Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่3 ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะสุขภาพของมารดาทารกในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด…
บทที่3 ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะสุขภาพของมารดาทารกในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลัง
คลอดปกติ
3 ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม
มลพิษ
สตรีตั้งครรภ์ที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษ เช่น Sulferdioxide Carbon monoxide ยาฆ่าแมลง สารเคมีที่เหลือจากโรงงานอุตสาหกรรมสารปรอท จะมีฤทธิ์ทำลายพัฒนาการทางสมองของทารกในครรภ์โดยจะผ่านไปยังรก
สภาพครอบครัว
สภาพครอบครัวที่แตกแยก หรือการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ จะส่งผลให้สตรีตั้งครรภ์เกิดความเครียด ทำให้ความสามารถในการดูแลตนเองลดลงและส่งผลต่อการพัฒนาด้านอารมณ์ของทารกในระยะยาว
ระบบบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข
โอกาสของสตรีตั้งครรภ์ในการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ และสถานบริการสาธารณสุขที่อยู่ใกล้เคียงมีเครื่องมือทันสมัย จะมีผลต่อการดูแลสุขภาพด้านอนามัยแม่และเด็ก
การเมืองการปกครอง
นโยบาย งบประมาร ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่มีเป้าหมายการลดอัตราการตายของมารดา ทารก เป็นการส่งเสริมการดูแลมารตาและทารกให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
ปัจจัยส่วนบุคคลของมารดา
อายุ
อายุของสตรีตั้งครรภ์เป็นตัวกำหนดขอบเขตของพฤติกรรมการปฏิบัติตนได้
ภาวะสุขภาพที่ดีกว่าสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นวัยรุ่นเนือ่งจากมีวุฒิภาวะมากกว่า ซึ่งวุฒิภาวะเป็นสิ่งที่ช่วยให้บุคคลสามารถปรับตัว และทนต่อการเปลี่ยนแปลงในขณะตั้งครรภ์
น้ำหนักตัว และส่วนสูง
สตรีตั้งครรภ์ที่มีน้ำหนักตัวน้อย อาจทำให้ทารกในครรภ์มีน้ำหนักตัวน้อย และเกิดการเจริญเติบโตช้าในครรภ์
ส่วนสตรีตั้งครรภ์ที่มีน้ำหนักมากเกินไป(มากกว่า 80 กิโลกรัม) มีโอกาสเสี่ยงต่อการคลอดยาก หรือการคลอดติดขัด จากการที่ทารกมีน้ำหนักมากกว่าปกติได้
สตรีตั้งครรภ์ที่มีส่วนสูงต่ำกว่า 145 เซนติเมตร มีโอกาสเสี่ยงต่อการคลอดติดขัด เนื่องจากขนาดของทารกไม่สัมพันธ์กับเชิงกรานของมารดา
ระดับการศึกษา
บุคคลที่มีการศึกษาสูงจะตระหนักถึงปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับปัญหา มีความเข้าใจในสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นได้ดี รู้จักใช้ความรู้และทักษะในการแก้ไขปัญหา
รายได้ หรือฐานะทางเศรษฐกิจ
สตรีตั้งครรภ์ที่มีรายได้สูงจะเอื้ออำนวยให้มีพฤติกรรมการปฏิบัติตน เพื่อคงไว้ซึ่งภาวะสุขภาพที่ดีได้ โดยได้รับอาหารที่เพียงพอ ตลอดจนเข้าถึงบริการได้อย่างเหมาะสม
สถานภาพสมรส
สตรีตั้งครรภ์ที่เป็นโสด หม้าย หย่า หรือแยกกันอยู่กับสามี มักขาดคนดูแลและให้กำลังใจ และสตรีตั้งครรภ์ที่มีสามีจะได้รับการช่วยเหลือจากสามี
อาชีพ
ไม่มีข้อห้ามสำหรับสตรีตั้งครรภ์ในเรื่องการทำงาน แต่งานที่ทำต้องไม่เป็นงานที่ทำให้เกิดความเหนื่อยล้ามากเกินไป หรืองานที่ต้องทำต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน หรืองานที่ต้องสัมผัสกับสารเคมีหรือสารพิษ
7.ลำดับที่ของการตั้งครรภ์
สตรีตั้งครรภ์ที่เคยผ่านประสบการณ์การตั้งครรภ์มาแล้ว จะสามารถควบคุมอารมณ์และสถานการณ์ได้ดี มีการรับรู้ถึงผลของการเปลี่ยนแปลงในระยะตั้งครรภ์มาแล้ว สามารถดุแลตนเองในระยะตั้งครรภ์ได้ดีขึ้น แต่ในบางรายอาจมีความสนใจต่อการปฏิบัติตนลดลง อาจละเลยต่อการป้องกัน
สุขภาพของตนเอง
สตรีตั้งครรภ์แรกที่ยังไม่มีประสบการณ์เกี่ยวกับการตั้งครรภ์และการคลอด อาจมีความสนใจค้นคว้าหาความรู้เรื่องการปฏิบัติตนขณะตั้งครรภ์จากหนังสือ เอกสาร รายการทีวี และจากผู้ที่มีประสบการณ์การตั้งครรภ์และการคลอดมาแล้ว แต่ในบางรายอาจขาดความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติตนในขณะตั้งครรภ์เนื่องจากไม่มีประสบการณ
จำนวนครั้งของการคลอด
การคลอดครั้งแรกจะมีอัตราเสี่ยงอันตราย ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนมากกว่าการคลอดครั้งที่ 2-3 แต่ถ้ามีการคลอดมากกว่า 4 ครั้ง ก็จะทำให้อัตราเสี่ยงสูงขึ้นอีก โดยอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนเกี่ยวกับภาวะรกเกาะต่ำ ตกเลือดหลังคลอด และติดเชื้อหลังคลอดตามมาได้มาก
ระยะห่างของการตั้งครรภ์
ถ้าระยะห่างระหว่างการตั้งครรภ์น้อยกว่า 2 ปี จะมีอัตราเสี่ยงสูงเป็น 3 เท่า ของการตั้งครรภ์ห่างกัน 3 ปี เนื่องจากการตั้งครรภ์และคลอดที่ถี่เกินไป จะทำให้สุขภาพของมารดาหลังคลอดรวมถึงสตรีตั้งครรภ์เสื่อมโทรมลง โดยเฉพาะสตรีตั้งครรภ์กลุ่มด้อยโอกาสในชนบทจะพบปัญหาโลหิตจาก และภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์เพิ่มมากขึ้น ระยะห่างของครรภ์ที่ปลอดภัยที่สุดประมาณ 2-4 ปี
ภาวะสุขภาพสตรีตั้งครรภ์
สตรีตั้งครรภ์ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น หัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือโรคทางพันธุกรรม เช่น ธาลัสซีเมีย ฮีโมโกลบินผิดปกติ ภาวะบกพร่องเอนไซม์ G-6-PD เป็นสาเหตุที่สำคัญอย่างหนึ่ง ที่ทำให้ทารกแรกเกิดมีความพิการแต่กำเนิด เช่น ภาวะปัญญาอ่อน การเจ็บป่วย และการตาย พบว่ามีอุบัติการณ์เพิ่มสูงขึ้น
ความเชื่อ ค่านิยม และพฤติกรรมของมารดา
ปัจจัยด้านความเชื่อ ค่านิยม
ความสามารถในการรับรู้ และความเชื่อ ปัจจัยทางประเพณีเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ การคลอด และ
หลังคลอด การดูแลทารกแรกเกิด มีอยู่ในทุกสังคม และชนเผ่า
1.1 ความเชื่อในระยะตั้งครรภ์
การดื่มน้ำมะพร้าวอ่อน จะทำให้ทารกมีผิวพรรณดี ไม่มีไขมันติดตามลำตัวออกมาเวลาคลอดยังไม่มีผลงานวิจัยยืนยันในเรื่องนี้
ห้ามนอนหงาย เพราะรกจะติดหลังทำให้คลอดไม่ได้ ในทางทฤษฎีแล้วโดยปกติเพราะรกจะฝังตัวที่บริเวณด้านหน้าหรือด้านหลังของผนังมดลูกตรงส่วนบนของมดลูก การนอนหงายในสตรีตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์อยู่ในไตรมาสที่ 3 มดลูกที่มีขนาดใหญ่จะไปกดทับเส้นเลือดดำใหญ่ทำให้ความดันโลหิตต่ำลงและเลือดไหลเวียนไปเลี้ยงมดลูกน้อยลง ควรแนะนำให้สตรีตั้งครรภ์นอนตะแคงเพื่อป้องกันภาวะดังกล่าว
ห้ามไปงานศพ ความเชื่อเรื่องนี้ปรากฏอยู่ในทุกท้องถิ่น โดยส่วนใหญ่เชื่อ ว่าจะทำให้วิญญาณร้ายติดตามมาแต่พิจารณาตามหลักจิตวิทยาที่สตรีตั้งครรภ์อยู่ท่ามกลางบรรยากาศที่เศร้าโศกจะทำให้จิตใจหดหู่ ส่งผลต่ออารมณ์ของสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ได้
ห้ามรับประทานกล้วยน้ำว้า มีความเชื่อว่าจะทำให้คลอดยาก เนื่องจากในกล้วยน้ำว้าสุกจะมีแป้งและน้ำตาลมากหากรับประทานในปริมาณมากจะทำให้ทารกตัวโตคลอดยาก เพราะสมัยก่อนไม่มีการผ่าตัดคลอด หากรับประทานกล้วยห่ามๆจะทำให้ท้องผูกได้เนื่องจากระยะตั้งครรภ์จะมีอาการท้องผูกได้ง่ายอยู่แล้ว
ห้ามรับประทานเนื้อวัว เพราะเชื่อว่าจะทำให้ทารกมีไขมันติดตามตัวมาก โภชนาการสมัยใหม่ไม่ได้ห้ามไม่ให้สตรีตั้งครรภ์รับประทานเนื้อวัว แต่ควรระวัง เนื่องจากเนื้อวัวย่อยยาก
ห้ามนั่งขวางบันได มีความเชื่อว่าสตรีตั้งครรภ์อย่านั่งขวางบันได เพราะจะทำให้คลอดยาก ความจริงความเชื่อนี้อาจมีที่มาจากกลัวว่าสตรีตั้งครรภ์นั่งตรงหัวบันไดอาจพลัดดตกลงมายังพื้นข้างล่าง ทำให้คลอดก่อนกำหนดหรือแท้งบุตรได้ง่าย เป็นกุศโลบาย เพื่อต้องการให้สตรีตั้งครรภ์หลีกเลี่ยงอุบัติเหตุด้วยความเชื่อ
1.2 ความเชื่อในระยะคลอด
การตัดสายสะดือ คนโบราณใช้ผิวไม้รวก (ไม้ไผ่) ตัดสายสะดือ โดยวางสายสะดือบนไพล ก้อนถ่าน หรืออื่นๆ แล้วใช้ผิวไม้รวกตัดึ่งวิธีนี้นับเป็นสาเหตุของการติดเชื้อในทารกแรกเกิดที่พบบ่อย คือ โรคบาดทะยัก
1.3 ความเชื่อในระยะหลังคลอด
การอยู่ไฟหลังคลอด จากความเชื่อว่าความร้อนจากการอยู่ไฟจะให้ความอบอุ่นทางด้านจิตใจตลอดจนบรรเทาความเจ็บปวดลงได้ส่วนใหญ่จะอยู่ไฟนานประมาณ 1-6 สัปดาห์โบราณไม่ได้กำหนดเวลาแน่นอนการฟื้นฟูสภาพหลังคลอดของคนโบราณมีหลายวิธี เช่น นั่งถ่าน เข้ากระโจม นาบหม้อเกลือ
อาหารหลังคลอด คนโบราณแนะนำให้งดอาหารแสลง รสจัด บางรายแนะนำให้รับประทานข้าวต้มกับเกลือ และปลาแห้ง
ปัจจุบันยังมีคนที่มีความเชื่อนี้อยู่บ้าง เป็นหน้าที่ของพยาบาลที่จะต้อง
อธิบายแนะนำให้มารดารับประทานอาหารที่มีประโยชน์และครบทั้ง 5 หมู่ตามหลักโภชนาการ เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงของมารดาและทารก
1.4 ความเชื่อในการดูแลทารกแรกเกิด
เมื่อทากรกคลอดแล้วหมอตำแยจะจับทารกคว่ำหน้า ใช้มือควักมูกออกจากปาก เพื่อป้องกันทารกสำลักน้ำคร่ำ ถ้าทารกไม้ร้องจะตีก้นเป็นการกระตุ้น และอาบน้ำล้างคราบเลือดต่างๆ
บางคนใช้น้ำมันมะพร้าวอ่อนเช็ดไขมันออก เป็นการดูแลทารกที่ช่วยชีวิตทารกเมื่อแรกเกิดทันทีที่ใช้ปัจจุบันจะใช้ลูกสูบยางแดงดูดมูกออกจากปากเพื่อป้องกันทารกสำลักน้ำคร่ำและเช็ดตัวทารกเพื่อทำความสะอาดร่างกายทารก นอกจากนี้อาจมีพิธีต่างๆเพื่อความปลอดภัยและเสริมความเจริญรุ่งเรืองของทารก
อาหารทารก คนโบราณได้เรียนรู้จากประสบการณ์ว่า ใน 2-3 วันแรก น้ำนมมารดาจะยังไม่ไหล และระยะแรกๆ ทารกจะถ่ายขี้เทา (อุจจาระลักษณะเทาปนดำ)ดังนั้น ช่วงนี้จึงหยอดน้ำให้ทารกไปก่อน บางแห่งใช้น้ำผสมน้ำผึ้ง เนื่องจากคงเชื่อว่าช่วยขับขี้เทาออกมา
คนโบราณนิยมเลี้ยงทารกด้วยนมมารดา ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีมาก ในกรณีเต้านมคัดได้คิดค้นวิธีการดูดน้ำนมออกมาเช่น นำไหกระเทียม หรือขวด
ปากกว้างมาใช้กระดาษจุดไฟหย่อนเข้าไปเพื่อให้เกิดภาวะสุญญากาศ
2.พฤติกรรมของสตรีตั้งครรภ์
2.1 การดื่มสุรา สตรีตั้งครรภ์ที่ดื่มสุรา ส่งผลให้ทารกที่คลอดออกมามีโอกาสที่จะเกิดความผิดปกติบางอย่างหรือมีครบทุกอย่างดังนี้คือ
น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ปกติ
ปากแหว่ง เพดานโหว่ ดวงตาและกรามมีขนาดเล็กกว่าปกติ
สมองเล็กกว่าปกติ
หัวใจผิดปกติโดยกำเนิด
การเจริญเติบโตของแขนและขาผิดปกติ
ความสามารถในการดูดด้อยกว่าปกติ8
ทารกร้องกวนและโยเยง่าย
รูปร่างทารกแคระแกรน
ทารกนอนหลับยาก
สติปัญญาทารกต่ำกว่าปกติ
2.2 การสูบบุหรี่ สตรีตั้งครรภ์ที่สูบบุหรี่ จะได้รับสารพิษที่มีในบุหรี่ ไม่ว่าจะเป็นทาร์ หรือน้ำมันดิน นิโคตินหรือคาร์บอนมอนนอกไซด์ก็ตามจะมีผลทำให้เส้นเลือดมีการหดตัว ทำให้เลือดที่ผ่านรกไปยังทารกจะน้องลงกว่าปกติ สำหรับสตรีตั้งครรภ์ที่สูบบุหรี่จะมีอันตรายต่อทารกในครรภ์ดังนี
การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ช้า
อัตราการแท้งบุตร การคลอดก่อนกำหนด และทารกตายระหว่างคลอดสูงขึ้น
ทารกที่คลอดออกมามีน้ำหนักน้อยกว่าปกติ
ทารกที่คลอดออกมามีภาวะการหายใจผิดปกติสูงกว่าธรรมดา เนื่องจากปอดของเด็กแรกคลอดไม่ค่อยขยายออกมาตามปกติ
2.3 การใช้สารเสพติดในปัจจุบันพบว่ามีการใช้สารเสพติดมากขึ้นในสตรีที่มีอายุน้อยมีปัญหาครอบครัว ยากจน และไม่มีความรู้เกี่ยวกับการคุมกำเนิดที่ถูกต้องทำให้มีโอกาสที่จะตั้งครรภ์ได้ในขณะที่ใช้สารเสพติด นำไปสู่การตรวจพบการใช้สารเสพติดสูงขึ้นในขณะตั้งครรภ์รวมถึงในช่วงที่คลอดบุตร
2.4 การใช้ยา
ยาที่สตรีตั้งครรภ์ใช้ในระยะต่างๆ ของการตั้งครรภ์ จะส่งผลต่อทารกดังนี้
ระยะปฏิสนธิผลต่อทารกในครรภ์ที่พบบ่อย ได้แก่ แท้ง
ระยะฝังตัว(1-2 สัปดาห์แรก)ผลต่อทารกในครรภ์ที่พบบ่อยได้แก่เซลล์ลดลงทำให้แท้ง
ระยะสร้างอวัยวะต่างๆ ผลต่อทารกในครรภ์ที่พบบ่อย ได้แก่พิการแต่กำเนิด พบโรคมะเร็งในภายหลังทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า
เดือนที่ 3 ถึงเดือนที่ 9 ผลต่อทารกในครรภ์ที่พบบ่อย ได้แก่ ทารกน้ำหนักตัวน้อย การเจริญของศีรษะผิดปกติระบบประสาทผิดปกติอวัยวะเพศภายนอกผิดปกต
โควิด 19 กับหญิงตั้งครรภ์
ปัจจุบันไม่พบหลักฐานที่มีรายงานทางการแพทย์ว่า สตรีตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อโรคโควิด-19 จะมีอาการและอาการแสดงแตกต่างจากคนทั่วไปหรือมีความเสี่ยงสูงที่โรคจะรุนแรง ไม่พบหลักฐานว่าจะเกิด
การติดเชื้อผ่านทางรกไปยังทารกในครรภ์ในช่วงไตรมาสที่3ของการตั้งครรภ์เนื่องจาก ตรวจไม่พบเชื้อโรคจากน้ำคร่า เลือดจากสายสะดือทารก สารคัดหลั่งในช่องคลอดสารคัดหลั่งที่ป้ายจากลำคอทารกแรกเกิด หรือน้านม ผลของโรคต่อการตั้งครรภ์ยังสรุปไม่ได้ชัดเจน เนื่องด้วยข้อมูลที่มีจำกัด
โรคโควิด-19 คือ โรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส Novel coronavirus (SARS-CoV-2) ทาให้มีอาการหลักคือ ไข้ ไอ หายใจติดขัด หายใจเหนื่อย เจ็บคอ มีน้ามูก นิยามผู้ป่วยผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรค (Person under investigation, PUI) คือ ผู้ป่วยมีอาการและอาการแสดง ดังนี้
อุณหภูมิร่างกายตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป หรือให้ประวัติว่ามีไข้ในการป่วยครั้งนี้ร่วมกับมีอาการของระบบทางเดินหายใจอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ไอ น้ำมูก เจ็บคอ หายใจติดขัด หรือหายใจลำบาก
ผู้ป่วยโรคปอดอักเสบร่วมกับ การมีประวัติในช่วงเวลา 14 วันก่อนวันเริ่มป่วย อย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้
มีประวัติเดินทางไปยัง หรือ มาจาก หรืออยู่อาศัยในพื้นที่ที่มีรายงานการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
มีผู้ที่อยู่อาศัยร่วมบ้านเดินทางกลับมาจากพื้นที่ที่มีรายงานการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
เป็นผู้ที่ประกอบอาชีพที่สัมผัสใกล้ชิดกับนักท่องเที่ยวต่างชาติ
มีประวัติใกล้ชิดหรือสัมผัสกับผู้ป่วยเข้าข่ายหรือยืนยันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
เป็นบุคลากรทางการแพทย์หรือสาธารณสุข ที่สัมผัสกับผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง หมายถึง ผู้สัมผัสที่มีโอกาสสูงในการรับหรือแพร่เชื้อกับผู้ป่วย ประกอบด้วย
ผู้สัมผัสใกล้ชิดหรือมีการพูดคุยกับผู้ป่วยในระยะ 1 เมตร นานกว่า 5 นาที หรือถูกไอจามรด จากผู้ป่วยโดยไม่มีการป้องกัน เช่น ไม่สวมหน้ากากอนามัย
ผู้ที่อยู่ในบริเวณที่ปิด ไม่มีการถ่ายเทอากาศ เช่น ในรถปรับอากาศ ห้องปรับอากาศ ร่วมกับ ผู้ป่วยและอยู่ห่างจากผู้ป่วยไม่เกิน 1 เมตร นานกว่า 15 นาที โดยไม่มีการป้องกัน
ผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ หมายถึง ผู้สัมผัสที่มีโอกาสต่ำในการรับหรือแพร่เชื้อกับผู้ป่วย ได้แก่ผู้สัมผัสที่ไม่เข้าเกณฑ์ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง
สถานที่การตรวจหาเชื้อ
โรงพยาบาลทั้งรัฐบาลและเอกชนขนาดใหญ่ทั่วประเทศไทย
การตรวจจะใช้ไม้สอดเข้าไปในโพรงจมูกและลำคอ ป้ายเอาสิ่งคัดหลั่งออกมาส่งตรวจ
การดูแลในขณะฝากครรภ์
แพทย์จะดูแลเช่นเดียวกับสตรีตั้งครรภ์ที่ไม่ติดเชื้อ
ช่วงที่มีการติดเชื้อจะต้องแยกกักตัวอย่างน้อย 14 วัน หรือจนกว่าจะตรวจไม่พบเชื้อไวรัส
การคลอด
ไม่จำเป็นต้องผ่าคลอด การผ่าคลอดจะทำตามข้อบ่งชี้
สามารถให้การระงับความรู้สึกโดยการบล็อกหลังได้
หลังคลอด
ต้องแยกทารกออกไปตรวจหาเชื้อก่อน
หากไม่พบเชื้อในตัวทารก มารดาสามารถกอดและอุ้มทารกได้ แต่ต้องสวมหน้ากาก ล้างมือก่อนและหลังจับตัวทารก ไม่ไอหรือจามใส่ตัวทารก เช็ดทำความสะอาดพื้นผิวที่สัมผัสด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค
การให้นม
สามารถให้นมแม่กับลูกได้ แต่ต้องระวังลูกติดเชื้อ โดยสวมหน้ากาก ล้างมือก่อนและหลังจับตัวทารก
หลีกเลี่ยงการไอ หรือจาม ขณะให้ลูกดูดนม
เช็ดทำความสะอาดพื้นผิวที่สัมผัสด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค
4 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกในครรภ
Teratogen
Teratogen หรือ Dysmorphogen มาจากคำว่า Terat ในภาษากรีก ซึ่งหมายถึง Monster หมายถึงสิ่งที่ทำให้เกิดความพิการหรือรูปวิปริตในทารก รวมทั้งสารเคมี เช่นยาต่างๆ รังสีการติดเชื้อ
และภาวะทุพ –โภชนาการ Teratogen จะแสดงผลต่อทารกได้โดยขึ้นกับองค์ประกอบหลายอย่างเช่น
สารนั้นคืออะไร(Agent)
ได้รับเมื่อไร(Timing)
ขนาดที่ได้รับ (Dose)
ระยะเวลาที่สารนั้นอยู่ในร่างกายหรือมีปฏิกิริยาในร่างกาย (Duration)
Gene ลักษณะทางกรรมพันธุ์ที่ควบคุมหรือตอบสนองสิ่งนั้น
วิกฤตการที่ทำให้เกิดความพิการต่อระยะต่าง ๆ ของทารก
จะรุนแรงมากในช่วง 2สัปดาห์แรก
หลังจากปฏิสนธิซึ่งอาจพบการแท้งได้อย่างรวดเร็ว
ระยะ 6สัปดาห์ต่อมา ความรุนแรงที่พบจะเกี่ยวกับ
ความผิดปกติในรูปร่างหน้าที่ของอวัยวะนั้น ๆ
และอีก 8สัปดาห์ต่อมาความรุนแรงจะลดลงกว่า 8สัปดาห์
แรกมาก เพราะอวัยวะต่าง ๆถูกสร้างสมบูรณ์แล้ว
รังสี
การได้รับรังสีอาจเกิดอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้เช่น ในรายที่ขณะตั้งครรภ์มีความจำเป็นต้องฉายรังสี X- ray ในการตรวจสภาพปอดหรือฉายรังสีX-ray y ในการตรวจสภาพของเชิงกราน หรือการตรวจสอบด้วยรังสี โดยไม่ทราบว่าตั้งครรภ์ หรือระยะแรกของการตั้งครรภ์ จะมีอันตรายต่อทารกในครรภ์ เช่น เกิดมะเร็งในเม็ดเลือดขาว
การใช้ยา
ยาที่หญิงตั้งครรภ์ได้รับจะมีผลต่อทารกในครรภ์จะมีผลต่อทารกทั้งสิ้น เพราะทารกมีความไวต่อการทำให้เกิดความพิการ โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์เนื่องจากมีการเริ่มสร้างอวัยวะต่าง ๆ ผลของยาที่มีผลต่อทารกในครรภ์คือ
1.ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบการไหลเวียนของมารดา ซึงมีผลโดยตรงต่อเลือดที่ไปเลี้ยงมดลูกและทารก
2.มีผลโดยตรงต่อกล้ามเนื้อมดลูกและการทำงานของมดลูก
3.มีผลต่อพัฒนาการของทารก จึงทำให้เกิดความพิการได
สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ
สิ่งแวดล้อมที่ทำให้เกิดสารพิษ เช่น Sulferdioxide Carbonmonoxide พิษจากยากำจัดวัชพืช ศัตรูพืช ยาฆ่าแมลง รวมทั้งสารเคมีต่าง ๆ ที่เหลือจากโรงงานอุตสาหกรรม สารปรอท สารเหล่านี้เมื่อผ่านเข้าไปในหญิงมีครรภ์จะผ่านไปยังรก
. สภาพครอบครัว
การที่หญิงตั้งครรภ์ได้อยู่ในสภาพครอบครัวที่มีสัมพันธภาพอบอุ่นจะมีสุขภาพจิตที่แข็งแรงและสมบูรณ์ ก็จะส่งผลต่อมารดาและพัฒนาการทางด้านอารมณ์ของทารกให้ดีขึ้นได้ แต่ถ้าหญิงตั้งครรภ์ได้อยู่ในสภาพครอบครัวที่มีสัมพันธภาพที่ไม่ดีครอบครัวขาดความอบอุ่นไม่มีการทำกิจกรรมร่วมกันในครอบครัว ครอบครัวแตกแยก ยากจน หย่าล้าง แยกทางกัน หรือด้วยเหตุผลอื่น ก็จะส่งผลกระทบต่ออารมณ์ของหญิงตั้งครรภ์ และทารกในครรภ์ได้
สภาพสังคม
หญิงตั้งครรภ์ที่อยู่ในสภาพสังคมที่ดีและเด็กที่เจริญเติบโตอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีก็จะส่งผลให้มารดาและทารกมีสุขภาพจิตที่ดียิ่งขึ้นแต่ในทางตรงกันข้ามเด็กที่เกิดมาจากสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดีมักจะทำให้เด็กเหล่านี้อาจเป็นต้นเหตุของปัญหาสังคมสืบเนื่องสืบต่อกันไป