Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะสุขภาพของมารดาทารกในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด…
ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะสุขภาพของมารดาทารกในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอดปกติ
ปัจจัยส่วนบุคคล
อายุ
เป็นตัวกำหนดขอบเขตของพฤติกรรมการปฏิบัติตน เพื่อคงไว้ซึ่งภาวะสุขภาพ ในวัยผู้ใหญ่จะมีพฤติกรรมการปฏิบัติตนเพื่อคงไว้ซึ่งภาวะสุขภาพที่ดีกว่าสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นวัยรุ่น เนื่องจากมีวุฒิภาวะมากกว่า
น้ำหนักตัว และส่วนสูง
สตรีตั้งครรภ์ที่มีน้ำหนักตัวน้อย อาจส่งผลให้ทารกในครรภ์มีน้ำหนักน้อย และเกิดภาวะเจริญเติบโตช้าในครรภ
ระดับการศึกษา
มีความเข้าใจในสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นได้ดี รู้จักใช้ความรู้และทักษะในการแก้ไขปัญหา และยังพบว่าการศึกษาจะช่วยทำให้บุคคลมีความเข้าใจในเรื่องสุขภาพอนามัยดีขึ้น สามารถป้องกันไม่ให้ตนเองเจ็บป่วยได้ดีกว่าผู้ที่มีการศึกษาต่ำ
รายได้ หรือฐานะทางเศรษฐกิจ
สตรีตั้งครรภ์ที่มีรายได้สูงจะเอื้ออำนวยให้มีพฤติกรรมการปฏิบัติตน เพื่อคงไว้ซึ่งภาวะสุขภาพที่ดีได้
สตรีตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอดที่มีรายได้ต่ำจะไม่ค่อยมีเวลาในการ
เอาใจใส่สุขภาพของตนเองมากนัก จะมุ่งความสนใจไปในการหาเลี้ยงชีพเพื่อความอยู่รอดของตนเอง
สถานภาพสมรส
มีความสำคัญในแง่ของการได้รับการสนับสนุนให้มีพฤติกรรมปฏิบัติเพื่อคงไว้ซึ่งภาวะสุขภาพ สตรีตั้งครรภ์
อาชีพ
ต้องไม่เป็นงานที่ก่อให้เกิดความเหนื่อยล้ามากเกินไป หรืองานที่ต้องทำต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน หรืองานที่ต้องสัมผัสกับสารเคมีหรือสารพิษ เพราะลักษณะงานเหล่านี้ ทำให้สตรีตั้งครรภ์มีความเสี่ยงต่ออันตรายที่จะเกิดขึ้นกับทั้งตนเองและทารกในครรภ์เพิ่มขึ้น
ลำดับที่ของการตั้งครรภ์
สตรีตั้งครรภ์ที่เคยผ่านประสบการณ์การตั้งครรภ์มาแล้ว จะสามารถควบคุมอารมณ์และสถานการณ์ได้ดี มีการรับรู้ถึงผลของการเปลี่ยนแปลงในระยะตั้งครรภ์มาแล้ว สามารถดุแลตนเองในระยะตั้งครรภ์ได้ดีขึ้น แต่ในบางรายอาจมีความสนใจต่อการปฏิบัติตนลดลง อาจละเลยต่อการป้องกันสุขภาพของตนเอง
สตรีตั้งครรภ์แรกที่ยังไม่มีประสบการณ์เกี่ยวกับการตั้งครรภ์และการคลอด อาจมีความสนใจค้นคว้าหาความรู้เรื่องการปฏิบัติตนขณะตั้งครรภ์จากหนังสือ เอกสาร รายการทีวี และจากผู้ที่มีประสบการณ์การตั้งครรภ์และการคลอดมาแล้ว แต่ในบางรายอาจขาดความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติตนในขณะตั้งครรภ์เนื่องจากไม่มีประสบการณ์
ระยะห่างของการตั้งครรภ์
ถ้าระยะห่างระหว่างการตั้งครรภ์น้อยกว่า 2 ปี จะมีอัตราเสี่ยงสูงเป็น 3 เท่า ของการตั้งครรภ์ห่างกัน 3 ปี เนื่องจากการตั้งครรภ์และคลอดที่ถี่เกินไปจะทำให้สุขภาพของมารดาหลังคลอดรวมถึงสตรี ตั้งครรภ์เสื่อมโทรมลง ระยะห่างของครรภ์ที่ปลอดภัยที่สุดประมาณ 2-4 ปี
ภาวะสุขภาพสตรีตั้งครรภ์
สตรีตั้งครรภ์ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง ทำให้ทารกแรกเกิดมีความพิการแต่กำเนิด
ความเชื่อ ค่านิยม และพฤติกรรมของมารดา
ปัจจัยด้านความเชื่อ ค่านิยม
ความเชื่อในระยะตั้งครรภ
การดื่มน้ำมะพร้าวอ่อน จะทำให้ทารกมีผิวพรรณด
ห้ามนอนหงาย เพราะรกจะติดหลังทำให้คลอดไม่ได
ห้ามไปงานศพ ความเชื่อเรื่องนี้ปรากฏอยู่ในทุกท้องถิ่น โดยส่วนใหญ่เชื่อว่าจะทำให้วิญญาณ
ร้ายติดตามมา
ห้ามรับประทานกล้วยน้ำว้า มีความเชื่อว่าจะทำให้คลอดยาก
ห้ามรับประทานเนื้อวัว เพราะเชื่อว่าจะทำให้ทารกมีไขมันติดตามตัวมาก
ห้ามนั่งขวางบันได มีความเชื่อว่าสตรีตั้งครรภ์อย่านั่งขวางบันได เพราะจะทำให้คลอดยาก
ความเชื่อในระยะคลอด
การตัดสายสะดือ คนโบราณใช้ผิวไม้รวก(ไม้ไผ่)ตัดสายสะดือ โดยวางสายสะดือบนไพล ก้อน ถ่าน หรืออื่นๆแล้วใช้ผิวไม้รวกตัด ซึ่งวิธีนี้นับเป็นสาเหตุของการติดเชื้อในทารกแรกเกิดที่พบบ่อย คือ โรคบาดทะยัก
ความเชื่อในระยะหลังคลอด
การอยู่ไฟหลังคลอด จากความเชื่อว่าความร้อนจากการอยู่ไฟจะให้ความอบอุ่นทางด้านจิตใจ ตลอดจนบรรเทาความเจ็บปวดลงได้ ส่วนใหญ่จะอยู่ไฟนานประมาณ 1-6 สัปดาห์
กล้ามเนื้อผ่อนคลาย
น้ำนมไหลดีมากขึ้น
สุขภาพแข็งแรงเร็วขึ้น
-ขับน้ำคาวปลาให้ไหลได้ดีขึ้น
ทำให้การไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น
ขับถ่ายของเสียหรือสารพิษออกทางเหงื่อ
มดลูกกลับเข้าสู่สภาพเดิม หดรัดตัวเร็วขึ้น
ผ่อนคลายความเครียดทางร่างกายและจิตใจหลังจากการตั้งครรภ
อาหารหลังคลอด คนโบราณแนะนำให้งดอาหารแสลง รสจัด บางรายแนะนำให้รับประทาน
ข้าวต้มกับเกลือ และปลาแห้ง
ความเชื่อในการดูแลทารกแรกเกิด
เมื่อทากรกคลอดแล้วหมอตำแยจะจับทารกคว่ำหน้า ใช้มือควักมูกออกจากปาก เพื่อป้องกัน ทารกสำลักน้ำคร่ำ ถ้าทารกไม้ร้องจะตีก้นเป็นการกระตุ้น
ใช้น้ำมันมะพร้าวอ่อนเช็ดไขมันออก เป็นการดูแลทารกที่ช่วยชีวิตทารกเมื่อแรกเกิด ทันทีที่ใช้ปัจจุบันจะใช้ลูกสูบยางแดงดูดมูกออกจากปากเพื่อป้องกันทารกสำลักน้ำคร่ำ
อาหารทารก คนโบราณได้เรียนรู้จากประสบการณ์ว่า ใน 2-3 วันแรกน้ำนมมารดาจะยังไม่ ไหล และระยะแรกๆ ทารกจะถ่ายขี้เทา (อุจจาระลักษณะเทาปนดำ) ดังนั้นช่วงนี้จึงหยอดน้ำให้ทารกไปก่อน บางแห่งใช้น้ำผสมน้ำผึ้ง เนื่องจากคงเชื่อว่าช่วยขับขี้เทาออกมา
พฤติกรรมของสตรีตั้งครรภ์
การดื่มสุรา
น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ปกต
ปากแหว่ง เพดานโหว่ ดวงตาและกรามมีขนาดเล็กกว่าปกติ
สมองเล็กกว่าปกติ
หัวใจผิดปกติโดยกำเนิด
การเจริญเติบโตของแขนและขาผิดปกติ
ความสามารถในการดูดด้อยกว่าปกต
ทารกร้องกวนและโยเยง่าย
รูปร่างทารกแคระแกรน
ทารกนอนหลับยาก
สติปัญญาทารกต่ำกว่าปกติ
การสูบบุหรี่
การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ช้า
อัตราการแท้งบุตร การคลอดก่อนกำหนด และทารกตายระหว่างคลอดสูงขึ้น
ทารกที่คลอดออกมามีน้ำหนักน้อยกว่าปกต
ทารกที่คลอดออกมามีภาวการณ์หายใจผิดปกติสูงกว่าธรรมดา เนื่องจากปอดของเด็ก
แรกคลอดไม่ค่อยขยายออกมาตามปกต
การใช้สารเสพติด
การใช้สารเสพติดมากขึ้นในสตรีที่มีอายุน้อยมีปัญหา ครอบครัว ยากจน และไม่มีความรู้เกี่ยวกับการคุมกำเนิดที่ถูกต้อง ทำให้มีโอกาสที่จะตั้งครรภ์ได้ในขณะที่ใช้สารเสพติด นำไปสู่การตรวจพบการใช้สารเสพติดสูงขึ้นในขณะตั้งครรภ์รวมถึงในช่วงที่คลอดบุตร
การใช้ยา
1.ระยะปฏิสนธิผลต่อทารกในครรภ์ที่พบบ่อย ได้แก่ แท้ง
2.ระยะฝังตัว (1-2 สัปดาห์แรก) ผลต่อทารกในครรภ์ที่พบบ่อย ได้แก่เซลล์ลดลงทำให้แท้ง
3.ระยะสร้างอวัยวะต่างๆ ผลต่อทารกในครรภ์ที่พบบ่อย ได้แก่พิการแต่กำเนิด พบโรคมะเร็งในภายหลังทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า
4.เดือนที่ 3 ถึงเดือนที่ 9 ผลต่อทารกในครรภ์ที่พบบ่อย ได้แก่ ทารกน้ำหนักตัวน้อย การเจริญของศีรษะผิดปกติระบบประสาทผิดปกติอวัยวะเพศภายนอกผิดปกติ
ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม
มลพิษ
มีฤทธิ์ทำลายพัฒนาการทางสมองของทารก
ในครรภ์โดยจะผ่านไปยังรก
การระบาดของโรคโควิด-19
สภาพครอบครัว
สภาพครอบครัวที่แตกแยกหรือการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ จะส่งผลให้สตรีตั้งครรภ์เกิดความเครียด ทำให้ความสามารถในการดูแลตนเองลดลงและส่งผลต่อการพัฒนาด้านอารมณ์ของทารกในระยะยาว
ระบบบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข
โอกาสของสตรีตั้งครรภ์ในการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ และสถานบริการสาธารณสุขที่อยู่ใกล้เคียงมีเครื่องมือทันสมัย จะมีผลต่อการดูแลสุขภาพด้านอนามัยแม่และเด็ก
การเมืองการปกครอง
นโยบาย งบประมาร ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่มีเป้าหมายการลดอัตราการตายของมารดา ทารก เป็นการส่งเสริมการดูแลมารตาและทารกให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกในครรภ์
รังสี
การตรวจสอบด้วยรังสี โดยไม่ทราบว่าตั้งครรภ์หรือระยะแรกของการตั้งครรภ์ จะมีอันตรายต่อทารกในครรภ์ เช่น เกิดมะเร็งในเม็ดเลือดขาว
การใช้ยา
ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบการไหลเวียนของมารดา ซึงมีผลโดยตรงต่อเลือดที่ไปเลี้ยงมดลูกและทารก
มีผลโดยตรงต่อกล้ามเนื้อมดลูกและการทำงานของมดลูก
มีผลต่อพัฒนาการของทารก จึงทำให้เกิดความพิการได
สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ
พิษจากยากำจัดวัชพืช
ศัตรูพืช ยาฆ่าแมลง รวมทั้งสารเคมีต่าง ๆ ที่เหลือจากโรงงานอุตสาหกรรม สารปรอท
สภาพครอบครัว
ส่งผลต่อมารดาและพัฒนาการทางด้านอารมณ์ของทารก
สภาพสังคม
หญิงตั้งครรภ์ที่อยู่ในสภาพสังคมที่ดีและเด็กที่เจริญเติบโตอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีก็จะส่งผลให้มารดาและทารกมีสุขภาพจิตที่ดียิ่งขึ้นแต่ในทางตรงกันข้ามเด็กที่เกิดมาจากสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดีมักจะทำให้เด็กเหล่านี้อาจเป็นต้นเหตุของปัญหาสังคมสืบเนื่องสืบต่อกันไป