Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1-5, นายชยกร ภูวภาณุภัทร์ เลขที่ 45 ปวส 1/9 -…
สมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1-5
เศรษฐกิจ
สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (รัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๔ ก่อนเกิดสัญญาเบาว์ริง) สภาพเศรษฐกิจของไทยมีลักษณะเป็น "เศรษฐกิจแบบยังชีพ"
รายได้หลวง
จังกอบ คือ ภาษีที่เก็บจากสินค้าขาเข้า - ขาออก
อากร คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากการประกอบอาชีพของราษฎรที่ไม่ใช่การค้า เช่น ทำนา ต้องเสียอากรนา
ฤชา คือ ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากราษฎร เมื่อขอให้ทางการจัดทำสิ่งใดได้ เช่น การออกโฉนดที่ดิน
ส่วย มีหลายประเภทที่สำคัญ ได้แก่ สิ่งของ หรือเงินทดแทนค่าแรงงานที่ราษฎรจ่ายให้เพื่อไม่ต้องเข้ามาทำงานให้ทางการ
สมัยรัชกาลที่ ๓ มีรายได้มาจาก
กำไรจากการผูกขาดการค้าโดย "พระคลังสินค้า" เป็นหน่วยราชการที่ทำหน้าที่ค้าขายกับต่างประเทศ (สังกัดกรมคลังหรือกรมท่า)
พระคลังทำหน้าที่แต่งเรือสำเภาหลวงนำสินค้าไปขายยังต่างแดน เช่น จีน ชวา มลายู
สมัยรัชกาลที่ ๔ (พ.ศ. ๒๓๙๔ - ๒๔๑๑) ไทยทำสนธิสัญญาเบาว์ริงกับอังกฤษ ทำให้การค้ากับต่างประเทศมีความคล่องตัว และมีเสรีทางการค้ามากขึ้น
สมัยรัชกาลที่ ๕ทรงเห็นความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงวิธีจัดเก็บภาษีและการบริหารด้านภาษีอากรให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
สังคม
สมัยยุครัตนโกสิทร์ตอนต้น
ชนชั้นใต้ปกครอง
ไพร่และทาส
ชนชั้นปกครอง
พระมหากษัตริย์
เจ้านายสูงสุด ได้แก่ พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์
ขุนนางและข้าราชการต่างๆ ที่มีศักดินาตั้งแต่ไร่ ซึ่งมีความเป็นอยู่ดี ฐานะร่ำรวย มีสิทธิพิเศษหลายอย่าง
สถานศึกษา คือ วังและวัด
สมัยยุครัตนโกสิทร์ตอนกลาง
มีการเลิกทาสในสมัยรัชกาลที่ 5
มีการสร้างโรงเรียนที่ผู้หญิงและผู้ชายสามารถเข้าศึกษาได้
รัชกาลที่ 5 ยกเลิกประเพณีที่ไม่เป็นธรรมต่อประชาชน เช่น การหมอบคลานเข้าเฝ้า
นับแต่ต้นรัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนแปลงประเพณีเดิมเป็นแบบตะวันตกหลายประการ เช่น มีประกาศให้ข้าราชการสวมเสื้อเวลาเข้าเฝ้า
ศิลปวัฒนธรรม
วรรณคดีที่สำคัญในสมัยรัชกาลที่ 1 ได้แก่ รามเกียรติ์ ราชาธิราช และสามก๊ก ในรัชกาลที่ 2 ทรงนิพนธ์บทละครไว้หลายเรื่อง แต่ที่ได้รับการยกย่องมากที่สุด คือ บทละครเรื่องอิเหนา ส่วนกวีเอกสมัยนี้ คือ สุนทรภู่ ซึ่งมีผลงาน ชั้นเยี่ยมหลายประเภทด้วยกัน มีทั้งบทละคร เสภา นิราศ บทเห่ และกลอน เช่น เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน นิราศภูเขาทอง กลอนสุภาษิตสอนหญิง ฯลฯ
นาฏศิลป์และดนตรีไทยเจริญที่สุดในสมัยรัชกาลที่ 2 เพราะพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงเป็นกวี เป็นศิลปิน และทรงสนพระทัยงานด้านนี้เป็นพิเศษ การเล่นโขนในรัชกาลนี้ได้ใช้เป็นแบบแผนของชาติสืบต่อมา
ขนมธรรมเนียมประเพณีสมัยรัตนโกสินทร์ยังคงยึดตามแบบอยุธยา เช่น พระราชพิธีบรมราชาภิเษก การเล่นเพลงสักวา พิธีการทำขวัญนาค
ศิลปะแขนงต่างๆ ได้รับการฟื้นฟูอย่างจริงจังจนกลับเจริญรุ่งเรืองเหมือนสมัยกรุงศรีอยุธยา สถาปัตยกรรมที่สร้างอย่างประณีตงดงาม ทรงคุณค่ายิ่งของชาติ ได้แก่ พระราชบรม-มหาราช วัง วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม วัดอรุณราชวราราม และวัดราชโรสาราม
ช่วงรัชกาลที่ 4-5 ด้านสถาปัตยกรรม เริ่มนิยมตามแบบตะวันตก เช่น พระราชวังสราญรมย์ พระที่นั่งอนันตสมาคม
นายชยกร ภูวภาณุภัทร์ เลขที่ 45 ปวส 1/9