอง (Self-direction)
การใช้เวลาว่าง (Leisure)
การทำงาน (Work)
การดูแลสุขภาพและความปลอดภัย (Health and safety)
สาเหตุ
1.พันธุกรรม
ร้อยละ 32 : โดยโรคทางพันธุกรรมที่พบบ่อย ได้แก่ Down syndrome
2.ภาวะแทรกซ้อนในระยะก่อนคลอดและระหว่างคลอด
ร้อยละ 23 :
การติดเชื้อ เช่น หัดเยอรมัน เริม ซิฟิลิส HIV
เสพสารเสพติดที่ผลต่อการพัฒนาของสมอง เช่น แอลกอฮอล์ แอมเฟตามีน
ภาวะแทรกซ้อนระหว่างการคลอด เช่น การคลอดก่อน
กำหนด และการขาดออกซิเจนระหว่างคลอด (Birth asphyxia)
3.สาเหตุเกิดขึ้นภายหลัง
ร้อยละ 8 ได้แก่ การติดเชื้อ
4.ความผิดปกติที่ไม่ทราบสาเหตุแน่นอน
ร้อยละ 8 ได้แก่ Neural tube defect และ Cornelia de Lange
5
.
ไม่ทราบสาเหตุ
พบได้ร้อยละ 25
ประเภท,อาการและอาการแสดง
1.ระดับเล็กน้อย
ใช้เวลาเรียนรู้ที่จะพูดนานขึ้น แต่สื่อสารได้ดีขึ้น เมื่อเข้าใจ
มีปัญหาในการอ่านและเขียน
ไม่บรรลุนิติภาวะ
ไม่มีความรับผิดชอบในการแต่งงาน หรือเลี้ยงดูบุตร
สามารถเรียนรู้ได้จากการศึกษาเฉพาะทาง
ระดับไอคิวอยู่ระหว่าง 50 – 69
เมื่ออายุมากขึ้น สามารถที่จะดูแลตัวเองได้
2.ระดับปานกลาง
มีความเข้าใจ และเรียนรู้ใช้ภาษาได้ช้า
มีปัญหาในการสื่อสาร
สามารถเรียนรู้ทักษะการอ่านการเขียน และการนับขั้นพื้นฐานได้
ต้องการความช่วยเหลือจากคนรอบข้าง
เดินทางไปยังสถานที่คุ้นเคยด้วยตัวเองได้
สามารถมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคมได้
ระดับไอคิวอยู่ระหว่าง 35 – 49
3.ระดับรุนแรง
มีปัญหาทางกายภาพอย่างชัดเจน
มีพัฒนาการของระบบประสาทส่วนกลางที่ผิดปกติ
ระดับไอคิวอยู่ระหว่าง 20 – 34
4.ระดับรุนแรงมาก
ไม่สามารถเข้าใจหรือปฏิบัติตามคำบอกได้
ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้
ต้องสื่อสารด้วยอวัจนะภาษาขั้นพื้นฐาน
ไม่สามารถดูแลตัวเองได้อย่างอิสระ
ต้องการความช่วยเหลือและการดูแลจากคนรอบข้าง
ระดับไอคิวต่ำกว่า 20
การวินิจฉัย
การรวบรวมประวัติ
จากบิดา มารดา ผู้เลี้ยงดูสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก ข้อมูลการตั้งครรภ์และการคลอด การเจริญเติบโตและพัฒนาการ ข้อมูลโรงเรียน การตรวจร่างกาย การตรวจสภาพจิต และการสัมภาษณ์
การวัดการเจริญเติบโต
การตรวจร่างกาย น้ำหนัก ส่วนสูง เส้นรอบศีรษะ
การประเมินเชาว์ปัญญา
โดยการประเมินความรู้ทั่วไป ภาษา การวาดภาพ สังเกตความทะมัดทะแมง การจับดินสอ การควบคุมและความคล่องแคล่วในการใช้มือ
การตรวจสภาพจิตและการสัมภาษณ์
ควรพบเด็กพร้อมกับผู้ปกครอง ประเมิน
ความสามารถในการใช้ภาษา และการสื่อความหมาย การแสดงออกระหว่างเด็กและผู้เลี้ยงดู การรับรู้ความจำ
การรักษา
1.การรักษาโรคทางกายที่เป็นสาเหตุ เช่น Hypothyroidism, Phenylketonuria และ Hydrocephalus เป็นต้น
2.การรักษาโรคทางกายที่มักพบร่วมกับโรคที่เป็นสาเหตุ เช่น การรักษา Hypothyroidism ในผู้ป่วย Down syndrome
3.การให้คำปรึกษาผู้ป่วย สนับสนุนให้ผู้ป่วยเข้าใจ และยอมรับความสามารถที่บกพร่อง
4.การให้คำปรึกษาครอบครัว ในระยะแรกครอบครัวต้องการข้อมูลในเรื่องสาเหตุ การดูแลรักษา การพยากรณ์โรค ควรช่วยลดความรู้สึกผิดและความขัดแย้งในครอบครัว
5.ออกหนังสือรับรองความพิการตาม พ.ร.บ. การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ.2534
6.การบำบัดรักษาทางจิตสังคมต้องปรับให้เหมาะสมกับความสามารถทางสติปัญญาและการสื่อความหมายของผู้ป่วย
7.การช่วยเหลือด้านการศึกษา พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 10
ปัญหาทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนไหวของร่างกายในผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว
บกพร่องในการดูแลตนเอง เนื่องจากมีความบกพร่องทางสติปัญญา/ บกพร่องทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
บกพร่องด้านการติดต่อสื่อสารโดยใช้คำพูด เนื่องจากมีพัฒนาการล่าช้า
บกพร่องในการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นในสังคม เนื่องจากไม่
สามารถใช้คำพูดสื่อสารได้/ ไม่สามารถแสดงออกถึงพฤติกรรมทางสังคม
การพยาบาล
1.สอน แนะนำ หรือให้คำปรึกษาครอบครัวในเรื่องโรค แนวทางการดูแลเด็กปัญญาอ่อนให้ได้รับการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานทั้งด้านร่างกาย ิตใจ อารมณ์ และสังคม และการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการดูแล
2.การกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการโดยเน้นทักษะด้านร่างกาย และทักษะในการดำรงชีวิตประจำวันอย่างต่อเนื่อง
3.จัดสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัยไม่เกิดอันตราย รวมทั้งการจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาการในทักษะด้านการดำรงชีวิตประจำวัน
4.การให้คำปรึกษาครอบครัวในการระบายความรู้สึก สร้างเสริมกำลังใจเพื่อประคับประคองและช่วยวางแผนการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก
5.การสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดอย่างต่อเนื่องเป็นรายบุคคล
6.การทำกายภาพบำบัด
7.การฝึกพูด เริ่มจากการฝึกใช้กล้ามเนื้อช่วยพูด บังคับกล้ามเนื้อเปล่งเสียง การออกเสียงให้ถูกต้อง ซึ่งต้องกระทำตั้งแต่เด็กอายุต่ำกว่า 4 จึงจะได้ผลดีที่สุด
8.การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา โดยสนับสนุนให้ได้เรียนรู้ชีวิตในสังคมร่วมกับคนปกติ และได้มีโอกาสเรียน
9.การฟื้นฟูสมรรถภาพทางอาชีพ เริ่มที่อายุ 15-18 ปี
ระบาดวิทยา
ความชุกประมาณร้อยละ 1.3 พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง ในอัตราส่วน 1.5 : 1
ผู้ป่วยภาวะบกพร่องทางสติปัญญาระดับเล็กน้อย (Mild) พบร้อยละ 85
ผู้ป่วยภาวะบกพร่องทางสติปัญญาระดับปานกลาง(Moderate) พบร้อยละ 10
ระดับรุนแรง (Severe) พบร้อยละ 4
และระดับรุนแรงมาก (Profound) พบร้อยละ 1-2
โรคออทิสติก (Autistic Disorders) หรือ
ออทิซึม (Autism)
ความหมาย
เป็นความผิดปกติของพัฒนาการเด็กซึ่งมีลักษณะเฉพาะตัว โดยเด็กไม่
สามารถพัฒนาทักษะทางสังคม และการสื่อความหมายได้เหมาะสมตามวัย
ลักษณะพฤติกรรม กิจกรรม และความสนใจ เป็นแบบแผนซ้ำๆ จำกัดเฉพาะบางเรื่อง และไม่ยืดหยุ่น ปัญหาดังกล่าวเป็นตั้งแต่เล็ก ส่งผลให้เกิดข้อจำกัดในการดำรงชีวิต
สาเหตุ
1.ปัจจัยทางชีวภาพ (Biological factors)
ปัจจัยทางพันธุกรรม (Genetic factor)
ปัจจัยโครงสร้างทางสมอง
ปัจจัยทางสารสื่อประสาท
ปัจจัยทางภูมิคุ้มกัน (Immunology factor
ปัจจัยของมารดาขณะตั้งครรภ์ ขณะคลอด หรือหลังคลอด
ปัจจัยทางจิตสังคม (Psychological factors) : การเลี้ยงดู ซึ่งในปัจจุบัน
เชื่อว่าเป็นปัจจัยเสริมที่ทำให้เด็กออทิสติกมีอาการมากขึ้นหรือช่วยให้อาการของเด็กออทิสติกดีขึ้นได้
ระบาดวิทยา
พบในเด็กที่อายุน้อยกว่า 5 ปี ประมาณ 10 ต่อประชากรเด็ก 10,000 คน
ชายพบมากกว่าหญิง ในอัตราส่วน 3.3 : 1
อาการและอาการแสดง
ความบกพร่องในการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม (Impairment in social interaction)
ไม่ใส่ใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นรอบๆ ตัว เช่น เรียกแล้วไม่หัน
การเพ่งและการมองจะแปลกกว่าเด็กอื่น สบตาน้อย
ไม่ค่อยเข้าใจกับกฎเกณฑ์ของสังคม
ชอบเล่นคนเดียว ไม่เล่นกับเด็กอื่น เข้ากับเพื่อนได้ยาก
การสื่อสารกับผู้อื่นทั้งการพูดและภาษาท่าทาง (Verbal and Non-verbal communication)
ไม่พูดหรือเริ่มพูดช้า แต่มีรูปแบบของการท่องจำซ้ำๆ และไม่สื่อความหมาย
เลี่ยงการสบตา พูดในสิ่งที่ตัวเองสนใจ
มีปัญหาในการสื่อสารทางภาษากาย เช่น ผงกหัว ส่ายหน้า
พฤติกรรมและความสนใจแบบจำเพาะซ้ำเดิมเพียงไม่กี่ชนิด (Restricted,repetitive and stereotypic behaviors and interests) เช่น การสะบัดมือ หมุนข้อเท้า โยกศีรษะ
การวินิจฉัย
การวินิจฉัยตามเกณฑ์ DSM-5
A. มีความบกพร่องอย่างต่อเนื่องในการติดต่อสื่อสาร และการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
บกพร่องในการมีความสัมพันธ์ทางอารมณ์ซึ่งกันและกันในสังคม เช่น มีความผิดปกติด้านการปฏิบัติต่อผู้อื่นในสังคม
บกพร่องด้านการแสดงพฤติกรรมในการติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่นในสังคม เช่น ไม่สามารถบูรณการเข้าด้วยกันทั้งการติดต่อสื่อสารแบบใช้และไม่ใช้คำพูด
บกพร่องในการพัฒนา การเข้าใจ และคงไว้ซึ่งสัมพันธภาพ
B. รูปแบบของพฤติกรรมที่ทำซ้ำๆ ความสนใจ และกิจกรรมต่างๆ มีรูปแบบจำกัด
แสดงการเคลื่อนไหว การใช้วัตถุ และการพูดซ้ำๆ ในรูปแบบเดิมๆ
ยืนกรานทำสิ่งเดิมๆ ยึดติด และขาดความยืดหยุ่นในการทำกิจวัตรประจำวัน หรือรูปแบบการใช้คำพูด และไม่ใช้คำพูด
มีความสนใจที่จำกัดอยู่ไม่กี่เรื่อง
มีปฏิกิริยาตอบสนองความรู้สึกทั้งมาก และน้อยเกินไป หรือสนใจรับรู้ลักษณะต่างๆ ในสิ่งแวดล้อมอย่างผิดปกติ
C. อาการแสดงเหล่านี้อาจปรากฏในช่วงต้นๆ ของพัฒนาการ แต่อาจไม่เป็นที่สังเกตจนกว่าความคาดหวังทางสังคมเกินความสามารถของเด็ก
D. อาการที่เป็นสาเหตุทางคลินิก คือ ความบกพร่องในสังคม บกพร่องในการประกอบอาชีพ
ปัญหาทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อการทำร้ายตนเอง เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของระบบประสาท เมื่อมีความวิตกกังวลเพิ่มขึ้น
บกพร่องด้านการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม เนื่องจากมโนภาพแห่งตนถูกเบี่ยงเบน
บกพร่องด้านการติดต่อสื่อสารโดยการใช้ค าพูด เนื่องจาก
ไม่สามารถสร้างความไว้วางใจได้/ อยู่ในโลกส่วนตัว/ มีความผิดปกติของระบบประสาท
เอกลักษณ์ส่วนบุคคลแปรปรวน เนื่องจากความไม่สมบูรณ์ของความไว้วางใจกับความไม่ไว้วางใจ
การพยาบาล
การกระตุ้นพัฒนาการ
การให้คำปรึกษาครอบครัว
การเล่นเพื่อการบำบัด
พฤติกรรมบำบัด
ครอบครัวบำบัด
การจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อการบำบัด
โภชนบำบัด
การสอนทางสุขภาพ
การดูแลความปลอดภัย
Attention Deficit Hyperactivity Disorders: ADHD
โรคสมาธิสั้น
ความหมาย
โรคที่มีภาวะสมาธิบกพร่องและมีพฤติกรรมไม่อยู่นิ่ง กลุ่มอาการนี้ประกอบด้วย อาการขาดสมาธิ (Attention deficit) อาการหุนหันพลันแล่น (Impulsivity) อาการซน อยู่ไม่นิ่ง (Hyperactivity) โดยเริ่มแสดงอาการดังกล่าวก่อนอายุ 7 ปีและแสดงอาการในสถานการณ์หรือสถานที่อย่างน้อย 2 แห่งขึ้นไป เช่น ที่โรงเรียนและที่บ้าน
ระบาดวิทยา
การศึกษาในต่างประเทศ พบความชุกร้อยละ 5-12 เพศชายมากกว่าหญิง 2.5 : 1
ในประเทศไทย พบความชุกในเด็กวัยเรียน ร้อยละ 8.1 โดยพบในเพศชายเป็น 3 เท่าของเพศหญิง
สาเหตุ
ปัจจัยทางพันธุกรรม การเกิดโรคมีการถ่ายทอดภายในครอบครัว
ปัจจัยทางชีวภาพที่อาจเป็นสาเหตุ ได้แก่ ภาวะต่างๆ ที่มีผลต่อพัฒนาการของสมอง
เช่น ภาวะทุพโภชนาการ การติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์
ปัจจัยทางสังคมและสิ่งแวดล้อม การเลี้ยงดูและสภาพแวดล้อมภายในบ้านที่ไม่เหมาะสม
อาการและอาการแสดง
1) อาการซุกซนอยู่ไม่นิ่ง (Hyperactivity
ซุกซนมาก นั่งไม่ติดที่ มักลุกเดิน
ในห้องเรียนหรือเดินออกนอกห้อง เล่นผาดโผน
ขณะนั่งอยู่กับที่ก็จะไม่อยู่เฉย อาการซุกซนอยู่ไม่นิ่ง
จะเด่นชัดในวัยอนุบาลและประถมต้น
2) อาการสมาธิสั้น (Inattention)
จะมีลักษณะวอกแวก(Distraction) ต่อสิ่งกระตุ้นรอบข้าง
จดจ่อกับเรื่องหนึ่งเรื่องใดไม่นาน ทำให้เล่นอะไรไม่นาน
เปลี่ยนบ่อย ทำงานไม่เสร็จ
แต่อาจทำบางอย่างที่ชอบได้นานๆ เช่น ดูโทรทัศน์ เล่นเกมคอมพิวเตอร์ หรืออ่านการ์ตูน
3) อาการหุนหันพลันแล่น (Impulsivity)
ยั้งตนเองไม่ค่อยได้ทั้งความคิดและพฤติกรรม ทำให้ดูเหมือนใจร้อน ก้าวร้าว หรือไม่รอบคอบ
ประกอบกับอาการซุกซนอยู่ไม่นิ่งจึงอาจเกิดอุบัติเหตุได้
การวินิจฉัย
การวินิจฉัยตามเกณฑ์ DSM-5
A. มีรูปแบบถาวรของการไม่ใส่ใจ ขาดสมาธิ และ/หรืออาการซนอยู่ไม่นิ่ง
หุนหันพลันแล่น ส่งผลต่อการดำรงชีวิตประจำวัน และพัฒนาการปกติของเด็ก
อาการขาดสมาธิ (Inattention) มีอาการอย่างน้อย 6 อาการขึ้นไป เป็นเวลานานติดต่อกันอย่างน้อย 6 เดือน ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 17 ปีขึ้นไป จะต้องแสดงอาการอย่างน้อย 5 อาการขึ้นไป
มักไม่สามารถจดจำรายละเอียดต่าง ๆ
มักไม่มีสมาธิในการทำงาน หรือการเล่น
ดูเหมือนไม่ตั้งใจฟัง เมื่อมีคนพูดด้วย
มักไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง และไม่สามารถทำงานได้สำเร็จ
มักหลีกเลี่ยง ไม่ชอบ หรือไม่เต็มใจที่จะทำงานที่ต้องใช้ความพยายามด้านความคิดสูง
มักลืมกิจกรรมในชีวิตประจำวัน
การซน อยู่ไม่นิ่ง และอาการหุนหันพลันแล่น โดยมีอาการอย่างน้อย 6 อาการขึ้นไป เป็นเวลานานติดต่อกันอย่างน้อย 6 เดือนผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 17 ปีขึ้นไป จะต้องแสดงอาการอย่างน้อย 5 อาการขึ้นไป
เมื่อนั่งอยู่กับที่มักมีอาการกระวนกระวาย ขยุกขยิก
มักลุกออกจากที่นั่งบ่อย
มักวิ่งไปทั่ว หรือปีนป่ายในสถานการณ์ที่ไม่เหมาะสม
มักไม่สามารถเล่น หรือใช้เวลาว่างที่ต้องอยู่อย่างเงียบ ๆ
มักพูดมาก พูดไม่หยุด
มักมีปัญหาในการรอคอย เช่น การเข้าคิว
มักชอบขัดจังหวะ หรือสอดแทรกผู้อื่น
B. อาการแสดงของการขาดสมาธิ หรือการซน อยู่ไม่นิ่ง หุนหันพลันแล่น แสดงตั้งแต่ก่อนเด็กอายุ 12 ปี
C. อาการแสดงของการขาดสมาธิ หรือการซน อยู่ไม่นิ่ง หุนหันพลันแล่น แสดงอาการให้เห็นอย่างน้อยในสถานที่ 2 แห่งขึ้นไป เช่น ที่บ้าน โรงเรียน
D. มีหลักฐานที่ชัดเจนว่า อาการเหล่านี้จะรบกวน หรือลดคุณภาพด้านสังคมการศึกษา หรือการทำงาน
E. อาการต่าง ๆ เหล่านี้ ไม่ได้เกิดขึ้นในช่วงที่มีอาการของโรคจิตเภท หรือความผิดปกติทางจิต
ปัญหาทางการพยาบาล
บกพร่องด้านการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม เนื่องจากมีพฤติกรรมของโรคซน-สมาธิสั้น
เสี่ยงต่อการได้รับบาดเจ็บ เนื่องจากสภาพแวดล้อมในสังคมมีผลกระทบต่อการปรับตัวของเด็ก
ระดับความรุนแรงของโรค
ระดับเล็กน้อย (Mild) : ส่งผลกระทบเพียงเล็กน้อยต่อการดำรงชีวิตในสังคม หรือการประกอบอาชีพ
ระดับปานกลาง (Moderate) : ความบกพร่องในหน้าที่ต่างๆ ระหว่างระดับเล็กน้อยกับระดับรุนแรง
ระดับรุนแรง (Severe) :อาการแสดงเหล่านี้ส่งผลกระทบอย่างมากต่อการดำรงชีวิตในสังคม หรือการประกอบอาชีพ
การพยาบาล
ให้ความรู้ครอบครัวและส่งเสริมให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการวางแผนการดูแลเด็ก
การจัดสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัยและช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้
การใช้พฤติกรรมบำบัดเพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
การสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดเป็นรายบุคคล
การให้คำแนะนำสำหรับครูเพื่อให้เกิดความเข้าใจและช่วยเหลือเด็กทั้งในด้านการเรียนและการปรับตัวที่โรงเรียน
การให้ความรู้เรื่องการใช้ยาเกี่ยวกับวิธีการใช้ การออกฤทธิ์ ผลข้างเคียง และการติดตามประเมินอย่างต่อเนื่อง
การรักษา
การช่วยเหลือด้านครอบครัว (Family intervention)
1. การให้ความรู้(Psychoeducation)
กับบุคคลในครอบครัวให้เข้าใจโรค
ADHD พร้อมทั้งให้การรับฟัง ตอบข้อซักถาม
2. การฝึกอบรมผู้ปกครอง(Parent management training)
โดยให้ความรู้
และฝึกทักษะในเรื่องการปรับสภาพแวดล้อมเพื่อช่วยในการปรับตัวของเด็ก
การช่วยเหลือด้านโรงเรียน (School intervention)
การให้คำแนะนำแก่ครูเพื่อให้เกิดความเข้าใจ
และการช่วยเหลือในด้านการเรียนการปรับตัวที่โรงเรียน
1.ไม่ควรให้เด็กนั่งติดหน้าต่างหรือประตู เพราะจะทำให้เด็กเสียสมาธิง่าย
ควรมีกิจกรรมให้เด็กได้ผ่อนคลายหากเห็นว่าเด็กหมดสมาธิ โดยให้เด็กลุกจากที่ได้บ้าง
หากเด็กมีสมาธิสั้นมาก ให้ลดระยะเวลาการทำงานให้สั้นลง แต่ให้ทำบ่อยกว่าคนอื่น
ไม่ประจาน หรืองโทษด้วยความรุนแรง
ให้ความสนใจและชื่นชมเมื่อเด็กมีพฤติกรรมที่
ให้ความช่วยเหลือด้านการเรียนพิเศษ เนื่องจากเด็กมีความบกพร่องด้านการเรียนรู้
ให้คำแนะนำผู้ปกครองในการช่วยเหลือเด็กด้านการเรียนที่บ้าน
8.ดูแลเรื่องการรับประทานยามื้อกลางวันในรายที่รักษาด้วยยา
Conduct Disorders: CD
โรคคอนดัค
ความหมาย
บางครั้งเรียกโรคเกเร หรือพฤติกรรมคล้าย อันธพาล เป็นโรคทางจิตเวชเด็กและวัยรุ่นที่แสดงออกถึงปัญหาทางด้านอารมณ์และพฤติกรรมลักษณะสำคัญของโรคคอนดัค คือ จะมีพฤติกรรมที่ละเมิดสิทธิผู้อื่น หรือไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบ
โรคคอนดัค ได้แก่ เด็กอายุต่ ากว่า 18 ปีที่มีพฤติกรรมขโมย พูดปด หลอกลวง หนีเรียนหนีออกจากบ้าน รังแก ชกต่อยคนอื่น
สาเหตุ
1. ปัจจัยทางชีวภาพ
ได้แก่ พันธุกรรม สารสื่อประสาทในสมอง เช่น dopamine หรือ 5-hydroxyindoleacetic acid ผิดปกติ
2. ปัจจัยทางสภาวะแวดล้อม
เช่น เศรษฐานะต่ำ การติดสารเสพติดของบิดามารดา เด็กมีพฤติกรรมเกเร ส่วนมากมาจากครอบครัวที่ไม่สงบสุข
ระบาดวิทยา
พบโรคนี้ได้ร้อยละ 2-10 อัตราความชุกจะใกล้เคียงกันในหลายประเทศ โดยจะมีอัตราสูงขึ้นในเด็กสู่วัยรุ่น
พบในชาย ร้อยละ 6-12 พบในหญิง ร้อยละ 2-9 และพบในเมืองมากกว่าในชนบท
อาการและอาการแสดง
1. ด้านอารมณ์
ความอดทนต่ำ อารมณ์เสีย หงุดหงิดง่าย
ไม่มั่นใจในตนเอง รู้สึกตนเองไม่มีคุณค่า
มักใช้กลไกทางจิตแบบโทษผู้อื่น
ไม่รู้สึกผิดเมื่อถูกลงโทษ
มีความวิตกกังวลและซึมเศร้าร่วมด้วย
2. ด้านพฤติกรรม
ก้าวร้าวรุนแรง มักมีเรื่องทะเลาะวิวาท ชกต่อย ตบตีเป็นประจำ
ดื้อ ไม่เชื่อฟังผู้ปกครองหรือครู
ชอบแกล้งเพื่อนหรือข่มขู่ให้ผู้อื่นทำตามที่ตนต้องการ
ชอบพูดคำหยาบ พูดโกหก
ลักขโมย ทำลายทรัพย์สิน
หนีเรียน หนีออกจากบ้าน
ใช้สารเสพติด สูบบุหรี่ ดื่มสุรา
มีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสมกับวัย
การวินิจฉัย
A. พฤติกรรมที่ละเมิดสิทธิผู้อื่น หรือไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบของสังคมอย่างต่อเนื่อง
โดยทำซ้ำๆ และทำมาเป็นเวลานาน อย่างน้อย 3 ข้อ รอบ 12 เดือนที่ผ่านมา
และอย่างน้อย 1 ข้อ ที่ทำติดต่อกันไม่น้อยกว่า 6 เดือน
ก้าวร้าวต่อคนหรือสัตว์
1) รังแก ข่มขู่ ทำให้ผู้อื่นหวาดกลัว
2) เป็นผู้ที่เริ่มการต่อสู้
3) ใช้อาวุธในการทำร้ายผู้อื่น (ใช้ไม้ อิฐ เศษแก้วที่แตก มีด ปืน)
4) เคยทำร้ายคน
5) เคยทำร้ายสัตว์
6) มีการขโมยต่อหน้าเจ้าของ (ปล้นทรัพย์สินในที่สาธารณะ กระชากกระเป๋า )
7) บังคับให้ผู้อื่นมีกิจกรรมทางเพศด้วย
ทำลายทรัพย์สิน
8) ตั้งใจวางเพลิง เพื่อให้เกิดความเสียหายรุนแรง
9) ตั้งใจทำลายทรัพย์สินซึ่งเป็นความตั้งใจอื่นๆ (นอกเหนือจากการวางเพลิง)
10) งัดแงะบ้าน อาคาร หรือรถของผู้อื่น
11) พูดโกหกบ่อยเพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการหรือหลีกเลี่ยงกฎเกณฑ์
12) ลักขโมยของเล็กๆ น้อยๆ โดยไม่เผชิญหน้ากับเจ้าของ
ฝ่าฝืนกฎระเบียบอย่างรุนแรง
13) ออกนอกบ้านกลางคืนบ่อยครั้งแม้ผู้ปกครองจะไม่อนุญาต เริ่มก่อนอายุ13 ปี
14) หนีออกไปค้างนอกบ้านอย่างน้อย 2 ครั้งในขณะที่อาศัยอยู่กับผู้ปกครอง
15) หนีโรงเรียนก่อนอายุ13 ปี
B. พฤติกรรมที่ผิดปกตินี้เป็นสาเหตุของการบกพร่องทางด้านสังคม ด้านการศึกษา หรือการประกอบอาชีพ
C. ถ้าอายุ 18 ปี หรือมากกว่า ต้องไม่เข้าเกณฑ์ของ Antisocial Personality Disorder
ปัญหาทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อการใช้ความรุนแรงด้านการใช้กำลัง การใช้อารมณ์
และความรุนแรงทางเพศ เนื่องจากพัฒนาการของระบบประสาทบกพร่อง หรือทำงานไม่ปกติ
วิธีการแก้ไขปัญหาไม่เหมาะสม
การพยาบาล
การสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดเพื่อให้เกิดความไว้วางใจ
การให้คำแนะนำการเลี้ยงดูแก่ผู้ปกครองและครูที่โรงเรียนในการจัดการปัญหา
พฤติกรรมต่างๆ ของเด็ก
ส่งเสริมความตระหนักรู้ในพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของตนและรับรู้ว่าพฤติกรรม
ดังกล่าวไม่เป็นที่ยอมรับของสังคม
เปิดโอกาสให้ปรับเปลี่ยนพลังความคับข้องใจ ความโกรธ เป็นพลังสร้างสรรค์
ส่งเสริมความตระหนักรู้ในคุณค่าของตนเอง
การรักษา
การป้องกันได้ผลดีกว่าการรักษา และการรักษาตั้งแต่เริ่มแรกจะได้ผลดีกว่าเมื่อมีปัญหา
มานานแล้ว การรักษาต้องใช้หลายวิธีผสมผสานกันไป พฤติกรรมบำบัด
ครอบครัวบำบัด และการใช้ยาในกลุ่มยารักษาโรคจิต ลิเทียม หรือยากันชัก
อ้างอิง
จิราพร รักการ. (ม.ป.ป). บทที่ 6 การพยาบาลผู้ป่วยจิตเวชเด็ก. สืบค้น 6 พฤศภาคม 2564, จาก
http://www.elnurse.ssru.ac.th/jiraporn_ra/pluginfile.php/87/block_html/
สุรางค์ เชื้อวณิชชากร. (2552). บทที่ 6 การพยาบาลผู้ป่วยจิตเวชในเด็กและวัยรุ่น. สืบค้น 6 พฤศภาคม 2564, จาก
http://www.elnurse.ssru.ac.th/surang_ch/pluginfile.php/334/block_html/