Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กายวิภาคสรีรวิทยาระบบประสาทและเซลล์ประสาท ระบบกล้ามเนื้อและกระดูก - Coggle…
กายวิภาคสรีรวิทยาระบบประสาทและเซลล์ประสาท ระบบกล้ามเนื้อและกระดูก
นิทานสมอง
หน้าที่ของสมอง
สมองมีหน้าที่ควบคุมและสั่งการการเคลื่อนไหว, พฤติกรรม และภาวะธำรงดุล (homeostasis) เช่น การเต้นของหัวใจ, ความดันโลหิต, สมดุลของเหลวในร่างกาย และอุณหภูมิ เป็นต้น หน้าที่ของสมองยังมีเกี่ยวข้องกับการรู้ (cognition) อารมณ์ ความจำ การเรียนรู้การเคลื่อนไหว (motor learning) และความสามารถอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้
สมอง เป็นอวัยวะหลักของระบบประสาทมนุษย์ โดยจัดเป็นระบบประสาทกลางเมื่อรวมกับไขสันหลัง สมองประกอบด้วยสมองใหญ่ ก้านสมอง และสมองน้อย เป็นศูนย์ควบคุมการทำงานของร่างกาย, การแปลผล รวบรวม และประสานข้อมูลที่ได้รับจากประสาทสัมผัส, และการตัดสินใจว่าจะสั่งให้ร่างกายทำการเช่นไร สมองอยู่ในกระดูกหุ้มสมองภายในศีรษะ ลอยอยู่ในน้ำหล่อสมองไขสันหลัง และแยกจากกระแสเลือดด้วยตัวกั้นระหว่างเลือดกับสมอง ซึ่งช่วยป้องกันมันจากอันตราย
-สมองเป็นอวัยวะที่สมบูรณ์ ถ้าขาดออกซิเจน สัก2-3นาที่
สมองจะทำงานไม่ได้สมองต้องการออกซิเจนมากที่สุด และน้ำตาลด้วยแต่ละต้องใช้ช่องทางพิเศษเซลล์ประสาทเบาะบางมาก
ถ้าหิวน้ำสมองจะมีระบบแบบไหน
สมองส่วนไฮโปทาลามัสทำหน้าที่ควบคุมปริมาณสารน้ำในร่างกาย
เมื่อร่างกายมีการสูญเสียน้ำ สมองส่วนไฮโปทาลามัส ซึ่งมีศูนย์ควบคุมการกระหายน้ำ จะสั่งการให้เกิดการดื่มน้ำทดแทน โดยจะรู้สึกกระหายน้ำ และเมื่อมีการกลืนน้ำเข้าไปก็จะช่วยบรรเทาความกระหายได้อย่างรวดเร็ว
การทำงานของสมอง
ระบบประสาทอัตโนมัติ ประกอบด้วย ประสาท 2 ส่วน ที่เรียกว่า ซิมพาเทติก (Sympathetic) และ พาราซิมพาเทติก (Parasympathetic) ซึ่งมีหน้าที่ควบคุม การทำงานของกล้ามเนื้อเรียบ กล้ามเนื้อหัวใจ และต่อมต่าง ๆ ของร่างกาย ควบคุมการทำงาน ของเส้นเลือด ความดันโลหิต การเต้นของหัวใจ ม่านตา การไหลของ เหงื่อ น้ำตา และน้ำลาย การเคลื่อนไหวของลำไส้ การควบคุมกระเพาะปัสสาวะ และความผิดปกติทางเพศ การทำงานต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วเบื้องต้นจะต้องอาศัยการ ทำงานที่ได้สมดุลของ ระบบประสาทอัตโนมัติ ทั้งสองระบบ ระบบประสาทอัตโนมัติ ทำงานโดยผ่านการหลั่งสารเคมีที่สำคัญ คือ อะเซทิลโคลีน (Acetylcholine) และ นอเอพิเนฟริน (Norepinephrine) สมองส่วนที่ควบคุมการทำงานของประสาทอัตโนมัตินี้จะอยู่ที่สมองด้านหลัง หรือส่วนที่เป็น แกนกลางของสมอง ซึ่งจะมีกลุ่มของเซลล์ประสาท ที่อยู่นอกเหนือจากสมอง และไขสันหลัง
นิทานกล้ามเนื้อและไขมัน
หน้าที่ของกล้ามเนื้อ
กล้ามเนื้อถูกทำให้เคลื่อนที่โดยระบบประสาท
กล้ามเนื้อ ทำหน้าที่ ยืด และ หดตัว เพื่อดึงรั้งกระดูกจนทำให้เกิดการเคลื่อนไหวขึ้น
กล้ามเนื้อหัวใจ ทำงานภายใต้ระบบประสาทอัตโนมัติ
กล้ามเนื้อทำหน้าที่หดตัวเพื่อให้เกิดแรงและทำให้เกิดการเคลื่อนที่ (motion) รวมถึงการเคลื่อนที่และการหดตัวของอวัยวะภายใน กล้ามเนื้อจำนวนมากหดตัวได้นอกอำนาจจิตใจ และจำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น การบีบตัวของหัวใจ หรือการบีบรูด (peristalsis) ทำให้เกิดการผลักดันอาหารเข้าไปภายในทางเดินอาหาร การหดตัวของกล้ามเนื้อที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจมีประโยชน์ในการเคลื่อนที่ของร่างกาย และสามารถควบคุมการหดตัวได้
ถ้าอยากยกแขนจะเป็นแบบไหนคะ
เมื่อมีการยกแขนขึ้น เซลล์ประสาทจะส่งสัญญาณนำคำสั่งไปที่เส้นใยกล้ามเนื้อด้วยสารสือประสาท กระแสประสาทส่งสัญญาณไปที่กล้าทเนื้อมัดที่ต้องเคลื่อนไหว คำสั่งจากประสาทส่วนหลังให้กล้ามเนื้อเพื่อยกแขนขึ้น ส่งประสาทไปที่กล้ามเนื้อเวลาต้องทำงานหรือต้องการออกกำลังกาย
กล้ามเนื้อนั้นต้องอาศัยพลังงานซึ่งอยู่ในรูปของกลูโคส ที่ได้จากอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตที่เรารับประทานเข้าไป โดยอาจเป็นกลูโคสที่สะสมอยู่ในกล้ามเนื้อเอง หรืออาจส่งมาจากส่วนอื่นของร่างกายที่ผ่านมาทางกระแสเลือดก็ได้ และในขั้นตอนการเปลี่ยนกลูโคสเป็นพลังงานนั้นต้องอาศัยออกซิเจนจากเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ผ่านมาตามกระแสเลือดด้วย
ในขณะวิ่งกล้ามเนื้อมีการเอาไขมันมาใช้แบบไหน
คนเรานั้นเก็บสะสมพลังงานจากคาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน จากอาหารที่เรารับประทานเข้าไป โดยคาร์โบไฮเดรตจะถูกสะสมไว้ในรูปของไกลโคเจน อยู่ในตับและกล้ามเนื้อ โปรตีนเก็บไว้ในรูปแบบของกล้ามเนื้อ
จากการเผาผลาญไกลโคเจน การเผาผลาญกลูโคสในเลือดมาใช้ แหล่งพลังงานส่วนที่สองนี้แม้จะมีมากกว่าส่วนแรก แต่ก็เริ่มหมดลงในช่วง 2 นาทีเป็นต้น
น้ำตาลในร่างกายจะถูกเผาไหม้ ใช้ในการที่ร่างการขาดพลังงานและต้องนำไขมันที่เก็บอยู่ออกมาใช้
-เผาพลาญไขมัน เอาไปใช้ทดแทน
นิทานเซลล์ประสาท
หน้าที่ของเซล์ประสาท
ทำหน้าที่เกี่ยวกับการรับรู้และการตอบสนอง แต่ละเซลล์อาจมีการเชื่อมโยงเกี่ยวพันกับเซลล์ประสาทอื่นเป็นพันๆเซลล์ นับเป็นเรื่องอัศจรรย์มากที่เซลล์จำนวนมากสามารถทำงานเกี่ยวกับการรับส่งสัญญาณระหว่างสิ่งเร้าภายนอกกับภายในร่างกายได้อย่างมีระบบ
เป็นตัวครบคุมและเป็นศูนย์กลางข้าง เป็นตัวส่งสัญญาณระบบต่าง
เซลล์ประสาทประสานงาน (association neuron) เซลล์ประสาทชนิดนี้อยู่ในสมองและไขสันหลัง จะเชื่อมต่อระหว่างเซลล์ประสาทรับความรู้สึกกับเซลล์ประสาทสั่งการ ใยประสาทของเซลล์ประสาทประสานงาน
ถ้าร่างกายต้องการจะไอเซลล์ประสาทจะทำแบบใด
ข้อมูลถูกส่งเร็วด้วยผู้ส่งสารไปที่ Sympathetic nervous และไปที่หัวใจและไอเป็นการตอบสนองกลับใช้เป็นปฎิกิริยาสนองกลับ ต้องมีการทำงานอย่างเป็นระบบไม่งั้นจะเกิดปฎิกิริยาที่เสียหาย
ถ้ามีเหตุหรือความผิดปกติต้องมีการทำลายและแลกเปลี่ยนใหม่ มีการส่งสัญญาณย้อนกลับและส่งไปที่ไขสันหลัง และสั่งให้ไอและส่งสารไปกระตุ้นไปที่ไขสันหลังรับแต่เป็นเอ็นติบอดีไม่รับอย่างอื่น ปฎิกิริยาไปที่ซีโครงและมีการไอออกมา มีออกซิเจนที่มีมากต้องมีการปฎิกิริยา
เซลล์ประสาทสั่งการ (motor neuron) มักมีใยประสาทแอกซอนยาวกว่าเดนไดรต์ อาจยาวถึง 1 เมตร เพราะเซลล์ประสาทสั่งการที่อยู่ในไขสันหลังต้องส่งกระแสประสาทออกจากไขสันหลัง เพื่อนำกระแสประสาทไปยังหน่อยปฏิบัติงานเช่นกล้ามเนื้อแขนขา ซึ่งอยู่ห่างไกลจากไขสันหลังมาก
นิทานโครงกระดูก
เซลล์สร้างกระดูก
เป็นกระบวนการสร้างเนื้อกระดูก โดยที่เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เช่นกระดูกอ่อนเปลี่ยนแปลงไปเป็นกระดูกหรือเนื้อเยื่อที่คล้ายกระดูก เนื้อเยื่อที่เกิดกระบวนการกลายเป็นกระดูกจะมีหลอดเลือดยื่นเข้าไปข้างใน เซลล์กระดูกอ่อนไม่ยอมเปลี่ยนเป็นกระดูกหลัก
กระดูกวิวัฒนาการมาเป็นโครงสร้างในสัตว์มีกระดูกสันหลังกระดูกวิวัฒนาการมาจากเนื้อเยื่อซึ่งวิวัฒนาการเพื่อเก็บสะสมแร่ธาตุ จากแบบจำลองดังกล่าว แร่ธาตุเช่นแคลเซียมถูกสะสมไว้ในกระดูกอ่อน และกระดูกเป็นการปรับตัวโดยกระบวนการสร้างเนื้อกระดูกของกระดูกอ่อน[3] อย่างไรก็ตาม ความเป็นไปได้อื่นๆ กล่าวว่าเนื้อเยื่อกระดูกวิวัฒนาการขึ้นมาเพื่อเป็นตัวกั้นออสโมติก หรือเพื่อเป็นโครงสร้างที่ใช้ป้องกัน
Endochondral ossification เป็นการกลายเป็นกระดูกโดยทดแทนโครงแบบเดิมของกระดูกอ่อน โดยที่กลุ่มเซลล์มีเซนไคม์ (mesenchyme) จะเข้าไปแทนที่เซลล์กระดูกอ่อนผ่านทางหลอดเลือด เริ่มจากส่วนกลางของกระดูกซึ่งเป็นจุดการสร้างกระดูกปฐมภูมิ (primary ossification center) เมื่อเซลล์มีเซนไคม์มีการพัฒนาไปเป็นเซลล์ต้นกำเนิดเซลล์กระดูก จึงมีการสะสมของเนื้อกระดูกมากขึ้น
จะมีแคลเซียมและฟอสฟอรัสมาเปลี่ยนกระดูกอ่อนเป็นกระดูกแข็งและมีวิตามินที่ช่วยจับฟอสฟอรัสและแคลเซียม
หน้าที่กระดูก
โครงกระดูกมีหน้าที่สำคัญในการค้ำจุนและรักษารูปร่างให้ทรงตัวอยู่ได้ ช่วยป้องกันอวัยวะภายในร่างกาย เช่นกระดูกซี่โครงป้องกันหัวใจ ปอด และตับกะโหลกศีรษะป้องกันเนื้อเยื่อสมองเป็นต้นกระดูกยังเป็นที่ยึดเกาะของเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อเยื่อช่วยในการเคลื่อนที่ไขกระดูกที่อยู่ภายในกระดูกจะทำหน้าที่สร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาว
คือ เป็นอวัยวะที่ประกอบขึ้นโครงร่างแข็งภายในของสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังและในกระดูกเด็กยังมีกระดูกอ่อนจำนวนมาก
เมื่อเกิดการหักของกระดูก
เมื่อกระดูกหักมีเลือดไหลออกมาบริเวณของเนื้อเยื่อกระดูกที่ถูกทำลาย และใช้เวลาหลายชั่วโมงในกระบวนการแข็งตัวเพื่อหยุดการไหลของเลือด
เซลล์สร้างเส้นใยและเซลล์กระดูกอ่อนเข้าสู่บริเวณที่กระดูกหักและมีการสร้างแคลลัส
ออสติโอเจนิก เซลล์แบ่งตัวและพัฒนาอย่างรวดเร็วและมีการสร้างทราบีคิวอแคลลัสที่เป็นกระดูก (bony callus) ของกระดูกใหม่เพื่อประสานกระดูกที่หักเข้าด้วยกัน และมีการสร้างกระดูกอ่อนมามาปกคลุมชั้นนอกนอก (outer collar) ของรอยหัก
กระดูกอ่อนจะถูกทดแทนด้วยกระดูกฟองน้ำและรอยหักจะมีการซ่อมแซมโดยการสร้างกระดูกคอมแพ็กท์และมีเซลล์สลายกระดูกมาช่วยสลายกระดูกส่วนเกินออกไปให้กระดูกมีรูปร่างคงเดิม