Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
วิเคราะห์ปัจจัยความเสี่ยงกับการประกอบอาชีพบริการซักรีดภายในโรงงานซักฟอกย้อ…
วิเคราะห์ปัจจัยความเสี่ยงกับการประกอบอาชีพบริการซักรีดภายในโรงงานซักฟอกย้อมเครื่องนุ่งห่ม
ปัจจัยความเสี่ยง
การสัมผัสสิ่งคุกคามจากการทำงาน (Hazard Exposure)คือสิ่งคุกคามในสภาพแวดล้อม การทำงาน หมายถึง สิ่งคุกคามที่อาจก่อให้เกิด อันตรายต่อสุขภาพของพนักงาน ซึ่งสามารถแบ่งได้ เป็น 5 ด้านคือ
2) สิ่งคุกคามทางเคมี (Chemical Hazard) การทำงานในสิ่งแวดล้อมที่มีการใช้สารเคมีไม่ว่า จะเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือสังเคราะห์ขึ้นโดย จะอยู่ในรูปต่างๆได้แก่ฝุ่น ไอระเหยละออง ฟูม ก๊าซ ตัวทำละลายและควัน ซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพของ คนงานสิ่งคุกคามทางเคมีที่พบในแผนกซักฟอกย้อม
การสัมผัสฝุ่นผ้าเป็นระยะเวลานานมีความเสี่ยง ต่อสุขภาพในการเกิดโรคระบบทางเดินหายใจ พบใน ขั้นตอนการรีดผ้า พับผ้า
1) สิ่งคุกคามด้านกายภาพ (Physical Hazards) หมายถึงการทำงานในสิ่งแวดล้อมที่มีความร้อน เสียงดัง แสงสว่าง ความสั่นสะเทือน ความเย็น หรือ อย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพของคนงาน สิ่งคุกคามทางกายภาพที่พบ
เสียงดัง เกิดจากการสั่นสะเทือนของ เครื่องซักผ้าแล้วทำให้เกิดคลื่นเสียง ทำให้รบกวนการ ได้ยินและอาจส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน พบในขั้นตอนการซักและอบแห้งในแผนกซักผ้า
แสงสว่าง หากการปฏิบัติงานในที่มี แสงสว่างไม่เพียงพอทำให้กล้ามเนื้อตาเกิดอาการล้า และรบกวนการทำงาน พบในขั้นตอนการปฏิบัติงาน ในทุกขั้นตอน
การเป็นลมเนื่องจากความร้อนใน ร่างกายสูง (Heat Stroke) พบในขั้นตอนการซักอบ แห้งและรีดผ้า
4) สิ่งคุกคามทางการยศาสตร์ (Ergonomics Hazard) สิ่งคุกคามที่เกิดขึ้นจากการทำงานในท่าที่ ผิดปกติจนทำให้เกิดความเมื่อยล้าและบาดเจ็บของ กล้ามเนื้อและกระดูกซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพของคนงาน สิ่งคุกคามทางการยศาสตร์ที่พบในแผนก
การยืน การนั่งเป็นเวลานาน พบในขั้นตอนการรีดผ้า
5) สิ่งคุกคามทางจิตวิทยาสังคม (Psychosocial Hazard) สิ่งแวดล้อมในการทำงานที่สามารถก่อให้ เกิดสภาวะเครียด เนื่องมาจากจิตใจหรืออารมณ์ที่ได้ รับความบีบคั้น ยังมีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทาง ด้านร่างกาย ซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพของคนงาน สิ่งคุกคามทางจิตวิทยาสังคมที่พบในแผนกซักฟอก ย้อม
สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมกับการทำงาน ความเครียดความกดดันจากสภาพงานที่ไม่เหมาะสม พบในขั้นตอนการปฏิบัติงานในทุกขั้นตอน
3) สิ่งคุกคามทางชีวภาพ (Biological Hazard) สิ่งแวดล้อมจากการทำงานที่มีเชื้อจุลินทรีย์ เช่น แบคทีเรียเชื้อราไวรัสซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพ ของคนงานสิ่งคุกคามทางชีวภาพที่พบในแผนก ซักฟอกย้อม
การเกิดเชื้อราที่ผิวหนังการอักเสบ บวมแดง เนื่องจากมือมีการเปียกชื้นตลอดเวลา
แนวทางในการป้องกันและแก้ไข
ปัญหาที่เกิดจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน
ฝุ่นทุกขนาดและฝุ่นละอองขนาด
ไม่เกิน 10 ไมครอน
แนวทางแก้ไขคือเนื่องจากเป็น อุตสาหกรรมผ้าจึงมีฝุ่นค่อนข้างเยอะได้มีการให้ พนักงานสวมใส่ผ้าปิดจมูกขณะทำงานและส่งเสริมให้ พนักงานสวมใส่ผ้าปิดจมูกทุกคน
ความเข้มข้นของแสงสว่าง
ควรติดตั้งหลอดไฟให้ตรงตาม ตำแหน่งหรือพื้นที่ทำงานเพื่อให้ได้รับแสงสว่าง โดยตรงและใช้ประโยชน์จากความสว่างของหลอดไฟ ได้สูงสุด
การเลือกแสงสว่างให้เหมาะสมกับ ลักษณะงาน จะช่วยให้เกิดการมองเห็นที่ดีเป็นสาเหตุ ให้ผลผลิตดีและลดอัตราการสูญเสียของชิ้นงานได้
ความร้อน
แนวทางแก้ไข คือระบบ ระบายอากาศมีการระบายอากาศแบบธรรมชาติเข้า มาช่วยทำให้ระบายอากาศได้ดีรวมถึงมีการจัดให้มี พัดลมตามจุดต่างๆ
ระดับเสียง
แนวทางแก้ไข คือ ควรส่งเสริม ให้พนักงานใส่ที่อุดหูเพื่อเป็นการลดเสียงดังอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาการทำงาน
เครื่องมือ
1.เครื่องตรวจวัดความเข้มข้นของฝุ่นทุกขนาดและฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอนโดยใช้ปั๊มเก็บตัวอย่าง
การตรวจวัดความเข้มข้นของฝุ่นทุกขนาด และฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน โดยการเก็บตัวอย่างฝุ่น และพื้นที่จัดเก็บผลิตภัณฑ์รอส่ง โดยทำการติดตั้ง เครื่องมือเก็บตัวอย่างฝุ่นทุกขนาด ในบริเวณสถาน ประกอบการทั้ง 4 แผนก เก็บตัวอย่างแบบพื้นที่ (Area Sampling) ที่มีคนทำงานแล้วนำมาวิเคราะห์ หาค่าปริมาณฝุ่นด้วยวิธี Gravimetric Method โดยใช้เครื่องเก็บตัวอย่างอากาศชนิด Sampling Pump อัตราการไหล 2 ลิตร/นาที ซึ่งบรรจุกระดาษกรองไว้สำหรับใช้เป็นตัวกลางในการ ดักจับฝุ่นละอองในบรรยากาศในช่วงที่มีการทำงาน
เครื่องตรวจวัดระดับเสียง
การตรวจวัดระดับเสียง Sound LevelMeter เพื่อประเมินค่าระดับความดังเสียงที่ผู้ปฏิบัติงานได้รับสัมผัสขณะปฏิบัติงาน โดยทำการนำค่าระดับเสียงตลอดระยะเวลาทำงานที่คนงานสัมผัสมาคำนวณเพื่อหาระดับความดังเฉลี่ยที่ลูกจ้างได้รับตลอดเวลาการทำงานแล้วนำค่าที่ได้ไปเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานของกฎกระทรวงฯ โดยระดับเสียงเฉลี่ยตลอดเวลาการทำงาน ไม่เกิน 85 เดซิเบล (เอ) ตลอดระยะเวลาการทำงานที่ได้รับเสียงต่อวันไม่เกิน 8 ชั่วโมง
2.เครื่องตรวจวัดความเข้มข้นของแสงสว่าง
การตรวจวัดความร้อน (Wet Bulb Globe Temperature: WBGT) ทำโดยการติดตั้งเครื่องให้อยู่ระดับหน้าอกของพนักงาน ทำการเก็บตัวอย่าง 2 จุด คือ บริเวณแผนกรีดผ้าและอาคารที่มีการติดตั้งหม้อน้ำ โดยเปิดเครื่องทิ้งไว้อย่างน้อย 10-15 นาทีก่อนเริ่มทำการเก็บตัวอย่างและทำการเก็บตัวอย่างในเวลา 2 ชั่วโมง
เครื่องตรวจวัดระดับความร้อน
การตรวจวัดความเข้มแสงสว่าง โดยใช้เครื่องมือ LUX Meter โดยมีวิธีการเก็บตัวอย่าง2 แบบ คือการวัดแบบจุด จะทำการตรวจวัดในจุดที่สายตาตกกระทบชิ้นงาน และการวัดแสงเฉลี่ยแบบพื้นที่ เป็นการตรวจวัดในบริเวณพื้นที่ทั่วไปภายในสถานประกอบกิจการ